กษัตริย์ภูมิพลกำลังใกล้ถึงวาระสุดท้าย เป็นชายชราที่หมดกำลังวังชาในขณะนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า พระองค์ได้รับความทุกข์ทรมานตลอดชีวิตด้วยความอัปยศและความเศร้าใจ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าของปี พ.ศ. 2489 คนไทยจำนวนมากที่เชื่อว่า ความจริงควรถูกฝังอยู่ ณ ที่แห่งนั้น เพราะการเปิดเผยมันขึ้นมาในเวลานี้ จะสร้างความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น แต่ในโลกศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยได้จมปลักอยู่กับวิกฤตการณ์อันแสนเจ็บปวดนี้ เพราะการปฎิเสธจากชนชั้นสูงฝ่ายอำมาตย์ที่ทรงอำนาจ ต่อการอนุญาตให้มีการถกเถียงกันอย่างเปิดเผยและสุจริตใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และรวมไปถึงอนาคตของประเทศด้วย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้บ่อนทำลายประเทศไทย มันถึงเวลาแล้วที่ความจริงจะได้รับการเปิดเผยออกมา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ถึงแม้ว่าจะมีการทำลายหลักฐานต่างๆ และข้อเท็จจริงตามที่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้โกหกว่าอะไรเกิดขึ้น มันเป็นไปได้ที่จะประกอบเหตุการณ์ขึ้นมาใหม่ว่า กษัตริย์อานันทมหิดลทรงเสด็จสวรรคตได้อย่างไร จุดสำคัญประการแรกคือ ไม่มีความเป็นไปได้ต่อความน่าเชื่อถือที่ว่า มีผู้ลอบสังหารที่ไม่มีใครรู้จัก สามารถหลบหลีกเข้าไปในพระบรมมหาราชวังในตอนเช้าของวันนั้นได้ การนำเอาปืนสั้น โคลท์ .45 อัตโนมัติออกมาจากตู้ที่อยู่ข้างเตียงนอนของพระองค์ ยิงพระองค์ตรงกลางศีรษะด้วยปืนกระบอกนั้น แล้วหลบหนีไปได้โดยที่ไม่มีใครเห็นเลย คนที่เป็นฆาตกรได้มีเพียงบุคคลบางคนที่อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานเท่านััน ผลที่ตามมาทันทีหลังจากที่กษัตริย์อานันทมหิดลเสด็จสวรรคตไปแล้ว มันเป็นการสันนิษฐานที่แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางว่า พระองค์ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์และนักการเมืองเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้มารวมตัวกันอยู่ที่ชั้นล่างของพระที่นั่งบรมพิมานหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลนั้น ไม่ได้ใช้เวลามากมายเท่าไรนักต่อการถกเถียงกันว่า พระองค์ได้ถูกปลงพระชนม์โดยมีผู้บุกรุกเข้ามาหรือไม่ — — ตามที่พวกเขาควรกระทำด้วยความมั่นใจ ถ้ามีข้อสงสัยอย่างชัดเจนว่าทำให้เกิดคดีนี้ขึ้น — แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ต่างก็โต้เถียงกันอย่างฉุนเฉียวว่าจะอธิบายต่อสาธารณชนอย่างไรดีว่า กษัตริย์อานันทมหิดลเสด็จสวรรคตจากอะไร นางสังวาลย์ ซึ่งเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์อานันทมหิดลได้ขอร้องกับนายปรีดี พนมยงค์ ( ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นรัฐบุรุษทางจิตวิญญาณ ) ให้ประกาศว่า การยิงนั้นเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวกษัตริย์อานันทมหิดลเอง แทนที่จะเป็นการกระทำอัตวินิบาตกรรม จากเหตุผลส่วนหนึ่งคือเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ นายปรีดีและรัฐบาลก็ยินยอมทำตามคำขอร้องนั้น แต่เรื่องที่กษัตริย์อานันทมหิดลยิงตนเองด้วยความผิดพลาดนั้น ไม่เคยมีความเป็นไปได้แม้แต่น้อย ปืนโค้ลเป็นปืนพกที่ค่อนข้างหนัก น้ำหนักของมันมากกว่า 1 กิโลกรัมเมื่อบรรจุลูกกระสุนเข้าไปอย่างเต็มพิกัด และในการยิงปืนจะต้องออกแรงเพื่อดันเข้าไปอย่างแรงมาก ไม่เพียงแค่ที่ไกปืนเท่านั้น พร้อมกันนั้นจะต้องควบคุมที่แผงความปลอดภัยที่อยู่ด้านหลังของปืน โอกาสที่กษัตริย์อานันทมหิดลจะทรงทำเรื่องนี้โดยอุบัติเหตุ ในขณะที่ปืนกระบอกนี้จี้อยู่ตรงหน้าผากของพระองค์นั้น แทบจะไม่มีความเป็นไปได้เลยทีเดียว นอกจากนั้นยังพบว่าปืนกระบอกนี้ได้ถูกวางอยู่ด้านซ้ายมือข้างๆ ตัวของกษัตริย์อานันทมหิดล แต่พระองค์เป็นผู้ถนัดการใช้มือข้างขวา ดูเหมือนว่า หลักฐานได้ชี้นำว่า กษัตริย์อานันทมหิดลนอนหงายอยู่ในขณะที่ถูกยิง และพระองค์ก็ไม่ได้สวมแว่นตา ซึ่งเมื่อปราศจากแว่นตาแล้ว สายตาของพระองค์จะเห็นภาพอย่างพร่ามัว ซึ่งแทบจะไม่มีความน่าเชื่อถือเลยที่กษัตริย์อานันทมหิดลจะนำเอาปืนโคลท์ .45 ของพระองค์ออกมาเล่น ในขณะที่นอนหงายโดยไม่ได้สวมแว่นตาของพระองค์อีกด้วย การทำอัตวินิบาตกรรมเป็นทฤษฎีที่มีความน่าเชื่อเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับหลายๆคนแล้วด้วยเหตุผลแบบเดียวกันคือ ตัดเอาความเชื่อที่ว่ากษัตริย์อานันทมหิดลเป็นผู้ยิงพระองค์เองนั้นทิ้งไป เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ สำหรับการที่บุคคลจะสามารถยิงตัวเองได้ในขณะที่นอนหงาย และจากวิถีกระสุนที่วิ่งผ่านกระโหลกศีรษะของกษัตริย์อานันทมหิดลนั้น ยังเป็นสิ่งที่ผิดปกติเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำอัตวินิบาตกรรม ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่กษัตริย์อานันทมหิดลได้เสด็จสวรรคตแล้ว ฝ่ายรอยัลลิสต์หลายคนที่เป็นนักการเมือง — โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช –เป็นผู้เริ่มการเผยแพร่ข่าวลือให้กระจายออกไปว่า นายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการปลงพระชนม์กษัตริย์อานันทมหิดล ข้อกล่าวหานี้เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งหมด และไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือใดๆที่สามารถสนับสนุนข้อกล่าวหานี้ได้ แต่การเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกนำมาแสวงหาผลประโยชน์โดยกลุ่มรอยัลลิสต์ ด้วยการใส่ร้ายต่อนายปรีดี พร้อมกับผลกระทบร้ายแรงต่อประเทศไทย ในวันที่ 13 มิถุนายน อุปทูตชาร์ล ดับเบิ้ลยู โยสท์ ( Charge d ’ affaires Charles W. Yost ) ส่งโทรเลขลับไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน โดยใช้หัวข้อว่า “ การเสด็จสวรรคตของกษัตริย์แห่งกรุงสยาม ” ( Death of King of Siam ) อุปทูตโยสท์ คาดการณ์ว่า :
การเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดล อาจจะได้รับการบันทึกว่าเป็นเหตุการณ์ปริศนาทางประวัติศาสตร์ ( unsolved mysteries of history )
อุปทูตโยสท์ได้ทบทวนการสนทนาระหว่างเขากับนายปรีดี ซึ่งมีความตกตะลึงเป็นอย่างยิ่งจากข่าวลือและการใส่ร้ายด้วยความเท็จในเรื่องที่เขามีส่วนเข้าไปพัวพันกับการปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ :
นายกรัฐมนตรีได้คุยกับผม ( Yost ) อย่างเปิดใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทั้งหมดและให้เหตุผลถึงการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลว่าเป็นอุบัติเหตุ แต่มันก็ชัดเจนว่ามีความเป็นไปได้ในการทำอัตวินิบาตกรรม ซึ่งก็ยังอยู่ในความคิดของเขาเช่นกัน เขา ( นายปรีดี ) รู้สึกโกรธอย่างรุนแรงเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่เป็นการเล่นนอกกติกาของผู้ที่ต่อต้านตัวเขา เป็นสิ่งที่ขมขื่นที่สุดของการถูกกล่าวหา การที่ครอบครัวในพระบรมวงศานุวงศ์และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช และ พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ ( สุธ เลขยานนท์ ) ได้พยายามสร้างอคติให้กับพระมหากษัตริย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับตัวเขา เขาเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆครั้งว่า เขามีภารกิจมากมายเหลือเกินในการกอบกู้ชื่อเสียงของประเทศและการปกครองประเทศชาติ เขาไม่มีแม้แต่เวลาที่จะไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันและดื่มน้ำชาร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงเหล่านี้ทุกๆวัน หรือวันเว้นวัน เหมือนกับสมาชิกของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับเขา…. นายปรีดีกล่าวว่า พระมหากษัตริย์เองทรงประพฤติตนได้อย่างถูกต้องเกือบทั้งหมดในฐานะของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าจะมีการฝังอคติเข้าไปในความคิดของพระองค์ก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาก็ยังถือว่ามีมิตรภาพและความถูกต้อง อย่างไรก็ตาม นายปรีดียอมรับอย่างเปิดเผยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์นั้น กลับกลายไปในทางที่ไม่ดีอย่างสิ้นหวังทีเดียว และเขามีความกลัวเป็นอย่างยิ่งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่นั้น จะถูกใส่ยาพิษเข้าไปผสมผสานแบบเดียวกันกับความสัมพันธ์ที่เขามีอยู่กับกษัตริย์อานันทมหิดล
อุปทูตโยสท์ได้เขียนบทสรุปไว้ว่า นายปรีดี “ ยังคงมีความตั้งใจในการพยายามทำงานร่วมกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่และพระราชมารดาของพระองค์ ” ในวันรุ่งขึ้น ก็มีโทรเลขอีกฉบับหนึ่งซึ่งเขียนโดยอุปทูตโยสท์ ด้วยท้ายเรื่องว่า “ เชิงอรรถเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ ” ( Footnotes on the King ’ s Death ) ซึ่งให้ข้อคิดเห็น หลายทฤษฎีเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดล และได้เล่าย้อนถึงการสนทนากับนายดิเรก ชัยนาม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เพิ่งจะได้รับการเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ภูมิพล โทรเลขฉบับนี้ได้ถูกจัดให้อยู่ในหมวด “ ลับ ” ( Secret ) :
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ… ได้กล่าวกับผม ( Yost ) ว่า เขา ( นายดิเรก ) ได้เข้าเฝ้าฯ เมื่อเช้าวันนี้ต่อพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งพระองค์ได้ทรงถามถึงข่าวลือเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐาของพระองค์ว่า ยังมีข่าวแพร่สะพัดกันอยู่ขนาดไหน ตามคำกล่าวของนายดิเรก เขาตอบว่า ข่าวลือเหล่านั้นยังมีการกระพือออกไปอย่างกว้างขวาง บางเรื่องก็การอ้างว่า กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกสังหารโดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรี, บางข่าว…. ก็บอกว่าโดยอดีตนายทหารองครักษ์และบางเรื่องก็กล่าวว่า กษัตริย์อานันทมหิดลทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมภายใต้ความกดดันทางการเมือง จากนั้นกษัตริย์ภูมิพลได้กล่าวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า พระองค์พิเคราะห์แล้วว่า ข่าวลือต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เพราะพระองค์รู้จักพี่ชายของพระองค์เป็นอย่างดีและพระองค์มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ…… เรื่องที่กษัตริย์ได้กล่าวกับนายดิเรกนั้น ไม่จำเป็นที่จะแสดงว่าตัวนายดิเรกเองจะต้องเชื่อว่าจริงตามนั้น แต่กระนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่กษัตริย์ภูมิพลได้ให้คำตอบอย่างแน่ชัดแบบนี้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อุปทูตโยสท์ได้รายงานต่อไปว่า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชมีความพยายามอย่างเด่นชัดที่จะป้ายมลทินให้กับนายปรีดี โดยการส่งตัวแทนไปที่สถานทูตของประเทศสหรัฐอเมริกาและของประเทศอังกฤษ ด้วยการอ้างว่า นายกรัฐมนตรีเป็นผู้วางแผนทำการปลงพระชนม์กษัตริย์อานันทมหิดล :
กระทรวงการต่างประเทศอาจจะน่าสนใจที่จะได้ทราบว่า ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากการเสด็จสวรรคตของอดีตกษัตริย์อานันทมหิดล ญาติของหม่อมราชวงศ์เสนีย์สองคน คนแรกเป็นหลานชายของเขา และคนต่อมาเป็นภรรยาของเขา ได้เข้ามาที่สถานทูต ( Legation ) และกล่าวด้วยความมั่นใจอย่างหนักแน่นว่า กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกปลงพระชนม์จากการยุยงของนายกรัฐมนตรี เป็นที่ชัดเจนว่า ทั้งสองคนนี้ถูกส่งเข้ามาโดยหม่อมราชวงศ์ เสนีย์เอง ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงสองคนนี้ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงที่สุด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนอย่างสมบูรณ์ว่า สถานทูตไม่สามารถถูกดึงเข้าไปพัวพันกับเกมการเมืองของประเทศสยามได้ เนื่องจากผมไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้และผมพิจารณาแล้วว่าในเวลานี้ การปล่อยข่าวลือเหล่านี้ให้แพร่หลายออกไปโดยปราศจากหลักฐานนั้น เป็นเรื่องที่ให้อภัยไม่ได้เลย
โทรเลขได้บันทึกว่า เอกอัครราชทูตอังกฤษ คือ เซอร์ เจฟฟรี่ ทอมพ์สัน ( Sir Geoffrey Thompson ) ได้กล่าวกับอุปทูตโยสท์ว่า มีนักการเมืองหลายๆ คนได้เข้าพบเขาและเล่าเรื่องราวแบบเดียวกันให้ฟัง เอกอัครราชทูตทอมพ์สันบอกกับพวกเขาว่า เขายอมรับรายละเอียดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลและปฎิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกต่อไป การเผชิญหน้ากับข่าวลือที่สร้างความเกลียดชังเหล่านี้ ทำให้สถานภาพของนายปรีดีมีความยากลำบากเพิ่มมากขึ้น ในวันที่ 18 มิถุนายน รัฐบาลของเขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับประเด็นการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดล หัวหน้าคณะกรรมการนี้คือ ประธานศาลฎีกา รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงสามพระองค์, ผู้บัญชาการทหารบก, ทหารเรือ และ ทหารอากาศ ; ประธานศาลอาญาและประธานศาลอุทธรณ์ และประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาของรัฐสภาไทย คณะกรรมการชุดนี้ได้แต่งตั้งอนุกรรมการทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์จำนวน 20 คน : เป็นชาวไทย 16 คน, ชาวอังกฤษ 2 คน, ชาวอเมริกัน 1 คน และชาวอินเดียหนึ่งคน คณะแพทย์ทั้งหมดได้ตรวจสอบด้วยวิธีการชันสูตรพระศพของกษัตริย์อานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 อย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าก็ตาม ในวันที่ 21 มิถุนายน พระศพของกษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกย้ายออกไปจากพระโกศ และพระเศียรได้รับการเอ๊กซ์เรย์ แต่ตามที่บันทึกไว้ข้างต้นว่า ขอบเขตจำกัดของงานที่กลุ่มแพทย์คณะนี้ได้รับมอบหมายมานั้น ได้ถูกเบี่ยงเบนออกไปอย่างจงใจ คณะแพทย์เหล่านี้ได้ถูกสั่งให้เลือกความเป็นไปได้สามประการ : 1 ) กษัตริย์อานันทมหิดลถูกปลงพระชนม์ใช่หรือไม่ ? 2 ) กษัตริย์อานันทมหิดลกระทำอัตวินิบาตกรรมหรือไม่ ? หรือ 3 ) กษัตริย์อานันทมหิดลทรงยิงพระองค์เองโดยอุบัติเหตุใช่หรือไม่ ? ความเป็นไปได้ประการที่ 4 คือ กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกยิงจากบุคคลอื่นโดยอุบัติเหตุใช่หรือไม่นั้น ไม่เคยถูกกล่าวถึงเลย เมื่อคณะแพทย์กำลังทำหน้าที่ในการสอบสวนของพวกเขาอยู่ ฝ่ายรอยัลลิสต์ได้เผยแพร่ข่าวลือว่า ชีวิตของกษัตริย์ภูมิพลกำลังตกอยู่ในอันตรายด้วย เป็นความพยายามของพวกเขาที่จะรวบอำนาจทั้งหมดมาครอบครองอย่างบ้าระห่ำที่สุด พวกเขาพยายามใช้ยุทธวิธีการกระพือความกลัวของพวกเขา เข้าสู่ชัยชนะจากการสนับสนุนของเอกอัครราชทูตอังกฤษ เพื่อการทำรัฐประหาร นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์และรัฐบาลของเขา อุปทูตโยสท์แจ้งกับกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงวอชิงตันในโทรเลขลงวันที่ 26 มิถุนายน ได้ถูกจัดให้อยู่ในหมวด “ ลับที่สุด ” ( Top Secret ) :
เมื่อสองสามวันที่ผ่านมานี้ สมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์หนึ่งได้ขอร้องกับรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษให้ช่วยสนับสนุนการก่อการรัฐประหาร โดยอ้างว่า มิฉะนั้นแล้วราชวงศ์จะต้องสูญสิ้นไป เอกอัครราชทูตทอมพ์สันได้ ปฎิเสธอย่างแข็งขันต่อการสนับสนุน และกล่าวเตือนต่อผู้ยื่นเรื่ืองร้องเรียนนี้ว่า น่าจะส่งผลร้ายแรงต่อความพยายามที่จะกระทำการเช่นนั้นขึ้นมา
รายงานจากคณะแพทย์ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน และสามารถดูฉบับเต็มได้ ที่นี่ แพทย์เกือบทั้งหมดลงความเห็นว่า ตัดเรื่องบาดแผลจากการทำร้ายพระองค์เองโดยอุบัติเหตุออกไป และข้อพิจารณาเรื่อง การทำอัตวินิบาตกรรมนั้นก็เป็นไปไม่ได้อย่างสูงเช่นกัน คณะแพทย์เชื่อว่า หลักฐานต่างๆแสดงให้เห็นว่า บุคคลบางคนได้ยิงกษัตริย์อานันทมหิดล ในวันที่ 27 มิถุนายนซึ่งเป็นวันเดียวกันนั้นเอง โทรเลขลับจากเอกอัครราชทูตเจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สัน ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตของประเทศอังกฤษได้บันทึกถึง การสนทนากับนายดิเรก ซึ่งบอกว่ามีการปิดบังอย่างจงใจจากภายในวังเอง หลังจากที่กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกปลงพระชนม์ ดูที่ย่อหน้าที่ 4 :
หมายเลข เอฟ 9615 29 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ( โทรเลขฉบับนี้ มีความลับเป็นพิเศษและควรเก็บไว้โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่และห้ามส่งต่อ ) ( รหัส ) สำหรับแจกจ่ายให้กับคณะรัฐมนตรี จากกรุงเทพถึงสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตทอมพ์สัน ส่งออก : 13:52 นาฬิกา เวลากรีนิช ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2489 หมายเลข 880 ได้รับ : 16:52 นาฬิกา เวลาอังกฤษ ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2489 27 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สำเนาส่งไปที่สาขาประเทศสิงคโปร์ สำคัญ — ลับมาก โทรเลขของผม หมายเลข 851 คณะกรรมการทางการแพทย์ได้รับเอารายงานมาเป็นร่างพร้อมกับคำพิพากษา ตามการคาดการณ์ไว้ในย่อหน้าแรกของผม ขณะนี้ รายงานถูกส่งไปยังคณะกรรมการสอบสวนพิเศษ ( Committee of Enquiry ) ( ตามโทรเลขของผม หมายเลข 826 ที่ระบุไว้ในย่อหน้าแรก ) เพื่อส่งต่อไปถึงคณะผู้สำเร็จราชการ ( Council of Regency ) เป็นขั้นสุดท้าย และสันนิษฐานว่าจะมีการตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรในท้ายที่สุด ขณะเดียวกัน ก็เกิดการรั่วไหลของข่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และสาระสำคัญที่นายแพทย์ เอส ( Doctor S ) ได้พบนั้น ก็ปรากฎอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์เรียบร้อยแล้ว 2. คณะกรรมการสอบสวนได้เริ่มทำการสอบปากคำอย่างเปิดเผยกับข้าราชบริพารและบุคคลอื่นๆ และรวมไปถึงพยาบาลของอดีตพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นหนึ่งในบุคคลชุดแรก ที่เข้ามายังสถานที่เกิดเหตุ ได้ให้ความเห็นว่า พระองค์ถูกปลงพระชนม์ พยาบาลหญิงผู้นี้ยอมรับว่า เธอมีความหวาดกลัวที่จะกล่าวอะไรออกมาก่อนหน้านี้ 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวกับผมโดยบังเอิญว่า ในขณะนี้ ทางรัฐบาลทราบดีว่า ความพยายามของพวกเขา ที่เอาทฤษฎีเรื่องอุบัติเหตุมาอ้างอิงในคดีนั้น เป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง นายกรัฐมนตรีกล่าวอย่างเรื่อยเปื่อยว่า เขาเชื่อว่า คดีนี้เป็นการทำอัตวินิบาตกรรม ด้วยความปรารถนาที่จะสงวนความรู้สึกของพระบรมวงศานุวงศ์เอาไว้ และต้องการรักษาศักดิ์ศรีของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสายตาของประชาชนทั่วไป ในขณะนี้ ดุลพินิจที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดต้องถูกโยนทิ้งไป และการสอบสวนที่กำลังคืบหน้าอยู่นี้ จะต้องดำเนินการโดยปราศจากความปรานีใดๆ เพื่อดึงเอาความจริงออกมา ถ้ามีความจำเป็น รัฐสภา ( ซึ่งในขณะนี้ไม่มีกำหนดการใดๆ ที่จะประชุมสภากันอีกจนกระทั่งหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนสิงหาคม ) สามารถถูกเรียกเข้ามาประชุมในสมัยวิสามัญด้วยเหตุฉุกเฉิน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้อธิบายต่อไปว่า ต้องปิดสมัยประชุมเนื่องจากมีความยากลำบากเพิ่มขึ้น ในการเชิญสมาชิกสภาฯ ทั้งหมดมาร่วมให้ครบองค์ประชุมได้ เนื่องจากว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหล่านี้มีความปรารถนาที่จะดำเนินการรณรงค์หาเสียงของพวกเขาต่อไป 4. ถึงแม้ว่าเขาไม่ได้หมายความตามที่พูดอย่างแท้จริง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ร่องรอยบางอย่างกับผมว่า เขาได้มาถึงจุดสรุปว่า โศกนาฎกรรมครั้งนี้ เป็นผลมาจากแผนการอันชั่วร้ายหรือการทะเลาะกันภายในพระบรมมหาราชวังเอง มีเสียงกระซิบหลายเรื่องที่ส่งผลกระทบในบางครั้ง พวกเขาได้รับข้อเท็จจริงที่ว่า ความล่าช้าบางอย่างได้เกิดขึ้นก่อนที่บุคคลภายนอกใดๆ จะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องบรรทมของอดีตพระมหากษัตริย์ ซึ่งในขณะนั้น ทางฝ่ายพระบรมมหาราชวังได้กำลังทำความสะอาดร่องรอยกันอยู่ ส่วนปืนได้ถูกนำมาวางไว้ข้างๆ และ การจัดฉากแสดงละคร ( mise en scene ) ที่แสดงให้เห็นถึงความสะเทือนใจ ก็ได้แทรกเข้ามาพร้อมๆ กันกับวิธีการอื่นๆ อีกด้วย 5. การจัดการครั้งใหญ่ขึ้นอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรีที่จะเผชิญหน้ากับมรสุมลูกใหม่อย่างแน่นอนนี้ได้อย่างไร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับอาสากับผมเมื่อวานนี้ เขามีความไม่สบายใจอย่างลึกๆ ดังนั้น เรื่องนี้จะตกอยู่กับคุณนายดอลล์ ( Mrs. Doll ) ซึ่งสามีของเธอได้ถูกเรียกตัวไปพบกับนายกรัฐมนตรีเป็นการส่วนตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนายกรัฐมนตรีให้ความไว้วางใจกับเขาอย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ ที่ปรึกษาทางการเงิน ( Financial Adviser ) มีความชื่นชมอย่างเต็มที่ เนื่องจากเขาต้องต่อต้านจากการถูกติดร่างแหไปอยู่ใน วังวนทางการเมืองได้บอกกับผมว่า เขาจะต้องทำการปฎิเสธที่จะกระทำการบางอย่าง ถึงแม้ว่าเขาไม่ได้อธิบายว่ามันเกี่ยวกับเรื่องอะไรและโดยธรรมชาติแล้ว ผมจะต้องละเว้นที่จะถามคำถามเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้ว ผมเชื่อว่า อิทธิพลของคุณดอลล์ ( Mr. Doll ) จะมีความถูกต้องมากกว่า เนื่องจากเขาเชื่อว่า การจุดประกายหรือ การริเริ่มโดยตรงใดๆ ที่กระทำโดยตัวนายกรัฐมนตรี กับฝ่ายศัตรูทางการเมืองหรือผู้วิพากย์วิจารณ์ในระยะวิกฤติในปัจจุบันนี้ จะกลายเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง โอทีพี
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า กษัตริย์ภูมิพลรู้สึกหดหู่ใจจากการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐาของพระองค์ พระองค์และนางสังวาลย์ได้วางแผนที่จะเดินทางกลับไปยังเมืองโลว์ซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ถึงแม้ว่าระยะเวลาของการไว้ทุกข์ 100 วันยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม โทรเลขลับ จากเอกอัครราชทูตเจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สัน ลงวันที่ 17 สิงหาคม รายงานต่อไปว่า กษัตริย์ภูมิพลนั้นดูเหมือนจะป่วยและยากที่จะพูดจาอะไรออกมาได้ :
4. เมื่อผมนำเสนอผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพทหารต่อหน้าองค์พระมหากษัตริย์เมื่อวานนี้ พระองค์ดูเหมือนป่วยและซึมเศร้า ด้วยความพยายามอย่างสูงสุดของพวกเรา ทำให้พระองค์สามารถตรัสออกมาได้ และคณะผู้เข้าเฝ้าฯ มีความรู้สึกทุกข์ทรมานเช่นกัน มันเป็นความโล่งใจอย่างมาก เมื่อคณะผู้ติดตามพระองค์เสร็จพระราชดำเนินออกไปอย่างปลอดภัยในวันที่ 19 สิงหาคม
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่กำหนดไว้โดยโหรหลวง นางสังวาลย์และกษัตริย์ภูมิพลได้ออกเดินทางไปยังเมืองโลว์ซานน์ ด้วยเครื่องบินที่ประเทศอังกฤษเป็นผู้บริการ อย่างเป็นทางการแล้ว พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของประเทศไทย ได้เดินทางกลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อสำเร็จการศึกษาของพระองค์ที่มหาวิทยาลัยโลว์ซานน์ แต่พระองค์ยังคงซึมเศร้าอยู่อย่างลึกซึ้ง นานๆครั้งจึงจะเข้าไปเรียนในห้องเรียน และไม่เคยเรียนจบปริญญาใดๆเลย ในปลายปี พ.ศ. 2489 พระองค์ส่งข้อความว่า พระองค์จะไม่เดินทางกลับสู่กรุงเทพในเร็ววันนี้ เพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพของกษัตริย์อานันทมหิดลอันเจ็บปวดได้ ตามที่โทรเลขของสถานทูตอังกฤษได้รายงานไว้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2489 ว่า มีข่าวลือแพร่สะพัดในเรื่องที่ พระองค์จะทรงสละราชสมบัติอีกด้วย
เอกสารนี้เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลราชอาณาจักรประเทศอังกฤษ ลับ เอเซีย-ตะวันออกเฉียงใต้ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ส่วนที่ 1 สำเนา เลขที่ 8 หมายเลข เอฟ 18128/327/40 การหายตัวไปอย่างต่อเนื่องของกษัตริย์ภูมิพลแห่งประเทศสยาม เอกอัครราชทูตทอมพ์สัน ถึง นายเบวิน ( ได้รับวันที่ 20 ธันวาคม ) ( เรื่องปกติ ) ( หมายเลข 305 ) กรุงเทพฯ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เรียนท่านที่เคารพ มันเป็นประกาศจากผู้มีอำนาจแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า คณะผู้สำเร็จราชการได้ขอร้องให้ฝ่ายรัฐบาลหยุดการเตรียมการของพวกเขาในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพของอดีตกษัตริย์อานันทมหิดลเนื่องจากว่า ได้รับจดหมายที่แจ้งความประสงค์ของกษัตริย์ภูมิพลว่า ความปรารถนาของพระองค์คือ การยังไม่เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสยามในเดือนมีนาคม เพื่อร่วมพิธีการที่ยังมีข้อกังขากันอยู่ ดูเหมือนว่าองค์พระมหากษัตริย์ได้ไตร่ตรองถึงการอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นเวลาสองถึงสามปี เพื่อที่จะสำเร็จการศึกษาของพระองค์ 2. หากการตัดสินใจนี้ ในส่วนของกษัตริย์องค์ปัจจุบันของประเทศสยามได้รับการยืนยัน มันจะเป็นการเสริมข้อสงสัยอย่างมากของหลายๆ คนที่นี่ซึ่งได้รับทราบมาแล้วว่า พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันไม่มีความประสงค์ที่จะขึ้นเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการในราชบัลลังก์แต่อย่างใด ถ้าพระองค์สามารถช่วยได้ ตามทัศนคติของผม โศกนาฎกรรมเมื่อเดือนมิถุนายนที่แล้ว ไม่มีแนวโน้มเลยว่า ปริศนาต่างๆ นั้นจะสามารถเฉลยออกมาได้ มันได้สร้างความฝังใจที่น่ากลัวให้กับพระมหากษัตริย์หนุ่มพระองค์นี้ แน่นอนที่สุดว่า พระองค์เป็นบุคคลที่ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากพระราชมารดา ส่วนพระราชมารดาเองนั้น ใช้พยายามเพียงเล็กน้อย แม้ในครั้งที่กษัตริย์อานันทมหิดลยังมีพระชนชีพอยู่ ด้วยการปกปิดข้อความสนทนาส่วนพระองค์กับผม ในเรื่องที่เธอไม่ชอบและใช้คำสบประมาทนักการเมืองต่างๆ ซึ่งมีอำนาจอยู่ในขณะนั้น ตั้งแต่ตัวนายปรีดีลงไป ตามข้อเท็จจริงแล้ว ตัวเธอเองก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสมาชิกหลายๆ พระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งไม่เคยยกโทษให้กับผู้ก่อการปฎิวัติระบบการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ในเรื่องบทบาทที่พวกเขามีอยู่ เพื่อการจัดตั้งระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ( Constitutional monarchy ) ในประเทศนี้ 3. หากพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันสละราชสมบัติ จะมีผลกระทบจากการกระทำของพระองค์ ชีวิตภายใต้การปกครองโดยรัฐธรรมนูญของประเทศนี้ ผมเชื่อว่ามันเป็นเรื่องรุนแรงทีเดียว สำหรับประชาชนแล้ว ประเพณีของสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้ผูกโยงไว้กับทางศาสนาและฝังรากลึกเป็นอย่างยิ่ง และสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว การกำเนิดระบบสาธารณรัฐจะกลายเป็นสถานการณ์ที่เจ็บปวดอย่างรุนแรงสำหรับสถานภาพของพวกเขา ในปัจจุบันกับการพัฒนาทางการเมือง สถาบันกษัตริย์คือทุกสิ่งทุกอย่าง ( monarchy to all ) แต่เป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ สิ่งเดียวจากรัฐบาลที่ดีคือ สถาบันกษัตริย์สามารถให้กำเนิดได้ ( the only human body of good government they can conceive — conceive = ตั้งครรภ์, สร้างขึ้น ) แต่ประชาชนชาวสยามทั้งหมดนั้น ได้สร้างรอยพิมพ์ไว้กับผม ซึ่งเหมือนกับผู้ที่ไม่ยินดียินร้ายอะไร ไม่แสดงกิริยาใดๆ ออกมา บางทีพวกเขาอาจนิ่งเฉยด้วยซ้ำไปเมื่อไม่มีพระมหากษัตริย์ปรากฎให้เห็นอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้อาจสร้างความตะลึงอย่างยิ่งมาสู่พวกเขาได้ นอกเสียจากว่า ผู้นำบางคนจะลุกขึ้นมาแสดงความสามารถในการกระตุ้นให้พวกเขาแสดงบทบาทออกมา ในขณะนั้น มันเป็นเรื่องยากที่ฝ่ายเจ้าพระองค์ใดจะสามารถลุกขึ้นมาให้สูงเท่าเทียมความคาดหมายแบบนั้นได้ โดยแท้จริงแล้ว ดูเหมือนว่าความเป็นผู้นำของที่นี่ ในเวลานี้ ได้ถูกกำหนดไว้ในเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์ของผู้ก่อการรัฐประหารและลูกสมุนเครือข่ายของพวกเขา ผู้ชายทั่วไป ซึ่งอยู่ในประเทศของทวีปเอเซีย นับว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของชีวิต ให้ความเป็นธรรมกับพวกเขา ผมไม่คิดว่า จะมีใครในกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่มีความศรัทธาต่อระบบสาธารณรัฐ พวกเขาพอใจมากในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่บางคนในกลุ่มพวกเขานั้น อาจกล่าวว่า ยังไม่เคยเป็นระบอบการปกครองเช่นว่านี้ 4. บ่อยครั้งที่ผมคิดว่า ในความสัมพันธ์ส่วนหลัง เกี่ยวกับคำพูดอันน่าสลดใจอย่างมหันต์ที่กล่าวโดยรัฐบุรุษอาวุโส เมื่อได้ยินคุณดอลล์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า พระมหากษัตริย์ไม่ควรเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนของปีที่แล้ว สองวันหลังจากนั้น กษัตริย์อานันทมหิดลก็พบจุดจบด้วยการเสด็จสวรรคต และบุคคลบางคนในประเทศสยามได้กระซิบกระซาบว่า มีความรู้สึก เหมือนเหตุการณ์ซ้ำของละครอันน่าสะพึงกลัวบนชั้นบันไดของโบสถ์แคนเตอร์เบอร์รี่ ( Canterbury Cathedral ) เมื่อหัวหน้าบาทหลวง ( Archbishop ) โทมัส เอ เบคเกท ( Thomas à Becket ) ได้ถูกลอบสังหาร 5. ผมกำลังส่งสำเนาของคำสั่งนี้ไปยังกรุงเบอร์น และ กรุงสิงค์โปร์ด้วย ผมได้ส่งสำเนาเรียบร้อย จี.เอช. ทอมพ์สัน เลขหอสมุด : 85–118
ในขณะเดียวกัน การสืบสวนถึงสาเหตุการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลได้เริ่มเข้มข้นขึ้นถึงจุดที่มีความเป็นไปได้อย่างท่วมท้นว่า ตัวกษัตริย์ภูมิพลต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ รัฐบาลกลัวว่าจะมีผลกระทบที่สั่นคลอนต่อเสถียรภาพในการเปิดเผยเรื่องราวนี้ออกมา และความไม่เต็มใจที่จะการกระตุ้นให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติ จากนั้นให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นมาดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แทนนั้น รัฐบาลได้ตัดสินใจเก็บข้อมูลในส่วนที่กษัตริย์ภูมิพลมีส่วนเกี่ยวข้องและทำการเซ็นเซอร์ข่าวสาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 กลุ่มรอยัลลิสต์ของประเทศไทย ได้ร่วมมือกับกลุ่มคณะทหารของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ทำการโค่นล้มรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ พวกเขาใช้ความเชื่อที่มีกันอยู่แพร่หลายในขณะนั้นว่า นายปรีดี ทำการซุกซ่อนหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดล เพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการยึดอำนาจของพวกเขา นายปรีดี พนมยงค์ได้หลบหนีออกไปจากประเทศไทยด้วยความกลัวว่าจะเป็นภัยกับชีวิตของตนเอง เรื่องราวเกี่ยวกับการหลบหนีของเขาอ่านได้ ที่นี่ เพียงเวลาไม่กี่วันหลังจากนั้น มหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนีได้ถูกจับกุมพร้อมกันกับนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งเป็นอดีตราชเลขาธิการ รัฐบาลชุดใหม่ได้กล่าวหาว่า พวกเขาร่วมกันวางแผนเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีนายปรีดีเป็นต้นคิดในการปลงพระชนม์กษัตริย์อานันทมหิดล เรื่องนี้เป็นความเท็จทั้งหมด ตามที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ซึ่งเป็นรัชทายาทของการสืบราชสมบัติ ได้แจ้งกับเอกอัครราชทูตอังกฤษ เจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สันเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เอกอัครราชทูตได้แบ่งปันความคิดเห็นของพระเจ้า วรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ในโทรเลขลับฉบับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นดังนี้ :
หมายเลข เอฟ 15787 1 ธันวาคม 2490 รหัส/โอทีพี ภายในสำนักงาน หมายเลข 1 จากกรุงเทพ ถึง สำนักงานต่างประเทศอังกฤษ เอกอัครราชทูตทอมพ์สัน ส่งออก : 14:10 นาฬิกา เวลากรีนิช ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2490 หมายเลข 1005 ได้รับ : 16:20 นาฬิกา เวลาอังกฤษ ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2490 สำเนาส่งไปที่สาขาประเทศสิงคโปร์ สำคัญ ลับ ส่งถึง สำนักงานกระทรวงการต่างประเทศ โทรเลขหมายเลข 1005 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน สำเนาส่งไปที่สำนักงานสาขาสิงค์โปร์ โทรเลขของลอร์ด คิลเลอร์น ( Lord Killearn ) หมายเลข 2262 พร้อมกับข้อความสำหรับคุณเดนนิ่ง ( Mr. Dening ) — ปฎิกิริยาอย่างเป็นศัตรูของเจ้าหน้าที่มาลายา ( Malayan authorities ) เมื่อนายปรีดี ( พนมยงค์ ) ไปปรากฎตัวที่นั่น ในเรื่องเกี่ยวกับย่อหน้าที่ 5 ของโทรเลขที่กล่าวไว้ข้างต้น มันอาจน่าสนใจที่จะรายงานว่า พระเจ้า วรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ซึ่งเป็นรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ได้โทรศัพท์เข้ามาเพื่อต้องการพบกับผมเมื่อคืนที่แล้ว ตามเส้นทางสัญจรเหมือนกับการแข่งขัน ( ซึ่งไม่รู้ว่าจะเรียกอย่างไรดี ? ) เกี่ยวกับสถานการณ์ทางเมืองนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ได้เปิดใจกล่าวว่า : ( เอ ) รัฐบุรุษอาวุโสไม่เคยมีส่วนรู้เห็นแต่ประการใดในเรื่องการเสด็จสวรรคตของอดีตพระมหากษัตริย์ ( บี ) ไม่มี ( ขอย้ำว่า ไม่มี ) หลักฐานใดๆ ที่ผูกมัดกับ ตัวราชเลขาธิการ และ
Read more: S.S. Lazio
( ซี ) “ ความเป็นไปได้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ ไม่สามารถที่จะยกเว้นได้โดยสิ้นเชิง ” คำกล่าวช่วงท้ายสุดนี้ สร้างความประทับใจให้กับผม เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่นี่หรืออยู่ที่นั่น ก็มีเสียงกระซิบว่า โศกนาฎกรรมครั้งนี้เป็นผลมาจากการยิงปืนสั้นอัตโนมัติโดยอุบัติเหตุ เมื่อมันได้ถูกนำมาถือโดยน้องชายของผู้รับเคราะห์ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ดังนั้นเรื่องนี้คงยืดเยื้อออกไปอีกนาน จากการอธิบายแบบสงวนท่าทีอย่างผิดธรรมดาของนายปรีดีเอง 2. สำหรับส่วนที่เหลือ ผมขอบันทึกข้อตกลงของผมกับคำแนะนำของลอร์ด คิลเลอร์น ซึ่งได้ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 4 ของเขา ผมคิดว่า มันมีโอกาสน้อยมากที่ นายปรีดีจะสามารถรวบรวมกองกำลังต่อต้าน ( กบฎเสื้อแดง ) ในมาลายา ซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดอีกหลายสัปดาห์ เพราะฉะนั้น ผมหวังว่า เราจะไม่ยอมรับด้วยการนิ่งเฉย เมื่อเขากำลังถูกขับไล่ออกไปจากเขตอาณานิคมเหมือนกับว่ามันเป็นเรื่องเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 เอกอัครราชทูตทอมพ์สันได้สนทนาถึงการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลกับพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ( หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 จนถึงวันที่เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งจากการรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 หลวงธำรงค์ได้กล่าวอย่างหนักแน่นว่า กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกยิงจนเสด็จสวรรคตโดยกษัตริย์ภูมิพล โดยที่รัฐบาลมีความรู้สึกว่า ไม่สามารถเปิดเผยข่าวนี้ออกมาได้ :
หมายเลข เอฟ 3434 3 มีนาคม 2491 ลับ สถานทูตอังกฤษ กรุงเทพฯ 23 กุมภาพันธ์ 2491 เรียนคุณเดนนิ่งที่เคารพ ในวิถีทางของการสนทนาของผมกับพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ( หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ) ที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าสุดท้ายของโทรเลขหมายเลข 143 ที่ลงวันที่วันนี้ของผม ผมได้สังเกตว่า ถึงแม้ผู้วางแผนการก่อการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่แล้ว ได้แสดงให้เห็นถึงปณิธานที่ดีของพวกเขาที่จะไขปริศนาที่ถึงทางตันของการเสด็จสวรรคตของอดีตพระมหากษัตริย์ หลังจากที่พวกเขาได้ยึดอำนาจ ในการดำเนินการนี้ มีการประกาศเป็นระยะถึงโทษต่างๆที่จะได้รับหากประชาชนร่วมกันต่อต้าน รวมทั้งนายปรีดีและเลขานุการทหารเรือของเขา สิ่งที่เคยเป็นเรื่องเล็กๆ ในขณะนี้ กลับกลายเป็นเรื่องที่หดหู่ใจเป็นอย่างยิ่ง ตามความเป็นจริงสำหรับผมแล้ว มันดูเหมือนว่า ทุกๆ วิถีทางที่ทำการสำรวจกัน ก็จบลงที่ทางตัน ( cul-de-sac ) เสมอ มีข้อมูลใดๆ ที่ถามกัน ซึ่งตัวเขาสามารถให้กับผมได้บ้าง ? 2. พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ตอบว่า การสอบสวนที่ดำเนินการในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ได้กำจัดเรื่องความเป็นไปได้ของการทำอัตวินิบาตกรรมออกไป พวกเขาชี้ว่ามันเป็นการฆาตกรรมหรืออุบัติเหตุ หากเป็นประการหลัง ตัวอดีตองค์พระมหากษัตริย์เองไม่ควรถูกตำหนิแต่อย่างใด หากโศกนาฎกรรมนี้เป็นผลมาจาก “ คนอีกคนหนึ่ง ” พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ไม่ได้กล่าวเข้าไปในรายละเอียดใดๆ เขาไม่ได้พาดพิงถึงชื่อใครๆ อย่างไรก็ตาม เขาอธิบายว่า เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่สอบสวนได้พบ เขาบอกกับเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างสุจริตใจว่า มันไม่มีสิ่งใดที่สาธารณชนควรจะรับทราบมากไปกว่าสิ่งที่พวกเขาได้ยินกันมาแล้วเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 กล่าวคือ กษัตริย์อานันทมหิดลได้เสด็จสวรรคตด้วย “ อุบัติเหตุ ” เนื่องจากเหตุผลของความจงรักภักดีต่อครอบครัวของพระบรมวงศานุวงศ์ เขาบังคับให้บุคคลทั้งหมดที่ทราบถึงความจริงทุกอย่าง ปิดปากเงียบเสียงลงในเรื่องนี้เสีย แม้กระทั่งเรื่องของราชเลขาธิการและมหาดเล็กสองคน ซึ่งในขณะนี้ได้ถูกจับกุมในฐานะของผู้ต้องสงสัย 3. ผมรายงานเรื่องก่อนหน้าไว้เผื่อว่ามันอาจจะมีคุณค่าในเนื้อหา มันมีความพอดีกับคำพูดต่างๆ ที่นายปรีดีได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น และมันสนับสนุนคำกล่าวที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรให้ไว้กับผมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ( จากโทรเลขหมายเลข 1003 ของผมในวันรุ่งขึ้น ) มีเรื่องอันแสนเศร้าและแสนอุบาทว์ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวอันน่าสยดสยองนี้ เป็นไปได้ที่เรื่องราวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลย ขอแสดงความนับถือ ลายเซ็น – > ทอมพ์สัน ถึงท่าน เอ็ม อี เด็นนิ่ง ( บรรดาศักดิ์ ) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายกิจการต่างประเทศ สำนักงานฝ่ายต่างประเทศ เอส ดับเบิ้ลยู 1
ในเดือนถัดมา หลวงธำรงค์ฯ ได้กล่าวคำสนทนาอย่างชัดเจนยิ่งกว่าทุกๆ ครั้ง กับนายเอ๊ดวิน สแตนตั้น ( Ambassador Edwin Stanton ) ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในการดื่มน้ำชาร่วมกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2491 ดังต่อไปนี้ :
แปลโดย: ดวงจำปา บันทึกลับ บันทึกของการสนทนา ผู้ร่วมอยู่ในการสนทนา อดีตนายกรัฐมนตรี พลเรือตรี หลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ และ เอกอัครราชทูต เอ๊ดวิน เอฟ. แสตนตั้น ณ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา นครบางกอก, ประเทศสยาม วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2491 หัวข้อเรื่อง : สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศสยาม พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ได้รับประทานน้ำชากับกลุ่มของเราเมื่อวานนี้ เขาดูดีมาก พูดได้ว่า เขามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างเมื่อสามเดือนที่ผ่านมา และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ตอนนี้ได้ออกจากการเมืองแล้ว เขากล่าวว่า เขามีความต้องการที่จะไปเที่ยวที่หัวหิน ซึ่งเป็นสถานตากอากาศชายทะเล ในอีกสักสองสามวันข้างหน้าและหลังจากการพักร้อนระยะสั้นๆ แล้ว เขาก็จะกลับไปทำธุรกิจด้านป่าไม้แทน ส่วนความสัมพันธ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในจดหมายฉบับนี้ เขาได้กล่าวว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศสยามนั้น เป็นบทเรียนที่แพงมาก และในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งอยู่นั้น เขาได้พบว่า เขาจะต้องช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับอย่างเป็นทางการจากทุนทรัพย์ส่วนตัวของเขาเองเป็น จำนวน 2,000 บาทต่อเดือน ผมเห็นว่า หลวงธำรงค์ฯ นั้นชักชวนให้สนทนาถึงสถานการณ์ทางการเมืองในแบบของเขาซึ่งไม่อ้อมค้อมและพูดแบบตรงไปตรงมา อย่างแรกสุด เขาได้อ้างถึงเรื่องการทำรัฐประหารและจำได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว เขาได้แสดงความมั่นใจให้กับผมว่า เขารู้สึกว่าตัวเขามีศักยภาพอย่างเต็มที่ในการป้องกันมิให้จอมพลแปลก พิบูลย์สงครามกลับคืนสู่อำนาจได้ เขากล่าวว่า โดยวิธีการของการอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนกลางคืนของวันที่ 8 พฤศจิกายน ( พ.ศ. 2490 — ผู้แปล ) ว่า ตามข้อเท็จจริงแล้ว เขามีศักยภาพในการควบคุมจอมพล ป. พิบูลย์สงครามโดยมาตรการต่างๆ ทางการเมืองและเชื่อได้ว่า พลเอก อดุล ( พลเอกอดุล อดุลเดชจรัส หรือ หลวงอดุลเดชจรัส — ผู้แปล ) จะสามารถยับยั้งการกระทำรัฐประหารจากฝ่ายกองทัพได้ เมื่อพูดถึงอนาคตและเจตนารมย์ของจอมพล ป. นั้น หลวงธำรงค์ฯ ได้กล่าวว่า เขามีความเชื่อมั่นจากใจเขาเองว่า บุคลิกภาพของจอมพล ป. นั้น ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้เลย เนื่องจาก จอมพล ป. เป็นบุคคลที่มีความมักใหญ่ใฝ่สูงมากและไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขามีความต้องการที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป จากรายงานที่เกี่ยวเนื่องของหลวงธำรงค์ฯ นั้น ยังกล่าวด้วยว่า ความเชื่อของเขาที่ว่า ตัวจอมพล ป. เองจะรอเวลา และพยายามที่จะให้ตนเองประสบความสำเร็จต่อความมักใหญ่ใฝ่สูงด้วยการวิธีการทางระบบรัฐสภา หลวงธำรงค์ฯ ยังเสริมต่อด้วยว่า เขาคิดว่า ความคืบหน้าในเรื่องนี้จะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อรัฐสภาเปิดสมัยประชุมในเดือนตุลาคมของปีนี้ หลวงธำรงค์ฯ ก็ยังสาธยายเกี่ยวกับภรรยาของจอมพล ป. ( พันโท ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ( พันธุ์กระวี ) — ผู้แปล ) ว่า เป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่เข้มงวดมากและมีความมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างไม่รู้จบ เขาคิดว่า เหมือนกับท่านผู้หญิงละเอียด จะเป็นบุคคลที่กดดันตัว จอมพล ป. ให้รวบอำนาจของประเทศมาไว้เสียเอง โดยการอ้างถึงตัวเขาเอง หลวงธำรงค์ฯ ได้กล่าวว่าตัวเขานั้น ไม่มีความตั้งใจที่จะนำตัวเองเข้าไปสู่ภายในสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เขากล่าวว่า เขาคิดว่ามันเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับประเทศที่นายควง ( อภัยวงศ์ — ผู้แปล ) และรัฐบาลของเขานั้น ได้ให้โอกาสต่อเขาได้แสดงว่า เขามีความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ตัวหลวงธำรงค์ฯ ก็เลยเพิกเฉยต่อการทาบทามตัวเขาหลายครั้งหลายหน โดยฝ่ายที่เรียกว่า กลุ่มฝ่ายค้านในรัฐสภา หลวงธำรงค์ฯ กล่าวว่าในขณะที่ฝ่ายค้านในสภานิติบัญญัตินั้น ยังไม่สามารถที่จะรวมตัวกันอย่างเป็นระเบียบได้ และไม่ได้เป็นตัวแทนในรูปแบบของกลุ่มที่มีความสามัคคี ในความเห็นส่วนตัวและเจตนารมย์ทางการเมืองหลากหลายความคิด แต่กระนั้น กลุ่มเหล่านี้ก็ยังพยายามที่จะ “ สร้างปัญหา ” กับนายควงกันแล้ว หลวงธำรงค์ฯ กล่าวต่อว่า เขามีประสบการณ์ตรงในความยุ่งยากลำบากแบบเดียวกันเลย เมื่อตอนที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยังกล่าวต่อไปว่า ระบบการปกครองแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ให้สำเร็จได้ในประเทศสยาม และหนทางเดียวที่รัฐบาลสามารถสร้างความมั่นใจต่อการสนับสนุนจากรัฐสภา นั่นก็คือ ใช้วิธีการปฎิบัติตามการสนับสนุนนั้นๆ หลวงธำรงค์ฯ เสริมต่อไปว่า เขาทราบว่า นายควง จะเผชิญกับความยุ่งยากแบบเดียวกับเขาอย่างแน่นอน โดยการยกตัวอย่างขึ้นมาอธิบายถึงจุดยืนของเขา หลวงธำรงค์ฯ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงคือเขาได้รับการติดต่อมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยสมาชิกห้าคนจากพรรคประชาธิปัตย์ของนายควง ว่าจะให้ความสนับสนุนทางการเมืองกับหลวงธำรงค์ฯ โดยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์อย่างหนึ่งกัน ในการสนทนาเกี่ยวกับคำถามถึงเรื่องการสวรรคตของพระมหากษัตริย์องค์ที่แล้ว ( พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล — ผู้แปล ) หลวงธำรงค์ฯ กล่าวว่า เขาไม่ทราบว่าเหตุการณ์อันเศร้าสลดนั้นจะสามารถได้รับการสะสางขึ้นมาได้หรือไม่ เขาพูดประหนึ่งว่าเป็นความลับสุดยอดเลยทีเดียวว่า หลักฐานต่างๆที่มีการสะสมกันมาในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น มีแนวโน้มที่จะพัวพันกับกษัตริย์องค์ปัจจุบันซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ แต่เขาไม่กล้าที่จะบอกเป็นนัยๆ ให้กับทางการทราบเลยว่า กรณีมันเป็นอย่างนี้ หลวงธำรงค์ฯ ยืนยันต่อด้วยว่านายปรีดี ( พนมยงค์ — ผู้แปล ) ได้พบว่าตัวเขาเองอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกัน และหลวงธำรงค์ฯ ยังเย้ยหยันต่อความคิดที่ว่า นายปรีดีเองได้มีส่วนพัวพันเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ผมได้ถามหลวงธำรงค์ฯ ว่า เขาคิดว่าผลพวงที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดว่ามีการเปิดเผยขึ้นมาว่า พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันเองนั่นแหละ เป็นผู้เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง เขากล่าวต่อว่า เขาสันนิษฐานว่า พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันจะต้องสละราชสมบัติ และคิดว่าสิ่งที่จะขยายตัวตามมาต่อจากเรื่องนี้คือ จะมีช่วงเวลาของการสับสนอลหม่านและมีการวางแผนอย่างอุบาทก์ชั่วร้าย หลวงธำรงค์ฯ กล่าวต่อว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏฯ ( พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต — ผู้แปล ) จะเป็นรัชทายาทผู้สืบราชสมบัติพระองค์ต่อไป แต่เพราะว่า พระองค์เจ้าจุมภฏฯ และพระชายาของพระองค์นั้น ไม่ได้รับความนิยม มันจึงเป็นเรื่องที่น่ากังขาว่า พระองค์จะสามารถสืบราชบัลลังก์ต่อมาได้จริงๆหรือ หลวงธำรงค์ฯ เพิ่มเติมว่า รัชทายาทองค์ต่อมาจากพระองค์เจ้าจุมภฏฯ นั้น คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ( ยุคล — ผู้แปล ) นั้น พระองค์ก็ทรงไม่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน หลวงธำรงค์ฯ กล่าวว่า คำถามเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะนั้น เป็นสถานะที่สลับซับซ้อน และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างที่สุด เนื่องจากเขารู้สึกว่า ประเทศสยาม ไม่สามารถจัดการเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจที่มีต่อความมั่นคงได้ ผมถามหลวงธำรงค์ฯ ว่า อะไรที่ทำให้เขาคิดว่า เป็นหลักฐานที่โยงกับข่าวลือซึ่งแพร่กระจายอยู่เป็นระยะๆ เกี่ยวกับการเตรียมแผนก่อการฐประหารอีกครั้งหนึ่ง เขาตอบกลับมาว่า เขาเคยได้ยินว่า พลเอก หลวงอดุลฯ นั้น กำลังวุ่นอยู่กับความพยายามที่จะเตรียมการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เขาขึ้นมาสู่อำนาจ หลวงธำรงค์ฯ กล่าวต่อว่า เขาไม่เชื่อว่า หลวงอดุลฯ จะได้รับการหนุนหลังอย่างมากมายแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายนักการเมือง หรือ จากฝ่ายกองทัพ และที่เกี่ยวกับกลุ่มกองทัพซึ่งประกอบด้วย นายทหารที่มีอาวุโสน้อย ที่เป็นผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนนั้น หลวงธำรงค์ฯ กล่าวว่า นายทหารกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มที่ดื้อรั้นควบคุมยาก แต่สามารถถูกปิดปากได้โดยการเสนอให้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นหรือให้ตำแหน่งที่ดูเหมือนมีความสำคัญที่ขึ้นโดยตรงกับทางฝ่ายรัฐบาล แต่ถึงกระนั้น หลวงธำรงค์ฯ กล่าวต่อไปว่า ตามความคิดของเขานั้น กลุ่มทุกกลุ่ม รวมไปถึงตัวจอมพล ป. ด้วย ก็เป็นเพียงรอฆ่าเวลาและเพื่อที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้รวบรวมขุมกำลังในทางการเมืองและทางกองทัพในอีกสองสามเดือนข้างหน้า ผมถามหลวงธำรงค์ฯ อย่างซึ่งๆ หน้า เลยว่า เขาได้รับการพิจารณาอะไรบ้างหรือเปล่าในการรวมกำลังกับกลุ่มของ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เขาตอบอย่างชัดแจ้งว่า เขาไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกันกับกลุ่มของ จอมพล ป. ได้ ถึงอย่างนั้นก็ตาม จากที่ผมได้รวบรวมเอกสารบันทึกรายงานต่างๆ ของหลวงธำรงค์นั้น ก็สรุปได้ว่า ตัวของหลวงธำรงค์ฯ เองด้วย ก็ยังคาดหวังและรอเวลาของวัฎจักรกงล้อทางการเมืองให้เลี้ยวกลับมาหาตัวเขาอีกครั้งหนึ่ง ผมใช้โอกาสนี้เพื่อย้ำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ไม่ได้ทำความเจริญอะไรให้กับประเทศชาติบ้านเมืองเลย และแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน มันไม่มีเหตุผลใดๆ เลย ที่ประเทศสยามนั้น จะไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ในการนำประเทศเข้าสู่ภาวะปกติสุขอีกครั้งหนึ่ง หลวงธำรงค์ฯ เห็นด้วยกับผมว่า กาลภายภาคหน้าของประเทศสยาม จะเป็นประเทศที่รุ่งเรืองและเสริมต่อท้ายด้วยคำที่ขบขันว่า เรื่องที่จำเป็นอย่างเดียวทั้งหมดนี้ ก็คือต้องกำจัดกลุ่มนักการเมืองให้หมดลงไป ลงนาม : อี เอฟ เอส อี เอฟ แสตนตั้น / จี ซี ต้นฉบับและฉบับเคลือบ ส่งไปที่กระทรวงการต่างประเทศ ( สหรัฐอเมริกา )
ในเวลานั้น ความตื่นตกใจได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับการปฎิเสธของกษัตริย์ภูมิพลที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเมืองโลว์ซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และความกังวลใจถึงการมีส่วนรู้เห็นของพระองค์ในการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลจะสร้างความอ่อนแออย่างใหญ่หลวงให้กับพระองค์ในฐานะกษัตริย์ ผู้นำของกลุ่มรอยัลลิสต์รวมไปถึงนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และพี่น้องตระกูลปราโมชทั้งสองคน คือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ และ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ได้ร่วมกันวางแผนเพื่อประกาศว่า กษัตริย์ภูมิพลได้ทำการปลงพระชนม์กษัตริย์อานันทมหิดล พวกเขาหวังว่าจะเป็นการบังคับให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติเพื่อเปิดทางให้กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรแทน ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยากลำบากใจนี้ เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันปฎิเสธที่จะยอมรับมัน ข้อมูลข่าวเหล่านี้ได้ถูกส่งออกเป็นโทรเลขถึงกรุงวอชิงตัน โดยนายเคนเนท แลนดอน ( Kenneth Landon ) ซึ่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานฝ่ายเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ดังนี้ :
รายงานล่าสุดจากแหล่งข่าวหลายแห่ง ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกับการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์อานันทมหิดล ส่งผลให้ นายควง กำลังเตรียมที่จะแถลงการณ์ว่า กษัตริย์ภูมิพลปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์โดยอุบัติเหตุ ซึ่งกษัตริย์ภูมิพลจะสละราชสมบัติ ต่อจากนั้นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร จะได้รับการสถาปนาให้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป เป็นการนำองค์ประกอบตัวใหม่เข้ามารวมอยู่ในสถานการณ์ ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องรบกวนจิตใจอย่างหนักต่อการเตรียมการทางการเมืองในขณะนั้น จอมพลแปลก พิบูลสงคราม มีความรู้สึกเป็นปรปักษ์อย่างมากต่อข้อเสนอของนายควงที่ว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรจะได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป มันอาจเป็นความจริงที่ว่ากษัตริย์ภูมิพลปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ด้วยความตั้งใจหรือเป็นอุบัติเหตุ ความเป็นไปได้ของเรื่องนี้ได้ถูกแสดงให้เห็นจากบันทึกช่วยจำฉบับก่อนหน้าซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้เขียนหัวข้อนี้… หลังจากนั้น เรื่องนี้ได้กลับกลายเป็นความพยายามอย่างจงใจของนายควงเอง เพื่อที่จะฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาใหม่ โดยให้มีอำนาจบางอย่างเทียบเท่ากับที่เคยมีอยู่ก่อน และมีการแต่งตั้งให้นายควงพร้อมกับพี่น้องตระกูลปราโมชทั้งสองคน กลายเป็นผู้นำของกลุ่มรอยัลลิสต์และของประเทศด้วย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พวกเขาหวังว่าจะสามารถประคับประคองพวกเขาเอง พร้อมกับพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรให้อยู่บนบัลลังก์ได้ เนื่องจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะสูง รวมทั้งมีความมั่งคั่งอย่างมากด้วย พร้อมทั้งมีประสบการณ์อย่างยาวนานด้านการเมืองภายในวัง พระองค์เจ้าจุมภฎพงษ์บริพัตรนั้นมีพสกนิกรชาวสยามและชาวจีนที่ปักหลักอาศัยอย่างถาวรอยู่เป็นจำนวนมากที่ให้การสนับสนุน ประการสุดท้าย พระองค์ได้รับแรงกระตุ้นจากพระชายาผู้ที่มีความทะเยอทะยาน ซึ่งเป็นบุตรสาวของเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศที่ชาญฉลาดมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศสยาม เธอเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับเล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ จอมพลแปลก และนายปรีดีเป็นคู่ปรปักษ์ทางการเมืองซึ่งสังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน เขาทั้งสองเห็นพ้องกันในการต่อต้านไม่ให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลับคืนขึ้นมาสู่อำนาจอีก พวกเขาไม่ได้ต่อต้านกับพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันเพราะว่าพระองค์ยังไม่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวและไม่มีบริวารห้อมล้อม นายควงอาจจะบังคับให้พวกเขางัดข้อกันเองโดยการสร้างความหวาดกลัวว่าจะแต่งตั้งพระองค์เจ้าจจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป
แผนการนี้ได้ถูกทำลายลงโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายทหารผู้มีอิทธิพลมากของกองทัพ จอมพลแปลกเป็นผู้โค่นล้มรัฐบาลของนายควง ด้วยการรัฐประหารในเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จอมพลแปลกต้องการเก็บกษัตริย์ภูมิพลไว้บนบัลลังก์ ด้วยความเชื่อที่ว่า ความลับในการปลงพระชนม์กษัตริย์อานันทมหิดลโดยอุบัติเหตุนั้น สามารถถูกนำมาใช้เพื่อต่อรองผลประโยชน์กับตัวกษัตริย์ภูมิพลได้ในภายหลัง ตอนบ่ายของวันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2491 การพิจารณาคดีการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลได้เริ่มขึ้น มหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี รวมทั้งนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งเป็นอดีตราชเลขาธิการ ได้ถูกกล่าวหาว่า สมคบกันทำการปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ด้วยแผนการที่สร้างขึ้นมาจากผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศคือนายปรีดี พนมยงค์ การพิจารณาคดีและการอุทธรณ์ได้ถูกดึงให้ยืดเยื้อเป็นเวลามากกว่า 6 ปี ท้ายที่สุด กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างรวบรัด เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพฯพระเชษฐาของพระองค์ และเข้าพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ รวมทั้งพิธีราชาภิเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ซึ่งเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ก่อนที่จะครบรอบการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐาของพระองค์ ท้ายที่สุด เมื่อปลายปี พ.ศ. 2494 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทยเพื่อดำรงตำแหน่งในฐานะของพระมหากษัตริย์ กษัตริย์ภูมิพลทรงทราบว่า นายบุศย์ ปัทมศริน, นายชิต สิงหเสนี และนายเฉลียว ปทุมรส ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ เกี่ยวกับการปลงพระชนม์ของพระเชษฐาของพระองค์ แม้กระนั้นก็ตาม พระองค์ก็ไม่กระทำการใดๆ เพื่อช่วยชีวิตของพวกเขา บุคคลทั้งสามได้ถูกประหารชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ด้วยข้อหาอาชญากรรมที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำแต่อย่างใด กษัตริย์ภูมิพลได้เปลี่ยนคำให้การของพระองค์เองหลายครั้งว่า กษัตริย์อานันทมหิดลเสด็จสวรรคตได้อย่างไร เพียงเวลาไม่กี่วันหลังจากที่พระเชษฐาของพระองค์เสด็จสวรรคต กษัตริย์ภูมิพลได้ยืนยันอย่างแข็งขันว่ามันเป็นอุบัติเหตุ แต่ในคำให้การของพระองค์ในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการฆาตกรรม พระองค์ได้ยกเลิกคำให้การเหล่านี้เสีย และเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่อง ที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของนายเฉลียว ปทุมรส ในทศวรรตที่ 1970 ( พ.ศ. 2513–2523 ) สำนักพระราชวังได้ยกเลิกข้อกล่าวหาที่ว่า นายชิต, นายบุศย์ และ นายเฉลียว — และนายปรีดี- มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จากการสัมภาษณ์ของสถานีโทรทัศน์ บีบีซี ในสารคดีชื่อ Soul of a Nation ( จิตวิญญาณของคนไทยทั้งชาติ ) ซึ่งออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2523 นั้น กษัตริย์ภูมิพลได้ให้คำตอบซึ่งเป็นข้อแก้ตัวที่ประหลาด ด้วยการอธิบายว่า การฆาตกรรมเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อน โดยการอำพรางคดีจากบุคคลหลายคนที่มีอำนาจมากทั้งในและต่างประเทศที่ไม่ทราบว่าเป็นใครบ้าง : ระหว่างปีทศวรรษ 1990 ( ประมาณปี พ.ศ. 2533–2543 ) กษัตริย์ภูมิพลได้ให้ความร่วมมือกับนายวิลเลียม สตีเวนสัน ( William Stevenson ) ซึ่งเป็นนักเขียนจากประเทศแคนาดา ในการเขียนชีวประวัติแบบกึ่งทางการซึ่งเดินหน้าไปยังเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งว่า กษัตริย์อานันทมหิดลเสด็จสวรรคตได้อย่างไร ในขณะนั้นแพะรับบาปที่ถูกกล่าวหา ได้กลายเป็นนายมาซาโนบุ ซูจิ ( Masanobu Tsuji ) นายทหารที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งของประเทศญี่ปุ่น กษัตริย์ภูมิพลกล่าวว่า นายมาซาโนบุผู้นี้ ได้ลักลอบเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง โดยการปลอมตัวเป็นพระภิกษุ เรื่องเล่านี้ไร้สาระเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีหลักฐานที่ไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่า นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กับกรุงเทพเลย ในขณะที่กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกปลงพระชนม์ การเปลี่ยนเรื่องราวครั้งแล้วครั้งเล่าของกษัตริย์ภูมิพลเอง แสดงให้เห็นเงื่อนงำบางอย่างว่า อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยให้คำอธิบายที่น่าเชื่้อถือเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐาของพระองค์เลยสักครั้งเดียว เรื่องหนึ่งที่น่าแปลกเกี่ยวกับความลับที่ว่า กษัตริย์อานันทมหิดลเสด็จสวรรคตได้อย่างไรนั้น ภายในวงการระดับสูงของประเทศไทย กลับไม่เคยเป็นเรื่องที่ลึกลับอะไรเลย เมื่ออยู่ในที่ส่วนบุคคล สมาชิกของครอบครัวเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ต่างก็รับรู้กันอย่างจำเจจากเพื่อนสนิทที่ตนเองไว้วางใจกันว่า กษัตริย์ภูมิพลเองที่เป็นผู้ปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งอาจจะเป็นอุบัติเหตุ ในรายละเอียดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลจากแหล่งข่าวที่เป็นเชื้อพระวงศ์ ได้ถูกเขียนขึ้นด้วยลายมือเป็นการส่วนตัวจากบันทึกของนางมากาเร็ต แลนดอน ( Margaret Landon ) ซึ่งเป็นภรรยาของนายเคนเนท แลนดอน ( Kenneth Landon ) นักการทูตประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2514 และบันทึกชุดนี้สามารถพบได้จากหอสมุดที่เก็บเอกสารของคู่สมรสคู่นี้ ที่วิทยาลัยวีตั้น ( Wheaton College ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ครอบครัวแลนดอนเป็นคู่รักกันตั้งแต่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ทั้งคู่ทำการสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2469 และได้เดินทางเข้าสู่ประเทศสยามเมื่อปี พ.ศ. 2470 ในฐานะของมิชชั่นนารีศาสนาคริสต์ นิกายเพรสไบทีเรียน ( Presbyterian ) หลังจากที่ประจำการอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อเรียนรู้ภาษาไทย ทั้งคู่ได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ทางภาคใต้ คือ จังหวัดตรัง ซึ่งทั้งคู่ได้เปิดโรงเรียนสอนคริสต์ศาสนาเป็นเวลาสิบปี ก่อนที่จะกลับมายังประเทศสหรัฐอเมริกา นายเคนเนท แลนดอน ศึกษาในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ และใน ปี พ.ศ. 2484 เมื่อลางร้ายของสงครามกับประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้น นายแลนดอนได้ถูกว่าจ้างโดยพันเอก ดอนาวัน หรือ “ บิลล์ผู้บ้าคลั่ง ” ( Colonel “ Wild Bill ” Donovan ) ให้มารับตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในสำนักงานข่าวกรองใหม่เอี่ยมของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านข้อมูล ( the Office of Co-ordinator of Information ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานบริการยุทธศาสตร์ ( Office of Strategic Services ( OSS ) ) จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ หรือ ซีไอเอ นั่นเอง ( Central Intelligence Agency ( CIA ) ) ในปี พ.ศ. 2486 นายแลนดอนได้ทำงานให้กับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะนายทหารประจำการทางการเมือง ( political Desk Officer ) สำหรับประเทศไทย ซึ่งต่อมานายแลนดอนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายกิจการเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ( Assistant Chief of the Southeast Asia Division ) ในช่วงที่ทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสยาม นางมากาเร็ต แลนดอนได้เริ่มหลงเสน่ห์กับชีวิตของนางแอนนา เลียวโนเวนส์ ( Anna Leonowens ) ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีเชื้อสายอังกฤษและอินเดียผสม นางเลียวโนเวนส์เป็นครูสอนพิเศษให้กับพระสนมทั้งหลาย พระโอรสและพระธิดาอีกหลายพระองค์ของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เมื่อสมัยปี พ.ศ. 2403–2413 นางเลียวโนเวนส์ได้ตีพิมพ์หนังสือนวนิยายกึ่งจริงที่เล่าประวัติของเธอ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ชื่อเรื่อง แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม ( Anna and the King of Siam ) เมื่อปี พ.ศ. 2487 นวนิยายเรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องโด่งดัง เพราะสามารถขายได้มากกว่า 1 ล้านเล่มจากทั่วโลก และได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เป็นละครเพลงที่มีชื่อเสียงมากทีสุดเรื่องหนึ่งชื่อเรื่อง The King and I โดย ริชาร์ด ร๊อดเจอรส์ ( Richard Rodgers ) และ ออสก้าร์ แฮมเมอร์สไตน์ ที่สอง ( Oscar Hammerstein II — และ ภาพยนต์ที่ฉายในปี พ.ศ. 2499 ภาพยนต์เพลงได้รับความนิยมทั่วโลกในปีนั้นด้วย เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง นายเคนเนท แลนดอนได้ถูกส่งตัวไปที่ฝ่ายตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อร่วมการเจรจาต่อรองอย่างตึงเครียด กับฝ่ายประเทศไทยและฝ่ายประเทศอังกฤษเกี่ยวกับสภาวะของประเทศสยามหลังจากสงคราม นายแลนดอนใช้เวลาอยู่เป็นเดือนๆในภูมิภาคนั้น จากปลายปี พ.ศ. 2488 ไปจนถึงกลางปี พ.ศ. 2489 และได้พบกับผู้นำทางการเมืองคนสำคัญๆ หลายคนของประเทศไทยในสมัยนั้น รวมทั้งกษัตริย์อานันทมหิดล ซึ่งเพิ่งเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ด้วย เนื่องจากนายแลนดอนเป็นผู้ประสานงานได้อย่างยอดเยี่ยม รวมไปถึงสามรถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว นายแลนดอนได้ถูกประจำการให้เป็นผู้ติดต่อหลักของกระทรวงการต่างประเทศในเรื่องของประเทศไทยอีกเป็นเวลาหลายปี นายแลนดอนทำงานในห้องทำงานที่กรุงวอชิงตันและเดินทางไปยังภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายครั้ง ตามที่นายแดเนี่ยล ไฟน์แมน ( Daniel Fineman ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนชื่อ A special relationship : The United States and military government in Thailand, ( ความสัมพันธ์พิเศษ : ประเทศสหรัฐอเมริกากับรัฐบาลทหารในประเทศไทย ) นายแลนดอน “ ยังคงเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นเลิศของกระทรวงการต่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศไทยในต้นทศวรรษปี 1950 ( ราวๆ พ.ศ. 2493–2498 ) ” ศาสตราจารย์ คล้าค เนเออร์ ( Clark Neher ) ได้กล่าวถึงนายแลนดอนว่า “ เป็นตัวหลัก ( fulcrum figure ) ซึ่งอยู่ใจกลางของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกาในปลายทศวรรศ 1940 ( ราวๆ ปี พ.ศ. 2490–2493 ) ” ในบทความเก่าที่เคยเขียนอยู่ ที่นี่ และ ที่นี่ ข้าพเจ้าขอแชร์ความคิดเห็นส่วนตัวของนายเคนเนท แลนดอนเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดลดังต่อไปนี้ บันทึกลายมือที่เขียนขึ้นโดยนางมากาเร๊ต ซึ่งเป็นภรรยาของเขา มีพื้นฐานมาจากการสนทนากับเพื่อนของเธอคือ นางลิเดีย ณ ระนอง ( Lydia Na Ranong ) ซึ่งเป็นผู้หญิงที่เกิดในตระกูลชั้นผู้ดีของประเทศจีน นางลิเดียได้สมรสกับคนไทย และกลายเป็นคนสนิทของกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงในกรุงเทพฯ เรื่องเล่าของนางลิเดีย ณ ระนอง ได้ยินจาก แวดวงของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ว่า เป็นเรื่องที่ผิดธรรมดา เนื่องจากเหตุผลหลายประการ มันเป็นการเขียนเรื่องราวอย่างเป็นทางการขึ้นมาใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับชีวประวัติของนางสังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์ภูมิพล และ กษัตริย์อานันทมหิดล ในบันทึกกล่าวว่า การถูกปลงพระชนม์ของกษัตริย์อานันทมหิดลนั้น มหาดเล็กทั้งสองคน คือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี ได้รู้เห็นต่อการกระทำนั้น และมีการเสริมขึ้นมาด้วยว่า อดีตราชเลขาธิการ คือ นายเฉลียว ปทุมรส มีความสัมพันธ์เป็นชู้สาวกับนางสังวาลย์ และอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ในขณะที่ลูกปืนที่คร่าชีวิตนั้น ได้ถูกยิงออกมาจากกระบอกปืน เรื่องของคำเล่าลือ และรายละเอียดบางอย่างยังเคลือบแคลงอยู่ — เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นางมากาเร๊ต แลนดอนได้จดบันทึกลงด้วยความเร่งรีบ ลายละเอียดถูกเสริมขึ้นเพื่อสบประมาทนางสังวาลย์ ซึ่งเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์อานันทมหิดลและกษัตริย์ภูมิพล นางสังวาลย์เกิดมาจากตระกูลสามัญชนและไม่เคยได้รับความชื่นชอบ จากกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่ เรื่องนี้ไม่สามารถรับการพิจารณาได้ว่าเป็นรายละเอียดที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ก็ตาม แต่มันอาจแสดงให้เห็นถึงความคิดเพียงแวบเดียวว่าอะไรเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันวิปโยคนั้น ที่ได้เปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปอย่างชั่วนิรันดร์ บทความข้างล่างนี้ คือ บันทึกลายละเอียดของนางมากาเร๊ต แลนดอน เกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดล เอกสารต้นฉบับสามารถดูได้ ที่นี่
6 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ลิเดีย — การเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ เมื่อเธอเดินทางมาถึงประเทศไทยพร้อมกับนายโชค ( Chok ) เธอได้รับการต้อนรับเหมือนกับเจ้านายในพระบรมวงศานุวงศ์ และพระมหากษัตริย์ได้ให้พระบรมราชานุญาตในเรื่องสิทธิคุ้มครอง ( immunity ) จากการถูกจับกุมโดยปราศจากการยินยอมของพระองค์ก่อน ซึ่งกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์มีเอกสิทธิ์นี้เช่นกัน ในเวลาต่อมา เธอได้รู้จักกับสมาชิกชั้นนำของครอบครัวพระบรมวงศานุวงศ์และได้ถูกกล่าวถึงอย่างเป็นพิเศษจากเจ้าชายวรรณ ( Prince Wan ) ( อาจหมายถึง พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์- Prince Wan Waithyakon. Kromamun Naradhip Bongsprabandh- ผู้แปล ) และเจ้าชายรังสิต ( สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ) รวมไปถึงอีกหลายๆ พระองค์ด้วย เธอกล่าวว่า จากคำบอกเล่าของสมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์ท่านหนึ่ง เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าของพวกเขาในเรื่องการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์อานันทมหิดล เธอคาดการณ์ว่า แหล่งข้อมูลที่ให้ ( ข้อเท็จจริง ? ) กับเธอนั้น มาจากพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เป็นไปได้ว่า จากปากของสมาชิกในครอบครัวของพระองค์เอง เรื่องนี้เริ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อพระมารดาของกษัตริย์อานันทมหิดล คือ สมเด็จพระพันวัสสาอยิกาเจ้า ( ถามวินิจเกี่ยวกับการใช้คำคำนี้ มันมีความหมายว่าเป็นคุณย่าของกษัตริย์ใช่ไหม ? ) ได้ส่งผู้หญิงสองคนจากคณะผู้ติดตามของพระองค์ เพื่อไปศึกษาต่อ ( อย่างโอ้อวด ) แต่ต้องทำหน้าที่เป็น “ เมียน้อย ” ให้กับเจ้าชายมหิดลอีกด้วย พระราชินีผู้ชราภาพแสดงออกเสมอๆว่า ต่อต้านคนต่างชาติอย่างรุนแรงและมีความกลัวเป็นอย่างยิ่งต่อความเป็นไปได้ที่จะมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงต่างชาติ เจ้าชายมหิดลตกหลุมรักกับนางสาวสังวาลย์และตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับเธอ เมื่อเจ้าชายมหิดลเขียนจดหมายให้ทราบถึงความประสงค์ของพระองค์ จดหมายของพระองค์ได้ถูกตีความหมายผิดพลาดไป พระราชมารดาของพระองค์คิดว่าพระองค์จะกลับบ้านเพื่อทำการอภิเษกสมรส และในเวลานั้น นางสาวสังวาลย์อยู่ในฐานะของ “ เมียน้อย ” สร้างความตกตะลึงเป็นอย่างยิ่งในหมู่ของพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อทั้งสองได้เดินทางถึงกรุงเทพและจุดประสงค์อย่างแท้จริงได้ถูกเปิดเผยขึ้นมา ฉันเชื่อว่าพระราชินีผู้ชราภาพนั้นไม่สามารถยินยอมในเรื่องนี้ได้ และตัวพระมหากษัตริย์เองก็ยังปฎิเสธที่จะจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส แต่เจ้าชายมหิดลเองได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ( กรมหลวงนครสวรรค์ ) เป็นผู้ประกอบพิธีให้จนสำเร็จ พระราชวังของพระราชินีผู้สูงศักดิ์อยู่ที่ปทุมวัน และพระองค์ไม่เคยอนุญาตให้นางสังวาลย์เข้ามาในเขตพระราชฐานได้ หลังจากที่พระราชินีทรงเสด็จสวรรคตแล้ว กษัตริย์ภูมิพลได้มอบพระราชวังแห่งนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ เพื่อเป็นการตอบแทน แต่ความเกลียดชังต่อนางสังวาลย์ยังคงมีอยู่ในครอบครัวของพระบรมวงศานุวงศ์ รายละเอียดหลายเรื่องที่อยู่ในหนังสือ The Devil ’ s Discus ( กงจักรปีศาจ ) เป็นเรื่องที่ถูกต้อง สำนักงานบริการยุทธศาสตร์ ( OSS ) ได้มอบปืนกระบอกหนึ่งให้กับกษัตริย์อานันทมหิดล ซึ่งเป็นปืนกระบอกเดียวกับที่ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคต พระองค์ไม่ค่อยสบายพระวรกายเท่าไรนักเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พี่น้องทั้งสองพระองค์ชอบปืน ( เรื่องเล่าของเคนเนทดำเนินต่อไป ) ในตอนเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน กษัตริย์อานันทมหิดลยังประชวรอยู่ พระองค์บรรทมอยู่บนเตียงพร้อมกับหยิบปืนขึ้นมาเล่น เจ้าฟ้าชายภูมิพลเสด็จเข้ามาข้างในห้องบรรทม กษัตริย์อานันทมหิดลจับปืนขึ้นจ่อไปที่พระเศียรของเจ้าฟ้าภูมิพลและกล่าวว่า “ ฉันสามารถฆ่าเธอได้ ” จากนั้น เจ้าฟ้าภูมิพลก็แย่งปืนมาและยกมันจ่อที่พระเศียรของกษัตริย์อานันทมหิดล และกล่าวว่า “ ฉันก็ฆ่าเธอได้เช่นกัน ” กษัตริย์อานันทมหิดล กล่าวว่า “ เหนี่ยวไกเลย ! เหนี่ยวไกเลย ! ” เจ้าฟ้าภูมิพลก็ทำตามนั้นและปลงพระชนม์กษัตริย์อานันทมหิดล นางลิเดียเชื่อว่า การปลงพระชนม์เป็นอุบัติเหตุ นี่เป็นจุดที่ไม่เคยมีการสะสางข้อเท็จจริงกัน เจ้าฟ้าภูมิพลตกใจจนลนลานและหวาดกลัวไปหมด แผนที่ของพระบรมมหาราชวังอยู่ในหนังสือกงจักรปิศาจ และห้องบรรทมที่กษัตริย์อานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพระบรมมหาราชวังที่ใช้ในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะระดับสูง ( VIPs ) นางลิเดียเคยมีโอกาสได้เห็นมัน เมื่อเข้าร่วมในงานปาร์ตี้ของคณะทูตานุทูตจากทวีปอเมริกาใต้ มัคคุเทศก์ที่อยู่ในงานได้เล่าเรื่องราวและนำกลุ่มอาคันตุกะเข้าชมห้องต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งของเตียงที่กษัตริย์อานันทมหิดลเสด็จสวรรคต หลังจากนั้น มหาดเล็กสองคนได้ถูกประหารชีวิตเนื่องจาก “ อาชญากรรม ” ที่ได้เห็นการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้า เนื่องจากว่า เมื่อองค์พระมหากษัตริย์ตื่นจากบรรทมเมื่อไร พวกเขาจะต้องเข้าไปถวายการรับใช้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
Read more: France national football team
เจ้าฟ้าภูมิพลได้วิ่งเข้าออกจากห้องบรรทมไปยังเฉลียงและเข้าไปในห้องบรรทมของพระราชมารดาของพระองค์ เมื่อพระองค์ไปถึง ก็มีผู้ชายคนหนึ่งออกมาจากห้องนอนนั้น เรื่องนี้ ( นางลิเดียกล่าวว่า มาจากเรื่องเล่าจากการบอกเล่าของสมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์คนหนึ่ง ) สร้างความตกตะลึงแทบช้อคให้กับเจ้าฟ้าภูมิพลในทันที และถึงกระนั้นก็ตาม ถ้าพระราชมารดาของพระองค์มีชู้รักแล้ว มันดูเหมือนว่า ไม่มีแนวโน้มใดๆ ที่พระองค์จะไม่ทราบเรื่องนี้บ้างเลย นางลิเดียเรียกผู้ชายคนนี้ว่า “ เลขานุการคนนั้น ” ซึ่งชัดเจนอยู่แล้วว่า เราควรจะรู้แล้วว่าเธอหมายถึงใคร กษัตริย์ภูมิพลเล่าเรื่องราวอันน่าสยดสยองของพระองค์ และเหตุการณ์ต่างๆ ก็เริ่มต้นที่จะดำเนินตามวิถีทางของมัน เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์กล่าวติเตียนนางสังวาลย์ พวกเขากล่าวว่า พระองค์มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เป็นพระราชมารดาของกษัตริย์และตัดสินใจอย่างทันท่วงทีที่จะเก็บกดความจริงเอาไว้เพื่อปกป้องเจ้าฟ้าภูมิพลและรักษาสิทธิของพระองค์ เพื่อสืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐาของพระองค์ และพวกเขากล่าวว่า มันเป็นปณิธานของพระองค์เองที่จะคงอยู่ในตำแหน่งเดิมของพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า นางสังวาลย์ควรยืนยันที่จะเปิดเผยความจริงให้รับรู้กัน พวกเขาเชื่อว่าการเสด็จสวรรคตนั้นแท้จริงแล้วเป็นอุบัติเหตุ ไม่ใช่การฆาตกรรม และประชาชนควรได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น พวกเขากล่าวว่า หลังจากนั้น เจ้าฟ้าภูมิพลควรสละราชสมบัติไปเป็นพระภิกษุตลอดชีวิตและยินยอมให้ราชสมบัตินั้นผ่านไปยังสมาชิกของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นแทน วิธีการนี้จะเป็นวิถีทางที่น่ายกย่องซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุจริตใจ นางลิเดียคิดว่า ฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า การสืบราชสมบัตินั้นจะถูกผ่านมายังพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร