Reading: คาร์ล มาคส์ – วิกิพีเดีย
คาร์ล มาคส์ เกิดในครอบครัวชาว ยิว หัวก้าวหน้าในเมือง เทรียร์ ราชอาณาจักรปรัสเซีย ( ปัจจุบันอยู่ใน เยอรมนี ) บิดาของเขา เฮอร์เชล ผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่เป็น ราไบ ทำอาชีพ ทนาย ชื่อสกุลเดิมของมาคส์คือ มาคส์ เลวี ซึ่งแปลงมาจากชื่อสกุลยิวเก่าว่า มาร์โดไค ในปี ค.ศ. 1817 พ่อของมาคส์ได้เปลี่ยนศาสนาเป็น นิกายลูเทอแรน ซึ่งเป็น ศาสนาประจำรัฐ ปรัสเซีย เพื่อรักษาอาชีพทนายเอาไว้ ครอบครัวมาคส์เป็นครอบครัวเสรีนิยม และได้รับรองแขกที่เป็นนักวิชาการและศิลปินหลายคนในสมัยที่มาคส์ยังเป็นเด็ก
มาคส์ได้คะแนนดีใน ยิมเนเซียม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมปลายในปรัสเซีย เขาได้รางวัลจากวิทยานิพนธ์ระดับมัธยมปลายที่มีชื่อว่า “ ศาสนา : กาวที่เชื่อมต่อสังคมเข้าด้วยกัน ” งานชิ้นแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้กับงานวิเคราะห์ศาสนาของเขาต่อไปในภายหลัง มาคส์เข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยบ็อน ในปี ค.ศ. 1833 ( พ.ศ. 2376 ) เพื่อศึกษา กฎหมาย ตามคำเรียกร้องของบิดา ที่บ็อนเขาเข้าชมรมนักเดินทางแห่งเทรียร์ ( และบางช่วงยังได้เป็นประธานชมรม ) ผลการเรียนของเขาเริ่มตกต่ำ เนื่องจากเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการร้องเพลงอยู่ในร้านเบียร์ ปีถัดไปพ่อของเขาจึงให้เขาย้ายไปยัง กรุงเบอร์ลิน เพื่อเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮ็ล์ม ( Friedrich-Wilhelms-Universität ) ที่เอาจริงเอาจังด้านการวิชาการมากขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้คือ มหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน
ที่เบอร์ลิน มาคส์เริ่มหันไปสนใจ ปรัชญา ท่ามกลางความไม่พอใจของบิดา เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ที่มีอายุไม่มากที่เป็นที่รู้จักในชื่อ “ กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ “ ( Young Hegelians ) ซึ่งนำโดย บรูโน บาวเออร์ ( Bruno Bauer ) สมาชิกหลายคนในกลุ่มพยายามโยงปรัชญาแนวหลัง อริสโตเติล เข้ากับปรัชญาหลังเฮเกิล มักซ์ สเตอร์เนอร์ สมาชิกกลุ่มเฮเกิลรุ่นใหม่อีกคนหนึ่ง นำการวิพากษ์แบบเฮเกิลมาใช้เพื่อสร้างคำอธิบายที่แทบจะเป็นแบบ สุญนิยม ว่าสุดท้ายแล้ว อีโกนิยม คือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของแทบทุกคนในกลุ่ม และมาคส์ได้โต้แนวคิดนี้บางส่วนใน Die Deutsche Ideologie ( อุดมการณ์เยอรมัน ) เกออร์ค เฮเกิล เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นานในปีค.ศ. 1831 ( พ.ศ. 2374 ) และในช่วงชีวิตของเขานั้น ได้เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลทางวิชาการในสังคมเยอรมนีมาก กลุ่มที่เชื่อแนวคิดแบบเฮเกิล ( รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มเฮเกิลขวา ) เชื่อว่าลำดับการวิภาษทางประวัติศาสตร์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และสังคมปรัสเซีย ที่ถึงพร้อมด้วย การบริการพลเมือง มหาวิทยาลัยที่ดี การพัฒนาทางอุตสาหกรรม และอัตราการจ้างงานที่สูง เป็นผลสรุปของการพัฒนาการทางสังคมดังกล่าว กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ที่มาคส์สังกัดอยู่ด้วยนั้นเชื่อว่ายังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบวิภาษอีก และสังคมปรัสเซียในขณะนั้น ยังมีความไม่สมบูรณ์อีกมาก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมยังมีความยากจน รัฐบาลยังคงใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่เข้มแข็ง และกลุ่มคนที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายลูเทอแรน ยังคงโดยกีดกันทางสังคม มาคส์ถูกเตือนมิให้ส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮ็ล์ม เนื่องจากคาดว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับที่นั่นเนื่องจากชื่อเสียงของมาคส์ ว่าเป็นนักคิดแนวถอนรากถอนโคนในกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ มาคส์จึงส่งวิทยานิพนธ์ของเขา ที่เปรียบเทียบทฤษฎีทางด้านอะตอมของ ดิโมคริตัส กับ อีพิคารุส ไปยัง มหาวิทยาลัยเยนา ในปี ค.ศ. 1840 ( พ.ศ. 2383 ) ซึ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มาคส์จบการศึกษา และ ในปี ค.ศ. 1841 คาร์ล มาคส์ เรียนจบ ปริญญาเอก จาก มหาวิทยาลัยเยนา [ 12 ]
เมื่อบาวเออร์อาจารย์ของเขาถูกขับออกจากภาควิชาปรัชญาในปี ค.ศ. 1842 ( พ.ศ. 2385 ) มาคส์จึงเลิกสนใจปรัชญาและหันเหความสนใจไปยังการเป็น นักข่าว เขาได้เข้าทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung หนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าของ เมืองโคโลญ อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์เล่มนั้นโดนสั่งปิดในปี ค.ศ. 1843 ( พ.ศ. 2386 ) ซึ่งเป็นผลบางส่วนจากความขัดแย้งระหว่างมาร์คกซ์กับมาตรการเซ็นเซอร์ของรัฐ มาร์คซ์กลับไปสนใจปรัชญา และหันไปเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมกับทำงานเป็น นักข่าวอิสระ ไม่นานมาคส์ก็ต้องเดินทางลี้ภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต้องกระทำอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากการแสดงความเห็นแบบถอนรากถอนโคนของเขา มาคส์เดินทางไปยัง ประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นเอง เขาได้ขบคิดเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับบาวเออร์และกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ และได้เขียนบทความ ปัญหาชาวยิว ( On the jewish Question ) ซึ่งเป็นบท วิพากษ์ แนวคิดปัจจุบันเกี่ยวกับ สิทธิพลเมือง และ การปลดปล่อย ทางการเมือง ที่ ปารีส เขาได้พบ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ร่วมงานกับมาคส์ไปตลอดชีวิตของเขา เอ็งเงิลส์ได้กระตุ้นให้ มาคส์สนใจสถานการณ์ของ ชนชั้นทำงาน และช่วยแนะนำให้มาคส์สนใจ เศรษฐศาสตร์ เมื่อเขาและเอ็งเงิลส์ถูกภัยการเมืองอีกครั้งอันเนื่องมาจากงานเขียน เขาย้ายไปยังเมือง ปรัสเซล ประเทศเบลเยียม พวกเขาได้ร่วมกันเขียนบทความชื่อ อุดมการณ์เยอรมัน ( The German Ideology ) ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาของเฮเกิลและกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ หลังจากนั้นมาคส์เขียน ความอับจนของปรัชญา ( The poverty of Philosophy ) ซึ่งวิพากษ์ความคิดสังคมนิยมสายฝรั่งเศส บทความทั้งสองวางรากฐานให้กับ คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ ( The Communist Manifesto ) อันเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของมาคส์และเอ็งเงิลส์ หนังสือ คำประกาศเจตนา ซึ่ง สมาพันธ์คอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อพยพชาวเยอรมันที่มาคส์ได้พบที่ ลอนดอน ได้ร้องขอให้เขียน ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ค.ศ. 1848 ( พ.ศ. 2391 ) ปีนั้นเอง ใน ทวีปยุโรป ได้เกิดการลุกฮือครั้งยิ่งใหญ่ กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจาก พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และได้เชิญมาคส์กลับปารีส ต่อมาหลังจากที่รัฐบาลคนงานล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1849 ( พ.ศ. 2392 ) มาคส์ได้ย้ายกลับไปยังโคโลญ และได้เริ่มพิมพ์หนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung ขึ้นมาใหม่ก่อนจะถูกสั่งปิดลงอีกครั้ง สุดท้ายมาคส์จึงย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน ขณะที่อยู่ที่ลอนดอนนั้น มาคส์ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวฝั่งยุโรปให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กทรีบูน ( New York Tribune ) ระหว่างปี ค.ศ. 1852 ( พ.ศ. 2395 ) ถึง 1861 ( พ.ศ. 2404 ) ในปี ค.ศ. 1852 นั้นเอง มาคส์ได้เขียนแผ่นพับ การปฏิวัติของหลุยส์ โบนาปาร์ต ( The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte ) เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต ( หลานของ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ) เข้ายึดอำนาจรัฐในฝรั่งเศสและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
ในปีค.ศ. 1863 ( พ.ศ. 2406 ) รัฐมนตรีคลังของอังกฤษ วิลเลียม แกลดสตัน ได้กล่าวสุนทรพจน์แก่ สภาสามัญชน โดยเขาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยของ ประเทศอังกฤษ และได้เพิ่มเติม ( ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ ไทมส์ ) ว่า “ผมควรจะมองการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งและอำนาจอย่างเมามายเหล่านี้ ด้วยความหวาดกลัวและความเจ็บปวด ถ้าผมเชื่อว่ามันเกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มชนที่มีชีวิตสะดวกสบายเท่านั้น ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของประชากรที่ใช้แรงงานเลย การเพิ่มขึ้นมาของความมั่งคั่งที่ผมได้อธิบายและที่ผมคิดว่าเกิดขึ้นจากกำไรจากการลงทุนนั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่เกิดเฉพาะกับชนชั้นที่ครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น” แต่ในรายงานฉบับกึ่งทางการ แกลดสตันได้ลบประโยคสุดท้ายออก ซึ่งการแก้ไขนี้เป็นสิ่งที่กระทำกันทั่วไปในหมู่สมาชิกสภา ในปี ค.ศ. 1864 ( พ.ศ. 2407 ) มาคส์ได้ก่อตั้ง สมาคมกรรมกรสากล ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า องค์การสากลที่หนึ่ง เพื่อเป็นแกนหลักในการทำ กิจกรรมทางการเมือง ในคำสุนทรพจน์เปิดงานนั้น มาคส์ได้อ้างถึงคำพูดของแกลดสตันไปในทำนองที่ว่า “ การเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยและอำนาจอย่างเมามายนี้ เกิดขึ้นกับเฉพาะชนชั้นที่มีทรัพย์สินเท่านั้น ” เขายังอ้างถึงคำพูดนี้อีกในหนังสือ ว่าด้วยทุน ไม่นานนักความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มาคส์อ้างกับที่มีบันทึกไว้ในรายงาน ( ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย ) ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของแนวร่วมระหว่างประเทศ มาคส์พยายามจะโต้ตอบข้อกล่าวหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์นี้ แต่ว่าข้อกล่าวอ้างนั้นก็กลับมาเรื่อย ๆ ในภายหลังมาคส์ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ เดอะ มอร์นิง สตาร์ เอ็งเงิลส์ได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ ว่าด้วยทุน เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ เอ็งเงิลส์อ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ เดอะ มอร์นิง สตาร์ แต่เป็น ไทมส์ นักวิจารณ์แนวคิดมาคส์เช่นนักข่าว พอล จอห์นสัน ยังคงใช้เรื่องนี้ในการ กล่าวหามาคส์ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่
Read more: โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์(Borussia Dortmund)
ที่ลอนดอน ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการโต้เถียงเรื่องการอ้างคำพูดของแกลดสตันนี้ มาคส์ได้ทุ่มเทเวลาไปกับการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และเชิงทฤษฎีสำหรับการเขียนหนังสือ ว่าด้วยทุน ( หรือในชื่อเต็มว่า ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital ). มาคส์ตีพิมพ์เล่มแรกของชุดในปี ค.ศ. 1867 ( พ.ศ. 2410 ), สำหรับอีกสองเล่มที่เหลือนั้น มาคส์ไม่ได้เขียนให้เสร็จสิ้น แต่ได้รับการเรียบเรียงโดยเอ็งเงิลส์จากบันทึกและร่างต่าง ๆ และตีพิมพ์หลังจากที่มาคส์เสียชีวิตลงแล้ว ช่วงเวลาที่เขาใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนนั้น ครอบครัวของมาคส์ค่อนข้างยากจน และยังต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจาก เอ็งเงิลส์ เป็นระยะ ๆ มาคส์เสียชีวิตที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1883 ( พ.ศ. 2426 ) ศพของเขาฝังที่สุสานไฮห์เกต กรุงลอนดอน บนป้ายชื่อของเขาจารึกไว้ว่า : “ กรรมาชีพในทุกพื้นถิ่น จงรวมพลัง ! ” ( “ Workers of all lands, unite ! ” )
เจ็นนี ฟ็อน เว็สท์ฟาเลิน ผู้เป็นภรรยาของมาคส์ มาจากครอบครัวราชการ ลุงของเธอคือไลออน ฟิลิปส์ บิดาของพี่น้องเจอราร์ดและแอนตันผู้ก่อตั้งบริษัท ฟิลิปส์ ในปีค.ศ. 1891 ครอบครัวมาคส์มีลูกหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก เอลินอร์ มาคส์ ลูกสาวของพวกเขา ( 1855-1898 ) ซึ่งเกิดในลอนดอน ก็เป็นนักสังคมนิยมที่ทุ่มเทและช่วยแก้ไขงานของพ่อของเธอ เจ็นนี มาคส์เสียชีวิตในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1881 ( พ.ศ. 2424 )
ความคิดของมาคส์นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิด วิภาษวิธี ประวัติศาสตร์ของ เฮเกิล และเศรษฐศาสตร์การเมืองของ อดัม สมิธ และ เดวิด ริคาร์โด ( David Ricardo ) เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษา ประวัติศาสตร์ และ สังคม ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อขัดแย้งทางสังคมได้
ปรัชญาของมาคส์ ( ที่เฮเกิล เรียกว่า วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ) นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงมาจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง ( รวมถึงประวัติศาสตร์ ) นั้นจะต้องพิจารณาแบบ วิภาษวิธี ( dialectic ) โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น thesis + antithesis → synthesis ( ข้อวินิจฉัย + ข้อโต้แย้ง → การประสม, การสังเคราะห์ ) เฮเกิลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงผู้ที่อยู่ในอำนาจเดิม มาคส์ยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกิลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกิลนั้นเป็นนักปรัชญาแนว จิตนิยม ส่วนมาคส์นั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกิลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกิลนั้น มาคส์ได้รับอิทธิพลมาจาก ลูทวิช ฟ็อยเออร์บัค ( Ludwig Feuerbach ) ในหนังสือ “ The Essence of Christianity ” ฟอยเออร์บาคได้อธิบายว่า พระเจ้า นั้น คือผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้านั้น แท้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของ ความเป็นมนุษย์ นั่นเอง มาคส์ยอมรับแนวคิดเช่นนี้ และได้อธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริง ส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามาคส์จะเชื่อเช่นเดียวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฏกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มาคส์ยังเชื่อว่า อุดมการณ์ ที่ถูกสร้างผ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถาพทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกิลของมาคส์ คือ หนังสือที่เขียนโดย ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ชื่อว่า “ The stipulate of the Working Class in England in 1844 ” ( สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844 ) หนังสือเล่มนี้ทำให้มาคส์มองวิภาษวิธีเชิงประวัติศาสตร์ออกมาในรูปของ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และมองเป็นว่า ชนชั้นกรรมาชีพ สมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ
แนวคิดหลักของมาคส์วางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาคส์กล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมาคส์แล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่าง ๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย :
- แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอผ้า และการสร้างรังของฝูงผึ้งก็สามารถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยี่ยมยอดที่สุดก็คือ สถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาคส์มิได้ใช้ข้ออ้างอื่น ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย. มาคส์สืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมาคส์จะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง “ ธรรมชาติ ” กับ “ ประวัติศาสตร์ ” หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า “ สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก ” นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ — สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มาคส์ไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาคส์นั้นวางอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงสิ่งของเช่นที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปจนถึงเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ และ ความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต ที่กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่ผู้คนถูกดึงเข้าไปร่วม เมื่อเขาได้เป็นเจ้าของและได้ใช้ปัจจัยการผลิต ปัจจัยสองประการนี้รวมเป็น รูปแบบการผลิต มาคส์สังเกตว่าในสังคมหนึ่ง ๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาโดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบ ศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบ ทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว มาคส์เชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต ยกตัวอย่างเช่นเราได้พัฒนา เทคโนโลยี ใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต แต่ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้พัฒนากฎหมายที่ควบคุมเทคโนโลยีนั้น สำหรับมาคส์แล้วการไม่เข้ากันของ ฐาน ทางเศรษฐกิจกับ โครงสร้างส่วนบน ( superstructure ) ทางสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความระส่ำระสายและความขัดแย้งในสังคม ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาคส์ไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือ กลุ่ม ชนชั้น มาคส์มิได้นิยาม “ ชนชั้น ” ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแค่การบรรยายแบบอัตวิสัย ( subjective ) เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย ( aim ) ด้วย เช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต มาคส์ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้โดยละเอียด มาคส์ทำโดยผ่านทางปัญหา ความแปลกแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิต แต่เมื่อกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่นคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธิ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพ การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ ( commodity fetishism ) ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผู้คนด้วยกันเอง หลังจากนั้นผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น
Read more: Azerbaijan Premier League
การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เอ็งเงิลส์เรียกว่า สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องของ อุดมการณ์ ซึ่งมาคส์และเอ็งเงิลส์ได้ให้ความหมายว่าเป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุก ๆ ชนชั้นและทุก ๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่ง ๆ กระทำผ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขึ้นนั้นมีผลิตผลมากกว่าคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น ( ในความคิดของมาคส์และเอ็งเงิลส์ ) ว่าผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้แปลกแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาคส์ ที่สรุปได้ในย่อหน้าหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel’s “Philosophy of Right:”
- ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์ที่แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลชน
แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาคส์มองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมล้ำนั่นเอง