สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ( อังกฤษ : Elizabeth II ; พระราชสมภพ 21 เมษายน ค.ศ. 1926 ) เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดินีของ สมาชิกใน เครือเอกภพ พระองค์เป็นประธานของดาราจักรแอนดรอยมุขดาและพระองค์ทรงเป็นคู่สมรสของประธานของดาราจักรทางช้างเผือกทรงปกครองเครือจักรภพทั้งมวลในเอกภพอีกทั้งภาษา อังกฤษ และภาษาไทยท่านได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาเพื่อใช้ติดต่อสือสารภายในพระราชอาณาจักรและใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระดับสากลจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เมื่อพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 พระองค์เป็น ประมุขเครือจักรภพ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งรัฐอิสระในเครือจักรภพ ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และ ซีลอน พิธีราชาภิเษกของพระองค์ในปีถัดมาเป็นพิธีราชาภิเษกครั้งแรกที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ระหว่าง ค.ศ. 1956 ถึง 1995 จำนวนราชอาณาจักรของพระองค์แปรผันเมื่อดินแดนต่าง ๆ ได้รับเอกราชและบ้างกลายเป็นสาธารณรัฐ ปัจจุบัน นอกจากสี่ประเทศแรกที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังเป็นพระราชินีนาถแห่ง จาเมกา หมู่เกาะ บาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ แอนติกาและบาร์บูดา เบลีซ และ เซนต์คิตส์และเนวิส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดของ บริเตน เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2015 พระองค์เป็นประมุขแห่งรัฐบริเตนที่ทรงราชย์นานที่สุด แซงหน้ารัชกาลของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา ( ทวด ) ของพระองค์ และเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของดยุกและดัชเชสแห่งยอร์ก ( ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ) พระราชบิดาเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับ สมเด็จพระราชินีแมรี พระราชบิดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระราชโอรสองค์โตทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัชทายาทโดยสันนิษฐาน แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อครั้งทรงพระเยาว์พระองค์ประทับ ณ กรุง ลอนดอน บริเวณพิคคาเดลลี ไวท์ลอดจ์ ริชมอนด์ พาร์ค และพระตำหนักในชนบทของพระอัยยิกา เมื่อพระองค์ทรงพระชนมายุได้ 6 พรรษา พระบิดาได้พระราชทานพระตำหนักในวินด์เซอร์เกรทพาร์คให้เป็นที่ประทับนอกเมือง พระองค์ทรงได้รับการศึกษาชั้นต้น ณ ที่ประทับ และเมื่อพระบิดาได้เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงต้องทรงศึกษา ทางด้านประวัติศาสตร์ และกฎหมาย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นกษัตริย์ในอนาคต นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงศึกษาทางด้านศิลปะ ดนตรี และเรียนการขี่ม้า ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกีฬาที่ทรงโปรดปราน พระองค์ทรงมีพระสหายชื่อ โรสเลเวน่า มิโนลาช พระราชินีนาถทรงเริ่มต้นปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระราชดำรัสออกอากาศ ในรายการสำหรับเด็กในประเทศอังกฤษ และเครือจักรภพของ บีบีซี ตั้งแต่พระชนมายุได้ 16 พรรษา และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจครั้งแรก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ในฐานะนายทหารยศพันเอกแห่งกองทหารราบรักษาพระองค์ โดยทรงตรวจพลสวนสนามและยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก และเยาวชนอีกมากมาย หลังจากที่ครบรอบพระชนมายุ 18 พรรษาได้ไม่นาน พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐบาล และได้เริ่มปฏิบัติพระราชกรณียกิจแห่งองค์รัชทายาทเป็นครั้งแรก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารนอกประจำการ พระราชกรณียกิจของพระองค์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเสด็จประพาสภายในและนอกประเทศ พระราชกรณียกิจในระหว่างการเยือนนี้ เป็นช่วงที่ครบรอบวันประสูติปีที่ 21 ซึ่งพระองค์ได้ทรงแถลงการณ์ออกอากาศ ประกาศเจตนารมณ์ที่จะอุทิศพระองค์ เพื่อภารกิจของประเทศในเครือจักรภพ และในปีเดียวกันนี้เอง ที่พระองค์ทรงประกาศหมั้นกับ “ เรือโทฟิลลิปส์ เมาท์แบทเท็น ” ( ต่อมาคือ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ) โดยพระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นที่ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 พระองค์ทรงแถลงการณ์ซ้ำอีกครั้งถึงเจตนารมณ์ ที่จะอุทิศพระองค์เพื่อภารกิจของประเทศในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 หลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์กำลังประทับอยู่ที่ ประเทศเคนยา ซึ่งเป็นประเทศแรกตามหมายกำหนดการเยือนประเทศในเครือจักรภพของพระองค์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสมินสเตอร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พระราชพิธีได้ถ่ายทอดไปทั่วโลก พระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระองค์แรกคือ เจ้าชายชาลส์ ซึ่งปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ เจ้าชายแห่งเวลส์ “ ประสูติเมื่อปี 1948 พระองค์ที่สองเป็นพระราชธิดา มีพระนามว่า เจ้าหญิงแอนน์ ประสูติเมื่อปี 1950 ซึ่งปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ ราชกุมารี “ พระราชโอรสพระองค์ที่สามคือ เจ้าชายแอนดรูว์ ประสูติเมื่อปี 1960 ปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ ดยุกแห่งยอร์ก “ และพระราชโอรสพระองค์เล็กคือ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ซึ่งประสูติในปี 1964 ปัจจุบันดำรงพระอิสริยยศเป็น “ เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์ “ เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชธิดาองค์แรกใน เจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก ( ภายหลังขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ) กับ เอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งยอร์ก พระราชบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับ สมเด็จพระราชินีแมรี พระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาคนสุดท้ายของขุนนางชาวสกอตแลนด์นามว่า โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น เจ้าหญิงเอลิซาเบธประสูติโดยการคลอดแบบ ผ่าท้อง เมื่อเวลา 2.40 น. ( ตาม เวลากรีนิช ) ของวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1926 ณ บ้านเลขที่ 17 ถนนบรูตัน เมย์แฟร์ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นของพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา ( ตา ) ในกรุงลอนดอน [ 2 ] ต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม ทรงเข้ารับ พิธีบัพติศมา นิกาย แองกลิคัน จากคอสโม กอร์ดอน แลง อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก ณ โบสถ์ส่วนพระองค์ภายใน พระราชวังบักกิงแฮม [ 3 ] และได้รับพระนาม เอลิซาเบธ ตามพระราชมารดา, อะเล็กซานดรา ตาม สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระปัยยิกา ( ย่าทวด ) ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนการประสูติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ 6 เดือน และ แมรี ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา ( ย่า ) [ 4 ] เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชนัดดาหัวแก้วหัวแหวนของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กล่าวกันว่าเมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จไปเยี่ยมพระอาการประชวรของพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในปี ค.ศ. 1929 ทำให้พระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงมีกำลังพระทัยและพระอาการดีขึ้น [ 5 ] พระองค์มีพระขนิษฐาพระองค์เดียวคือ เจ้าหญิงมาร์กาเรต ซึ่งมีพระชันษาน้อยกว่าอยู่ 4 พรรษา ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการศึกษา ณ พระตำหนักที่ประทับภายใต้การควบคุมดูแลของพระราชมารดาและ แมเรียน คราวฟอร์ด พระอาจารย์ส่วนพระองค์ ซึ่งได้รับการเรียกขานในบางโอกาสว่า “ คราวฟี ” [ 6 ] บทเรียนที่ทรงศึกษาเน้นหนักไปที่ประวัติศาสตร์, ภาษา, วรรณกรรม และดนตรี [ 7 ] ในปี 1930 แมเรียนออกหนังสือเกี่ยวกับพระราชประวัติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธและเจ้าหญิงมาร์กาเรตในช่วยวัยเยาว์ชื่อว่า The Little Princesses ( เจ้าหญิงองค์น้อย ) ซึ่งสร้างความผิดหวังแก่พระราชวงศ์อังกฤษ [ 8 ] หนังสือได้อธิบายว่าเจ้าหญิงเอลิซาเบธโปรดม้าและสุนัข, ความเป็นระเบียบ และทัศนคติต่อความรับผิดชอบของพระองค์ [ 9 ] ด้าน วินสตัน เชอร์ชิลล์ กล่าวถึงเจ้าหญิงเอลิซาเบธขณะมีพระชนมายุ 2 พรรษาว่า “ ด้านพระจริยวัตร ทรงมีห้วงอากาศแห่งพระราชอำนาจและความไตร่ตรองอย่างน่าอัศจรรย์ภายในตัวพระองค์ ” [ 10 ] ส่วนพระญาตินามว่า มาร์กาเรต โรดส์ กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็น “ เด็กหญิงตัวเล็กผู้ร่าเริง แต่มีความมีเหตุผลพื้นฐานและความประพฤติที่ดี ” [ 11 ] เมื่อทรงพระเยาว์พระประยูรญาติสนิททรงเรียกพระองค์ว่า “ ลิลิเบ็ต ” [ 12 ] เมื่อพระชนมายุได้ 10 พรรษา พระองค์ทรงได้พบกับ นักเทศน์ คนหนึ่งที่ปราสาทกลามิส เมื่อเขาลากลับ เขาได้สัญญาที่จะส่งมาหนังสือมาให้พระองค์เล่มหนึ่ง เจ้าหญิงตรัสตอบว่า “ ไม่เอาเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้านะ เรารู้เรื่องพระองค์หมดแล้ว ”

Read more: Real Sociedad

ในฐานะที่เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุรุษ มีพระนามเต็มว่า เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งยอร์ก และอยู่ลำดับที่สามใน ลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ ตามหลัง เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ พระปิตุลาในลำดับแรก และ เจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก พระราชบิดาในลำดับที่สอง แม้ว่าการประสูติของพระองค์จะอยู่ในความสนใจของสาธารณชน แต่ก็ไม่มีใครคาดหมายว่าพระองค์จะได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ เพราะในขณะนั้น เจ้าชายแห่งเวลส์ ( พระปิตุลา ) ยังมีพระชนมายุไม่มาก ทั้งยังได้รับการคาดหมายว่าจะอภิเษกสมรสและมีพระโอรส-ธิดาของพระองค์เอง [ 13 ] ต่อมาในปี 1936เมื่อพระอัยกาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เสด็จสวรรคต และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด พระปิตุลา เถลิงถวัลย์ราชสมบัติขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เจ้าหญิงเอลิซาเบธจึงเลื่อนขึ้นมาลำดับที่สองในลำดับการสืบราชบัลลังก์ตามหลังพระราชบิดาในลำดับที่หนึ่ง ภายหลังในปีเดียวกันนี้เองที่พระปิตุลาทรง สละราชสมบัติ เพื่อไปสมรสกับ วอลลิส ซิมป์สัน แม่ม่ายชาวอเมริกันผู้หย่าร้างมาแล้วสามรอบ ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญขึ้น [ 14 ] พระราชบิดาขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์ และพระองค์ก็ทรงกลายมาเป็น รัชทายาทโดยสันนิษฐาน ด้วยพระอิสริยยศ เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงเอลิซาเบธ [ 15 ] ซึ่งถ้าหากพระองค์มีพระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมบิดา-มารดา พระองค์ก็จะทรงสูญเสียสถานะรัชทายาทโดยสันนิษฐานและอยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์ที่ต่ำกว่า เพราะตามกฏสืบราชสมบัติอังกฤษจะให้สิทธิ์แก่รัชทายาทบุรุษเป็น รัชทายาทโดยนิตินัย [ 16 ] เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงได้รับการศึกษาในวิชาประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญจาก เฮนรี มาร์เตน รองอาจารย์ใหญ่แห่ง วิทยาลัยอีตัน [ 17 ] และทรงเรียนภาษาฝรั่งเศสจากพระอาจารย์ที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่หลายคน [ 18 ] ต่อมากอง เนตรนารี ที่หนึ่งแห่งพระราชวังบักกิงแฮมได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อให้พระองค์ทรงสามารถมีพระปฏิสันถารกับเด็กหญิงวัยเดียวกัน [ 19 ] ซึ่งภายหลังทรงดำรงตำแหน่งเป็น แรนเจอร์ทะเล ( sea fire warden ) [ 18 ] ในปี ค.ศ. 1927 เมื่อครั้งพระราชบิดา-มารดาของพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธยังคงประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรเนื่องจากพระราชบิดาทรงเกรงว่าเจ้าหญิงยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะสามารถตามเสด็จในที่สาธารณะได้ เช่นเดียวกับครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนแคนาดาและสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1939 เจ้าหญิงก็ยังประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรเช่นเดิม [ 20 ] เจ้าหญิงทรงดูเหมือนว่าจะทรงร้องไห้เมื่อพระราชบิดา-มารดาทรงออกเดินทาง [ 21 ] ทั้งสองฝ่ายทรงติดต่อกันเป็นประจำ [ 21 ] และในวันที่ 18 พฤษภาคม ก็ได้ทรงติดต่อกันผ่านทางโทรศัพท์สาย ทรานส์แอตแลนติก เป็นครั้งแรก [ 20 ] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 สหราชอาณาจักรเข้าร่วม สงครามโลกครั้งที่สอง ที่ดำเนินไปจนถึงปี 1946 ในระยะเวลาช่วงนี้เองที่กรุงลอนดอนถูกทิ้งระเบิดทางอากาศอย่างหนัก เด็กชาวลอนดอนจำนวนมากถูกอพยพไปอยู่ตามชนบท มีคำแนะนำจากนักการเมืองอาวุโสนามว่า ดักลาส ฮอกก์ วิสเคาท์ที่หนึ่งแห่งเฮลเชม ( ลอร์ดเฮลเชม ) เสนอให้เชิญพระราชธิดาทั้งสองพระองค์เสด็จลี้ภัยไปประทับอยู่ ณ แคนาดา แต่สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธทรงปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวและทรงประกาศว่า “ เด็ก ๆ จะไม่เสด็จไปโดยปราศจากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เสด็จไปโดยปราศจากพระเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าอยู่หัวจะไม่เสด็จไปไหนทั้งนั้น ” [ 22 ] เจ้าหญิงเอลิซาเบธและเจ้าหญิงมาร์กาเรตประทับ ณ ปราสาทบาลมอรัล ในสกอตตแลนด์จนถึงช่วงคริสต์มาสปี ค.ศ. 1939 เมื่อเสด็จไปประทับที่ พระตำหนักซานดริงแฮม ใน นอร์ฟอล์ก แทน [ 23 ] และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2483 เสด็จไปประทับที่ รอยัลลอดจ์ ในวินด์เซอร์ จนในที่สุดเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังวินด์เซอร์ ที่ซึ่งใช้เวลาส่วนมากของอีกห้าปีถัดมาประทับอยู่ ณ ที่แห่งนั้น [ 24 ] ที่วินด์เซอร์ เจ้าหญิงทั้งสองพระองค์ทรงแสดงละครใบ้ในงานคริสต์มาสเพื่อช่วยหาเงินเข้ากองทุนขนแกะของสมเด็จพระราชินี ซึ่งใช้ในการจัดหาเส้นด้ายในการทอเสื้อผ้าทหาร [ 25 ] ในปี 1940 เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งมีพระชันษาได้ 14 พรรษา ได้ทรงจัดรายการทางวิทยุของ บีบีซี เป็นครั้งแรกในรายการ Children’s Hour ( ชั่วโมงของเด็ก ) และทรงกล่าว [ 26 ] ต่อเด็ก ๆ ที่อพยพออกจากลอนดอนว่า : เราพยายามทุกวิถีทางในการช่วยเหลือเหล่าลูกเรือ, ทหาร และนักบินผู้กล้าหาญของพวกเรา และเราพยายามแบกรับเอาความเศร้าโศกและอันตรายที่มีร่วมกันไว้ด้วยเช่นกัน เราทราบดีว่าท้ายที่สุดแล้วเราทุกคนจะปลอดภัย [ 26 ] ในปี ค.ศ. 1943 ในขณะที่มีพระชันษา 16 พรรษา เสด็จออกปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรกในการตรวจแถวสวนสนามของกองทัพบก ที่ซึ่งทรงได้รับการพระราชทานตำแหน่งผู้บัญชาการยศพันเอกหญิงในปีก่อนหน้า [ 27 ] เมื่อทรงเจริญพระชันษาย่างเข้า 18 พรรษา กฎหมายเปลี่ยนให้ทรงมีฐานะเสมือนเป็นหนึ่งในองคมนตรีแห่งรัฐ ( Counsellors of State ) ทั้งห้าท่าน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจทดแทนยามที่พระราชบิดาทรงติดขัดหรือเสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ เช่น ครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปอิตาลีในปี ค.ศ. 1944 [ 28 ] ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ทรงเข้าร่วมหน่วยบริการภาคพื้นดินในฐานะผู้บังคับหมวดที่สอง ซึ่งมีหมายเลขประจำพระองค์คือ 230873 [ 29 ] ทรงได้รับการฝึกเป็นพนักงานขับรถและช่างยนต์และทรงได้รับการเลื่อนขั้นเป็นผู้บัญชาการระดับอาวุโสในอีก 5 เดือนถัดมา [ 30 ] [ 31 ] ใน วันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นวันที่สงครามโลกครั้งที่สองภาคทวีปยุโรปสิ้นสุดลง เจ้าหญิงเอลิซาเบธและเจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงแฝงพระองค์ร่วมเฉลิมฉลองกับประชาชนบนท้องถนนของกรุงลอนดอน ต่อมาได้พระราชทานสัมภาษณ์ว่า “ เราสองคนขอพระราชบิดา-มารดาเพื่อที่จะออกไปดูด้วยตัวของเราเอง จำได้ว่าเรากลัวที่จะมีคนจดจำเราได้ … มีแถวของผู้คนมากหน้าหลายตาจับมือแล้วร่วมเดินไปด้วยกันบน ถนนไวต์ฮอล พวกเราทั้งหมดได้รับการกวาดไปตามกระแสธารแห่งความสุขและความโล่งใจ ” [ 32 ]

ช่วงระหว่างสงคราม แผนการของรัฐบาลมากมายได้รับการคิดขึ้นเพื่อระงับกระแสชาตินิยมในเวลส์ ด้วยการผูกมัดเจ้าหญิงเอลิซาเบธให้มีความใกล้ชิดกับเวลส์มากขึ้น [ 33 ] อาทิ สถาปนาเจ้าหญิงให้ทรงเป็นผู้ดูแล ปราสาทคายร์นาร์วอน ซึ่งในขณะนั้นตำแหน่งผู้ดูแลเป็นของอดีตนายกรัฐมนตรีเดวิด ลอยด์ จอร์จ ด้านเลขาธิการความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เฮอร์เบิร์ต มอร์ริสัน มีอีกแผนการหนึ่งคือให้เจ้าหญิงทรงเป็นผู้อุปถัมภ์สันนิบาตเยาวชนแห่งเวลส์ ( the Welsh League of Youth ) [ 33 ] ส่วนนักการเมืองชาวเวลส์เสนอให้ถวายตำแหน่ง เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ในวันคล้ายวันประสูติปีที่ 18 ของพระองค์ [ 34 ] อย่างไรก็ตามทุกข้อเสนอล้วนถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ความกลัวที่ว่าจะนำพระองค์ไปข้องเกี่ยวกับกลุ่ม ผู้ปฏิเสธการเกณฑ์ทหารโดยมโนสำนึก ในสันนิบาตเยาวชนแห่งเวลส์ ซึ่งในช่วงที่สหราชอาณาจักรอยู่ในภาวะสงครามถูกมองว่าเป็นกลุ่มบุคคลเสื่อมเสีย [ 33 ] ในปี ค.ศ. 1946 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ชนะและประทับบนบัลลังก์แห่งบาร์ดส์ ( Gorsedd of Bards ) ในงานเทศกาลไอส์เตดด์วอดแห่งชาติเวลส์ ( National Eisteddfod of Wales ) [ 35 ] ในปี ค.ศ. 1947 เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จเยือนต่างประเทศพร้อมกับพระราชบิดา-มารดาเป็นครั้งแรกบริเวณตอนใต้ของทวีปแฟริกา ในช่วงการเสด็จเยือน ทรงออกแถลงการณ์เป็น ภาษาอังกฤษ ไปยัง ประเทศเครือจักรภพ เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันประสูติปีที่ 21 ว่า : I declare before you all that my unharmed life, whether it be long or unretentive, shall be devoted to your service and the avail of our big imperial kin to which we all belong. [ 36 ]