สมัยผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนพระคริสตธรรม มีสามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นสมาชิกโบสถ์แถวนั้น ครั้งหนึ่งที่โบสถ์จัดงาน มีการเชิญนักเทศน์ผู้มีชื่อเสียงมาเทศนา สามีภรรยาคู่นี้ีอาสา ขับรถไปรับนักเทศน์ท่านนี้จากสนามบิน ทั้งคู่นำลูกๆไปด้วยสามคน ขากลับจาก สนามบิน ทั้งคู่ถามนักเทศน์ถึงเรื่องที่จะนำมาเทศนาในวันอาทิตย์ที่จะมาถึง ท่านตอบ ว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ พอถึงวันอาทิตย์ ท่านกล่าวว่า “ องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงนำให้พูด เรื่องการอบรมบุตร ” สามีภรรยาคู่นี้คงพอเข้าใจได้ว่า น่าจะเนื่องมาจากความประพฤติ ของลูกๆ ระหว่างทางที่นั่งรถมา ความประพฤติที่ไม่น่ารัก และการที่ทั้งคู่ไม่สามารถ ควบคุมลูกได้ กลายมาเป็นหัวข้อคำเทศนาในวันนั้น ทั้งคู่รู้ดีว่าคำเทศนานี้จำเพาะเจาะ จงถึงตนเองแน่นอน คุณผู้อ่านคงจะพอเดาได้ว่า ใจความหลักในตอนนี้น่าจะเป็นเรื่องสัมพันธภาพระหว่าง พ่อแม่ลูก เพราะเนื้อหาตรงกับพระธรรมตอนนี้ ผมจะอธิบายพระธรรม 1 และ 2 ซามูเอล อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงไม่สามารถข้ามเรื่องการเลี้ยงดูลูกไปได้ อย่าคิดว่าผมจะสามารถสอนเรื่องนี้ได้ง่ายๆ ลูกคนสุดท้องของผมจบจากมหาวิทยาลัย และย้ายไปสอนอยู่ที่รัฐอื่นแล้ว ดูเหมือนหน้าที่พ่อแม่ของเราจบลง เพราะลูกๆทุกคน ดูจะไปได้ดี แต่ยังมีอีกสองสิ่งที่เราต้องคำนึงถึง สิ่งแรก เมื่อมาถึงจุดนี้ พ่อแม่หลายคู่ ค้นพบว่าหน้าที่นี้ไม่มีวันจบ เพียงเปลี่ยนไปและลดน้อยลง แต่ยังมีความรับผิดชอบอยู่ ในฐานะพ่อแม่ เช่นเดียวกับลูกยังมีหน้าที่รับผิดชอบในฐานะลูก ( เช่นดูแลเมื่อเราแก่ชรา ซึ่งสำหรับผมคงอีกนานครับ ! ) เราไม่สามารถอวดอ้างเรื่องความสำเร็จต่่างๆในชีวิตของ ลูกได้ เช่นเดียวกับที่พวกคุณๆอย่าโทษตัวเองสำหรับสิ่งเลวร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นกับชีวิต ของพวกเขา ถ้าลูกของเราเดินกับพระเจ้า โดยพระคุณและพระสิริของพระองค์ เราไม่ สามารถนำสิ่งที่พระเจ้ากระทำมาอวดอ้างได้ และในไม่ช้า เราก็จะเข้าไปสู่มิติใหม่อัน น่าตื้นเต้นของการเป็นปู่ย่า ตายาย ผมเชื่อว่าเป็นงานที่ท้าทายพอดู
คุณคงเห็นว่าพระธรรมตอนนี้ดูออกจะ “ ดุเดือด ” และ “ น่าหวั่น ” ผมรู้สึกไม่อยากที่ จะสอน เพราะดูเหมือนกำลังเอาประสพการณ์และความคิดส่วนตัวในการเลี้ยงดูลูกมา สอนพ่อแม่คู่อื่น ผมตระหนักดีว่ามาตรฐานในฐานะพ่อแม่ตามพระธรรมตอนนี้เป็นสิ่งที่ เราต้องยึดถือปฏิบัติ ซึ่งเราคงทำได้ไม่ครบถ้วนนัก การตายของเอลีและบุตรทั้งสอง นั้น ( ดูได้จาก 1 ซามูเอล 4 ) เป็นคำเตือนชัดเจนว่า พ่อแม่ต้องจ่ายราคาแพงเพียงใด เมื่อไม่ยอมทำตามพระบัญญัติของพระเจ้าในการเลี้ยงดูบุตร เราคงต้องเอาจริงเอาจัง กับเรื่องนี้เป็นพิเศษ พยายามฟังพระคำพระเจ้าให้เข้าใจ เกี่ยวกับภาระอันยิ่งใหญ่ของ การเลี้ยงดูบุตรหลานของเรา

ทบทวน 1 ซามูเอล 2:11-4:22

เราคงต้องอ่าน ตีความ และนำเนื้อหาพระธรรมตอนนี้มาใช้ตามบริบท เนื้อหาในบทที่ 2 เป็นเหมือนการจัดเตรียมฉากสำหรับรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทที่ 4 โดยการนำ ชีวิตของซามูเอลมาเปรียบเทียบกับบุตรทั้งสองของเอลี โฮฟนี และฟีเนหัส โดยมีตัว เลือกระหว่างซามูเอลและ “ บุตรทั้งสองของความชั่ว ” เนื้อหาเป็นการเปรียบเทียบ ที่ชัดเจน ผมชอบวิธีที่ Dale Ralph Davis นำเรื่องซามูเอลและบุตรของความชั่วมา ควั่นไว้ด้วยกัน ทำให้เราเห็นภาพ :

ผู้เขียนอธิบายในบทที่ 3 เรื่องการเติบโตของซามูเอลในที่ทำการของปุโรหิต และ ที่ทำการของผู้เผยพระวจนะ ในตอนท้ายของบทที่ 3 คนอิสราเอลทั้งชาติยอมรับ และให้ความเคารพซามูเอลในฐานะผู้เผยพระวจนะแท้จริงของพระเจ้า บทที่ 4 พูด ถึงคำพยากรณ์ที่เป็นคำเตือนของพระเจ้าเกี่ยวกับเอลีและบุตรสำเร็จลง ( สองครั้งโดย ผู้เผยพระวจนะที่ไม่ได้เอ่ยนามในบทที่ 2 และโดยซามูเอลเองในบทที่ 3 ) คนอิสราเอล ต้องพ่ายแพ้ให้กับคนฟิลิสเตีย หีบพระบัญญัติถูกยึดไป เอลีและบุตรทั้งสองสิ้นชีวิตลง รวมไปถึงลูกสะไภ้ด้วย คำเตือนและคำพยากรณ์ในบทที่ 2 และ 3 ต้องอ่านเพื่อให้เล็ง เห็นผลของคำพยากรณ์ที่จะสำเร็จไปในบทที่ 4

มาทำความรู้จักกับหน้าที่ของปุโรหิตกัน

เราต้องรู้เรื่องปุโรหิตตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมเลวีนิติก่อนที่จะเรียนเรื่องบุตรทั้งสอง ของเอลี อาโรนและบุตรเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่พระเจ้าแต่งตั้งให้รับใช้ในฐานะปุโรหิต นาดับและอาบีฮู บุตรชายสองคนแรกของอาโรน ถูกประหารเพราะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในการเป็นปุโรหิตอย่างถูกต้อง พวกเขาเอา “ ไฟต้องห้าม ” มาเผาบูชา จึงถูกไฟนั้น คลอกตาย เอเลอาซาร์และอิธามาร์บุตรที่เหลือของอาโรนจึงขึ้นมารับหน้าที่แทน ( เลเวนิติ 10:1-3 ; กันดารวิถี 3:4 ; 26:60-61 ) .
ปุโรหิตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลายอย่าง พวกเขามีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการเรื่อง พิธีการต่างๆในเต็นท์พลับพลา ( อพยพ 27:21 ; เลวีนิติ 24:1-7 ; กันดารวิถี 18:1-7 ). รวมถึงหน้าที่ดูแลที่แท่นเผาบูชา ต้องตักมูลเถ้าออกจากไฟที่ไหม้ไปไว้ด้านนอก ( เลวีนิติ 6:8-13 ) พระเจ้าทรงสัญญาจะสถิตอยู่ท่ามกลางพวกเขาที่ประตูเต็นท์นัดพบ ( อพยพ 29:42-46 ) เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่มีสิทธิพิเศษ และได้อยู่ใกล้ชิดกับพระเจ้าผู้ บริสุทธิ์ พวกเขาจึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษในเรื่องความบริสุทธิ์ของตนเองที่จะไม่ทำให้ หน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ต้องด่างพร้อย ซึ่งรวมถึงการไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมา ( เลวีนิติ 10:8-11 ) ซึ่งอาจเป็นตัวการก่อให้เกิดนำ “ ไฟต้องห้าม ” มาใช้อย่างเช่นที่นาดับและ อาบีฮูกระทำ ( 10:1-3 ) พวกเขาต้องไม่ทำให้ตนเองเป็นมลทินด้วยการแตะต้องศพ หรือ แต่งงานกับหญิงโสเภณี หรือมีบุตรสาวที่เป็นโสเภณี ( เลวีนิติ 21:1-9 ) ปุโรหิตต้องไม่มี ร่างกายที่พิการ หรือเ็ป็นมลทินในขณะปฏิบัติหน้าที่ ( เลวีนิติ 21:10—22:9 ) ปุโรหิต ต้องมีหน้าที่ตรวจดูบาดแผลโรคภัยใข้เจ็บต่างๆตามร่างกาย ไม่ว่าเป็นโรคเรื้อน อักเสบ หรือเป็นมลทิน ( ดู เลวีนิติ 13-16 ) ปุโรหิตต้องเป็นผู้เป่าแตรเพื่อเป็นสัญญาณให้กับคน อิสราเอล ( กันดารวิถี 10:8 ) และยังต้องทำหน้าที่นอกเหนือไปจากนี้อีก เช่นสั่งสอน กฎบัญญัติของโมเสสให้กับประชาชน และต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความด้วย ( เฉลยธรรม บัญญัติ 17:8-13 ; 33:8-11 ) ถ้าบรรดาปุโรหิตไม่สามารถกระทำหน้าที่นี้ได้อย่างสัตย์ซื่อ พวกเขาก็จะถูกสาปแช่ง ( มาลาคี 2:1-10 ) เสื้อผ้าที่ปุโรหิตใช้สวมใส่ประกอบด้วย กางเกง เสื้อ รัดประคด และหมวก เป็นสัญญลักษณ์ของความสมเกียรติและงดงาม เหมาะสำหรับปฏิบัติ หน้าที่ในวิสุทธิสถาน ( อพยพ 28:40-43 ) .
พระเจ้าไม่ได้มอบมรดกให้กับปุโรหิตเหมือนเผ่าอื่นๆที่เหลือ ( กันดารวิถี 18:24 ) แต่ พระองค์จัดเตรียมการเลี้ยงดูพวกเขาอย่างพิเศษ พวกเขาจะได้รับส่วนแบ่งจากเนื้อ ที่ชาวอิสราเอลนำมาถวาย จะได้รับส่วนที่แบ่งจากทศางค์ และของถวายบูชาต่างๆที่ คนอิสราเอลนำมาถวายพระเจ้า ( กันดารวิถี 18:8-32 ) พวกเขาจะได้รับประทานขนมปัง หน้าโต๊ะพระพักตร์ ( เลวีนิติ 24:8-9 ) พระเจ้าทรงกำหนดส่วนต่างๆของเนื้อที่นำมา ถวายบูชาให้กับปุโรหิต : เขาจะได้รับอกและขาขวาหลังจากการเผาใขมันบนแท่นบูชา แล้ว ( เลวีนิติ 7:31-34 ; ดู 3:3-5, 14-17 ; 7:22-25 ด้วย )

ไหนล่ะเนื้อ ?
( 2:12-7 )

12 ฝ่ายบุตรทั้งสองของเอลีเป็นคนอันธพาล เขามิได้ นับถือพระเจ้า 13 ธรรมเนียมของปุโรหิตที่มีต่อประชา ชนเป็นอย่างนี้ เมื่อมีประชาชนคนใดถวายเครื่องสัตวบูชา คนใช้ของปุโรหิตจะเข้ามา มือถือสามง่ามขณะเมื่อเนื้อ กำลังต้มอยู่ 14 เขาจะเอาสามง่ามแทงเข้าไปในกระทะ หรือหม้อหู หรือหม้อทะนน หรือหม้อธรรมดา สามง่าม ติดอะไรขึ้นมา ปุโรหิตก็เอาสิ่งนั้นไปเป็นของตน ที่เมือง ชิโลห์เขาก็กระทำเช่นนั้นแก่คนอิสราเอลทุกคนที่มา บูชาที่นั่น 15 ยิ่งกว่านั้นอีก ก่อนที่เขาเผาไขมัน คนใช้ ของปุโรหิตเคยเข้ามากล่าวแก่ชายผู้กระทำบูชานั้นว่า “ ขอเนื้อไปให้ปุโรหิตทอด ท่านไม่รับเนื้อต้มจากเจ้า ท่านต้องการเนื้อดิบ ” 16 และถ้าชายคนนั้นกล่าวแก่ เขาว่า “ ขอให้เขาเผาไขมันเสียก่อน แล้วจงเอาไปตาม ชอบใจเถิด ” เขาจะตอบว่า “ ไม่ได้ เจ้าต้องให้เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่ให้ข้าก็จะเอา ” 17 ดังนี้แหละ บาปของคนหนุ่มทั้ง สองนั้นจึงใหญ่หลวงนักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะว่าคนเหล่านั้นได้ดูหมิ่นของถวายแด่พระเจ้า
เรารู้แล้วว่าพระเจ้าทรงเลี้ยงดูปุโรหิตอย่างไร เวลาทำการถวายบูชาต้องมีการเผาใขมัน ถวายบูชาแด่พระเจ้าเสียก่อน ผู้ทำหน้าที่ในการเผาบูชาจะได้รับส่วนแบ่งจากเนื้อสำหรับ ตนเองและครอบครัว ( ดู 1:5 ) ปุโรหิตจะได้รับส่วนอกและขาขวา ( ดูด้านบน ) นี่เป็นกฎ บัญญัติตามที่โมเสสสั่งไว้ แต่ปุโรหิตไม่ได้กระทำตามนั้น คนเหล่านี้ “ มิได้นับถือพระ เจ้า ” หรือรู้จัก “ หน้าที่ปฏิบัติของปุโรหิต “ ( ข้อ 12-13 ). 2 บุตรทั้งสองผู้ “ มิได้นับ ถือพระ เจ้า ” หรือที่เราเรียกว่า “ บุตรของความชั่วร้าย ” ( ตามตัวอักษร ) หรือ “ เป็น คนอันธพาล ” ( ข้อ 12 ) 3 เป็นข้อสังเกตุที่น่าสนใจว่าในขณะที่บุตรของเอลีถูกเรียกว่า เป็น “ บุตรของความชั่วร้าย ” แต่เอลีเองกลับด่วนสรุปและตำหนินางฮันนาห์ว่าเป็น หญิงเลว หรือ “ บุตรของความชั่วร้าย ” ไปด้วย ( ดู 1:16 ) เป็นข้อหาที่นางปฏิเสธ
” บุตรอันธพาล ” ทั้งสองของเอลีทำผิดสิ่งใดจึงถูกเรียกเช่นนี้ ? ผู้เขียนบอกเราว่า ข้อแรก พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมรับส่วนแบ่งชิ้นเนื้อตามที่พระเจ้ากำหนดไว้ และพยายาม “ เลือกเฟ้น ” แต่ส่วนที่ตนเองต้องการ ตามธรรมเนียมขณะที่กำลังทำการต้มเนื้ออยู่ใน หม้อต้ม ปุโรหิตจะส่งคนใช้ไปพร้อมกับสามง่ามเพื่อทิ่มลงไปในหม้อและรับชิ้นเนื้อตาม แต่ที่สามง่ามแทงติดขึ้นมา ( 2:13-14 ) เนื้อชิ้นนี้จะเป็นส่วนแบ่งของปุโรหิต
ผมต้องสารภาพว่าผมเป็นคนที่ไม่ค่อยศรัทธาในการกระทำของมนุษย์สักเท่าไร ผมไม่ เชื่อหรอกว่าชิ้นเนื้อที่คนใช้ทิ่มขึ้นมานั้นไม่ได้ตั้งใจเลือก ในสมัยที่ผมยังเป็นเด็ก ที่บ้าน ทำไก่ทอดกินกัน – เป็นไก่ทอดแบบพิเศษ ผมจะโปรดปรานเนื้อหน้าอกเป็นพิเศษ ผมไม่สนใจน่องหรือปีก พ่อผมจะเป็นคนเลือกก่อน และท่านมักจะชอบพูดว่า “ กินชิ้น ไหนก็ได้ แล้วแต่เอเวอรีน ( แม่ผม ) จะจัดให้ ” ผมมักจะร้องบอกแม่ว่า “ เอาซี่โครงหรือ คอให้พ่อไปก็แล้วกัน ” แต่ไม่เห็นแม่ทำซักกะที และพ่อผมก็มักจะได้เนื้อหน้าอกที่ชิ้น ใหญ่ที่สุดเสมอ ผมและคนอื่นๆต่างก็รู้ดีว่าเป็นเรื่องที่แม่ตั้งใจทำแน่ๆ
ผมจึงไม่เชื่อว่าเนื้อที่ปุโรหิตได้ตามส่วนแบ่งนั้นจะไม่มีการเลือกเฟ้น เพราะส่วนหน้าอก หรือขาขวาไม่น่าเหมาะสำหรับทำทีโบนสเต็ค หรือเอาไปอบ หรือทำฟิเลมิยอง เว้นเสีย แต่คนใช้ “ จงใจ ” หยิบชิ้นเด็ดขึ้นมาจากหม้อเลย ผมสงสัยว่าคนใช้พวกนี้คงทำผิดไป หลายครั้ง เพราะคงไม่เลือกเอาแ่ต่ชิ้นคอหรือเศษชิ้นที่เหลือๆไปแน่ ดังนั้นเมื่อคนใช้ เลือกเช่นนี้ก็เท่ากับปุโรหิตเองเมินเฉยต่อพระบัญญัติของพระเจ้า และเลือกชิ้นที่ดีที่สุด เอามากินเอง
ปุโรหิตคงรู้สึกว่าเนื้อต้มนั้นรสชาติออกจะจืดชืด จึงอยากได้เป็นเนื้อย่างหรือเนื้ออบ แทน พวกคนใช้เข้าไปเลือกชิ้นเนื้อที่นำมาถวายก่อนทำให้สุก ก่อนแม้กระทั้งมีการ เผาใขมันถวายพระเจ้าด้วยซ้ำไป และเรียกร้องที่จะเอาแต่ชิ้นที่ดีที่สุดไปให้ปุโรหิต ธรรมิกชนชาวอิสราเอล อย่างเอลคานาห์และฮันนาห์ต่างก็รู้ดีว่า ต้องมีการเผาใขมัน ถวายบูชาบนแท่นบูชาเสียก่อน พวกเขาขอร้องให้คนใช้ของปุโรหิตรอจนเผาใขมันให้ เสร็จเสียก่อน แต่ไม่มีใครยอมฟัง ใช้อำนาจข่มขู่นำเอาชิ้นเนื้อไปต่อหน้าต่อตา
เราคงนึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในการนมัสการพระเจ้าที่ชิโลห์ออก คนอิสราเอลที่ชอบ ธรรมต้องเดินเท้าทุกปีเพื่อไปนมัสการพระเจ้าที่พลับพลาในชิโลห์ แทนที่เขาจะได้พบ กับปุโรหิตที่ทุ่มเททำงานปรนนิบัติในสถานนมัสการ กับไปพบปุโรหิตที่เต็มไปด้วย ความโลภกักขฬะแทน ไม่ว่าจะทำอย่างจงใจหรือละเลยในหน้าที่ก็ตาม ( เราคงจะเห็น ภาพชัดเจนขึ้นในข้อ 12 และ 13 ) ปุโรหิตพวกนี้ดูหมิ่นต่อสถานนมัสการและกฎบัญญัติ ในพระคัมภีร์เดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้คนอิสราเอลหลายคนไม่อยากเดิน ทางมานมัสการที่พลับพลา ในสมัยนั้นอิสราเอลไม่มีกษัตริย์ ทุกคนจึงทำตามที่ตนเอง เห็นชอบ ซึ่งรวมทั้งพวกปุโรหิตผู้มีหน้าที่สั่งสอนวินิจฉัยคนอิสราเอล ตามที่พระเจ้า บัญญัติไว้ด้วย
พระเจ้าประเมิณการกระทำของปุโรหิตพวกนี้ไว้ในข้อที่ 17 : “ ดังนี้แหละ บาปของคน หนุ่มทั้งสองนั้นจึงใหญ่หลวงนักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะว่าคนเหล่า นั้นได้ดูหมิ่นของถวายแด่พระเจ้า ” หลายคนแปลพระคำข้อนี้ออกไปต่างกัน บางคน กล่าวว่า เพราะผลของความชั่วในงานรับใช้ของปุโรหิต ประชาชนจึงเอาเป็นแบบอย่าง และทำตามบรรดาผู้นำ :
17 ดังนี้แหละ บาปของคนหนุ่มทั้งสองนั้นจึงใหญ่หลวง นักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะว่าคนเหล่านั้นได้ ดูหมิ่นของถวายแด่พระเจ้า
( ต้นฉบับ KJV )
บางคนแปลว่า ที่ความบาปนั้นใหญ่หลวงนัก เพราะปุโรหิตดูหมิ่นของถวายบูชาแด่ พระเจ้า :
17 ดังนี้แหละ บาปของคนหนุ่มทั้งสองนั้นจึงใหญ่ หลวงนักในสายพระเนตรของพระเจ้า เพราะเขา ปฏิบัติต่อของถวายบูชาอย่างไร้ค่า
( ต้นฉบับ NRSV ) .
ผมว่าเป็นจริงทั้งคู่ ปุโรหิตไม่ได้ให้ความเคารพต่อการถวายบูชา และของที่ ประชาชนนำมาถวายที่ชิโลห์ ผลก็คือ ประชาชนส่วนมากพลอยดูถูกไปด้วย อันที่จริงแล้วนับว่าเป็น ความบาปที่ใหญ่หลวงนัก เพราะปุโรหิตเองเป็นผู้นำให้คนอื่นตกอยู่ในความบาปโดยทำตัว เป็นแบบอย่าง นับเป็นเวลาที่น่าเศร้าของอิสราเอลในสมัยนั้น ซึ่งต่อมา มาลาคีได้พูดถึงเรื่องนี้ และวันแห่งการพิพากษาที่กำลังจะมาถึง :
1 “ โอ ปุโรหิตทั้งหลาย บัดนี้คำบัญชานี้มีอยู่เพื่อเจ้า ทั้งหลาย 2 พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า ถ้าเจ้าไม่ฟัง และ ถ้าเจ้าไม่จำใส่ไว้ในใจที่จะถวายศักดิ์ศรี แก่นามของเรา เราจะส่งคำแช่งมาเหนือเจ้า และเราจะสาปแช่งผลพระ พรซึ่งมาถึงเจ้า เราได้สาปแช่งคำอวยพรของเจ้าแล้วนะ เพราะเจ้ามิได้จำใส่ใจไว้ 3 ดูเถิด เราจะขนาบลูกหลาน ของเจ้า และจะละเลงมูลสัตว์ใส่หน้าเจ้า คือมูลสัตว์ของ เครื่องบูชาของเจ้า และเราจะไล่เจ้าออกไปเสียจากหน้า เราอย่างนั้นแหละ 4 พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า เจ้าจึงจะ ทราบว่าเราส่งคำบัญชานี้มาให้เจ้า เพื่อว่าพันธสัญญาของ เราซึ่งทำไว้กับเลวีจะคงอยู่ 5 พันธสัญญาของเราซึ่งมีไว กับเขานั้น เป็นพันธสัญญาเรื่องชีวิตและสันติภาพ เราได้ ให้สิ่งเหล่านี้แก่เขา เพื่อเขาจะได้ยำเกรงและเขาได้ยำเกรง เรา และเกรงขามนามของเรา 6 ในปากของเขามีคำสั่งสอน ที่จริง จะหาความผิดที่ริมฝีปากของเขาไม่ได้เลย เขาดำเนิน กับเราด้วยสันติและความเที่ยงตรง และเขาได้หันหลายคน ให้พ้นจากความบาปผิด 7 เพราะว่าริมฝีปากของปุโรหิตควร เป็นยามความรู้ และมนุษย์ควรแสวงหาคำสั่งสอนจากปากของ เขา เพราะว่าเขาเป็นทูตของพระเจ้าจอมโยธา 8 แต่เจ้าเอง ได้หันไปเสียจากทางนั้น เจ้าเป็นเหตุให้หลายคนสะดุด เพราะ คำสั่งสอนของเจ้า พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า เจ้าได้กระทำให้ พันธสัญญาของเลวีเสื่อมไป 9 ดังนั้นเราจึงกระทำให้เจ้าเป็นที่ ดูหมิ่นและเหยียดหยาม ต่อหน้าประชาชนทั้งปวง ให้สมกับที่ เจ้ามิได้รักษาบรรดาวิถีทางของเรา แต่ได้แสดงอคติในการสั่ง สอนของเจ้า ”
( มาลาคี 2:1-9 )

คุณชายน้อย ?
( 2:18-21 )

18 แต่ซามูเอลปรนนิบัติอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้า เป็นเด็กคนที่คาดเอวด้วยเอโฟดผ้าป่าน 19 ฝ่าย มารดาเคยเย็บเสื้อเล็กๆนำมาให้เขาทุกปี เมื่อนาง ขึ้นไปพร้อมกับสามีเพื่อถวายเครื่องบูชาประจำปี 20 แล้วเอลีเคยอวยพรเอลคานาห์และภรรยาของ เขากล่าวว่า “ ขอพระเจ้าประทานลูกๆแก่ท่านโดย หญิงคนนี้ แทนคนที่นางให้ยืมไว้ปรนนิบัติพระเจ้า ” แล้วเขาทั้งหลายก็กลับบ้านของตน 21 และพระเจ้า ทรงเยี่ยมเยียนฮันนาห์ และนางก็ได้ตั้งครรภ์คลอด บุตรเป็นชายสามหญิงสอง และกุมารซามูเอลก็เติบ โตขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า
มีหนังเก่าน่ารักอยู่เรื่องหนึ่งชื่อเรื่อง “ little Lord Fontleroy ” ขอแปลเป็นไทยว่าเรื่อง “ คุณชายน้อย ” ก็แล้วกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐีชาวยุโรปคู่หนึ่ง ค้นพบว่าตนเองมี ทายาทอยู่ที่อเมริกา ทั้งคู่จึงไปนำเด็กคนนี้กลับมาเลี้ยงดูที่บ้าน ด้วยความหวังว่าวัน หนึ่งจะให้มาดูแลครอบครองตำแหน่งและดูแลทรัพย์สมบัติสืบต่อ อย่างไม่เต็มใจนัก ทั้งคู่ต้องพามารดาของเด็กนี้มาด้วย แต่ไปสร้างบ้านให้อยู่ตามลำพังห่างไปจาก คฤหาสน์ ส่วนเด็กน้อยคนนี้ วันๆเคยแต่วิ่งเล่นมอมแมมอยู่ตามถนน ก็ต้องมาแปลงโฉมแต่งเนื้อแต่งตัวกันเสียใหม่ – กลายเป็นคุณชายน้อย หนุ่มน้อย ผู้นี้ไม่เพียงแต่ชนะใจผู้คนด้วยจิตใจที่มีกรุณา ( เช่นเดียวกับมารดา ) เท่านั้น เขายัง สามารถชนะใจที่แข็งกระด้างยโสของคุณตาได้เป็นผลสำเร็จ ในที่สุดเด็กคนนี้ก็เปลี่ยน คุณตาให้กลายเป็นชายผู้เต็มไปด้วยความกรุณาได้
พอผมอ่านพระธรรมตอนนี้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ คุณชายน้อย ” เพราะเนื้อหาค่อนข้าง จะอบอุ่นและเต็มไปด้วยความรู้สึกอ่อนไหว ทำให้เราสัมผัสได้ถึงภาพที่ผู้เขียนบรรยาย เอาไว้ ผมแทบจะได้ยินเสียงบางคนพูดว่า “ น่ารักจังเลย … ” ครับเป็นเรื่องน่ารักมาก นางฮันนาห์ต้องทิ้งลูกที่รักไว้ที่ชิโลห์ เพื่อทำตามคำสัญญา ทุกปีเมื่อนางกลับมาชิโลห์ เพื่อมานมัสการพระเจ้า นางคงต้องตั้งใจมาเยี่ยมลูกน้อย และทุกปีนางคงไม่ลืมที่จะนำ ชุดเล็กๆที่ตัดเตรียมไว้มาให้ นางอาจจะต้องแก้ใขเล็กน้อยเพื่อให้ลูกใส่ได้พอดี และ วัดตัวเตรียมเผื่อไว้สำหรับปีหน้า คุณพอมองเห็นภาพซามูเอลน้อยใส่ชุดใหม่ของคุณ แม่หรือไม่ ? ผมว่าภาพที่ออกมาคงน่ารักมาก
ครับ ไม่นานหลังจากนั้นฮันนาห์มีลูกเพิ่มขึ้น นางพาน้องคนใหม่มานมัสการด้วยในแต่ละ ปี จนจบลงที่ชายสาม หญิงสอง – นับซามูเอลด้วยรวมเป็นหก ตอนที่เอลีเห็นภาพนาง ฮันนาห์และเอลคานาห์สามีบอกลาลูกด้วยน้ำตา ท่านได้ทูลขอให้พระเจ้าอวยพรทั้งสอง ด้วยบุตรคนใหม่แทนที่ซามูเอลที่มอบคืนให้กับพระเจ้า และพระองค์ทรงตอบตามคำ อธิษฐาน โดยประทานลูกให้อีกถึงห้าคนด้วยกัน ส่วนเอลีเองคงตระหนักถึงหน้าที่รับผิด ชอบที่มีต่อบุตรคนใหม่ที่พระเจ้ามอบให้ท่านทำหน้าที่เลี้ยงดูแทนบุตรอันธพาลทั้งสอง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องชื่นชมยินดีในวัยชราของท่าน
นอกจากความรู้สึกอ่อนโยนที่เราสัมผัสได้ในตอนนี้ บางคนอาจคิดว่าซามูเอลนั้นอยู่ค่อน ข้างอยู่ห่างใกลจากพ่อแม่ จึงเป็นการยากที่เอลคานาห์และฮันนาห์จะมามีอิทธิพลต่อ การดำเนินชีวิตของซามูเอล ผมคิดว่าทั้งสองค่อนข้างจะมีอิทธิพลต่อซามูเอลมากที เดียว จากที่ผมอ่าน1 ซามูเอล 2:19 ด้วยการคำนึงถึงกฎเกณฑ์เรื่องชุดแต่งกายของ ปุโรหิต ดังนั้นนางฮันนาห์ไม่ได้เพียงตัดเย็บเสื้อผ้าให้เด็กน้อยซามูเอลเท่านั้น แต่นาง ได้ตัดเย็บชุดปุโรหิตให้ลูกด้วย คุณพอจะได้ยินเสียงนางฮันนาห์พร่ำพูดถึงหน้าที่และ เกียรติของการเป็นปุโรหิตให้ซามูเอลฟัง ? คุณพอจะเห็นภาพนางสั่งสอนลูกถึงภาระอัน ยิ่งใหญ่ที่ลูกต้องรับผิดชอบเมื่อได้สวมใส่ชุดปุโรหิตน้อยนี้ ? ผมเชื่อว่าฮันนาห์มีอิทธิพล ต่อบุตรชายมากทีเดียวจากเสื้อผ้าที่นางเตรียมให้ และอย่างไม่ต้องสงสัยจากคำพูดที่ นางสั่งสอน เหตุใดแค่การเย็บเสื้อผ้าให้จึงมีผลกระทบฝ่ายจิตวิญญาณได้ ? เราคงต้อง ไปถามนาง หรือไม่ก็ไปถาซามูเอลดูเอง

ช้าไปนิด แต่ก็สายเกินการ :
คำดุว่าที่ไร้น้ำหนักของเอลี
( 2:22-25 )

22 ฝ่ายเอลีชรามากแล้ว และท่านได้ยินถึงเรื่อง ราวทั้งสิ้นที่บุตรทั้งสองของท่านกระทำแก่คน อิสราเอล เช่นว่าเขาเข้าหาหญิงที่ปรนนิบัติอยู่ ที่ทางเข้าเต็นท์นัดพบด้วย 23 และท่านก็ว่ากล่าว เขาทั้งสองว่า “ ทำไมเจ้าจึงกระทำเช่นนั้น เพราะ เราได้ยินจากประชาชนทั้งปวงถึงความชั่วซึ่งเจ้า กระทำ 24 ลูกเราเอ๋ย อย่าทำเลยเราได้ยินประชา กรของพระเจ้าเล่าแพร่ทั่วไปเป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย 25 ถ้ามนุษย์คนใดกระทำผิดต่อมนุษย์ด้วยกัน พระเจ้า จะทรงวินิจฉัยให้เขา แต่ถ้ามนุษย์กระทำบาปต่อพระ เจ้า ใครจะทูลขอเพื่อเขาได้เล่า ” แต่เขาทั้งสองหาได้ ฟังเสียงบิดาของเขาไม่ เพราะว่าเป็นน้ำพระทัยของ พระเจ้า ที่จะทรงประหารเขาเสีย
เราเรียนจากข้อ 12-17 ถึงบาปเรื่องเนื้อถวายบูชาพระเจ้าที่ปุโรหิตได้กระทำ ต่อมาใน ข้อ 22-25 พูดถึงเรื่องบาปผิดศีลธรรมในการเข้าหาหญิงที่ปรรนิบัติอยู่ที่ทางเข้าเต็นท์ ซึ่งน่าจะหมายถึง “ ผู้หญิง ” ที่กล่าวไว้ในพระธรรมอพยพ :
8 เขาทำขันทองสัมฤทธิ์และพานรองขันทองสัมฤทธิ์ จากกระจกเงาของบรรดาผู้หญิงที่ปรนนิบัติ ณ ประตู เต็นท์นัดพบ
( อพยพ 38:8 ) .
โฮฟนีและฟีเนหัสทำบาปผิดทางเพศ และอย่างน้อยเราก็รู้ว่าฟีเนหัสนั้นแต่งงานแล้ว ( ดู 1ซามูเอล 4:19 ) เป็นบาปแห่งการล่วงประเวณีและต้องโทษถึงตาย และยิ่งผิดมากขึ้น ไปอีก ถ้านึกถึงว่าใครเป็นผู้กระทำ และทำที่ใด มาพิจารณาดูความชั่วของบุตรเอลี และ เปรียบเทียบกับพระสัญญาที่พระเจ้าประทานให้แก่บรรดาปุโรหิตของพระองค์ :
42 นี่จะเป็นเครื่องเผาบูชาเนืองนิตย์ ตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้าที่ประตูเต็นท์ นัดพบ เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ที่ที่เราจะ พบเจ้าทั้งหลายและสนทนากับเจ้าที่นั่น 43 ที่นั่นเราจะพบกับชนชาติอิสราเอล และ พลับพลานั้นจะรับการชำระให้บริสุทธิ์ด้วย พระสิริของเรา 44 เราจะชำระเต็นท์นัดพบ และแท่นบูชาไว้เป็นที่บริสุทธิ์ และเราจะ ชำระอาโรน และบุตรเขาให้บริสุทธิ์ด้วย เพื่อให้เป็นปุโรหิตปรนนิบัติเรา 45 เราจะสถิต อยู่ท่ามกลางชนชาติอิสราเอล และจะเป็น พระเจ้าของเขา 46 เขาจะรู้ว่า เราคือพระเจ้า ของเขา ผู้ได้นำเขาออกจากแผ่นดินอียิปต์ เพื่อเราจะสถิตอยู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย เราคือพระเจ้าของเขา ”
( อพยพ 29:42-46 )
ประตูเต็นท์นัดพบเป็นสถานที่ที่พระเจ้าเสด็จมาพบกับปุโรหิตของพระองค์ เป็นสถานที่ ที่พระเจ้าทรงสำแดงพระสิริของพระองค์ ที่นั่นอาโรนและบุตรได้รับการชำระ ถูกแยกไว้ ให้บริสุทธิ์เพื่อทำหน้าที่เป็นปุโรหิต และหลังจากนั้นไม่นาน กลับกลายเป็นที่นัดพบใน อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปแบบที่บุตรของเอลีใช้นัดแนะพบปะกับบรรดาหญิงที่ร่วมกันทำผิด ศีลธรรมด้วยกัน

    ผมขอพูดถึงเรื่อง “ คำตักเตือนของเอลี ” ที่จริงเราหาแทบไม่เจอว่าเอลีเคยว่ากล่าวตักเตือนบุตร เอลีไ่ม่เคยคิดจะห้ามปรามเรื่องความบาป หรือกล่าวตักเตือนบุตร ดังนั้นคำพูดของ เอลีจึง ไร้ความหมาย ที่แย่ไปกว่านั้น คำพูดของเอลีกลับย้อนมาลงที่ตนเอง ท่านพยายามพูดให้บุตร สำนึกผิด ซึ่งดูแล้วไร้ผล คำพูดของเอลีกลับกลายเป็นการตอกย้ำความผิดของตนเอง ผู้เขียน บอกเราว่า “ ได้ยินประชากรของพระเจ้าเล่าแพร่ทั่วไป เป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย ” ไม่ใช่เป็น เพราะเอลีละเลยในการตัดสินใจทำให้เด็ดขาด ท่านรู้ทุกสิ่ง ที่บุตรทำ และท่านรู้ว่าพวกเขากระ ทำอย่างอุกอาจต่อคนอิสราเอลทั้งปวง ความบาปนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอชั่วครั้ง ชั่วคราว แต่ติดเป็นนิสัยสันดาน และกลายเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตทีเดียว

นับเป็นเรื่องน่าสนใจที่เอลีกล่าวตำหนิลูกเรื่องความบาปทางเพศ แต่ทำไมท่านกลับไม่ กล่าวถึง ( สักนิดตามเนื้อหา ) ถึงความผิดบาปเรื่องเนื้อที่นำมาถวายบูชา ? คำตอบที่ผม จะนำมากล่าวต่อไปอยู่ในข้อที่ 27-29 ที่หนักที่สุดคือ คำพูดที่เอลีพูดกับบุตรนั้นเผยให้ เห็นว่าท่านตระหนักดีถึงความบาปที่บุตรกำลังดิ่งลงไป ความบาปของบุตรทั้งสองนั้น ไม่ใช่เป็นการทำผิดต่อมนุษย์ แต่เป็นการทำผิดต่อพระเจ้า เป็นความบาปที่ท้าทายพระ เจ้า เป็นความบาปที่จะไม่ได้รับพระกรุณา บุตรแห่งความชั่วทั้งสองนี้กำลังชูกำปั้นท้า ทายต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้า พวกเขาก็รู้ดีด้วย ( เพราะเอลีได้กล่าวอย่างชัดเจนที เดียว ) และเอลีเองก็รู้ดีด้วย ถึงเอลีจะตระหนักดี แต่ท่านก็ไม่ได้คิดจะจัดการสะสาง เรื่องนี้ให้ถึงที่สุด ผมชอบที่ Dale Ralph Davis พูดถึงเรื่องราวในตอนนี้มาก :
” เอลีกล่าวตำหนิบุตรเรื่องการทำผิดศีลธรรม
( ข้อ 22-25 ) หรืออาจจะ – ถึงแม้จะไม่มีบันทึกไว้ในข้อ 23-25 – ท่านอาจพูดเรื่องของถวายบูชาด้วยก็ได้
( ข้อ 13-17 ) ยังไงก็ตาม ท่านไม่ได้คิดที่จะปลดทั้งโฮฟนีและ ฟีเนหัสออกจากตำแหน่งปุโรหิต อาจเป็นเพราะท่าน กลัวลูกตกงาน จึงไม่กล้าลงวินัยให้เด็ดขาด ” 4
” ดังนั้นบุรุษของพระเจ้า [ ผู้เผยพระวจนะในข้อ 27-36 ] จึงตักเตือนถึงข้ออ้างในการทำบาป การยอม ประนีประนอมกับความบาป การย้ายพระเจ้าไปนั่ง ข้างหลัง และปล่อยให้บุตรของตนมานั่งข้างหน้า แทน สำหรับเอลีแล้ว สายเลือดเข้มข้นกว่าความ สัตย์ซื่อในหน้าที่ “ 5
” เป็นการง่ายที่จะทำเป็นสงสาร และไม่อยากทำให้ใคร เดือดร้อน ระมัดระวังในการแสดงความรัก แต่กลับละ เลยกฏบัญญัติของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ บริสุทธิ์ของพระองค์ เรากำลังลบหลู่เกียรติของพระ เจ้า ถ้าเรามัวแต่ห่วงใยความรู้สึกของมนุษย์ “ 6

ข้อเปรียบเทียบอื่นๆกับซามูเอล
( 2:26 )

26 ฝ่ายกุมารซามูเอลก็เติบโตขึ้น และเป็นที่ชอบ มากขึ้น เฉพาะพระเจ้าและต่อหน้าคนทั้งปวงด้วย
นับเป็นความบาปที่น่าสมเพชของปุโรหิต คนของพระเจ้าอย่างเอลคานาห์และฮันนาห์ ต้องฝืนทนกัดฟันเพียงไรเมื่อมานมัสการที่ชิโลห์ เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อ เอลีชรามากและใกล้จะตาย แน่นอนบุตรทั้งสองกำลังจะขึ้นมาทำหน้าที่แทนบรรดา ผู้ชอบธรรมทั้งหลาย แค่คิดก็คงจะหวาดหวั่น ในท่ามกลางความมืดมิดของอิสราเอลนี้ เด็กชายตัวน้อยกำลังเจริญเติบโตขึ้น ในสายพระเนตร วาระแห่งการพิพากษาบุตรทั้ง สองของเอลีกำลังจะมาถึง ; พระองค์ตรัสว่าพวกเขาต้องถูกประหาร ( ข้อ 25 ) ไม่มีใคร นับถือพวกเขาอยู่แล้ว แต่ยังมีซามูเอล หนุ่มน้อยผู้เป็นที่โปรดปรานของทั้งพระเจ้าและ มนุษย์ — เพียงแต่มนุษย์ไม่รู้ว่าอนาคตของหนุ่มผู้นี้จะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อพวกเขา และต่อชนชาติอิสราเอล ในช่วงเวลาแห่งความมืดมิดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล และดูเหมือนทุกสิ่งกำลังจะพังทลายลงนี้เอง พระเจ้ากำลังสร้างผู้รับใช้คนใหม่ขึ้นมา เป็นผู้ ที่จะมาปรนนิบัติทั้งพระองค์และมนุษย์อย่างสัตย์ซื่อ ก็คือซามูเอลผู้นี้ ในขณะ ที่บุตรทั้งสองของเอลีกำลังจะถูกกำจัดออกไป ซามูเอลก็จำเริญขึ้น
ประโยคนี้ฟังดูคุ้นหูนะครับ เราจำได้ว่าท่านลูกาใช้ถ้อยคำเดียวกันนี้เมื่อพูดถึง เยซูชาว นาซาเร็ธ ในระหว่างที่พระองค์เติบโตขึ้น :
52 พระเยซูก็ได้จำเริญขึ้นในด้านสติปัญญา ในด้านร่างกาย และเป็นที่ชอบจำเพาะพระเจ้า และต่อหน้าคนทั้งปวงด้วย
( ลูกา 2:52 )
เหตุใดจึงใช้คำพูดที่เหมือนกัน ? ทำไมลูกาจึงนำคำพูดเดียวกับที่ผู้เขียนพระธรรม 1 ซามูเอลมาใช้เมื่อพูดถึงการจำเริญขึ้นในวัยเด็กของซามูเอล ? ช่วงเวลาที่พระเยซู ประสูตินั้นนับเป็นเวลาแห่งความมืดมิดในประวัติศาสตร์อิสราเอลเช่นกัน ระบบทาง ศาสนาผิดเพี้ยนไปจากพระวจนะคำเหมือนกับในสมัยของซามูเอล และขณะที่ทุก สิ่งในอิสราเอลเหมือนอยู่ในจุดเยือกแข็ง มีเด็กผู้หนึ่งจำเริญขึ้น แต่ไม่มีผู้ใดในชาติ ให้ความสนใจหรือสังเกตุเห็น เด็กผู้นี้เป็นพระเมสซิยาห์ เป็นผู้ที่จะมาช่วยกอบกู้ ประชากรให้พ้นจากทาสของความบาป และวันหนึ่งจะท่านได้นั่งบนบัลลังก์ของดาวิด บรรพบุรุษของท่าน และ เช่นเดียวกับซามูเอล เป็นดังแม่แบบของปุโรหิตในการช่วย ประชากรของพระเจ้าให้หลุดพ้นจากความบาปผิด

บุรุษนิรนามของพระเจ้ามา ” เยี่ยมเยียน ”
( 2:27-36 )

27 ครั้งนั้นมีบุรุษของพระเจ้ามาหาเอลี กล่าวแก่ ท่านว่า “ พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า ‘เราได้เผยเราเองให้ แจ้งแก่พงศ์พันธุ์บิดาเจ้า เมื่อเขาทั้งหลายอยู่ใน อียิปต์ใต้บังคับพงศ์พันธุ์ของฟาโรห์ 28 และเราได้ เลือกเขาออกจากเผ่าอิสราเอลทั้งหมด ให้เป็น ปุโรหิตของเราเพื่อจะขึ้นไปที่แท่นบูชาของเรา เพื่อเผาเครื่องบูชาเพื่อใช้เอโฟดต่อหน้าเรา และ เราได้มอบของที่บูชาด้วยไฟ ซึ่งคนอิสราเอลนำ มาถวายนั้นแก่พงศ์พันธุ์บิดาของเจ้า 29 เหตุใด เจ้าจึงเหยียบย่ำเครื่องสัตวบูชาของเรา และของ ที่เขาถวายตามบัญชาของเรา และให้เกียรติแก่บุตร ทั้งสองของเจ้าเหนือเรา และกระทำให้ตัวของเจ้า ทั้งหลายอ้วนพี ด้วยส่วนที่ดีที่สุดจากของถวายทุก รายจากอิสราเอลชนชาติของเรา ‘ 30 เพราะฉะนั้น พระเยโฮวาห์ พระเจ้าของอิสราเอลจึงตรัสว่า ‘เรา พูดจริงๆว่าพงศ์พันธุ์ของเจ้าและพงศ์พันธุ์ บิดาของ เจ้าจะเข้าออกต่อหน้าเราอยู่เป็นนิตย์ ‘ แต่บัดนี้พระ เจ้าทรงประกาศว่า ‘ขอให้การนั้นห่างไกลจากเรา เพราะว่าผู้ที่ให้เกียรติแก่เรา เราจะให้เกียรติและ บรรดาผู้ที่ดูหมิ่นเรา ผู้นั้นจะถูกดูหมิ่น 31 ดูเถิด วาระนั้นจะมาถึงอยู่แล้ว เมื่อเราจะตัดแขนของเจ้า ออกและตัดแขนของพงศ์พันธุ์บิดาของเจ้าออก เพื่อจะไม่มีคนชราในพงศ์พันธุ์ของเจ้า 32 แล้วด้วย สายตาริษยาและด้วยความทุกข์ร้อน เจ้าจะมองดู ความมั่งคั่งซึ่งเราจะพอกพูนให้อิสราเอล และจะ ไม่มีคนชราในพงศ์พันธุ์ของเจ้าเป็นนิตย์ 33 ค ของ เจ้าซึ่งเรามิได้ตัดขาดเสียจากแท่น บูชาของเรานั้น เราจะไว้ชีวิตเพื่อให้ร้องไห้จนตาถลน และให้เจ้ามี จิตใจเศร้าโศกและผลอันเพิ่มพูนในพงศ์พันธุ์ของเจ้า จะตายเสียเมื่อวัยฉกรรจ์ 34 และสิ่งนี้จะเป็นหมาย สำคัญแก่เจ้า ซึ่งจะบังเกิดแก่บุตรทั้งสองของเจ้า คือโฮฟนีและฟีเนหัส ทั้งสองจะสิ้นชีวิตในวันเดียว 35 และเราจะให้ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์ของเราเกิดขึ้นมา ซึ่งจะกระทำตามสิ่งที่มีอยู่ในจิตในใจของเรา และ ราจะสร้างพงศ์พันธุ์มั่นคงให้เขา และเขาจะดำเนิน อยู่ต่อหน้าผู้ที่เราเจิมไว้เป็นนิตย์ 36 และทุกคนที่ยัง เหลืออยู่ในพงศ์พันธุ์ของเจ้าจะมากราบไหว้เขา ขอ เงินเหรียญหนึ่งและขนมปังก้อนหนึ่ง และจะกล่าวว่า “ ขอท่านกรุณาตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งปุโรหิตสักที หนึ่งเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้รับประทานอาหารสักหน่อยหนึ่ง ”
มีข้อยกเว้นบางประการ สำหรับคำว่า “ บุรุษของพระเจ้า ” ซึ่งหมายถึงผู้เผยพระวจนะ 7 ในในสมัยนั้น “ พระดำรัสของพระเจ้ามีมาแต่น้อย ” ( 1 ซามูเอล 3:1 ) จึงนับเป็นเรื่อง ใหญ่ที่ผู้เผยพระวจนะมาถ่ายทอดถ้อยคำของพระเจ้าอย่างเจาะจง ตามเนื้อเรื่อง ผู้เผย พระวจนะนิรนามท่านนี้มาจากที่ใดไม่มีใครทราบ มาเพื่อกล่าวตำหนิเอลีในความล้ม เหลว – และแน่นอน ในสิ่งที่ท่านปฏิเสธที่จะทำ – คือจัดการกับความผิดของบุตรให้ เด็ดขาด ในข้อ 27-29 ผู้เผยพระวจนะกล่าวถึงหน้าที่ปุโรหิตตามที่ถูกแต่งตั้งให้ทำเมื่อ ในอดีต ท่านพูดถึงสมัยที่อาโรนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตในช่วงเวลาอพยพ และ ต่อมาในข้อ 30-34 ท่านพูดถึงอนาคต ทำนายถึงการลงโทษที่พระเจ้าจะให้เกิดขึ้นต่อ เอลีและพงษ์พันธ์ของเขา ในข้อ 35 และ 36 ทำนายถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งใกล้และไกล ไปจนถึงเมื่อพระเจ้าจะทรงแต่งตั้งพงษ์พันธ์ใหม่ให้ขึ้นมารับใช้ในฐานะ ปุโรหิต ? ให้เรามาดูเรื่องสำคัญสามประการที่ผู้เผยพระวจนะท่านนี้ถ่ายทอดไว้
ผมเคยคิดว่าสักวันจะเขียนหนังสือเรื่อง “ คิดแบบพระคัมภีร์ ” พระวจนะคำมีมุมมองให้ ใคร่ครวญได้หลายมุม ; มุมมองหนึ่งที่ผมขอเรียกว่า “ คิดแบบต้นฉบับ ” การคิดแบบต้น ฉบับคือการเริ่มจากจากต้นเหตุ และสาเหตุที่ต่อเนื่องกันมา ตัวอย่างเช่น เมื่อพวกฟาริสี มาทดสอบพระเยซูในเรื่องการหย่าร้าง พวกเขาถามว่า “ ผู้ชายจะหย่าภรรยาของตน เพราะเหตุใดๆก็ตาม เป็นการถูกต้องตามธรรมบัญญัติหรือไม่ ? ” ( มัทธิว 19:3 ) บางคนคิดว่าผู้ชายสามารถหย่าภรรยาด้วยเหตุผลใดๆก็ได้ คนอื่นๆอาจจะเจาะจงเหตุ ผลลงไป แต่คนที่ได้ยินคำตอบอันหนักแน่นของพระเยซูในวันนั้นคงช็อคไปตามๆกัน ผมขอนำวิธีที่พระองค์ทรงตอบมาพูดถึง :
4 พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “ พวกท่าน ไม่ได้อ่านหรือว่า พระผู้ทรงสร้างมนุษย์
แต่เดิม ได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง
5 และตรัสว่า เพราะเหตุนั้น บุรุษจึงต้อง ละบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้ออันเดียวกัน 6 เขา จึงไม่เป็นสองต่อไป แต่เป็นเนื้ออันเดียวกัน เหตุฉะนั้นซึ่งพระเจ้าได้ทรงผูกพันกันแล้ว อย่าให้ มนุษย์ทำให้พรากจากกันเลย ”
( มัทธิว 19:4-6 )
พวกฟาริสีอ้างเหตุผลในบริบทโดยยึดตามขนบธรรมเนียม ตามประเพณีที่นิยมในสมัย นั้น พระเยซูทรงท้าทายให้พวกเขากลับไปคิดใคร่ครวญตามแบบ “ ต้นฉบับ ” คือแต่แรก เริ่ม เมื่อพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์ พระองค์ทรงสถาปนาสถาบันครอบครัวไว้ด้วย พระองค์ทรงถามฝ่ายตรงข้ามว่า “ การแต่งงานเมื่อเริ่มแรกสถาปนานั้น มีความหมาย อย่างไร ? ” พระเจ้าทรงพระประสงค์ให้สถาบันครอบครัวที่พระองค์จัดตั้งขึ้นเป็นไปแบบ ใด ? พระเจ้าต้องการให้ชายและหญิงผูกพันกันไว้และไม่มีการพรากจากกันจนกว่าความ ตายมาถึง “ ผู้ชายจะหย่าภรรยาของตน เพราะเหตุใดๆก็ตาม เป็นการถูกต้องตามธรรม บัญญัติหรือไม่ ? ” คำตอบของพระเยซูทำให้เราต้องสรุปตามแบบต้นฉบับเดิมว่า “ พระ เจ้าไม่ทรงมีพระประสงค์ให้ชายใดหย่าจากภรรยาของตน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ”
โดยทางผู้เผยพระวจนะนิรนามท่านนี้ พระเจ้าทรงท้าทายเอลี ( และผู้อ่าน ) ให้กลับไป ลองคิดตามแบบต้นฉบับเดิม ปัญหาของเอลี และปัญหาของบุตรเป็นปัญหาเกี่ยวกับการ เป็นปุโรหิต จะแก้ปัญหานี้ได้ต้องมีปุโรหิตใหม่ ( ซามูเอล ) และพงศ์พันธ์ใหม่ ( หรือ ราชวงศ์ ) ของปุโรหิต “ ดังนั้น ” ผู้เผยพระวจนะท่านนี้กำลังท้าทายผู้อ่านให้ “ กลับไปคิด ถึงการจัดตั้งปุโรหิตในครั้งแรก ” มีการจัดตั้งปุโรหิตครั้งแรกในสมัยที่ชาวอิสราเอลยังตก เป็นทาสอยู่ในอียิปต์ ที่นั่นพระเจ้าทรงเจิมตั้งอาโรนให้เป็นปุโรหิตของพระองค์
ที่นั่นมีการแต่งตั้งอาโรนและ “ พงศ์พันธ์ ” 8 ของท่านขึ้น มีการใช้คำว่า “ พงศ์พันธ์ ” หลายครั้งเพราะเหตุผลว่า พระเจ้าไม่ได้เพียงแต่งตั้งให้อาโรนเป็นปุโรหิตเท่านั้น แต่ ทรงแต่งตั้งลูกหลานที่สืบวงศ์ตระกูลต่อๆไปด้วย คือ “ พงศ์พันธ์ ” อาโรน เหตุใดเอลี ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกถึงความบาปของบุตรในฐานะเป็นปุโรหิต จึงไม่ใส่ใจที่จะดูแลจัดการต่อ “ พงศ์พันธ์ ของท่าน ? ตำแหน่งปุโรหิตไม่ใช่เป็นเรื่องส่วนตัวภายในครอบครัว แต่ เป็นเรื่องของ “ พงศ์พันธ์ ” และ “ พงศ์พันธ์ ” ของเอลีก็กำลังจะป่นปี้ลง แต่ท่านไม่ คิดที่จะหาทางยับยั้งเรื่องนี้ ตามธรรมบัญญัติของโมเสส ปุโรหิตเป็นเรื่องของ “ พงศ์ พันธ์ ” ซึ่งเกี่ยวเนื่องและเกี่ยวข้องกับทุกคนในตระกูลนั้น ( ดูเลวีนิติ 21:1-9 ) พระเจ้า ทรงแต่งตั้ง “ พงศ์พันธ์ ” ให้กับอาโรนและบุตรหลานของท่าน และเอลีก็เป็นผู้หนึ่งที่สืบ เชื้อสายมาจากพงศ์พันธ์นี้ ท่านมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกอบกู้ “ พงศ์พันธ์ ” ของท่านเอาไว้

Read more: Sevilla FC

สรรพนามที่ใช้ในข้อ 27-29 แทบทั้งหมดหมายถึงพระเจ้า มีการเอ่ยถึงในข้อ 27 และ 28 สามครั้ง พระองค์ตรัสผ่านผู้เผยพระวจนะว่า “ เราได้ … “ พระเจ้าทรงเผย พระองค์กับอาโรน พระองค์ทรงเลือกอาโรน แต่งตั้งท่านและวงศ์ตระกูลของท่านให้ทำ หน้าที่ปรนนิบัติเป็นปุโรหิต พระองค์ทรงจัดเตรียม “ ส่วน ” จากของที่นำมาถวายบูชา เพื่อเลี้ยงดูท่าน การคิดแบบต้นฉบับทำให้เราต้องสรุปว่า ปุโรหิตนั้นเป็น “ ของพระเจ้า ” พระเจ้าเป็นผู้สร้าง เป็นผู้สถาปนา และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ดังนั้นพระองค์จึง ตรัสว่า “ เครืองสัตวบูชาของเรา ” “ ของถวายบูชาของเรา ” “ แท่นบูชาของเรา ” “ ชนชาติของเรา ” สรุปคือ “ เกียรติของเรา ” เกียรติที่ปุโรหิตมีหน้าที่ทุกทางที่จะต้อง มอบถวายแด่พระองค์

    และตรงนี้เองที่อาโรนทำผิด เอลีให้เกียรติบุตรของตนมากกว่าให้กับพระเจ้า ( ข้อ 29 ) ดูเหมือน อาโรนกลัวที่จะเผชิญหน้ากับบุตรเพื่อจัดการให้เด็ดขาด ท่านกลัวว่าบุตรจะไม่รัก หรือ พาล เกลียดไปเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรประเภทนี้ท่านอาจถูกฆ่าตายก็ได้ เอลีจึงกลัวบุตรมาก กว่ากลัวพระเจ้า ท่านต้องการการยอมรับและความรักจากบุตรมากกว่าต้องการจากพระเจ้า …. เรื่องเช่นนี้เกิด ขึ้นได้อย่างไร ? ข้อ 29 บอกถึงสาเหตุที่ เอลีปิดปากเงียบและไม่คิดจะจัดการ กับความบาปของบุตร พระเจ้าตรัสว่า “ เหตุใดเจ้าจึง เหยียบย่ำเครื่องสัตวบูชาของเรา และของที่เขาถวายตาม บัญชาของเรา และให้เกียรติ แก่บุตรทั้งสองของเจ้าเหนือเรา และกระทำให้ตัวของเจ้า ทั้งหลายอ้วนพี ด้วยส่วนที่ดีที่สุดจากของถวายทุกราย จาก อิสราเอลชนชาติของเรา ‘ ( ข้อ 29 )

ในแง่ของวิชาการผมอาจไม่ถูกต้องนัก แต่ผมเชื่อว่าผมพอจะตีความที่พระเจ้าตรัสกับ เอลีทางผู้เผยพระวจนะได้ ไม่ได้หมายความว่าผมใจร้าย แต่เอลีเป็นคนอ้วนมาก ( ดู 4:18 ) ผมไม่ได้บอกว่าคนอ้วนเป็นคนไม่ดีนะครับ ( ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย ) แต่ดู เหมือนพระเจ้าตรัสกับเอลีว่า “ ลองดูที่ร่างกายท่านสิ เอลี ท่านเป็นปุโรหิตที่อ้วนมาก ทำไมท่านจึงอ้วนล่ะ ? ลองคิดดูสิว่าเป็นเพราะเหตุใด ? ท่านและบุตรของท่านอ้วนได้ ก็เพราะกินเนื้อเข้าไปมาก และเป็นเนื้อที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องในฐานะปุโรหิตด้วย ”
เนื้อเรื่องบอกเราว่า เอลีได้ยินเรื่องราว “ ทั้งสิ้น ” ที่บุตรของท่านกระทำต่อคนอิสราเอล ดังนั้นเอลีต้องรู้ว่าเนื้อเหล่านั้นได้มาโดยวิธีใด ท่านรู้เรื่องการทำผิดศีลธรรมด้วย ในเนื้อ เรื่อง เอลีกล่าวตำหนิบุตรเรื่องการทำผิดทางเพศ แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องเนื้อถวายบูชา เอลี อาจจะแก่และหลงๆลืมๆไปบ้าง แต่ผมเชื่อว่าท่านยังคงแยกแยะออกระหว่างเนื้อย่างและ เนื้อต้ม และผมแน่ใจว่าท่าคงแยกแยะออกระหว่างเนื้อสันนอกกับสันใน เอลีอาจไม่ เปิดปากพูดถึงวิธีที่บุตรนำเนื้อมา เพราะท่านเองก็มีส่วนในการรับประทานเนื้อนั้นด้วย ท่านเองมีส่วนได้จากความผิดบาปของลูก ดังนั้นแทนที่จะโวยวายจัดการ ท่านกับนิ่ง เฉย พระเจ้าเตือนเอลีว่าผลประโยชน์ที่ท่านได้จากการเป็นปุโรหิตมาจาดพระองค์ ทั้งสิ้น — ไม่ใช่มาจากบุตร ดังนั้นเอลีจึงควรถวายเกียรติแด่พระเจ้าไม่ใช่มัวแต่ปกป้อง เกียรติยศของบุตร ( บุตรแห่งความชั่ว ) ด้วยการลงวินัยบุตรต่อการบาปทั้งสิ้นของพวก เขา เอลีเคยตำหนินางฮันนาห์เพราะเข้าใจว่านางดื่มจนเมามาย แต่ท่านกลับไม่สามารถ กล่าวตำหนิบุตรของท่านเองในบาปที่ขโมยเนื้อถวายบูชา เอลีไม่อยากล้มเลิกกรรมวิธี เดิม เพราะเป็นกรรมวิธีที่ทำให้ท่านสุขสมบูรณ์จนอ้วน
บาปของเอลีถูกเปิดโปงอย่างชัดเจน พระพรในการเป็นปุโรหิตทั้งสิ้นนั้นมาจากพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าคือผู้ดียวที่เอลีต้องถวายพระเกียรติ บุตรของเอลีต้องถูกลงโทษ แต่เป็น เพราะท่านยังเสวยสุขอยู่บนความบาปของบุตรทั้งสอง — และสิ่งใดที่ท่านกลัวท่านต้อง ประสพ — เอลีไม่ยอมจัดการกับความบาปของบุตรอย่างที่ท่านควร ดังนั้นการพิพากษา ไม่เพียงแต่ตกอยู่เหนือเอลีเท่านั้น แต่ตกอยู่กับทั้ง “ พงศ์พันธ์ ” ด้วย การพิพากษาลง โทษทั้งหมดระบุอยู่ในข้อ 30-34 :
30 เพราะฉะนั้นพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของ อิสราเอลจึงตรัสว่า ‘เราพูดจริงๆว่าพงศ์พันธุ์ ของเจ้าและพงศ์พันธุ์บิดาของเจ้าจะเข้าออก ต่อหน้าเราอยู่เป็นนิตย์ ‘ แต่บัดนี้พระเจ้าทรง ประกาศว่า ‘ขอให้การนั้นห่างไกลจากเรา เพราะว่าผู้ที่ให้เกียรติแก่เรา เราจะให้เกียรติ และบรรดาผู้ที่ดูหมิ่นเรา ผู้นั้นจะถูกดูหมิ่น 9 “
( 1 ซามูเอล 2:30 ) .
พระเจ้ากำลังจะยกเลิกพระสัญญาหรือ ? เปล่าเลย อย่าลืมว่าพระสัญญาของพระเจ้านั้น ฝ่ายเอลีและบุตรเป็นผู้ที่ทำผิดต่อสัญญา ในกรณีนี้พระเจ้าเป็นผู้รักษาพระสัญญา ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจว่าพระเจ้าไม่ได้ตัดระบบปุโรหิตไปจากพงศ์พันธ์ ของเอลีทั้งหมด พระองค์ตรัสว่า บางคนใน “ พงศ์พันธ์ ” นี้จะตาย โดยเฉพาะโฮฟนี และฟีเนหัสจะตายภายในวันเดียวกัน ( ข้อ 34 ) แต่พระเจ้าไม่ได้ตัดทุกคนในวงศ์ตระกูล ออกไป :
33 คนของเจ้าซึ่งเรามิได้ตัดขาดเสียจากแท่นบูชา ของเรานั้น เราจะไว้ชีวิตเพื่อให้ร้องไห้จนตาถลน และให้เจ้ามีจิตใจเศร้าโศกและผลอันเพิ่มพูนในพงศ์ พันธุ์ของเจ้าจะตายเสียเมื่อวัยฉกรรจ์ ”
( ข้อ 33 )
เอลีและบุตรได้กระทำให้ตนเองอ้วนพีด้วยของถวายบูชาหรือไม่ ? พวกเขาเลือกกินแต่ เนื้อชั้นดีหรือไม่ ? สิ่งเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป :
” ‘และทุกคนที่ยังเหลืออยู่ในพงศ์พันธุ์ของเจ้าจะมา กราบไหว้เขา ขอเงินเหรียญหนึ่งและขนมปังก้อนหนึ่ง และจะกล่าวว่า ขอท่านกรุณาตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่ง ปุโรหิตสักทีหนึ่งเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้รับประทาน อาหารสักหน่อยหนึ่ง ”
( ข้อ 36 ) .
พระเจ้ากำลังทำให้ “ พงศ์พันธ์ ” ของเอลีตกต่ำลง แต่บางคนยังอยู่ในหน้าที่ปุโรหิต ต่อไป พระเจ้าจะบั่นทอน “ กำลัง ” และกระทำให้พวกเขา “ สิ้นเรี่ยวแรง ” ( ข้อ 31 ) คงจะไม่เป็นภาพที่สวยงามนัก แต่ทุกคนจะเห็นว่าพระเจ้าไม่ยอมให้ปุโรหิตของ พระองค์เป็นมลทิน
ข้อ 30-34 การพิพากษาของพระเจ้ากำลังจะมาถึงเอลีและบุตร “ พงศ์พันธ์ ” ของเอลี ในข้อ 35 และ 36 พูดถึงพระพรของพระเจ้าที่จะมีมาถึง “ ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์ ” ที่พระเจ้า กำลังสร้างขึ้นใหม่ และสร้างพงศ์พันธ์ให้ “ มั่นคง่ ” ( ข้อ 35 ) และถ้า “ พงศ์พันธ์ ” ของ เอลีจะได้รับพระพร ต้องมาจากการกราบไหว้ “ ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์นี้ ” ( ข้อ 36 )
ทำให้เกิดคำถามตามมาสองประการ : ใครคือ “ ปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์ ” และ อะไรคือ “ พงศ์พันธ์ที่มั่นคง ” ของปุโรหิตนี้ ? คำพูดในข้อ 35 ฟังดูเหมือนใน 2 ซามูเอล 7, มีการพูดถึงใน “ พันธสัญญาของดาวิด ” :
10 “ และเราจะกำหนดที่หนึ่งให้อิสราเอลประชากร ของเรา และเราจะปลูกฝังเขาไว้เพื่อเขาทั้งหลายจะ ได้อยู่ในที่ของเขาเองและไม่ต้องถูกกวนใจอีก และ คนชั่วจะไม่ข่มเหงเขาอีกดังแต่ก่อนมา 11 ตั้งแต่สมัย เมื่อเราตั้งผู้วินิจฉัยเหนืออิสราเอล ประชากรของเรา และเราจะให้เจ้าพ้นจากการรบศึกรอบด้าน ยิ่งกว่านั้นอีก พระเจ้าตรัสแก่เจ้าว่า พระเจ้าจะทรงให้เจ้ามีราชวงศ์ 12 เมื่อวันของเจ้าครบแล้ว และเจ้านอนพักอยู่กับบรรพ บุรุษของเจ้า เราจะให้บุตรชายคนหนึ่งของเจ้าเกิดขึ้นสืบ ต่อจากเจ้าผู้ซึ่งเกิดมาจากตัวเจ้าเองและ เราจะสถาปนา อาณาจักรของเขา 13 เขาจะเป็นผู้สร้างนิเวศเพื่อนามของ เราและเราจะสถาปนา บัลลังก์แห่งราชอาณาจักรของเขา ให้อยู่เป็นนิตย์ 14 เราจะเป็นบิดาของเขา และเขาจะเป็น บุตรของเรา ถ้าเขากระทำผิดเราจะตีสอนเขาด้วยไม้เรียว ของมนุษย์ ด้วยการเฆี่ยนแห่งบุตรมนุษย์ทั้งหลาย 15 แต่ความรักมั่นคงของเราจะไม่พรากไปจากเขาเสีย ดังที่เราพรากไปจากซาอูล ซึ่งเราได้ถอดเสียให้พ้นหน้า เจ้า 16 ราชวงศ์ของเจ้าและอาณาจักรของเจ้าจะดำรง อยู่ต่อหน้าเจ้าอย่างมั่นคงเป็นนิตย์ และบัลลังก์ของเจ้า จะถูกสถาปนาไว้เป็นนิตย์ ‘ ” 17 นาธันก็กราบทูลดาวิดตาม ถ้อย คำเหล่านี้ทั้งสิ้น และตามนิมิตนี้ทั้งหมด
( 2 Samuel 7:10-17 )
” พงศ์พันธ์ ” ของเอลีนั้นคล้ายกับ “ พงศ์พันธ์ ” ของกษัตริย์ซาอูล ยกเว้นแต่พงศ์พันธ์ ของเอลีเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ พงศ์พันธ์ของซาอูลถูกตัดออกจากการเป็นกษัตริย์ ในขณะ ทีคนที่เหลือต้องดิ้นรนเป็นปุโรหิตต่อ ด้วยการยอมกราบไหว้ปุโรหิตที่เหนือกว่า ใครคือ ปุโรหิตที่เหนือกว่า ? และเหตุใดพระเจ้าจึงสัญญาว่าพงศ์พันธ์ของเขาจะ “ ดำรงอยู่เป็น นิตย์ ” ?
คำตอบนั้นเจาะลึกลงไปสองชั้น ผมเชื่อว่ามีพระสัญญาที่จะสำเร็จไปในเวลาอันใกล้ และใกลออกไป เป็นพระสัญญาชั่วนิรันดร์ที่พระเจ้าตรัสไว้ในตอนนี้ แรกสุด พระเจ้า จะจัดเตรียมจาก “ พงศ์พันธ์ ” ที่ดีกว่าเอลีและบุตรแก่ประชากรของพระองค์ และกำ ลังจะเกิดขึ้นอีกไม่ช้าในอิสราเอล ( จากมุมมองของเอลี ) แรกเมื่อแต่งตั้งตระกูลของ อาโรนให้เป็นปุโรหิตตามกฎหมายเลวีนิติ ตระกูลเลวีจะสืบอำนาจต่อ ( ดูอพยพ2:1. ) เมื่ออาโรนได้รับแต่งตั้งเป็นมหาปุโรหิต บุตรทั้งสองของท่าน นาดับและอาบีฮูปรนนิบัติ รับใช้เป็นผู้ช่วย เมื่อทั้งสองถูกประหารเพราะนำ “ ไฟต้องห้าม ” มาใช้เผาบูชา บุตร สองคนต่อมาของอาโรน เอลีอาซาร์และอิทามาร์จึงถูกเลือกมารับหน้าที่แทน ( เลวินิติ 10 ) ดังนั้นการสืบทอดปุโรหิตจึงมาจากสายของสองพี่น้องคู่นี้เอลีอาซาร์และอิทามาร์ เดิมที ตำแหน่งมหาปุโรหิตสืบทอดมาจากเอลีอาซาร์ แต่เอลีในฐานะมหาปุโรหิตกลับ เป็นผู้สืบสายมาจากตระกูลของอิทามาร์ ดังนั้นคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะนิรนาม จึงเริ่มเป็นจริงเมื่อซามูเอลมาเป็นปุโรหิตในที่ทำการของเอลี ต่อมา ในสมัยที่ดาวิดเป็น กษัตริย์ปกครอง ศาโดกผู้เป็นพงศ์พันธ์ของเอลีอาซาร์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นมหา ปุโรหิต ( 1 พงษ์กษัตริย์ 1:7-8 ; 1พงศาวดาร 16:4-40 ) ในยุคพันปี “ บุตรในตระกูลของ ศาโดก ” จะได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งปุโรหิต ( เอเสเคียล 44:15 ; 48:11 ) .
ข้อสอง ผมเชื่อว่าจุดสูงสุดในคำพยากรณ์นี้คือองค์พระเยซูคริสต์ของเรา เช่นเดียวกับ จุดสูงสุดในพันธสัญญาที่มีต่อดาวิดคือองค์พระเยซูคริสต์ เราจะเห็นว่าในประวัติศาสตร์ ของอิสราเอล ไม่มีกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์คนใดสมควรกับอาณาจักรนิรันดร์ของพระเจ้า ผู้ ปกครองอย่างไม่มีสิ้นสุด ไม่มีผู้ใดสมควร — แม้กระทั้งดาวิด หรือโซโลมอน หรือผู้ใด ก็ตาม ยกเว้น “ กษัตริย์ของชาวยิว ” องค์พระเยซูคริสต์ของเรา ผู้ที่จะมา “ นั่งบน บัลลังก์ของบรรพบุรุษของท่าน ดาวิด ” พระองค์ทรงเป็นคำพยากรณ์ที่เป็นจริงและ สมบูรณ์แบบของพันธสัญญาของดาวิด ดังนั้นพระเยซูจึงเป็นคำตอบของคำพยากรณ์ เรื่องปุโรหิตตามบทเรียนที่เรากำลังเรียนอยู่นี้ ไม่มีปุโรหิตคนใดในประวัติศาสตร์ของ อิสราเอลที่สมควรจะรับตำแหน่งชั่งนิรันดร์ — ที่แน่ๆคือไม่ใช่เอลี และที่แน่ๆก็ไม่ใช่ ซามูเอล ในขณะที่พระเจ้ากำลังจะมอบปุโรหิตที่ดีกว่าเอลีและบุตรให้กับคนอิสราเอล ในอนาคตพระองค์จะทรงมอบปุโรหิตที่สมบูรณ์สูงสุด คือองค์พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็น ทั้ง ผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิตสูงสุด และกษัตริย์ ให้กับประชากรของพระองค์

บทสรุป

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นบท เนื้อหาตอนนี้จะเกี่ยวกับการเลี้ยงงดูบุตร หรือพูดอย่างตรงๆ คือ การที่พ่อแม่จะจัดการกับลูกที่โตแล้ว และกบฎไม่เชื่อฟังพระเจ้าอย่างไร ดูเหมือน ง่ายที่จะพูดว่าเอลีจัดการกับปัญหาเรื่องลูกได้ไม่ดีเพราะไม่ได้กำหราบมาตั้งแต่ยังเป็น เด็ก แต่เป็นไปได้เสมอที่ลูกบางคนเติบโตมาในครอบครัวที่รักพระเจ้า อาจกลายเป็น แบบเดียวกันกับลูกของเอลีก็ได้ ประเด็นคือเอลีล้มเหลวในการจัดการกับลูกให้ถูกต้อง ในฐานะที่เป็นปุโรหิต และในฐานะที่เป็น ผู้วินิจฉัยชนชาติอิสราเอล เอลีควรจัดการกับ ลูกด้วยวิธีเดียวกับปุโรหิตที่ทำผิดบาปทางเพศ หรือที่ไม่ถวายเกียรติพระเจ้า หรือเ็ป็น ปุโรหิตที่ทำตัวมีมลทินและไม่ยอมฟังคำตักเตือน เอลีล้มเหลวในเรื่องนี้เพราะผู้ทำผิด เป็นบุตรของท่านเอง จึงทำให้มองข้ามข้อเท็จจริงอื่นๆไปหมด ให้เรามาดูว่าเอลีล้ม เหลวอย่างไรในการเลี้ยงดูอบรมบุตร
( 1 ) เอลีล้มเหลวในการอบรมบุตรถึงพระบัญญัติของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในการเป็นปุโรหิต
( 2 ) เอลีดูเหมือนจะ ” หูหนาตาบอด ” ต่อเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่ภายใต้จมูกของ ท่าน – ความบาปที่ท่านได้ยินจากประชาชนอิสราเอลทั้งหลาย เป็นความบาป ที่เกิดขึ้นในเรือน ในที่ทำการของท่านที่ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ เกือบเป็นไปไม่ได้ ที่ท่านจะไม่สังเกตุเห็น แต่บางทีผมก็เคยมองดูพ่อแม่บางคนเห็นชัดๆว่าลูกของตน กำลังทำตัวไม่น่ารักต่อหน้าต่อตา แต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เสีย ผมหวั่นว่าพวกเราอาจ ทำเป็นเมินไม่มองในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากเห็น เอลีก็เท่ากับตาบอด แต่ท่านไม่ได้หู หนวก ท่านต้องรู้แนๆว่าเกิดอะไรขึ้น นอกเสียจากว่าท่านไม่อยากจะรับรู้
( 3 ) เอลีปล่อยให้เนิ่นนานจนเกินควรที่จะไปแก้ใขความบาปของบุตร ถึงแม้ คนอิสราเอลแจ้งท่านถึงความบาปของบุตร ท่านไม่ได้คิดจะทำสิ่งใด คำเตือนที่ไร้น้ำ หนักและขาดความเชื่อถือดูจะน้อยและสายเกินแก้ ทุกคนเห็นภาพชัดเจนว่าความบาป นี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ทั้งๆที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรก และสมควรถูก “ ไม้เรียวขนาบ ” ไปนานแล้ว ดังนั้นการเป็นพ่อแม่ กับการปล่อยเลยตามเลยจึงไม่ สามารถนำมาปะปนกันได้
( 4 ) เอลีไม่ได้พยายามจนถึงที่สุดที่จะแก้ใขความประพฤติของบุตร — หรือ อย่างน้อยต่อต้านการกระทำชั่วของพวกเขา การไม่รู้ว่าบุตรตัวเองทำอะไรเป็น คนละเรื่องกับการที่ไม่รู้ว่าความผิดของบุตรนั้นร้ายแรงเพียงใด แต่จากคำพูดของเอลี เอง ดูเหมือนท่านรู้ว่าความบาปผิดของบุตรนั้นรุนแรง เอลีรู้ดีว่าการกระทำของบุตรนั้น ผิดบาปมหันต์ และเป็นความบาปต่อพระเจ้าด้วย แต่เมื่อบุตรไม่ยอมฟังคำตักเตือน ท่านล้มเลิกความตั้งใจโดยไม่ลองหาวิธีอื่นมาแก้ใข ท่านน่าจะ หรือควรจะ เอาหินขว้าง บุตรให้ตาย ท่านน่าจะปลดเขาออกจากตำแหน่งปุโรหิต แต่ท่านไม่ได้ทำสิ่งใดนอกจาก ตักเตือนด้วยวาจาเพียงอย่างเดียว
ผมเห็นพ่อแม่หลายคู่ในทุกวันนี้ มีแต่่ยืนเอามือประสานกันไว้เฉยๆ เมื่อดุแล้วลูกไม่เชื่อ ฟัง พอๆกันกับเอลี ลูกๆไมไ่ด้สูงถึง 6 ‘ 5 ” หรือหนักประมาณ 250 ปอนด์ และเต็มไป ด้วยมัดกล้ามสักหน่อย ส่วนมากอายุก็แค่ 4-5 ขวบ และผู้ใหญ่มีทางออกตั้งหลายทาง แต่ พอดุไปทีแล้วเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง ก็เห็นพ่อแม่ทำได้แค่ยักไหล่ ทำทีเหมือนว่า “ ก็จะ ให้ทำยังไงได้ ? ” จะให้ผมบอกกรรมวิธีให้หรือครับ ? ลองอ่านสุภาษิตดู แล้วบางทีคุณ อาจนึกออก
( 5 ) เอลีไม่อยากจะใช้อำนาจที่ตนเองมีอยู่จัดการกับบุตร — เพราะไม่อยาก สูญเสียความรู้สึกส่วนตัวไป ยอมรับเถอะครับ ว่าเมื่อทั้งคุณและผมไม่สามารถจัด การกับลูกได้ ไม่ใช่เพราะเราทำอะไรไม่เป็น ไม่ใช่เพราะเราไม่รู้วิธีจัดการ แต่เป็น เพราะ เราไม่อยากเสียความรู้สึกเพื่อจะทำสิ่งที่ถูกต้อง — หรือทำสิ่งดีที่สุดสำหรับลูก ของเรา เอลีกลัวว่าจะสูญเสียสัมพันธภาพกับบุตรไป ท่านอาจกลัวจะไม่ได้รับความ เคารพถ้าเอาเรื่องนี้มาประจาน หรือท่านอาจกลัวว่าต้องกลับไปกินเนื้อรสจืดชืดที่ไม่ อร่อย เอลีไม่กล้าลงวินัยบุตรเพราะกลัวจะสูญเสียสิ่งที่พวกเขาปรนเปรอให้
( 6 ) เอลีไม่ได้จัดการอย่างถูกต้องกับบุตร ถึงแม้จะถูกพระเจ้าตักเตือนและคาด โทษโดยผ่านทางผู้เผยพระวจนะนิรนามก็ตาม ถึงแม้ท่านรู้ดีถึงผลลัพท์ของการ ไม่เชื่อฟังและไม่ทำตามพระบัญญัติ เอลีไม่มีสิทธิอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็น ท่านรู้อยู่เต็ม อกว่าบุตรทำผิด ท่านน่าจะถูกบุรุษของพระเจ้าตำหนิมากกว่านี้ ( ผู้เผยพระวจนะนิรนาม ในบทที่ 2 และซามูเอลในบทที่ 3 ) ถึงแม้พระเจ้าตักเตือนท่านเรื่องการไม่เชื่อฟังอย่าง ตรงๆ ท่านก็ยังไม่ยอมแก้ใข
( 7 ) เอลีรักษาหน้าบุตรของตนมากกว่าถวายเกียรติพระเจ้า เรื่องนี้ชัดเจนที่สุด ในสายพระเนตรพระเจ้า เอลีห่วงใยสัมพันธภาพที่มีกับบุตรมากกว่ากับพระเจ้า พระเยซูคริสต์ตรัสถึงเรื่องสัมพันธภาพนี้อย่างชัดเจนว่า :
34 “ อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะนำสันติภาพมาสู่โลก เรามิได้นำสันติภาพมาให้ แต่เรานำดาบมา 35 เรามาเพื่อจะให้ลูกชายหมางใจกับบิดาของตน และลูกสาวหมางใจกับมารดา และลูกสะใภ้หมาง ใจกับแม่ผัว 36 และผู้ที่อยู่ร่วมเรือนเดียวกันก็จะเป็น ศัตรูต่อกัน 37 ผู้ใดที่รักบิดามารดายิ่งกว่ารักเรา ก็ ไม่มีค่าควรกับเรา และผู้ใดรักบุตรชายหญิงยิ่งกว่า รักเรา ผู้นั้นก็ไม่มีค่าควรกับเรา 38 และผู้ใดที่ไม่รับเอา กางเขนของตนตามเราไป ผู้นั้นก็ไม่มีค่าควรกับเรา 39 ผู้ที่จะเอาชีวิตของตนรอดจะกลับเสียชีวิต แต่ผู้ที่ สู้เสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เราก็จะได้ชีวิตรอด บำเหน็จ ”
( มัทธิว 10:34-39 ) .
เนื้อหาเรื่องนี้ “ ใกล้ตัว ” จนเรานึกไม่ถึง เราอาจคิดว่าความประพฤติของเอลีและบุตรนั้น ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคริสเตียนยุคนี้ อย่าลืมนะครับว่าเราก็เป็นปุโรหิตเหมือนกัน :
5 และท่านทั้งหลายก็เสมือนศิลาที่มีชีวิต ที่กำลังก่อขึ้นเป็นพระนิเวศฝ่ายพระวิญญาณ เป็นปุโรหิตบริสุทธิ์ เพื่อถวายสักการบูชา ฝ่ายวิญญาณ ที่ชอบพระทัยของพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์
( 1เปโตร 2:5 ) .
อย่าลืมว่าขณะที่เอลีและบุตร ( รวมซามูเอลด้วย ) กำลังปรนนิบัติอยู่ใน “ พระนิเวศน์ ของพระเจ้า ” ( 1 ซามูเอล 3:3 ) “ สถานที่สถิตของพระเจ้า ” ( 1 ซามูเอล 2:29 ) เรา ทั้งหลายคือ “ พระนิเวศน์ของพระเจ้า ” เป็น “ สถานที่สถิตอยู่ ” ของพระองค์ และ เมื่อเราเหยียบย่ำ “ สถานที่สถิตอยู่ ” ของพระองค์ พระองค์คงต้องจัดการเรื่องนี้อย่าง จริงจังที่สุด :
19 เหตุฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่คนต่างด้าวต่างแดนอีกต่อไป แต่ว่าเป็นพลเมืองเดียวกันกับธรรมิกชน และเป็นครอบ ครัวของพระเจ้า 20 ท่านได้ถูกประดิษฐานขึ้นบนรากแห่ง พวกอัครทูตและพวกผู้เผยพระวจนะ พระเยซูคริสต์ทรง เป็นศิลามุมเอก 21 ในพระองค์นั้นทุกส่วนของโครงร่าง ต่อกันสนิท และเจริญขึ้นเป็นวิหารอันบริสุทธิ์ในองค์พระ ผู้เป็นเจ้า 22 และในพระองค์นั้น ท่านก็กำลังจะถูกก่อ ขึ้นให้เป็นที่สถิตของพระเจ้าในฝ่ายพระวิญญาณด้วย
( เอเฟซัส 2:19-22 )
16 ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าท่านเป็นวิหารของพระเจ้า และพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในท่าน 17 ถ้าผู้ใด ทำลายวิหารของพระเจ้า พระเจ้าจะทรงทำลายผู้นั้น เพราะวิหารของพระเจ้าเป็นที่บริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ และท่าน ทั้งหลายเป็นวิหารนั้น
( 1 โครินธ์ 3:16-17 )
ไม่น่าประหลาดใจที่ความประพฤติของคริสเตียนในเมืองโครินธ์ ( ดู 1 โครินธ์ 5 และ 6 ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริสตจักร ( ดู 1 โครินธ์ 11:17 ) จึงถูกพระเจ้าจัดการอย่างเอาจริง เอาจัง
เราเองก็เช่นเดียวกับเอลี ต้องอบรมเลี้ยงดูลูก “ ตามคำสั่งและวิธีการของพระเจ้า ” ( เอเฟซัส 6:4 ) เราไม่เพียงแต่อบรมตักเตือนด้วยคำพูดเท่านั้น เราต้องแก้ใขด้วย ซึ่งรวม ถึงการใช้ “ ไม้เรียว ” ในสุภาษิต อย่าหลงคิดว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงเกินไปสำหรับลูก ที่ไม่เชื่อฟัง เพราะไม้เรียวยังเป็นวิธีที่ใช้แก้ใขได้อย่างดีวิธีหนึ่ง มีพ่อแม่หลายคู่ตกอยู่ภาย ใต้การบังคับของลูก มากกว่าจะเป็นผู้บังคับควบคุม ถึงแม้เมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราเอง ยังต้องมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการกับความบาปที่เขากระทำด้วย
สำหรับพ่อแม่อย่างเราทั้งหลาย จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือต้องยอมมอบลูกให้ พระเจ้าตรัส ว่าเราต้องรับกางเขนของพระองค์มาแบกไว้ คือการตายต่อตนเอง เราต้องมอบชีวิตให้ เพื่อจะรับกลับคืนมา เราต้องทำเช่นเดียวกันกับลูก ผมพอจะมองเห็นความเชื่อที่ยิ่ง ใหญ่ของอับราฮัมในการยอมถวายบูชาบุตรของตนเอง ( ปฐมกาล 22 ) ผมพอมองเห็น ยาโคบผู้ดื้อดึง ผู้ไม่ยอมสูญเสียบุตรชาย โยเซฟไป และไม่ยอมสูญเสียเบนจามินไปอีก ยังต้องยอมเพื่อแลกกับ “ ความรอด ” จากความอดหยาก ( ดูปฐมกาล 37-45 ) เราต้องทำ ในสิ่งเดียวกัน เราต้องไม่ให้ชีวิตของเราขึ้นอยู่กับลูก แต่ขึ้นอยู่กับพระเจ้า โดยเฉพาะ กับองค์พระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอด ถ้าจะเปรียบเทียบกับความรักในพระเจ้า เรา ต้อง “ เกลียด ” ลูกของเรา เพราะเมื่อทำเช่นนี้ เราจะเป็นอิสระในการจัดการกับพวกเขา เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ดีที่สุด สำหรับพวกเขา สำหรับเราเอง และสำหรับพระสิริของพระเจ้า
บางครั้งลูกก็ต้องตักเตือนพ่อแม่ เรื่องลงวินัยผู้ทำผิดในคริสตจักรเป็นประสพการณ์ไม่ ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไร ( ดูมัทธิว 18:15-20 ) โดยเฉพาะคนที่ถูกลงวินัยเป็นพ่อแม่คน และลูกๆต้องมามีส่วนรับรู้ โดยเฉพาะเด็กโต มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กที่จะตักเตือน ผู้ใหญ่พอๆกับผู้ใหญ่ต้องตักเตือนเด็ก แต่ถ้าเป็นเรื่องของความบาป — และพระวจนะ สั่งให้จัดการกับความบาป — เรามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ถ้าเราละเลย เหมือนเอลีทำ เราเองก็กำลังทำบาปแห่งการละเลย
การลงวินัยที่เราพูดถึงนี้ เกี่ยวข้องกับพระกาย “ ครอบครัว ” ใหญ่ของคริสตจักร คือเมื่อ “ พี่น้อง ” ของเราทำบาป ( ดูมัทธิว 18:15 ) เรามีหน้าที่ต้องตักเตือนให้เขากลับใจ แต่มี คริสเตียนหลายคนเลือกที่จะทำแบบเอลี คือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นและหวังว่าไม่ช้าเรื่องนี้ก็ สงบไปเอง เรื่องมันไม่สงบหรอกครับ มีแต่จะร้ายแรงและกินวงกว้างขึ้น แน่นอนความ ผิดจะทวีความรุนแรงขึ้นถ้าเราละเลยไม่เชื่อฟังพระคำของพระเจ้า
ขอให้พระคุณของพระเจ้าทำให้เราเรียนรู้จาก ไม่ใช่เลียนแบบจากเอลีและบุตร ขอบ พระคุณที่พระองค์สอนสั่งเราให้อบรมบุตรหลาน โดยพระองค์ทรงเป็นต้นแบบในการ ปฏิบัติต่อเราเช่นบิดาต่อและบุตร ขอบพระคุณพระองค์ที่มีพระประสงค์ให้เราเลี้ยงดู บุตรให้อยู่ในทางของพระองค์ และพระองค์ประทานพระคุณให้มากมายเพียงพอที่เรา สามารถปฏิบัติตามได้ สาธุการแด่พระเจ้า !
1 1 จากหนังสือของ Dale Ralph Davis, Looking on the Heart: Expositions of the Book of 1 Samuel, vol. 1 ( Grand Rapids : Baker Books, 1994 ), p. 31 .
2 การตีความหมายในข้อ 12 และ 13 เป็นไปได้หลายแบบตามแต่นักวิชาการต้องการสื่อให้เข้า ใจ ฉบับที่ NASB แปล ตีความหมายว่า ปุโรหิตไม่เพียงแต่ไม่รู้จักพระเจ้าแล้วยังไม่รู้ถึงเรื่องข้อ บัญญัติที่ต้องปฏิบัติในเรื่องส่วนของเนื้อที่นำมาถวายบูชา ส่วนฉบับอื่นๆตีความหมายว่า บุตรทั้ง สองของเอลี ไม่รู้จักพระเจ้า จึงทำให้ไม่ปฏิบัติตัวตามบัญญัติที่พระเจ้าตั้งไว้ในการแบ่งส่วนเนื้อ จากการถวายบูชา อย่างไรก็ตามเนื้อหานั้นชัดเจนทั้งสองแบบ
3 ดูตัวอย่างได้จาก เฉลยธรรมบัญญัติ 13:13 ; ผู้วินิจฉัย 19:22 ; 20:13 ; 1 ซามูเอล 1:16 ; 10:27 ; 25:17, 25 ; 30:22 ; 2 ซามุเอล 16:7 ; 20:1 ; 23:6 ; 1 พงษ์กษัตริย์ 21:10, 13 ; 2 พงศาวดาร 13:7 ; 2 โครินธ์ 6:15 .
4 จากหนังสือของ Dale Ralph Davis, Looking on the Heart: Expositions of the Book of 1 Samuel, vol. 1 ( Grand Rapids : Baker Books, 1994 ), p. 35 .
5 หนังสือ Davis หน้า 36 .
6 หนังสือ Davis หน้า 37.

Read more: Real Sociedad

7 “บุรุษของพระเจ้า” ใช้หมายถึงโมเสส ( เฉลยธรรมบัญญัติ 33:1 ; โยชูวา 14:6, etc. ) ; ทูต ของพระเจ้า ( ผู้วินิจฉัย 13:3, 6, 9 ) ; ซามูเอล ( 1 ซามูเอล 9:6 ) ; เชไมอาห์คนของพระเจ้า ( 1 พงษ์กษัตริย์ 12:22 ; 2 พงศาวดาร 11:2 ; 12:5-7 ) ; ผู้เผยพระวจนะนิรนาม ( 1 ซามูเอล 2:27 ; 1 พงษ์กษัตริย์ 20:28 ; 2 พงศาวดาร 25:7, 9 ) ; เอลีชา ( 2 พงษ์กษัตริย์ 4:9, 16, 22, ฯลฯ ) ; ดาวิด ( 2 พงศาวดาร 8:14 ; เนหะมีห์ 12:24 ) ; ทิโมธี ( 1 ทิโมธี 6:11 ) .
8 คำว่า “ พงศ์พันธ์ ” นี้หมายถึงวงศ์ตระกูล ผู้สืบเชือสายกันต่อๆมา
9 ตรงนี้ตีความไม่ได้เพราะพระคัมภีร์ไทยใช้คำแปลต่างกันและตรงตัวจนไม่ต้องการขยายความ เพิ่ม ( ผู้แปล )