กินทามะ ( ญี่ปุ่น : 銀魂 ; โรมาจิ : Gintama ; แปลว่า “ จิตวิญญาณสีเงิน ” ) เป็นซีรีส์ มังงะ ญี่ปุ่น เขียนเรื่องและวาดภาพโดย ฮิเดอากิ โซราจิ มีฉากในนคร เอโดะ ที่ถูกครอบครองโดยมนุษย์ต่างดาวที่เรียกว่าชาวสวรรค์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ซามูไร ชื่อ ซากาตะ กินโทกิ ซึ่งทำงานเป็นนักรับจ้างอิสระพร้อมด้วยลูกจ้างสองคนคือ ชิมูระ ชินปาจิ และ คางุระ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าที่รายเดือน ตีพิมพ์ในนิตยสาร โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ ชูเอฉะ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 และตีพิมพ์ต่อในนิตยสาร จัมป์ GIGA ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และเผยแพร่ต่อถึงตอนจบในแอปพลิเคชัน กินทามะ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 กินทามะ ได้รับการดัดแปลงเป็นออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน ( โอวีเอ ) ผลิตโดยบริษัท ซันไรส์ ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2006 อนิเมะทัวร์ ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นบริษัทซันไรส์ได้นำการ์ตูน กินทามะ มาจัดทำเป็นซีรีส์ อนิเมะ โทรทัศน์ฉายทางช่อง ทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 รวมจำนวนตอนทั้งสิ้น 201 ตอน และได้มีการออกอากาศภาคต่อของภาพยนตร์การ์ตูน กินทามะ โดยใช้ชื่อว่า กินทามะ’ ( มีเครื่องหมาย อะพอสทรอฟี ปรากฏหลังคำว่า กินทามะ ) ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 และออกอากาศอีกครั้งพร้อมกับออกอากาศตอนเก่าโดยใช้ชื่อว่า กินทามะ ภาคล่วงเวลา ฉายระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการออกกากาศภาคต่ออีกครั้งโดยใช้ชื่อว่า กินทามะ มารุ ผลิตโดย บันไดนัมโคพิกเจอส์ เรี่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในญี่ปุ่น กินทามะ เป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ติดอันดับใน 10 อันดับแรกของการ์ตูนที่มียอดขายสูงสุด กระแสตอบรับของการ์ตูนกินทามะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือความชื่นชอบเนื้อหาที่ตลกขบขันและมีเนื้อเรื่องที่สนุกตื่นเต้น ส่วนกระแสด้านลบคือด้านลายเส้นของการ์ตูน นอกจากหนังสือและภาพยนตร์การ์ตูนแล้ว ปัจจุบัน กินทามะ ยังออกมาในรูปของสื่ออื่น ได้แก่ ไลท์โนเวล และ วิดีโอเกมส์ อีกด้วย รวมถึงถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์จอเงินมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกคือภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ ซึ่งได้ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553 ครั้งที่สองคือภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ซึ่งได้ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Reading:

ในประเทศไทย กินทามะ ได้รับลิขสิทธิ์หนังสือการ์ตูนโดยสำนักพิมพ์ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์รายสัปดาห์ใน นิตยสาร การ์ตูน ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส และตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่มมาแล้ว 70 เล่ม ส่วนภาพยนตร์การ์ตูน ได้รับลิขสิทธิ์โดยบริษัท ทีไอจีเอ ( ปี 1 ), บริษัท ไรท์บียอนด์ ( ปี 2, 3, 4 ), และบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ( ปี 5, 6 ) ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทยทางช่องช่อง ทรู สปาร์ก และยังเคยมีการออกอากาศทาง การ์ตูนคลับแชนแนล ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553, ช่อง 6, ช่อง จีเอ็มเอ็มวัน, ช่อง จีเอ็มเอ็มแชนเนล และช่อง แก๊งการ์ตูนแชนแนล สำหรับภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ และภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์เพื่อการวางจำหน่ายประเทศไทยโดยบริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์
เนื้อเรื่องมีฉากในช่วงปลาย ยุคเอโดะ ยุคที่ มนุษย์ต่างดาว ที่เรียกกันว่า ชาวสวรรค์ ( ญี่ปุ่น : 天人 ; โรมาจิ : Amanto ) ได้มาตั้งรกรากบนโลกมนุษย์ ชาวสวรรค์ได้ออกคำสั่งริบยศถาบรรดาศักดิ์และยึด ดาบ ของ ซามูไร ไป ทำให้ยุครุ่งเรืองของซามูไรได้จบสิ้นลง ชาวสวรรค์ได้มีอำนาจเหนือเอโดะมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีคนหนึ่งที่ยังยึดมั่นในจิตวิญญาณของซามูไร เขาชื่อ ซากาตะ กินโทกิ เคยเป็นนักรบซามูไรต่อต้านชาวสวรรค์ ปัจจุบันเปิด ร้านรับจ้างสารพัด ( ญี่ปุ่น : 万事屋 ; โรมาจิ : Yorozuya ) มีผู้ช่วยคือ ชิมูระ ชินปาจิ หนุ่มแว่นที่ทำงานเพื่อเรียนรู้จิตวิญญาณของซามูไร และ คางุระ เด็กหญิงชาวสวรรค์เผ่ายาโตะ ทั้งสามทำงานรับจ้างเพื่อหา เงิน มาจ่ายค่าเช่าบ้านและเลี้ยงชีวิตในยุคมืดของซามูไร นอกจากเรื่องราวการทำงานรับจ้างต่าง ๆ กินโทกิและลูกน้องยังได้รู้จักกับกลุ่ม ตำรวจ พิเศษติดอาวุธชินเซ็นงุมิ บางครั้งทั้งสองฝ่ายจะทะเลาะกัน บางครั้งจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรื่องราวของพวกเขายังมีผู้เกี่ยวข้องอีกหลายคน เช่น คาซึระ โคทาโร่ นักรบขับไล่ต่างแดนซึ่งเป็นเพื่อนของกินโทกิและเป็นอาชญากรมีประกาศจับ ซารุโทบิ อายาเมะ นินจา สาวสายตาสั้นที่หลงรักกินโทกิ เป็นต้น ส่วนตัวละครตัวร้ายของเรื่องคือ ทากาสุงิ ชินสุเกะ หัวหน้ากลุ่มนักรบขับไล่ต่างแดนที่มีชื่อกลุ่มว่า กองทหารอสุรา เขาเป็นนักรบขับไล่ต่างแดนที่มีหัวรุนแรงกว่าคาซึระ และต้องการจะทำลายเอโดะให้ราบคาบ
ดูตัวละครทั้งหมดได้ที่ รายชื่อตัวละครในกินทามะ ตัวละครส่วนใหญ่ในการ์ตูนกินทามะได้ต้นแบบจากบุคคลในประวัติศาสตร์จริง โดยเฉพาะตัวละครในกลุ่มชินเซ็นงุมิที่ได้ต้นแบบจากกองกำลัง ชินเซ็นงุมิ ในประวัติศาสตร์จริง
ตัวละครหลักในการ์ตูนเรื่องกินทามะ เป็นนักรับจ้างสารพัดที่รับจ้างทำทุกอย่าง เพื่อนำเงินค่าจ้างจากการทำงานมาจ่ายค่าเช่าร้าน ประกอบด้วยสมาชิก 3 คน ( และ 1 ตัว ) ได้แก่
ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นเจ้าของร้านรับจ้างสารพัด และในอดีตเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มนักรบขับไล่ต่างแดน ซึ่งเป็นซามูไรที่ต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวสวรรค์ออกจากเอโดะ แต่เมื่อเพื่อนเกือบทุกคนตายลง ก็ได้รู้ว่าไม่สามารถปกป้องทุกสิ่งได้ มีผมสีเงิน เป็นคนหน้าเหมือนปลาตาย ( หน้านิ่งและดูไร้อารมณ์ ) เป็นคนกวน ๆ และถ้าไม่กินของหวานจะไม่มีเรี่ยวแรง ( ของโปรดคือพาเฟ่ต์ ) เป็นคู่กัดกับ ฮิจิคาตะ โทชิโร่ และชินเซ็นงุมิโดยเฉพาะ โอคิตะ โซโกะ มักจะเรียกเขาว่า “ ลูกพี่ ”
ลูกชายของเจ้าของโรงฝึกดาบที่ปิดตัวลงเพราะบัญญัติการห้ามใช้ดาบ แล้วต่อมาได้เห็นจิตวิญญาณในตัวกินโทกิ จึงได้มาทำงานเป็นลูกจ้างของกินโทกิ ใส่แว่นจนเป็นจุดเด่น แต่ก็บทไม่เด่นนัก มักจะเป็นคนตบมุข
เด็กหญิงชาวสวรรค์ผมสีส้ม ชนเผ่ายาโตะที่เดินทางมาที่โลกเพื่อหางานทำ แล้วจึงมาเป็นลูกจ้างอีกคนของกินโทกิ ชอบแต่งกายคล้ายคน จีน และมีกำลังมหาศาล ชอบพูดลงท้ายว่า “ น่อ ” โดนเรียกว่า “ ยัยเด็กสาหร่ายดอง ” อยู่เรื่อย ๆ
เป็นสุนัขตัวใหญ่สีขาว ความจริงเป็นอินุงามิ ( สุนัขเทพ ) เป็นผู้เฝ้าทวารมังกรในเอโดะ แต่เมื่อชาวสวรรค์รุกราน จึงได้นำทวารมังกรมาเป็นพลังงานให้ท่าเรือ ทำให้อินุงามิไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เลยโดนมิโกะผู้เลี้ยงดู ( อาเนะ และ โมเนะ ) มาทิ้งให้ร้านรับจ้างสารพัดเลี้ยงดู จะคืนร่างจริงก็ต่อเมื่อกินเลือดของแพะ ( นมสด ) และผลไม้สีแดง ( สตรอว์เบอร์รี )
นักรับจ้างสารพัดทั้งสาม บางครั้งต้องมาเกี่ยวข้องกับกลุ่ม ชินเซ็นงุมิ ซึ่งเป็นกองกำลังตำรวจพิเศษติดอาวุธ มีสมาชิกหลัก ๆ ได้แก่
หัวหน้ากลุ่มชินเซ็นงุมิ มีหน้าตาไม่ค่อยดีและมักถูกล้อว่าเป็น กอริลลา เป็นคนที่เห็นแต่ข้อดีของผู้อื่น ชอบโอทาเอะและทำตัวเป็นสตอล์กเกอร์ ( โรคจิตชอบติดตาม ) เคยเป็นหัวหน้าโรงฝึก
รองหัวหน้ากลุ่มชินเซ็นงุมิ เป็นคนที่ชอบรับประทานมายองเนส ( มายองเลอร์ ) ฉะนั้นถึงหน้าตาดีแต่เมื่อสาว ๆ เห็นกินมายองเนสเข้าก็คายของเก่าทุกราย ( ยกเว้น คุริโกะ ลูกสาวของป๋ามัตสึไดระ, มิตสึบะ พื่สาวของโซโกะ )
หัวหน้าหน่วยที่ 1 แห่งกลุ่มและนักดาบอันดับหนึ่งแห่งชินเซ็นงุมิ ภายนอกมีนิสัยคล้ายเด็ก ๆ แต่แท้จริงแล้วชอบความรุนแรง ( ประเภท S ) หมายตาตำแหน่งรองหัวหน้า พยายามแกล้งฮิจิคาตะอยู่บ่อย ๆ
หน่วยสอดแนมของทางชินเซ็นงุมิ เวลาไปสอดแนมมักจะกินอันปังอยู่เสมอชอบเล่นแบดมินตัน เป็นพวกบทจืดคล้าย ๆ ชินปาจิ ใช้ไม้แบดมินตันเป็นอาวุธแทนดาบ
เจ้ากรมตำรวจ เป็นคนเก็บคอนโด้มาเลี้ยง ห่วงลูกสาวมาก ใส่แว่นกันแดดตลอดเวลา แต่ก็เป็นคนที่โหดมาก ๆ
ลักษณะการดำเนินเรื่องหลักคือการใช้มุกตลกในการดำเนินเรื่อง ต่อมาเมื่อฮิเดอากิเขียนการ์ตูนกินทามะเป็นปีที่สอง เขาเริ่มใส่ความเป็น ดรามา ลงในการ์ตูนกินทามะ โดยคงความเป็นการ์ตูนตลกไว้ มุกตลกส่วนมากในเรื่องมีลักษณะล้อเลียนวัฒนธรรม ตัวละคร วิดีโอเกม หรือการ์ตูนเรื่องอื่น เนื้อเรื่องของกินทามะส่วนใหญ่จะจบในตอน แต่ก็มีเนื้อเรื่องบางช่วงจะมีเรื่องราวต่อเนื่องไปหลายตอน ซึ่งมักจะเน้นความเป็นดราม่าและแอ็กชัน เช่น ภาคการกำเนิดดาบเบนิซากุระ ซึ่งมีความยาวตั้งแต่เล่มที่ 11 ไปจนถึงเกือบครึ่งเล่ม 12 เลยทีเดียว ซึ่งภาคนี้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์กินทามะเรื่องแรกในชื่อ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ ( ญี่ปุ่น : 劇場版 銀魂 新訳紅桜篇 ; โรมาจิ : เงะคิโจบัง งิงทะมะ ชิงยะคุเบะนิซะคุระเฮ็ง ) โดยมีตัวละครใหม่เพิ่มขึ้นมา และยังได้สอดแทรกอดีตของพวกกินโทกิในสมัยเด็กไว้เล็กน้อยด้วย
ฮิเดอากิ โซราจิ นักเขียนการ์ตูน ผู้เขียนเรื่องกินทามะ ได้ความคิดเรื่องกินทามะ จากคำแนะนำของบรรณาธิการให้เขียนการ์ตูนเกี่ยวกับชินเซ็นงุมิ เขาจึงมีความคิดที่จะเขียนการ์ตูนแนวผสมผสานระหว่างแนวญี่ปุ่นย้อนยุคกับแนว นิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือเรื่องกินทามะในเวลาต่อมา
ดูบทความหลักที่ รายชื่อตอนในกินทามะ (มังงะ) และ รายชื่อตอนในกินทามะ (อนิเมะ) ชื่อตอนของกินทามะจะมีลักษณะพิเศษคือ มีชื่อตอนทีมีความยาวมาก มีลักษณะคล้าย ๆ สุภาษิต และดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องในบางตอน แต่จริง ๆ แล้ว ชื่อตอนมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บางส่วนในตอนนั้น ๆ แต่อาจจะเป็นส่วนที่สั้น ๆ หรือไม่ค่อยมีความสำคัญ

  • 1. “Pray” ร้องโดย “Tommy Heavenly6” (ตอนที่ 1-24)
  • 2. “Tooi Nioi (遠い匂い)” ร้องโดย “YO-KING” (ตอนที่ 25-49)
  • 3. “Giniro no Sora (銀色の空)” ร้องโดย “redballoon” (ตอนที่ 50-75)
  • 4. “Kasanaru Kage (かさなる影)” ร้องโดย “Hearts Grow” (ตอนที่ 76-99)
  • 5. “Donten (曇天)” ร้องโดย “DOES” (ตอนที่ 100-125)
  • 6. “Anata magic (アナタ Magic)” ร้องโดย “Monobright” (ตอนที่ 126-150)
  • 7. “Stairway Generation” ร้องโดย “Base Ball Bear” (ตอนที่ 151-176)
  • 8. “Light Infection” ร้องโดย “Prague” (ตอนที่ 177-201)
  • 9. “Tougenkyou Alien” ร้องโดย “Serial TV Drama” (ตอนที่ 202-227)
  • 10. “Dilemma” ร้องโดย “ecosystem'” (ตอนที่ 228-240)
  • 11. “Wonderland” ร้องโดย “FLiP” (ตอนที่ 241-252)
  • 12. “LET’S GO OUT” ร้องโดย “AMOYAMO” (ตอนที่ 253-256)
  • 13. “Sakura Mitsu Tsuki” ร้องโดย “SPYAIR” (ตอนที่ 257-265)
  • 14. “DAYxDAY” ร้องโดย “BLUE ENCOUNT” (ตอนที่ 266-277)
  • 15. “『プライド革命』“PURAIDO kakumei” ร้องโดย “CHiCO with HoneyWorks” (ตอนที่ 278-291)
  • 16. “Beautiful Days” ร้องโดย “OKAMOTO’S” (ตอนที่ 292-303)
  • 17. “KNOW KNOW KNOW” ร้องโดย “DOES” (ตอนที่ 304-316)
  • 18. “Kagerou” ร้องโดย “ЯeaL” (ตอนที่ 317-328)
  • 19. “VS” ร้องโดย “BLUE ENCOUNT” (ตอนที่ 329-341)
  • 20. “勝手にMY SOUL” ร้องโดย “DISH” (ตอนที่

342-353 )

  • 1. “Fuusen Gamu (風船ガム)” ร้องโดย “Captain Straydum” (ตอนที่ 1-13)
  • 2. “Mr. Raindrop” ร้องโดย “amplified” (ตอนที่ 14-24)
  • 3. “Yuki no Tsubasa (雪のツバサ)” ร้องโดย “redballoon” (ตอนที่ 25-37)
  • 4. “Candy Line (キャンディ・ライン)” ร้องโดย “Takahashi Hitomi” (ตอนที่ 38-49)
  • 5. “Shura (修羅)” ร้องโดย “DOES” (ตอนที่ 50-62)
  • 6. “Kiseki (奇跡)” ร้องโดย “Snowkel” (ตอนที่ 63-75)
  • 7. “SIGNAL” ร้องโดย “KELUN” (ตอนที่ 76-87)
  • 8. “Speed of flow” ร้องโดย “The Rodeo Carburetto” (ตอนที่ 88-99)
  • 9. “Sanagi” ร้องโดย “POSSIBILITY” (ตอนที่ 100-112)
  • 10. “This world is Yours” ร้องโดย “Plingmin” (ตอนที่ 113-125)
  • 11. “I, ai, ai (I 、愛、会い)” ร้องโดย “ghostnote” (ตอนที่ 126-138)
  • 12. “kagayaita (輝いた)” ร้องโดย “Shigi” (ตอนที่ 139-150)
  • 13. “Asa answer (朝ANSWER)” ร้องโดย “PENGIN” (ตอนที่ 151-163)
  • 14. “Wo Ai Ni (ウォーアイニー)” ร้องโดย “Takahashi Hitomi & BEATCRUSADERS” (ตอนที่ 164-176)
  • 15. “Wonderful Days (ワンダフルデイズ)” ร้องโดย “ONE☆DRAFT” (ตอนที่ 177-189)
  • 16. “Sayonara no Sora (サヨナラの空)” ร้องโดย “Qwai” (ตอนที่ 190-201)
  • 17. “Samurai Heart (Some Like It Hot!!)” ร้องโดย “SPYAIR” (ตอนที่ 202-214)
  • 18. “Balance Doll” ร้องโดย “Prague” (ตอนที่ 215-227)
  • 19. “Anagura” ร้องโดย “Kuroneko Chelsea” (ตอนที่ 228-240)
  • 20. “Nakama” ร้องโดย “Good Coming” (ตอนที่ 241-252)
  • 21. “Moonwalk” ร้องโดย “Monobright” (ตอนที่ 253-256)
  • 22. “Expect” ร้องโดย “PAGE” (ตอนที่ 257-265)
  • 23. “DESTINY” ร้องโดย “Negoto” (ตอนที่ 266-277)
  • 24. “『最後までⅡ』“Saigomade Ⅱ” ร้องโดย “Aqua Timez” (ตอนที่ 278-291)
  • 25. “Glorious Days (グロリアスデイズ)” ร้องโดย “THREE LIGHTS DOWN KINGS” (ตอนที่ 292-303)
  • 26. “Acchi Muite (あっちむいて)” ร้องโดย “Swimy” (ตอนที่ 304-316)
  • 27 “silver” ร้องโดย “rize” (ตอนที่ 317-328)
  • 28 “Hankou Seimei” ร้องโดย “Ayumikurikamaki” (ตอนที่ 329-341)
  • 29 “hana ichi monme” ร้องโดย “burnout syndromes” (ตอนที่ 342-353)

การ์ตูนเรื่องกินทามะเริ่มลงตีพิมพ์ใน นิตยสาร โชเน็นจัมป์ ของสำนักพิมพ์ ชูเอฉะ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 [ 3 ] จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนตอนมากกว่า 200 ตอน และตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2547 [ 4 ] จนถึงปัจจุบัน ออกมาถึงเล่มที่ 41 [ 5 ] นอกจากนี้ สำนักพิมพ์ชูเอฉะยังลงกินทามะลงตอนแรกในหน้าเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ [ 6 ] ในอเมริกาเหนือ กินทามะได้รับลิขสิทธิ์โดย สำนักพิมพ์วิซมีเดีย ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ระหว่าง เดือน มกราคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และเริ่มตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 [ 7 ] โดยได้ตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 23 แล้วหยุดการตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มต่อ [ 8 ] ใน ประเทศไทย กินทามะได้ลิขสิทธิ์โดย สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูน ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่ พ.ศ. 2548 [ 9 ] จนถึงปัจจุบัน ออกมาถึงเล่มที่ 70 [ 10 ] หนังสือการ์ตูนกินทามะที่ตีพิมพ์แล้วในประเทศไทย 50 เล่ม มีชื่อปกบนแต่ละเล่มดังนี้

  1. คนดีมักเป็นคนผมหยักศกตามธรรมชาติ
  2. ความมานะบากบั่นและความดื้อด้านต่างกันเพียงกระดาษกั้น
  3. มาลองคิดดูแล้ว ชีวิตคนเราหลังจากกลายเป็นคุณลุงเนี่ยมันนานกว่าตอนหนุ่มไม่ใช่เรอะ !! น่ากลั๊ว น่ากลัว
  4. คนเป็นพ่อลูกมักเกลียดอะไรเหมือน ๆ กัน
  5. ระวังสายพานให้ดี
  6. มีสิ่งที่ดาบฟาดฟันไม่ได้อยู่
  7. เรื่องไร้สาระเนี่ยจำกันแม่นซะจริง
  8. แฟนของลูกสาวต้องเขกซักโป๊ก
  9. ถ้าริจะเที่ยวคาบาเร่ต์อายุจะต้องถึง 20 ขวบก่อนนะ
  10. แมลงตัวเล็ก ๆ ก็มีจิตวิญญาณเหมือนกัน
  11. อาทิตย์ยังทอแสง
  12. ถ้าเร่งนักก็วิ่งเข้า
  13. ศัตรูเมื่อวาน วันนี้ก็ยังเป็นศัตรูเหมือนเดิม
  14. เมื่อสี่คนเรียงหน้า จะเกิดเชาว์ปัญญามากมาย
  15. รอยยิ้มคือการตกแต่งใบหน้าที่ดีที่สุดของผู้หญิง
  16. ผู้หญิงที่พูดว่าระหว่างฉันกับงานอันไหนสำคัญกว่ากัน ต้องโดนท่าเยอรมันซูเพล็กซ์
  17. ควรเล่นเกมส์แค่วันละหนึ่งชั่วโมง
  18. เหล่าบุรุษทั้งหลายจงเป็นลูกผู้ชายที่ไม่ยอมแพ้
  19. นักวางแผนมักตกหลุมพราง
  20. ก่อนหน้าจะเข้าสู่ช่วงหยุด ฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
  21. แม้สะโพกจะบิดเบี้ยว แต่ก็จะเดินเป็นเส้นตรง
  22. คนเรามักมีแรงผลักดันอยู่ที่หัวใจเสมอ…
  23. เมื่อถึงที่หมายในการไปเที่ยว มักมีเรื่องให้ทะเลาะกัน
  24. มีบางเรื่องที่แม้นพบกันแล้วก็ไม่อาจจะเข้าใจ…
  25. หนังสือที่ใช้หน้าคู่เยอะ ๆ เนี่ยเหมือนหนังสือการ์ตูนเลยเนอะ
  26. การดื่มเหล้าตอนกลางวันจะได้รสชาติที่แตกต่างไป
  27. สวรรค์ไม่ได้สร้างสรรค์ยอดคน แต่เป็นผู้ประดิษฐ์ทรงผม
  28. ยามเข้าไปในร้านแผงลอยจะพบความกล้าที่แสนบอบบาง
  29. แมงมุมยามราตรีมักไม่น่าอภิรมย์
  30. ความยิ่งใหญ่ของวงหัวนมกับความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ผกผันของซึ่งกันและกัน
  31. การลงคะแนนวัดความนิยมน่ะเรอะ ก็แค่เรื่องไม่เป็นเรื่อง
  32. แมวเถื่อนแห่งคาบุกิโจคือเพลงช้าแต่ก็มีจังหวะหนักแน่น…
  33. ไม่ว่าใครก็อยากแข็งแกร่งและงดงามในหนึ่งเดียว
  34. ในเมืองที่ไร้ขื่อแป มักมีแต่พวกเฮฮาไปวัน ๆ มารวมตัวกัน
  35. เป็นเกียรติที่ได้พบและรู้จัก
  36. อายุขัยไร้กำหนด
  37. เมื่อหมดช่วงหยุดพักฤดูร้อน เราจะมองเห็นทุกคนเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมานิดหนึ่ง
  38. เรื่องราวในครอบครัวของคุณลุง มักเป็นเรื่องที่ชวนให้เพลียหัวใจ
  39. ถึงจะเป็นงานเฮฮาส่งท้ายปี แต่ก็ไม่ควรเฮมากเดี๋ยวจะฮาไม่ออก
  40. โลกนี้มีแต่รัก
  41. อย่าพูดคำว่าลาก่อน
  42. จดหมายจากเด็กกวนเมือง
  43. คนดีมักเป็นคนผมเรียบเนียนตามธรรมชาติ
  44. ความงามที่ผกผัน
  45. เปล่งความในใจ
  46. หัวใจของสิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเปล่งประกายแสงออกมาได้
  47. คนดูแลต้นฉบับน่ะมีแค่คนเดียวก็เกินพอแล้ว
  48. หัวใจที่ติดไฟ
  49. ราเม็งพูนชาม
  50. 9+1=ยางิว จูเบ

การ์ตูนชุด กินทามะ ได้มีการตีพิมพ์ตอนพิเศษซึ่งมีเนื้อหาข้ามเรื่อง ( Crossover ) กับการ์ตูนชุด “ สเก็ต ดานซ์ “ ใน โชเน็นจัมป์ ฉบับที่ 18/2011 ประจำวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 เพื่อการประชาสัมพันธ์แอนิเมชั่นชุดใหม่ของกินทามะ และแอนิเมชั่นชุดแรกของเรื่องสเก็ต ดานซ์ ซึ่งเริ่มฉายเมื่อต้นเดือนเมษายนปีเดียวกัน โดยการ์ตูนข้ามเรื่องของกินทามะและสเก็ต ดานซ์ แบ่งออกเป็นสองตอน คือ สเก็ต ดานซ์ ตอนที่ 180 “ กินทามะ x สเก็ต ดานซ์ ” ( นับลำดับตอนต่อเนื่องกับการ์ตูนในชุดของตัวเอง ) และกินทามะตอนพิเศษ “ สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ ” โดยมีผู้เขียนเรื่องต้นฉบับของแต่ละเรื่อง ( เคนตะ ชิโนฮาระ จากเรื่องสเก็ต ดานซ์ และ ฮิเดอากิ โซราจิ จากเรื่องกินทามะ ) รับผิดชอบในเนื้อหาการ์ตูนชุดของตนเอง [ 11 ] เนื้อหาของการ์ตูนข้ามเรื่องชุดนี้เริ่มขึ้นในการ์ตูนชุดสเก็ต ดานซ์ ตอนที่ 180 “ กินทามะ ten สเก็ต ดานซ์ ” โดยที่ตัวละครหลักของเรื่องกินทามะ ( กินโทกิ, คางุระ, ชินปาจิ ) ได้ข้ามมิติด้วยเครื่องย้ายมวลสารมายังห้องของชมรมสเก็ตดานซ์และได้พบกับสามตัวละครเอกของเรื่องดังกล่าว ( บอสเซน, ฮิเมโกะ, สวิชต์ ) และจบลงด้วยเหล่าตัวละครเอกของทั้งสองเรื่องถูกเครื่องย้ายมวลสารดึงมาสู่มิติของเรื่องกินทามะ และต่อด้วยเรื่องกินทามะตอนพิเศษ “ สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ ” ซึ่งกล่าวถึงการแข่งขันชิงความเป็นสุดยอดร้านรับจ้างสารพัดระหว่างทีมกินทามะกับทีมสเก็ต ดานซ์ โดยใช้ฉากที่คล้ายกับโลกในเรื่อง “ วันพีซ x โทริโกะ “ ซึ่งเป็นการ์ตูนข้ามเรื่องอีกชุดหนึ่งของโชเน็นจัมป์ ที่ตีพิมพ์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน อนึ่ง หลังจากได้มีการออกอากาศแอนิเมชั่นของการ์ตูนชุดกินทามะและสเก็ต ดานซ์ได้ 6 เดือน ได้มีการประกาศทำแอนิเมชั่นเนื้อหาข้ามเรื่องของทั้งสองเรื่องเป็นการเฉพาะ โดยมีกำหนดการออกอากาศในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ทั้งนี้จะเริ่มออกอากาศในตอน “ สเก็ต ดานซ์ ten กินทามะ ” ในวันจันทร์ที่ 26 กันยายน และออกอากาศตอน “ กินทามะ x สเก็ต ดานซ์ ” ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน สตูดิโอที่รับผิดชอบการผลิดแอนิเมชั่นชุดนี้คือ ซันไรส์ ( “ สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ ” ) และทัตซึโนะโกะ โปรดัคชั่น ( “ กินทามะ x สเก็ต ดานซ์ ” ) ซึ่งเป็นสตูดิโอที่รับผิดชอบแอนิเมชั่นชุดกินทามะและสเก็ต ดานซ์ ตามลำดับ [ 12 ]
ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน ( โอวีเอ ) ของการ์ตูนกินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ โอวีเอตอนแรก ใช้ชื่อตอนเดียวกับชื่อเรื่อง ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2005 โอวีเอตอนที่สองใช้ชื่อว่า “ ชิโระยะฉะ โคทัน ” ( ญี่ปุ่น : 白夜叉降誕 ; โรมาจิ : Shiroyasha Kotan ; ” กำเนิดปีศาจขาว ” ) ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2008 ดีวีดีของโอวีเอทั้งสองตอน ใช้ชื่อว่า Gintama Jump Anime Tour 2008 & 2005 ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทอะนิเพล๊กซ์ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 [ 13 ]
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์เรื่อง กินทามะ ผลิตโดย บริษัทซันไรส์ 99 ตอนแรกกำกับโดย ชินจิ ทากามาสึ ตอนที่ 100 ถึง 105 กำกับร่วมกันโดยชินจิ ทากามาสึและ โยอิจิ ฟูจิตะ ตั้งแต่ตอนที่ 106 เป็นต้นไปกำกับโดยโยอิจิ ฟูจิตะ [ 14 ] ออกอากาศทาง ทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ถึง วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทอะนิเพล๊กซ์ได้จำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะตามลำดับเวลาดังนี้

ส่วนในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ได้แก่ บริษัททีไอทีเอ และบริษัทไรท์บิยอนด์

  • บริษัททีไอทีเอ ได้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 1 [20] และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี 25 แผ่น[21]และ ดีวีดี 12 แผ่น[22]
  • บริษัทไรท์บิยอนด์ ได้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 2, ปี 3 และ ปี 4
    • วางจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 2 ในรูปแบบวีซีดี 23 แผ่น ดีวีดี 12 แผ่น
    • วางจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 3 ในรูปแบบวีซีดี 25 แผ่น ดีวีดี 13 แผ่น
    • วางจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 4 ในรูปแบบวีซีดี 25 แผ่น ดีวีดี 13 แผ่น

ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 ในประเทศไทยทางช่อง การ์ตูนคลับแชนแนล เมื่อในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน โดยออกอากาศตอนที่ 1 ถึง ตอนที่ 52 และเคยมีการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะครบทุกตอนทางช่อง ทรู สปาร์ค ในปัจจุบันมีการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะทาง ช่อง 6 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน
หลังจบแอนิเมชั่นชุดกินทามะ ภาค 4 สถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวได้ออกอากาศภาพยนตร์แอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุด “ โยรินุกิ กินทามะ-ซัง ” ( ญี่ปุ่น : よりぬき銀魂さん ; ทับศัพท์ : Yorinuki Gintama-san ; ” รวมตอนที่ดีที่สุดของกินทามะ ” ) ซึ่งเป็นการคัดเลือกตอนเก่า ๆ ของแอนิเมชั่นชุดกินทามะจากทั้งสี่ภาคมาออกอากาศซ้ำในระบบโทรทัศน์รายละเอียดสูง ( HDTV ) โดยชื่อของรายการนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อล้อเลียนการออกอากาศซ้ำของแอนิเมชั่นชุด “ ซาซาเอะซัง “ [ 23 ] แอนิเมชั่นชุดนี้มีจำนวน 51 ตอน ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553 จนถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้ นอกจากการปรับปรุงระบบการออกอากาศจาก 4:3 มาเป็น 16:9 แล้ว ได้มีการเพิ่มเพลงเปิดและเพลงปิดรายการขึ้นใหม่อย่างละ 4 เพลง ดังรายชื่อต่อไปนี้

เพลงเปิดรายการ
  1. “บะคุจิ แดนเซอร์” (ญี่ปุ่น: バクチ・ダンサー; โรมาจิ: Bakuchi Dansā; “Bakuchi Dancer”) โดย Does (ตอนที่ 1-9)
  2. “คะเซะ โน โงะโทะคุ” (ญี่ปุ่น: 風のごとく; “Kaze no Gotoku”) โดย โจ อิโนะอุเอะ (ตอนที่ 10-26) [24]
  3. “คะโนเซ เกิร์ล” (ญี่ปุ่น: 可能性ガール; ทับศัพท์: Kanōsei Gāru; “Kanōsei Girl”) โดย คุริยะมะ จิอะกิ (ตอนที่ 27-39)
  4. “คาโทะเนียโงะ” (ญี่ปุ่น: カートニアゴ) โดย FILP (ตอนที่ 40-51)
เพลงปิดรายการ
  1. “โบะคุทะจิ โนะ คิเซ็ทซึ” (ญี่ปุ่น: 僕たちの季節; “Bokutachi no Kisetsu”) โดย Does (ตอนที่ 1-9)
  2. “เวฟ” (อังกฤษ: “ curl ”) โดย Vijandeux (ตอนที่ 10-26)
  3. “อินมายไลฟ์” (อังกฤษ: “ IN MY LIFE ”) โดย Azu (ตอนที่ 27-39)
  4. “ซะกุระเนะ” (ญี่ปุ่น: 桜音; “Sakurane”) โดย Piko (ตอนที่ 40-51)

ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการออกอากาศแอนิเมชั่นชุดกินทามะ ภาค 4 โยอิจิ ฟูจิตะ ผู้กำกับแอนิเมชั่นชุดนี้ได้กล่าวว่าแอนิเมชั่นชุดนี้จะออกอากาศต่อเมื่อทีมงานผลิตรายการสามารถรวมรวบวัตถุดิบสำหรับการทำแอนิเมชั่นได้เพียงพอ ส่วนชินจิ ทากามัตสึ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรายการ ได้กล่าวย้ำว่า แอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุดนี้ยังไม่จบ และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งอย่างแน่นอน [ 25 ] ต่อมาสำนักพิมพ์ ชูเอฉะ ได้ประกาศในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ว่า แอนิเมชั่นชุดใหม่ของเรื่องนี้จะกลับมาแพร่ภาพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 [ 26 ] เมื่อจบการออกอากาศแอนิเมชั่นชุด “ โยรินุกิ กินทามะ-ซัง ” ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 แล้ว ในสัปดาห์ถัดมา ซึ่งตรงกับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 สถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวจึงเริ่มการแพร่ภาพแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดใหม่ ภายใต้ชื่อ กินทามะ’ ( ญี่ปุ่น : 銀魂 ’ ; โรมาจิ : Gintama’ มีการเพิ่มเครื่องหมาย อะพอสทรอฟี ไว้หลังชื่อ ) ซึ่งเป็นแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดล่าสุดที่กำลังออกอากาศในขณะนี้ [ 27 ] ทีมงานในการผลิตยังคงใช้ทีมงานชุดเดียวกันกับใน 4 ภาคก่อนหน้า โดยมีโยอิจิ ฟูจิตะ เป็นผู้กำกับรายการ สำหรับดีวีดีชุดแรกจากแอนิเมชั่นชุดนี้จะเริ่มจัดจัดจำหน่ายในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 [ 28 ] ในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ‘ คือบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี 13 แผ่น
ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลาสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นภาคต่อเนื่องจากภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ‘ ที่จบไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ทีมงานในการผลิตยังคงใช้ทีมงานชุดเดียวกันกับภาคก่อนหน้า โดยมีโยอิจิ ฟูจิตะ เป็นผู้กำกับรายการ [ 29 ] สิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 มีจำนวนตอนทั้งหมด 13 ตอน รวบรวมเป็นดีวีดีได้ 4 แผ่น วางจำหน่ายระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลา คือบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีบ๊อกซ์เซ็ต รวมดีวีดี 4 แผ่น วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ดูบทความหลักที่ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ และ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทส่งท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต มีการสร้างภาพยนตร์จอเงินของเรื่องกินทามะมาแล้ว 2 ภาค ภาคแรกคือ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ ( ญี่ปุ่น : 劇場版 銀魂 新訳紅桜篇 ; โรมาจิ : Gekijōban Gintama Shinyaku Benizakura-Hen ) เป็นการดัดแปลงมาจากเนื้อเรื่องภาคเบนิซากุระของเรื่องกินทามะ ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อคาซึระถูกคนของกองทหารอสุราลอบทำร้าย เหล่านักรับจ้างสารพัดจึงออกสืบหาต้นตอของเรื่องราวทั้งหมด [ 30 ] [ 31 ] ภาพยนตร์ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553 ในประเทศไทย บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้ประกาศเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ภาคนี้บน เว็บบอร์ด ของเว็บไซต์ของบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เมื่อวันที่ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554 [ 32 ] ได้ออกฉายในงาน Manga & Anime festa ณ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า เมื่อวันที่ 6 และ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 [ 33 ] ออกวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบดีวีดีและวีซีดีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และเคยออกอากาศทางช่อง แก๊งการ์ตูน เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557 [ 34 ] ภาพยนตร์ภาคที่สองของเรื่องกินทามะคือ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ( ญี่ปุ่น : 劇場版 銀魂 完結篇 万事屋よ永遠なれ ; โรมาจิ : Gekijōban Gintama Kanketsu-hen: Yorozuya yo Eien Nare ) ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในประเทศไทย บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้ประกาศเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ภาคนี้ในงานฉายภาพยนตร์ ฮันเดอร์ x ฮันเตอร์ เดอะ มูฟวี่ เนตรสีเพลิงกับกองโจรเงามายา ณ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 [ 35 ]
ดูบทความหลักที่ กินทามะ ซามูไร เพี้ยนสารพัด เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2559 สำนักพิมพ์ชูเอฉะได้ประกาศว่าเรื่องกินทามะจะได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไลฟ์แอคชัน และจะออกฉายในปี พ.ศ. 2560 กำกับและเขียนบทภาพยนตร์โดย ยูอิจิ ฟุคุดะ และนำแสดงโดย ชุน โอะงุริ [ 36 ] ภาพยนตร์ไลฟ์แอคชันดัดแปลงจากเรื่องกินทามะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในประเทศไทย ภาพยนตร์เป็นลิขสิทธิ์ของ บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ( มหาชน ) เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560 [ 37 ] โดยมีชื่อเรื่องภาษาไทยว่า กินทามะ ซามูไร เพี้ยนสารพัด
ดนตรีประกอบภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประพันธ์โดย เออิจิ คามางาตะ ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจำหน่ายซีดีเซาด์แทร็กของภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประกอบด้วยเซาวน์แทร็กจำนวน 32 เพลง รวมไปถึงเพลงเปิดเพลงแรก และเพลงปิดสองเพลงแรก [ 38 ] ซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 2 วางจำหน่ายในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 40 เพลง [ 39 ] ส่วนซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 3 ที่เป็นลำดับล่าสุด วางจำหน่ายในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 28 เพลง [ 40 ]
ไลท์โนเวลกินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ เล่มที่ 1 นิยาย ไลท์โนเวล ที่อิงจากหนังสือการ์ตูน กินทามะ เขียนเนื้อเรื่องโดยโทโมฮิโตะ โอซากิ วาดภาพประกอบโดยฮิเดอากิ โซราจิ เจ้าของเรื่องต้นฉบับ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ฉากของเรื่องเป็นโรงเรียนชื่อ โรงเรียนกินทามะ โดยกินโทกิรับบทอาจารย์โดยใช้ชื่อว่า ซากาตะ กินปาจิ และตัวละครอื่น ๆ ส่วนใหญ่รับบทนักเรียนหรืออาจารย์คนอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื้อเรื่องของไลท์โนเวลกินทามะตีพิมพ์ในนิตยสาร จัมป์สแควร์ ใช้ชื่อเรื่องว่า ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ ( ญี่ปุ่น : 3年Z組銀八先生 ; โรมาจิ : 3-Nen Z-Gumi Ginpachi-sensei ; ” ปี 3 ห้อง Z อาจารย์กินปาจิ ” ) ไลท์โนเวลเล่มแรกตีพิมพ์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 7 [ 41 ] [ 42 ] ซึ่งมีชื่อเรื่องดังต่อไปนี้ ในประเทศไทย นิยายไลท์โนเวลกินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ไลท์ วางจำหน่ายเล่มที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 [ 43 ] ปัจจุบันตีพิมพ์ครบ 7 เล่มแล้ว ซึ่งมีชื่อเรื่องดังนี้

  1. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ
  2. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ 2: ทัศนศึกษาล่ะ! ทุกคนมารวมตัวกัน!!
  3. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ 3: ไปห้องให้คำปรึกษาแก่นักเรียนกันเถอะ!
  4. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ 4: มีเรื่องแบบนั้นกับเรื่องแบบนี้ด้วยเร้ออออออ!!
  5. กลับมาแล้วจ้ะ กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ RETURN: ไอ้หนุ่มเลือดเย็น ทากาสุงิคุง
  6. กลับมาแล้วจ้ะ กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ Phoenix: Funky Monkey Teachers
  7. กลับมาแล้วจ้ะ กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ Forever: ลาก่อน ชาว 3Z อันเป็นที่รัก

นอกจากนี้ ยังมีฉบับนิยายของภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ที่เขียนโดยโทโมฮิโตะ โอซากิเช่นเดียวกัน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เข้าฉายที่ประเทศญี่ปุ่น [ 44 ] นิยายฉบับนี้ยังไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทย
ปัจจุบันมีการตีพิมพ์ไกด์บุ๊คกินทามะแล้ว 3 เล่ม สำหรับมังงะ 2 เล่ม และอนิเมะ 1 เล่ม ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่มแรก มีชื่อว่า Gintama Official Character Book – Gin Channel ( ญี่ปุ่น : 銀魂公式キャラクターブック「銀ちゃんねる!」 ) ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ในตัวหนังสือประกอบด้วยข้อมูลตัวละคร บทสัมภาษณ์ฮิเดอากิ โซราจิ และสติกเกอร์ตัวละคร [ 50 ] ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่ม 2 มีชื่อว่า Gintama Official Character Book 2 – Fifth Grade ( ญี่ปุ่น : 銀魂公式キャラクターブック2 「銀魂五年生」 ) ตีพิมพ์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเล่มที่เพิ่มข้อมูลของตัวละครใหม่เพิ่มเติมจากเล่มแรก [ 51 ] ไกด์บุ๊คสำหรับอนิเมะมีชื่อว่า Gintama Official Animation Guide “Gayagaya Box” ( ญี่ปุ่น : オフィシャルアニメーションガイド 銀魂あにめガヤガヤ箱 ) ตีพิมพ์ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 เนื่องในโอกาสกินทามะออกอากาศถึงตอนที่ 100 มีข้อมูลเกี่ยกวับนักพาย์ผู้พากย์เป็นตัวละครในกินทามะ [ 52 ]
ในประเทศญี่ปุ่น การ์ตูนเรื่องกินทามะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ในปี พ.ศ. 2549 [ 53 ] หนังสือการ์ตูนกินทามะ 12 เล่มที่ออกวางแผงในปีนั้น ขายได้จำนวนรวมกัน 7,500,000 เล่ม ในปี พ.ศ. 2550 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านเล่ม ติดอันดับการ์ตูนขายดีของนิตยสารโซเน็นจัมป์ในปี พ.ศ. 2550 [ 54 ] ในปี พ.ศ. 2551 ยอดจำหน่ายของการ์ตูนกินทามะเป็น 20 ล้านเล่ม [ 55 ] ส่วนในประเทศไทย ในระยะแรก กระแสตอบรับของการ์ตูนกินทามะเป็นไปในทางลบ เนื่องจากผู้อ่านบางกลุ่มอ่านกินทามะไม่เข้าใจ [ 9 ] แต่ด้วยการพัฒนาเนื้อหาของผู้แต่งในระยะต่อมา และการแปลเป็นภาษาไทยที่ได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กินทามะกลับมามีความนิยมอย่างท่วมท้นในประเทศไทย โดยเฉพาะการประกาศเรื่องและตัวละครชายดีเด่นในปี2010 ผลการโหวตปรากฏว่า การ์ตูนกินทามะได้อันดับที่สองรองจากK-on ! และซากาตะ กินโทกิ ได้รับการโหวตให้เป็นตัวละครชายยอดนิยมแห่งปี

Read more: Lille OSC