เมื่อสังคมพัฒนาซับซ้อนมากขึ้น ความหลากหลายทางเพศก็ปรากฎมากขึ้น ลื่นไหลง่ายขึ้น ไปจนถึงเริ่มตระหนักระมัดระวังคำพูดมากขึ้นในการใช้คำเรียกไปและประดิษฐ์คำใหม่ๆ สังคมไทยเองเพิ่งจะทำความรู้จักอัตลักษณ์เกย์และคำว่า ‘เกย์’ ก็เมื่อรับวัฒนธรรมอเมริกันและ Americanization หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวๆ พ.ศ. 2500 มานี่เอง[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จากเหตุฆาตกรรม Darrell Berrigan บรรณาธิการชาวอเมริกันแห่งหนังสือพิมพ์ Bangkok World การสืบสวนของตำรวจไม่เพียงนำไปสู่การเปิดเผยเพศสภาพของเขา แต่ยังทำให้โลกภาษาไทยได้รู้จักคำว่า ‘เกย์’ และเริ่มมีคำว่าเกย์พาดอยู่บนหัวหนังสือพิมพ์
อย่างไรก็ตามคำว่า ‘ เกย์ ’ ก็ยังคงถูกใช้ในความหมายถึงอาชีพผู้ชายขายตัวให้กับผู้ชาย และพฤติกรรมทางเพศกับเพศเดียวกันของผู้ต้องขังชายในเรือนจำ ไม่ใช่คำเรียกอัตลักษณ์ทางเพศอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน [ 2 ] ขณะที่ชายมีเพศวิถีรักเพศเดียวกันยังคงถูกเรียกว่า ‘ กะเทย ’ [ 3 ] กะเทยจึงถูกใช้ทั้งกับเพศสภาพและเพศวิถี ซึ่งเป็นคำที่ใช้มานานก่อนหน้านั้น เรียกทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่เพศสรีระของพวกเขาและเธอไม่ตรงกับเพศสภาพกระแสหลัก
กระทั่งครึ่งหลัง ระหว่างพ.ศ. 2510-2520 เริ่มมีนิตยสารเชิงพาณิชย์เกย์และสถานเริงรมย์สำหรับเกย์ผุดพรายขึ้นในกรุงเทพ ควบคู่ไปกับการขยายตัวของประชากรชั้นกลางในเมืองหลวงและกระแสบริโภคของทุนนิยมเสรี ‘ เกย์ ’ จึงเริ่มถูกทำให้เข้าใจคล้ายกับโลกสากล ไม่เพียงหมายถึงชายที่เพศวิถีรักเพศเดียวกัน แต่ยังเป็นกลุ่มชายรักชายชนชั้นกลาง มีการศึกษา อ่านออกเขียนได้ มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและอาศัยในเมือง [ 4 ]
อย่างไรก็ตาม ‘ เกย์ ’ ในสังคมไทยก็ยังคงหมายถึงชายรักชายมากกว่าหญิงรักหญิง
จากนั้นก็มีการผลิตคำมาใช้ขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนหลายคำก็แปลมา เช่น ‘ ชายรักชาย ’ ‘ หญิงรักหญิง ’ ที่แปลมาจาก Men who have sex with men ( MSM ) และ Women who have sexual activity with women ( WSW ) ที่เริ่มใช้ในการแพทย์และสาธารณสุขตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 หลังจากมีการรณรงค์ให้ใช้คำว่า ‘ รักเพศเดียวกัน ’ แทนคำว่า ‘ รักร่วมเพศ ’
กระทั่งไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดการนิยามเพศสภาพเพศวิถีต่างๆ มากมายเต็มไปหมด เช่น ทอมเกย์ หมายถึงทอมที่ได้ทั้งหญิง ดี้ และทอมด้วยกัน, ทอมเกย์คิง คือทอมที่ชอบทอมและเป็นผ่ายรุก, ทอมเกย์ควีน หมายถึงทอมที่ชอบทอมและเป็นฝ่ายรับ ส่วนทอมทูเวย์ ใช้เรียกทอมที่ชอบทอมและเป็นได้ทั้งรุกและรับ นอกจากนี้ยังมี ไบท์, อดัม, แองจี้, เชอร์รี่, สามย่าน ( มีจริงดิ ) มันก็ดีในแง่ที่การบัญญัติคำใหม่ๆ ไม่ได้ผูกขาดโดยวาทกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือราชบัณฑิตฯ ที่ราวกับเป็นผู้ผูกขาดความเป็นเจ้าของภาษา แต่การที่นิยามประเภท ไบท์ ( ผู้หญิงที่ชอบทั้งทอม ทั้งเลสเบี้ยน ทั้งผู้ชาย ), อดัม ( ผู้ชายที่ชอบทอม ), แองจี้ ( กะเทยที่ชอบทอม ), เชอร์รี่ ( ผู้หญิงที่รักเกย์กับกะเทย ) หรือ สามย่าน ( หญิงที่รักและคบได้ทุกเพศ ) [ 5 ] อะไรพวกนี้ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรมากนัก นอกจากจะบอกว่ามันมีความหลากหลายนะ แต่ก็เป็นความหลากหลายที่เจ้าตัวเจ้าของเพศสภาพเพศวิถีนั้นนิยามเองรึเปล่าก็ไม่รู้ หรือมันเกิดขึ้นมาเพื่อทำให้ความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องตลก ดูอีรุงตุงนังหากปล่อยให้เพศสภาพเพศวิถีมันหลากหลายเกินครรลองสังคม
คำนิยามเหล่านี้อาจจะถูกใช้ในเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมย่อยของย่อยอีกที แต่ก็ไม่แพร่หลาย เพราะลำพังความพยายามที่จะเสนอความหลากหลายทางเพศด้วยคำเหล่านี้ก็ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดของความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากยังคงเป็นการนิยามที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบคู่ตรงข้าม ชาย-หญิง, รุก-รับ. ทอม-ดี้. คิง-ควีน หรือรักต่างเพศ-รักเพศเดียวกันอยู่ดี ซึ่งการแบ่งอะไรเป็นคู่ตรงข้ามคือความไม่ซับซ้อนอย่างหนึ่งเหมือนแบ่งโครงสร้างออกเป็นขาวกับดำ แล้วเพิ่มสีสันด้วยการไปโยงจับคู่สลับไปมาระหว่างเพศสภาพนั้นเพศสภาพนี้
เหมือนกับที่ครั้งหนึ่ง มีความพยายามจัดระเบียบเพศสภาพเพศวิถี ผ่านเพศสรีระที่เป็นเพศทางกายภาพชีวภาพ บุคลิกทางเพศ และรสนิยม ไขว้สลับไปมา ระหว่างชาย หญิง กะเทย คนสองเพศ และคนไร้เพศ ในฐานะตัวแปรต้น จนได้เป็น 63 เพศสภาพ หนึ่งในนั้นคือ Masculine Female-Attracted Hermaphrofemale หมายถึงคนที่มีทั้งอวัยวะเพศชายและเพศหญิงทางกายภาพแต่ปรากฎลักษณะของผู้หญิงมากกว่า ชื่นชอบและมีความต้องการทางเพศกับผู้หญิงที่มี ‘ ความเป็นชาย ’ หรือมีแม้กระทั่ง Feminine Bisexual Andromale และ Androgine Bisexual [ 6 ] …งงเด้ ซึ่งก็มีชะตากรรมเดียวกับทอมเกย์คิง ทอมเกย์ควีน เชอร์รี่ คือไม่มีใครบ้าจี้นำมาใช้
ความพยายามไม่มานั่งเลือกรสนิยมทางเพศใดเพศหนึ่งโดยเฉพาะ นำมาสู่ ‘ ไบเซ็กชวล ’ ( bisexual ) ที่บุคคลหนึ่งสามารถรักเพศเดียวกันก็ได้ รักต่างเพศก็ได้ ซึ่งคนไทยบางคนก็ชอบใช้คำว่า ‘ เสือไบ ’ อย่างไรก็ตาม bisexual ก็ยังคงยืนบนโครงสร้างแบบขั้วตรงข้ามที่มีรักต่างเพศกับรักเพศเดียวกันอยู่ดี
การไม่จำเพาะเจาะจงความต้องการทางเพศกับเพศใดเพศหนึ่งโดยเฉพาะ และการก้าวข้ามระบบทวิภาค ( binary ) หรือทวิลักษณ์ ( dualism ) ทางเพศ ก็นำไปสู่การนิยามตนเองของปัจเจกบุคคลว่าเป็น ‘ pansexual ’ หรือบุคคลที่สามารถรัก มีเพศสัมพันธ์ ออกเดทกับเพศใดก็ได้ไม่เกี่ยงว่าคนๆ นั้นจะมีอัตลักษณ์ทางเพศแบบใด เพศสรีระแบบใด หรือเพศวิถีแบบใด ซึ่ง pan เป็น prefix ที่หมายถึงทั้งหมด ขณะที่ prefix คำว่า bismuth หมายถึง 2 ในมิติของทฤษฎี pansexual จึงเป็นการยืนหยัดที่จะปฎิเสธการเลือกเพศสภาพเพศวิถีใดหนึ่งเท่านั้นโดยเฉพาะเช่นเดียวกับ bisexual เพียงแต่ bisexual ยังยึดอยู่กับกรอบแบบคู่ตรงข้ามเท่านั้น แต่ pansexual พยายามพร่าเลือนเส้นแบ่งเพศต่างๆ ซึ่งก็เป็นเพศวิถีนี้มีมานานแล้ว แต่กลับมาเป็นที่นิยมพูดถึงอีกครั้งเมื่อนังเหมยลี่ Miley Cyrus ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารต่างๆ เช่น ELLE และ PAPER ว่าเธอมีเพศวิถีแบบ pansexual ในปี 2015 [ 7 ] หลังจากที่ Sigmund Freud เคยได้ใช้คำนี้เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 บนสำนึกที่เพศเป็นพื้นฐานทุกสิ่ง
ความหลากหลายและลื่นไหลทางเพศจึงไม่ได้อยู่ที่ไปสร้างกล่องหลายๆ ใบเช่น กล่องอดัม กล่องแองจี้ กล่องสามย่าน แล้วเที่ยวไปจับคนนั้นคนนี้ยัดใส่กล่องนั้นๆ หากแต่ปล่อยให้เจ้าตัวนิยามตัวตนของเขาเองโดยไม่ต้องมีกล่องหรือกรอบมาครอบ
แต่แม้ว่าขนาด pansexual อุตส่าห์ไม่พยายามจำกัดตัวเอง ไม่แสวงหาอัตลักษณ์เดียว ไม่วายก็ยังมีคนหวังดีถวายธงเพศวิถีให้ เป็นธง 3 แถบสี มีสีชมพู ( แทนผู้หญิง ) เหลือง ( แทนเพศที่ไม่ใช่คู่ตรงข้ามแบบชายหญิง ) และฟ้า ( แทนผู้ชาย )
Read more: The MMS Institute Thailand
มีความเข้าใจผิดมากมายว่า คนที่นิยามตัวเองว่าเป็น pansexual คือพวกสำส่อน เอาไม่เลือก อันที่จริงใครจะสำส่อนยังไงมันก็ไม่ผิด แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเพศวิถีนี้ พอๆ กับที่ pansexual ไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนคนหลับนอนในเวลาเดียวกันหรือระบบหลายผัวหลายเมียเสมอไป หากแต่ pansexual เป็นเพียงเพศวิถีแบบ Non-binary identities ที่ใครคนนั้นจะสามารถเดท หลงรัก และมีเซ็กซ์กับเพศสภาพเพศวิถีใดก็ได้ อาจจะเป็น ชาย หญิง เกย์ เลสเบี้ยน คนข้ามเพศไม่ว่าจากเพศไหนสู่เพศไหน หรืออาจจะไม่มีเพศใดๆ เลย ด้วยเหตุผลที่ว่า ณ ขณะนี้ฉันรักคนนี้ ฉันอยากคนนี้ ฉันคลิกกับคนนี้ เพราะเขาคนนี้ ไม่ใช่เพราะเขามีเพศสถานะเพศวิถีใด มีหรือไม่มี แต่ก็ไม่รวมถึงเอากับศพ เอากับสัตว์นะ เพราะว่าเป็นเพศสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่การยินยอมพร้อมใจของผู้ที่จะยิ้มด้วย
ขณะเดียวกันคนที่เป็น pansexual เองอาจจะเป็นใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง แปลงเพศแล้ว แต่งกายข้ามเพศ หรือมี 2 อวัยวะเพศ เขาและเธออาจจะเป็นรักเพศเดียวกันสักระยะ แล้วมารักต่างเพศ เมื่อเลิกกับแฟนรักต่างเพศแล้วก็อาจจะมาคบกับคนข้ามเพศ เมื่อเลิกกับคนข้ามเพศก็สามารถไปแต่งงานจดทะเบียนสมรส และพอต่อมาเกิดหย่ากันก็อาจจะไปคบกับคนรักเพศเดียวกันอีกที
เพราะไม่เพียงแต่เพศสภาพเพศวิถีจะหลากหลาย แต่มันยังลื่นไหล และไม่ใช่ความสับสนทางเพศ เอาเข้าจริงไม่มีใครสับสนทางเพศหรอก หากแต่ต่างมีเสรีภาพที่จะแสวงหาประสบการณ์และสนองรสนิยมตนเอง บางที ‘ ความสับสนทางเพศ ’ อาจหมายถึงบุคคลที่ไม่เข้าใจหรือไม่ยอมทำความเข้าใจความหลากหลายทางเพศมากกว่า
เหมือนกับพวกที่ชอบบ่นอุบว่า เดี๋ยวเพศนั้นไปได้กับเพศนี้เดี๋ยวเพศนี้ไปได้กับเพศนั้น สังคมชักจะอยู่ยากขึ้นทุกวัน เอาเข้าจริง มันก็ไม่ยากหรอก ที่มันยากก็เพราะไปคุ้นชินกับโครงสร้างสังคมไม่ซับซ้อนที่ยังแบ่งออกเป็นคู่ตรงข้ามเอง แล้วเด๋อคิดว่าเพศเป็นสิ่งที่ถูกจัดระเบียบไว้ให้เป็นเช่นนั้นแล้ว จะเปลี่ยนแปลงอะไรเองไม่ได้
อ้างอิงข้อมูลจาก
[ 1 ] Jackson, Peter A, An explosion of Thai Identities : Global Queering and Reimagining Queer Theory, Culture, Health and Sexuality, vol. 2, no. 4, ( 2000 ), pp. 405-424 .
[ 2 ] Jackson, Peter A. An american english Death in Bangkok : The murder of Darrell Berrigan and the Hybrid Origins of Gay Identity in 1960s Thailand. GLQ : A Journal of Lesbian and Gay Studies 5.3 ( 1999 ) pp. 361-411 .
[ 3 ] เทอดศักดิ์ ร่มจำปา. วาทกรรมเกี่ยวกับ “ เกย์ ” ในสังคมไทย พ.ศ. 2508-2542. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศิลปศาสตร์ ( ประวัติศาสตร์ ) บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
[ 4 ] นฤพน์ ด้วงวิเศษ, ขบวนการเคลื่อนไหวของเกย์ในสังคมไทยภาคปฏิบัติการและกระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต ( การบริหารสังคม ) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553 .
[ 5 ] teen.mthai.com/variety/70861.html ; webboard.news.sanook.com/forum/ ? topic=3733011 ; starvegas-slotonline.net
[ 6 ] apath.org/63-genders
Read more: Real Sociedad
[ 7 ] www.elleuk.com/life-and-culture/news/a27013/miley-cyrus-elle-uk-october-2015/ ; www.huffingtonpost.com/2015/06/09/miley-cyrus-sexuality-paper-magazine_n_7543810.html
Illustration by Kodchakorn Thammachart
Share this article