จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2260 เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ คริสตีนแห่งบรันสวิค-วูล์ฟเฟ็นบืทเทล ( พระธิดาใน ดยุกลุดวิก รูดอล์ฟแห่งบรันสวิค-ลืนย์เบิร์ก และ เจ้าหญิงคริสตีน หลุยส์แห่งเอิททินเจน-เอิททินเจน ) มีพระเชษฐา 1 พระองค์ แต่สิ้นพระชนม์ขณะยังทรงพระเยาว์ และพระขนิษฐาอีก 3 พระองค์ ทั้ง 4 พระองค์ทรงได้รับการศึกษาในราชสำนัก โดยพระราชบิดาทรงให้ครูมาให้การศึกษา โดยพระองค์ทรงเล็งเห็นว่า พระราชธิดาองค์โตพระองค์นี้ จะต้องเป็นองค์พระประมุของค์ต่อไป ซึ่งตามหลักของกฎมณเฑียรบาลเรื่องการสืบราชบัลลังก์นั้น จะให้พระบรมวงศานุวงศ์เพศชายเท่านั้นที่จะอยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ได้ แต่พระองค์ทรงไม่มีพระราชโอรสแล้ว พระองค์จึงทรงให้ครูเข้มงวดในเรื่องของการศึกษาของพระราชธิดาองค์โตด้วย
เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชธิดาองค์โตของ จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และเนื่องจากพระราชโอรสพระองค์เดียว อาร์ชดยุกเลโอโปลด์ โยฮันน์ มกุฎราชกุมารได้สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อนแล้ว พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการเขียน พระราชกฤษฎีกา ค.ศ. 1713 ( pragmatic sanction sanction of 1713 ) ซึ่งสามารถให้พระราชธิดาองค์โต สามารถสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาได้ ทำให้มีการลงประชามติจากองค์พระประมุขหลายพระองค์ทางยุโรปตอนเหนือ ซึ่งเห็นด้วยกับการออกพระราชกฤษฎีกาของพระองค์ แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านพระองค์ การที่พระองค์ได้ทรงเป็นองค์รัชทายาทหญิงแห่งออสเตรียนั่นเอง เป็นเหตุให้มีการก่อ สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย ( War of Austrian Succession ) ขึ้นในปี พ.ศ. 2283 เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ผู้หญิงมาสืบราชบัลลังก์แห่งจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ได้ โดยเฉพาะ พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ซึ่งทรงเกรงว่าจะทำให้ระบอบการปกครองสั่นคลอน โดยพระองค์ทรงยื่นข้อเสนอให้กับจักรพรรดิคาร์ลว่า ให้พระราชธิดาอภิเษกสมรสกับพระองค์เสียเอง โดยทรงอ้างว่าจะรักษาความสมดุลของระบอบการปกครองของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ได้ อย่างไรก็ตามหลังจากที่พระราชาบิดาเสด็จสวรรคต เจ้าหญิงมาเรียก็ทรงได้รับการสืบ ราชบัลลังก์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี พ.ศ. 2283 แต่ยังไม่ได้ครองราชย์เพราะเนื่องจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย พระองค์จึงทรงมอบบัลลังก์ให้กับ จักรพรรดิคาร์ลที่ 7 แห่ง ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค แล้วอีก 5 ปีต่อมา จักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต พระองค์จึงทรงสืบราชบัลลังก์ต่อ โดยการอภิเษกสมรสกับ ดยุกฟรันซ์ที่ 3 สเตฟานแห่งลอแรน และสถาปนาให้พระสวามีของพระองค์เป็นจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระองค์ก็จะทรงเป็นจักรพรรดินีมเหสี ( Empress Consort ) แทน แต่พระอำนาจและการบริหารบ้านเมืองทั้งหมด จะอยู่ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว
Reading: จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาทรงริเริ่มช่วยเหลือในการปฏิรูปทางการเงินและการศึกษา อีกทั้งทรงช่วยเหลือทางด้านการค้าขายทางธุรกิจ การพัฒนาการเกษตรกรรม และการจัดการทางการทหาร พระองค์ทรงจัดตั้งกองทัพขึ้นใหม่ เนื่องจากออสเตรียยังมีความขัดแย้งกับปรัสเซีย กษัตริย์แห่งปรัสเซียยังทรงต่อต้านออสเตรียที่มีองค์พระประมุขหญิง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ต่อสู้กับ ราชอาณาจักรปรัสเซีย เป็นเหตุให้มีการต่อสู้ใน สงครามเจ็ดปี ซึ่งอยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 2299 ถึง พ.ศ. 2306 และ สงครามสืบราชบัลลังก์บาวาเรีย ( War of Bavarian Succession )
จักรพรรดิคาร์ล พระราชบิดามิได้พระราชทานการศึกษาเรื่อง รัฐศาสตร์ ให้แก่เจ้าหญิงมาเรีย ทำให้เจ้าหญิงทรงเรียนรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนสิ้นรัชกาลของพระราชบิดา 2 ปี การทหารและกลาโหมของประเทศได้อ่อนแอลงมาก ซึ่งหลังจากจักรพรรดิเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าหญิงก็ได้ทรงเข้าพิธีเถลิงวัลย์ราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี ณ มหาวิหารเซนต์ มาร์ติน เมืองปอลโซนี ( ปัจจุบันคือกรุง บราติสลาวา เมืองหลวงของ ประเทศสโลวาเกีย ) พิธีเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมีขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2284 สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียยังคงมีอยู่เรื่อยมา เพราะเนื่องจาก พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ได้ทรงนำกองทัพรุกรานหวังจะยึดครอง ไซลีเซีย ขณะที่ บาวาเรีย และ ฝรั่งเศส ได้ร่วมกันรุกรานดินแดนทางตะวันตกของออสเตรีย เพราะเนื่องจากปรัสเซียได้ให้บาวาเรียกับฝรั่งเศสรุกรานออสเตรีย พระเจ้าฟรีดริชจึงได้พระสมญานามว่า เฟรเดอริกมหาราช ( Frederick The Great ) พระองค์จึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของจักรพรรดินี อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ทรงเพ่งจุดเด่นไปยังนโยบายทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกเพื่อการต่อสู้กับปรัสเซีย เป็นเหตุให้ออสเตรียชนะสงครามในที่สุด ปรัสเซียก็ได้รับความพ่ายแพ้ไป อีกทั้งกษัตริย์แห่งปรัสเซียก็ทรงยอมรับพระองค์ในฐานะองค์พระประมุขหญิงแห่งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้แผ่นดินคืน หลังจากที่เคยถูกยึดไป และได้มีการทำ สนธิสัญญาอิกส์-ลา-ชาแปลล์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2291 โดยผลของสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว มีผลให้ฝรั่งเศสได้ให้ดินแดน ออสเตรีย-เนเธอร์แลนด์ และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน จักรพรรดินีทรงยกดินแดน ปาร์มา ปิอาเซนซ่า และ กูแอสตาลล่า ให้กับ เจ้าฟ้าชายเฟลิปเป้แห่งสเปน ( ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นองค์พระประมุขแห่งปาร์มา ) หลังจากที่พ่ายแพ้จาก สงครามซิลิเซีย ครั้งที่ 1 และ 2 พระองค์ก็ทรงริเริ่มที่จะปฏิรูปอาณาจักรของพระองค์ให้ทันสมัย โดยทรงได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจาก ฟรีดริช วิลเฮล์ม ฟอน ฮอว์กวิทซ์ สมุหนายกแห่งสภาจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม การพ่ายแพ้สงครามซิลิเซียได้ทำให้พระองค์ทรงมีกำลังพระทัยน้อยลง ที่จะเป็นองค์พระประมุขที่ดีได้ พระองค์ทรงเพิ่มจำนวนกำลังทหารและกองทัพถึง 200 เปอร์เซ็นต์ และทรงเพิ่มค่าภาษีเพื่อที่จะได้สร้างความมั่นใจของระบอบการเมืองการปกครอง และรัฐบาลที่มั่นคงของจักรวรรดิ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงรวมอำนาจของรัฐบาลมายังจุดศูนย์กลาง โดยทรงรวมระบอบสมุหนายกของออสเตรีย และโบฮีเมียซึ่งเคยถูกแบ่งแยก มารวมไว้ที่สำนักบริหารระบอบการปกครอง โดยก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงศาลสูงสุด เพื่อมีหน้าที่ดูแลความยุติธรรมในระบอบเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของจักรวรรดิ
ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นคริตศาสนิกชนนิกาย โรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นนิกายประจำราชวงศ์ พระองค์จึงทรงเคร่งครัดในเรื่องของศาสนาเป็นอย่างมาก ซึ่งในขณะยังทรงพระเยาว์นั้นทรงได้รับการศึกษาในเรื่องของศาสนา ณ มหาวิหารมาเรียเซลล์ เมือง มาเรียเซลล์ ประเทศออสเตรีย พระองค์ทรงมีแนวคิดอนุรักษนิยม อีกทั้งทัศนคติที่ไม่ทรงยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง กล่าวคือ พระองค์ไม่ทรงยอมรับการนับถือนิกายแตกต่างจากพระองค์ ในปี พ.ศ. 2284 พระองค์ทรงขับไล่ชาว ยิว ออกจากเมือง ปราก ระบอบการเมืองการปกครองของพระองค์ ทำให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจาก ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ที่พระองค์ทรงมีส่วนพิจารณาการก่อตั้ง นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ( Church of England ) โดยพระองค์มีพระดำริถึงการมีความเป็นนอกศาสนา พระองค์ได้ทรงตัดบริเตนใหญ่จากการเป็นพันธมิตร โดยทรงได้รับคำแนะนำจากสมุหนายกรัฐบุรุษ เว็นเซล แอนตัน ฟอน คอว์นิทซ์ และหันไปจับมือเป็นพันธมิตรกับ จักรวรรดิรัสเซีย และ ฝรั่งเศส พระองค์ทรงก่อตั้ง สถานศึกษากรมทหารเทเรเซียน ( Theresian Military Academy ; อักษรย่อ MilAk ) เมื่อปี พ.ศ. 2295 และต่อมาในปี พ.ศ. 2297 ได้ทรงก่อตั้งวิทยาลัยวิทยาศาตร์อุตสาหกรรมขึ้น และยังมีพระราชดำริให้ใช้งบประมาณในการก่อตั้ง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวียนนา อีกด้วย ทั้งหมดที่พระองค์ได้ทรงกระทำนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ในการกลาโหม และการแพทย์ที่จะรักษาทหารที่เจ็บป่วยในการสงคราม ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ทรงนำกองทัพไปรบกับปรัสเซียอีกครั้งในปี พ.ศ. 2299 เหตุสงครามนี้ เกิดจากการที่พระเจ้าฟรีดริชทรงรุกราน ซัคเซิน ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรของออสเตรีย ซึ่งการก่อสงครามนี้เอง ทำให้นำไปสู่ สงครามเจ็ดปี ( Seven Years ’ War ) เมื่อสงครามเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2306 จักรพรรดินีทรงลงพระนามใน สนธิสัญญาฮิวเบอร์ตัสบูร์ก ( Treaty of Hubertusburg ) โดยให้ปรัสเซียได้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของซิลิเซีย หลังจากที่ จักรพรรดิฟรันซ์ พระราชสวามีเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ได้ทรงเฉลิมพระองค์ไว้ทุกข์ตลอด 15 ปีต่อมา โดยในระหว่างไว้ทุกข์นั้น พระองค์ก็มิได้ทรงละจากการเมืองการปกครอง พระองค์ทรงวางแผนที่จะยึดแผ่นดินซิลิเซียคืน โดยพระองค์ทรงให้คำแนะนำแก่ จักรพรรดิโยเซฟ พระราชโอรสองค์โตที่ได้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา โดยพระองค์ทรงให้ความมีอำนาจจำกัดของพระราชโอรส ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินี พระพันปีหลวง พระองค์ทรงเห็นว่า พระราชโอรสของพระองค์ทรงหลงใหลในพระราชอำนาจมากเกินไป พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยกับสิ่งต่างๆ ที่พระราชโอรสทรงกระทำ แต่ทรงเห็นด้วยกับ การแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 1 ( First Partition of Poland ) เมื่อปี พ.ศ. 2315 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของยุโรปของคริสต์ศตวรรษที่ 18
พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ ดยุกฟรันซ์ที่ 3 สเตฟานแห่งลอแรน ซึ่งเป็นองค์พระประมุขแห่ง ลอแรน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2279 ซึ่งขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง 15พรรษา หลังจากการอภิเษกสมรสของทั้ง 2 พระองค์ ได้มีการก่อตั้งราชสกุลใหม่ขึ้นว่า ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน โดยจักรพรรดินีทรงอยู่ในราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค และดยุกฟรันซ์ทรงอยู่ในราชวงศ์ลอแรน พระราชบุตรของพระองค์จะดำรงในราชสกุลนี้ และยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ดำรงอยู่ในราชสกุลนี้จวบจนถึงปัจจุบัน หลังจากอภิเษกสมรสแล้วองค์จักรพรรดินีมีพระบรมราชโองการสถาปนาดยุกฟรันซ์ สเตฟาน พระราชสวามีขึ้นเป็น จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจทั้งหมดจะอยู่ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว ในฐานะที่ทรงเป็นจักรพรรดินี และสมเด็จพระราชินีนาถ ทั้ง 2 พระองค์มีพระราชโอรส 5 พระองค์ และพระราชธิดา 11 พระองค์ รวมพระราชบุตรทั้งหมดถึง 16 พระองค์ ดังนี้
Read more: Paris Saint-Germain F.C.
หลังจากที่จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 เสด็จสวรรคต จักรพรรดิโยเซฟ พระราชโอรสองค์โต ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา แต่พระราชอำนาจส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ที่จักรพรรดินีเช่นเดิม ส่วนพระองค์เอง ก็ทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินี พระพันปีหลวง ( The Dowager Empress, The Empress Mother )
ในช่วงปี พ.ศ. 2303 ได้มีโรคไข้ทรพิษลุกลามเชื้อโรคมายังพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์ก็ทรงติดเชื้อจากไข้ทรพิษด้วย แต่ทรงหายจากอาการประชวรได้ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากทรงหายจากพระอาการประชวรแล้ว พระองค์จึงทรงริเริ่มให้คณะแพทย์ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ โดยเริ่มทำการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่พระราชบุตรของพระองค์ทั้งหมด จากนั้นจึงพระราชทานวัคซีนให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ ช่วงปลายรัชกาลของพระองค์ พระองค์มีพระราชโองการให้ปฏิรูปกฎหมายใหม่ เป็นกฎหมายระบอบเผด็จการทางการเมือง ทำให้ระบอบเศรษฐกิจของจักรวรรดิมีความมั่นคง หลังจากที่สูญเสียดินแดนซิลิเซียให้กับปรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2314 พระองค์ และจักรพรรดิโยเซฟ พระราชโอรส ทรงประกาศแจกจ่ายแรงงานโรบ๊อท พาเท็นท์ ( Robot Patent ) โดยทรงวางระเบียบควบคุมรายจ่ายของแรงงานของจักรวรรดิทั้งหมด ซึ่งเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ของออสเตรีย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงช่วยเหลือทางด้านการศึกษาทั่วทั้งจักรวรรดิ โดยในปี พ.ศ. 2315 ทรงก่อตั้งราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และวรรณคดี ( Imperial and Royal Acedemy of Science and Literature ) ทำให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงอุปถัมภ์ประชาชนที่ยากไร้ โดยเฉพาะ กรุงเวียนนา พระองค์ทรงเป็นแรงหนุนให้ประชาชนที่ยากไร้ ได้มีอนาคตที่ดี ทำให้ประชาชนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินี พระราชชนนีพันปีหลวง
ที่ประดิษฐานพระศพของจักรพรรดินีและพระราชสวามี ณ วิหารฮาพส์บวร์ค กรุงเวียนนา จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา พระราชชนนีพันปีหลวงแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2323 สิริพระชันษาได้ 63 พรรษา พระองค์ทรงเป็นองค์พระประมุขหญิงพระองค์เดียวใน ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ในรอบ 650 ปี ถือได้ว่า ทรงเป็นหนึ่งในพระประมุขผู้ทรงอำนาจที่สุดใน ทวีปยุโรป พระบรมศพของพระองค์ถูกนำไปฝังเคียงข้างจักรพรรดิพระราชสวามี ณ วิหารฮาพส์บวร์ค ( The Imperial Crypt ) กรุงเวียนนา โดยหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พระราชโอรสองค์โต จักรพรรดิโยเซฟ ก็ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชมารดา และเถลิงวัลยาชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี โบฮีเมีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย
พระปรมาภิไธยเต็ม หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชสวามี : Her Imperial and Royal Apostolic Majesty Maria Theresia Walburga Amaliae Christina, by the Grace of God, Dowager Holy Roman Empress ; Queen of Hungary, of Bohemia, of Dalmatia, of Croatia, of Slavonia, of Galicia, of Lodomeria, etc ; Archduchess of Austria ; Duchess of Burgundy, of Styria, of Carinthia and of Carniola ; Grand Princess of Transylvania ; Margravine of Moravia ; Duchess of Brabant, of Limburg, of Luxemburg, of Guelders, of Württemberg, of Upper and Lower Silesia, of Milan, of Mantua, of Parma, of Piacenza, of Guastalla, of Auschwitz and of Zator ; Princess of Swabia ; Princely Countess of Habsburg, of Flanders, of Tyrol, of Hennegau, of Kyburg, of Gorizia and of Gradisca ; Margravine of Burgau, of Upper and Lower Lusatia ; Countess of Namur ; Lady on the Wendish Mark and of Mechlin ; Dowager Duchess of Lorraine and Bar, Dowager Grand Duchess of Tuscany. ภาษาเยอรมัน : Maria Theresia von Gottes Gnaden Heilige Römische Kaiserinwitwe, Königin zu Ungarn, Böhmen, Dalmatien, Kroatien, Slavonien, Gallizien, Lodomerien, usw., Erzherzogin zu Österreich, Herzogin zu Burgund, zu Steyer, zu Kärnten und zu Crain, Großfürstin zu Siebenbürgen, Markgräfin zu Mähren, Herzogin zu Braband, zu Limburg, zu Luxemburg und zu Geldern, zu Württemberg, zu Ober- und Nieder-Schlesien, zu Milan, zu Mantua, zu Parma, zu Piacenza, zu Guastala, zu Auschwitz und Zator, Fürstin zu Schwaben, gefürstete Gräfin zu Habsburg, zu Flandern, zu Tirol, zu Hennegau, zu Kyburg, zu Görz und zu Gradisca, Markgräfin des Heiligen Römischen Reiches, zu Burgau, zu Ober- und Nieder-Lausitz, Gräfin zu Namur, Frau auf five hundred Windischen Mark und zu Mecheln, Herzoginwitwe zu Lothringen und Baar, Großherzoginwitwe zu Toskana .
- wikisource:Catholic Encyclopedia (1913)/Maria Theresa of Austria Maria Theresa of Austria]”. Catholic Encyclopedia. (1913). New York: Robert Appleton Company.
- Alfred von Arneth: Geschichte Maria Theresias. 10 Bände, Biblio-Verlag, Osnabrück 1971, (Nachdruck der Ausgabe Wien 1863–1879).
- Peter Berglar: Maria Theresia. Mit Selbstzeugnissen und Bilddokumenten. Reinbek, Rowohlt 2004
- Franz Herre: Maria Theresia, die große Habsburgerin. Piper, München 2004
- Hermann Schreiber: Maria Theresia – Schicksalsstunde Habsburgs. Casimir Katz Verlag 2005
- Richard Suchenwirth: Maria Theresia. Ein Kaiserleben. Reprint-Verlag, Holzminden 2003
- Dieter Wunderlich: Vernetzte Karrieren. Friedrich der Große, Maria Theresia, Katharina die Große. Verlag Friedrich Pustet, Regensburg 2000
- Adam Wandruszka: Maria Theresia. Die große Kaiserin. Muster-Schmidt Verlag, Göttingen – Zürich – Frankfurt 1980.
Read more: Real Sociedad