โรคกามวิปริต Paraphilia |
|
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F65 |
MeSH | D010262 |
โรคกามวิปริต [ 1 ] ( อังกฤษ : paraphilia, sexual perversion, intimate deviation ) หรือ กามวิปริต เป็น ประสบการณ์ ความตื่นตัว ทางเพศระดับสูงต่อวัตถุ สถานการณ์ หรือบุคคลที่ไม่ทั่วไป [ 2 ] แต่ก็ไม่มี มติส่วนใหญ่ของนักวิชาการ ว่าเส้นแบ่งระหว่างความสนใจทางเพศที่แปลก กับโรคกามวิปริตอยู่ที่ไหน [ 3 ] [ 4 ] มีข้อโต้แย้งที่ยังไม่ยุติว่า กามวิปริตแบบไหน ควรจะมีรายชื่ออยู่ในคู่มือวินิจฉัยทางแพทย์เช่น คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ( DSM ) หรือ บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ( ICD ) หรือถ้าจะต้องมีโดยประการทั้งปวง จำนวนประเภทและอนุกรมวิธาน ( taxonomy ) ของกามวิปริตก็ยังโต้เถียงยังไม่ยุติอีกด้วย มีหนังสือเล่มหนึ่งที่มีรายการถึง 549 ประเภท [ 5 ] ส่วน DSM-5 มีรายการความผิดปกติทางกามวิปริต ( paraphilic disorder ) 8 ประเภท [ 6 ] นักวิชาการได้เสนอการจัดหมวดหมู่ย่อยแบบต่าง ๆ โดยอ้างว่า วิธีการจัดหมวดหมู่แบบอื่น ๆ เช่นวิธีการที่รวมมิติทั้งหมด วิธีกำหนดอาการเป็นพิสัย หรือวิธีกำหนดตามคำให้การของคนไข้ ( complaint-oriented ) จะเข้ากับ หลักฐาน ได้ดีกว่า [ 7 ] [ 8 ]
มีศัพท์หลายอย่างที่หมายถึงความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไปต่าง ๆ แต่ก็ยังมีการโต้เถียงเกี่ยวกับความแม่นยำของคำเหล่านั้น และเกี่ยวกับความเข้าใจของอาการต่าง ๆ เหล่านั้น นัก เพศวิทยา ดร.จอห์น มันนี่ เป็นผู้สร้างความนิยมให้กับคำว่า paraphilia เพื่อใช้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ใช่เป็นคำดูถูก ของความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไป [ 9 ] [ 10 ] [ 11 ] [ 12 ] โดยกล่าวถึงกามวิปริตว่า เป็นการตกแต่งเพิ่มรสชาติ หรือเป็นทางเลือก ของข้อปฏิบัติทางเพศทั่วไป [ 13 ] แต่ จิตแพทย์ ท่านอื่นก็เขียนไว้ว่า แม้จะมีความพยายามโดยบุคคลต่าง ๆ รวมทั้ง ดร.มันนี่ คำว่า paraphilia ก็ยังเป็นคำดูถูกในกรณีทั่ว ๆ ไป [ 14 ] นักเพศวิทยาชาว โครเอเชีย – ออสเตรีย ฟรีดริก ครอส เป็นผู้ได้เครดิตการบัญญัติคำในปี ค.ศ. 1903 ที่ต่อมาเริ่มใช้ใน ภาษาอังกฤษ ในปี 1913 [ 15 ] เป็นคำจากภาษา กรีกโบราณ ว่า παρά ( para ) ซึ่งแปลว่า “ เคียงข้างนอกจาก ” และจาก φιλία ( -philia ) ซึ่งแปลว่า “ มิตรภาพ, ความรัก ”
Reading: โรคกามวิปริต – วิกิพีเดีย
เริ่มตั้งแต่ช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษ ที่ 19 นัก จิตวิทยา และ จิตแพทย์ ก็ได้เริ่มจัดหมวดหมู่กามวิปริตแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นระบบการอธิบายความชอบใจแบบต่าง ๆ นอกเหนือจากที่มีในด้านกฎหมายและศาสนาในยุคนั้นเกี่ยวกับ การร่วมเพศทางทวารหนัก [ 16 ] และกามวิปริตอื่น ๆ [ 17 ] ในเรื่องคู่มือวินิจฉัยแพทย์ ก่อนที่จะเริ่มใช้คำว่า paraphilia ใน DSM-III ( ค.ศ. 1980 ) คู่มือ 2 ฉบับแรกได้ใช้คำว่า “ sexual diversion ” แทน [ 18 ] ในปี ค.ศ. 1981 บทความพิมพ์ใน วารสารจิตเวชศาสตร์อเมริกัน แสดงกามวิปริตว่าเป็น “ จินตนาการ ที่เร้าความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง ความอยากทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศ ที่เกิดซ้ำ ๆ โดยทั่วไปเกี่ยวกับ ” [ 19 ]
รักร่วมเพศ ครั้งหนึ่งจัดว่าเป็นความวิปริตทางเพศ [ 20 ] โดยเฉพาะต่อ ประสาทแพทย์ ดร. ซิกมุนด์ ฟรอยด์ และนัก จิตวิเคราะห์ ต่อ ๆ มา ที่พัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับรักร่วมเพศและกามวิปริตอื่น ๆ [ 21 ] ดังนั้น ในหมู่ ชาวตะวันตก จึงมีคำอื่น ๆ ที่ใช้กล่าวถึงความวิปริตทางเพศ ( เช่น sexual perversion, pervert ) โดยหมายถึงชาย รักร่วมเพศ หรือบุคคลอื่น ๆ ที่มี รสนิยมทางเพศ ที่ไม่นับว่าปกติ [ 20 ] [ 21 ] [ 22 ] [ 23 ] [ 24 ] โดยกลางคริตส์ศตวรรษที่ 20 แพทย์พยาบาลเกี่ยวกับสุขภาพจิตเริ่มจัดหมวดหมู่กามวิปริตโดยเป็นเพศสภาพที่เบี่ยงเบน ( aberrant sex ) มีหมายเลขเริ่มต้นเป็น 000-x63 ใน DSM โดยมีรักร่วมเพศอยู่ในอันดับแรก ( หมายเลข 302.0 ) จนกระทั่งสมาคมจิตเวชศาสตร์อเมริกัน ( APA ) ถอนรักร่วมเพศออกจากความเป็นโรคที่วินิจฉัยในคู่มือในปี ค.ศ. 1974 จิตแพทย์ ผู้ชำนาญในโรคกามวิปริตกล่าวว่า “ ความผิดปกติทางเพศหลายอย่างที่ครั้งหนึ่งพิจารณาว่าเป็นโรคกามวิปริต ( เช่น รักร่วมเพศ ) เดี๋ยวนี้พิจารณาว่า เป็นความแตกต่างทาง เพศสภาพ ที่ปกติ ” [ 22 ] งานศึกษาวรรณกรรมปี ค.ศ. 2012 ของนัก จิตวิทยา ที่รักษาคนไข้คนหนึ่งพบว่า รักร่วมเพศต่างจากโรคกามวิปริตต่าง ๆ มากพอที่จะพิจารณาว่าไม่ใช่แนวคิดเรื่องเดียวกัน [ 23 ] [ 24 ]
เหตุของความชอบใจทางเพศแบบกามวิปริตในมนุษย์ไม่ชัดเจน แม้ว่าจะมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ชี้ว่าอาจจะมี สหสัมพันธ์ กับพัฒนาการทางประสาทก่อนคลอด งานวิจัยที่ศึกษา จินตนาการ ทางเพศของชาย รักต่างเพศ 200 คนโดยใช้การทดสอบโดยคำถาม Wilson Sex Fantasy Questionnaire พบว่า ชายที่มีระดับกามวิปริตสูง มีพี่ชายมากกว่า มีอัตราส่วนของ นิ้วชี้ ต่อ นิ้วนาง ( 2D:4D digit proportion ) ที่ต่ำกว่าซึ่งแสดงว่าได้รับ ฮอร์โมนเพศชาย ก่อนกำเนิดในระดับที่ต่ำกว่า และมีโอกาสสูงขึ้นที่จะถนัดมือซ้าย ซึ่งแสดงนัยว่า การกระจายหน้าที่สมองไปยัง ซีกสมอง ทั้งสองข้าง ( brain lateralization ) มีปัญหา ซึ่งอาจจะมีบทบาทในความสนใจทางเพศที่ผิดแปลกออกไป [ 25 ] ส่วนงานศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรม เสนอว่า โรคกามวิปริตเกิดจากการปรับภาวะแบบคลาสสิก ( classical music condition ) ในช่วงแรก ๆ ของชีวิต ที่บุคคลมีประสบการณ์ที่จัดคู่ สิ่งเร้า แบบกามวิปริตกับ ความตื่นตัว ทางเพศระดับสูง [ 26 ] และว่า เมื่อตั้งขึ้นแล้ว จินตนาการ ถึงสิ่งเร้าเหล่านั้นเมื่อ สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ก็จะช่วยเสริมกำลังและขยายขอบเขตของความตื่นตัวทางเพศแบบกามวิปริต [ 26 ]
มีการโต้เถียงกันทั้งทาง วิทยาศาสตร์ และทาง การเมือง เกี่ยวกับการรวมการวินิจฉัยทางเพศเช่นกามวิปริตใน DSM เพราะเหตุว่า การเป็นโรคจิตถือว่าเป็นดวงด่างทางสังคม [ 27 ] กลุ่มต่าง ๆ ที่ต้องการความเข้าใจและความยอมรับเกี่ยวกับความแตกต่างทางการเพศ ได้วิ่งเต้นให้เปลี่ยนสถานะทางกฎหมายและการแพทย์ของความสนใจและพฤติกรรมทางเพศที่แปลก ส่วนแพทย์ที่เป็นเสียงให้ต่อชนส่วนน้อยในเรื่องเพศ อ้างว่าการวินิจฉัยเช่นนี้ไม่ควรมีในคู่มือการวินิจฉัย [ 28 ]
วรรณกรรมทางแพทย์มีรายงานมากมายเกี่ยวกับกามวิปริตต่าง ๆ แต่ว่ามีบางอย่างเท่านั้นที่มีรายชื่อของตนเอง ใน อนุกรมวิธาน ความผิดปกติทางจิตของสมาคมจิตเวชศาสตร์อเมริกันและ องค์การอนามัยโลก [ 29 ] [ 30 ] มีความเห็นขัดแย้งกันว่า ความสนใจทางเพศชนิดไหนควรจัดเป็นความผิดปกติแบบกามวิปริต และชนิดไหนควรจัดเป็นความแตกต่างทางเพศที่ปกติ ยกตัวอย่างเช่น DSM-IV-TR ในเดือนพฤษภาคม 2000 กล่าวว่า “ เพราะว่าความ ซาดิสม์ ทางเพศในบางกรณีไม่มีผู้เสียหาย ( เช่น เมื่อทำคู่ที่ยินยอมให้อับอาย ) คำว่าความซาดิสม์ทางเพศจึงเป็นการรวมความหมายจากทั้ง DSM-III-R และ DSM-IV ( คือ บุคคลนั้นได้ทำการเกี่ยวกับความรู้สึกเช่นนั้นกับบุคคลที่ไม่ยินยอม หรือว่า ความรู้สึกเช่นนั้น หรือจินตนาการทางเพศ หรือพฤติกรรม ทำให้เกิดความทุกข์หรือปัญหาระหว่างบุคคลอย่างสำคัญ ) ” [ 31 ] ส่วนคู่มือ DSM-IV-TR ยอมรับว่า การวินิจฉัยและการจัดหมวดหมู่ของโรคกามวิปริตข้ามวัฒนธรรมและศาสนา “ เกิดความยุ่งยากโดยความจริงว่า สิ่งที่พิจารณาว่าเบี่ยงเบนในวัฒนธรรมหนึ่ง อาจจะยอมรับได้มากกว่าในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ” [ 32 ] และก็มีนักวิชาการที่อ้างว่า การพิจารณาว่าอะไรเป็นโรคกามวิปริตควรจะพิจารณาในบริบทของวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล เพราะว่า มีความแตกต่างว่า อะไรยอมรับได้ทางเพศ ในวัฒนธรรมต่าง ๆ [ 33 ] แต่ว่า กิจกรรมทางเพศ ของผู้ใหญ่ที่ยินยอม, การบันเทิงทางเพศต่าง ๆ เช่นการเล่นบทบาท การเกิดอารมณ์จากสิ่งเฉพาะ ๆ แบบใหม่ ๆ ที่เป็นไปอย่างผิวเผิน หรือเป็นเรื่องเล็กน้อย, หรืออุปกรณ์ของเล่นทางเพศ ( เช่น ดิลโด ) อาจไม่จัดว่าเป็นกามวิปริต [ 32 ] คือ จิตพยาธิแบบกามวิปริตไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับพฤติกรรม จินตนาการ และการละเล่นทางเพศที่เป็นปกติในผู้ใหญ่ [ 34 ]
แพทย์ผู้รักษาจำแนกกามวิปริตเป็นแบบมีก็ได้ ( optional ) ชอบใจ ( preferred ) และจำกัดเฉพาะ ( exclusive ) [ 35 ] แม้ว่า ศัพท์ภาษาอังกฤษเหล่านี้ยังจะไม่ใช้เป็นมาตรฐาน กามวิปริตแบบมีก็ได้ เป็นหนทางการตื่นตัวทางเพศอีกอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ชายที่มีความสนใจทางเพศที่ไม่แปลกอะไรเลย บางครั้งอาจจะหาวิธีปลุกอารมณ์ทางเพศโดยใส่ชุดชั้นในของผู้หญิง ส่วนแบบชอบใจ เป็นกรณีที่บุคคลชอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับกามวิปริตนั้น มากกว่า กิจกรรมทางเพศ ทั่วไปอื่น ๆ แม้ว่าจะยังร่วมกิจกรรมทั่ว ๆ ไปอยู่ มีงานศึกษาเค้สเดียวของกามวิปริตที่มีน้อยมากและแปลก ๆ เช่นเรื่องเด็กชายวัยรุ่นที่มีความสนใจทางเพศเฉพาะวัตถุ ( fetish ) เกี่ยวกับ ท่อไอเสีย ของรถ เรื่องชายเยาวชนอีกคนที่สนใจท่อไอเสียเหมือนกันแต่ต้องเป็นของรถเฉพาะประเภทเท่านั้น หรือเรื่องชายอีกคนหนึ่งที่สนใจการจามทั้งของตนเองและของผู้อื่น [ 36 ] [ 37 ]
ในจิตเวชศาสตร์อเมริกัน ก่อนจะมีคู่มือ DSM-I กามวิปริตจัดอยู่ในหมวดหมู่ “ บุคลิกภาพต่อต้านสังคมพร้อมกับเพศสภาพที่เป็นจิตพยาธิ ” ( psychopathic personality with diseased sex ) ต่อมาในปี 1952 คู่มือ DSM-I รวม “ ความเบี่ยงเบนทางเพศ ” ( sexual diversion ) โดยเป็นแบบย่อยของ “ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ” ( sociopathy ) ส่วนแนวทางวินิจฉัยเดียวที่คู่มือกล่าวถึงก็คือ ความเบี่ยงเบนทางเพศควร “ จำกัดให้กับ เพศสภาพ ที่เบี่ยงเบน ที่ไม่ใช่เป็นส่วนของกลุ่มอาการที่กว้างขวางกว่านั้น เช่น โรคจิตเภท หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ ” แพทย์รักษาจะเป็นผู้กำหนดบทที่ให้รายละเอียดโดยเฉพาะของความผิดปกติ ( supplementary term ) ในการวินิจฉัยความเบี่ยงเบนทางเพศนั้น โดยไม่มีกำหนดใน DSM-I ว่า คำนั้นจะเป็นอะไรได้บ้าง [ 38 ] แต่ว่า มีตัวอย่างที่ให้โดย DSM-I รวมทั้ง “ รักร่วมเพศ โรคชอบแต่งกายลักเพศ ( transvestism ) โรคใคร่เด็ก การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ ( fetishism ) และความ ซาดิสม์ ทางเพศรวมทั้ง การข่มขืน การทำร้ายทางเพศ การทำให้เสียอวัยวะ ” [ 39 ] ต่อมาในปี 1968 DSM-II ก็ยังใช้คำว่า ความเบี่ยงเบนทางเพศ อยู่ แต่ไม่ได้เป็นหมวดหมู่ย่อยของความผิดปกติทางบุคลิกภาพอีกต่อไป แต่ว่า เป็นหมวดหมู่กว้าง ๆ ในในระดับเดียวกันชื่อว่า “ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพและความผิดปกติทางจิตที่ไม่ใช่วิกลจริตอย่างอื่น ๆ ” ( personality disorders and certain early nonpsychotic mental disorders ) ประเภทของควาเบ่งเบียนทางเพศใน DSM-II รวมทั้งการรบกวนทาง รสนิยมทางเพศ ( คือ รักร่วมเพศ ) การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ โรคใคร่เด็ก โรคชอบแต่งกายลักเพศ การแสดงอนาจาร โรคถ้ำมอง โรคซาดิสม์ โรค มาโซคิสม์ และ “ ความเบี่ยงเบนทางเพศอื่น ๆ ” แม้ว่าจะไม่มีนิยามหรือตัวอย่างให้กับ “ ความเบี่ยงเบนทางเพศอื่น ๆ ” แต่ก็หมายจะแสดงถึงความชอบใจทางเพศของบุคคล ” ที่พุ่งไปยังวัตถุแทนที่เพศตรงข้าม ไปยังกิจกรรมทางเพศที่ทั่วไปไม่เกี่ยวกับการร่วมเพศ หรือการร่วมเพศทำในสถานการณ์แปลก ๆ เช่นที่พบในอาการชอบสมสู่กับศพ โรคใคร่เด็ก โรคซาดิสม์ทางเพศ และการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ ” [ 40 ] ยกเว้นการถอนรักร่วมเพศออกจากคู่มือ DSM-III และฉบับต่อ ๆ มา คำนิยามนี้ก็ได้ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไปของการนิยามโรคกามวิปริตประเภทเฉพาะต่าง ๆ ในฉบับต่อ ๆ มาจนถึง DSM-IV-TR [ 41 ]
ส่วนคำว่า โรคกามวิปริต ( paraphilia ) ใช้เป็นครั้งแรกใน DSM-III ปี 1980 โดยเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดใหม่คือ ความผิดปกติทางความต้องการทางเพศ ( psychosexual disorderliness ) DSM-III-R ในปี 1987 เปลี่ยนชื่อหมวดใหม่เป็น “ ความผิดปกติทางเพศ ” ( sexual disorder ) เปลี่ยนชื่อโรคกามวิปริตแบบไม่ทั่วไปเป็น “ กามวิปริตที่ไม่ได้กำหนดไว้อย่างอื่น ” ( paraphilia NOS ) เปลี่ยนชื่อ transvestism ( โรคชอบแต่งกายลักเพศ ) ไปเป็น transvestic fetishism เพิ่มอาการ frotteurism ( โรคถูอวัยวะอนาจาร ) และย้ายหมวดโรคใคร่สัตว์ ( zoophilia ) เข้าไปเป็นส่วนของ paraphilia NOS และก็ยังให้ตัวอย่างโดยไม่ใช่รวมทั้งหมดของ paraphilia NOS ที่นอกเหนือจากโรคใคร่สัตว์ คือ call scatologia ( โรคโทรศัพท์อนาจาร ), อาการชอบสมสู่กับศพ, partialism ( โรคใคร่อวัยวะที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ ), coprophilia ( โรคใคร่อุจจาระ ), klismaphilia ( โรคใคร่การสวนทวารหนัก ), และอาการชอบน้ำปัสสาวะ ( urophilia ) [ 42 ] ต่อมาคู่มือ DSM-IV ในปี 1994 ก็ยังใช้หมวดหมู่ “ ความผิดปกติทางเพศ ” สำหรับโรคกามวิปริตอยู่ แต่สร้างหมวดหมู่ย่อยที่กว้างกว่าคือ “ intimate and gender identity disorders ” แล้วรวมโรคกามวิปริตใต้หมวดหมู่ย่อยนั้น และคู่มือก็ยังมีประเภทต่าง ๆ ของโรคกามวิปริตที่กำหนดใน DSM-III-R รวมทั้งตัวอย่างในหมวดหมู่ paraphilia NOS แม้ว่าจะเปลี่ยนนิยามของโรคโดยเฉพาะ ๆ [ 41 ]
Read more: David Prowse
ส่วน DSM-IV-TR อธิบายกามวิปริตว่าเป็น “ จินตนาการ ที่เร้าความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง ความอยาก ทางเพศ หรือ พฤติกรรม ทางเพศ ที่เกิดซ้ำ ๆ โดยทั่วไปเกี่ยวกับ ( 1 ) วัตถุที่ไม่เกี่ยวกับมนุษย์ ( 2 ) การได้รับทุกข์หรือการถูกทำให้อับอาย ของตนเองหรือของคู่ ( BDSM ) และ ( 3 ) เด็ก หรือคนที่ไม่ยินยอมอื่น ๆ โดยเกิดเป็นระยะเวลา 6 เดือน ” ( เกณฑ์ 1 ) ซึ่ง “ ทำให้เกิดความทุกข์อย่างสำคัญที่จะต้องรักษา หรือเกิดความเสียหายต่อหน้าที่ด้าน สังคม อาชีพ หรือด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ ” ( เกณฑ์ 2 ) DSM-IV-TR กำหนดความผิดปกติแบบกามวิปริตโดยเฉพาะ 8 ประเภท คือ การแสดงอนาจาร การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ การถูอวัยวะอนาจาร โรคใคร่เด็ก โรคมาโซคิสม์ทางเพศ โรคซาดิสม์ทางเพศ โรคถ้ำมอง และ โรคชอบแต่งกายลักเพศ โดยจัดกามวิปริตที่เหลือในหมวดหมู่ “ กามวิปริตที่ไม่ได้กำหนดไว้อย่างอื่น ” ( paraphilia not differently specified ) [ 43 ] เกณฑ์ที่ 2 จะแตกต่างในโรคต่อไปนี้คือ
ส่วนความตื่นตัวทางเพศต่อวัตถุที่ออกแบบเพื่อประโยชน์ทางเพศไม่มีการวินิจฉัย [ 35 ] โรคกามวิปริตบางจำพวกอาจจะรบกวนสมรรถภาพในการมี กิจกรรมทางเพศ ร่วมกับผู้ใหญ่ผู้ยินยอม [ 32 ] และใน DSM-IV-TR กามวิปริตจะไม่วินิจฉัยว่าเป็น ความผิดปกติทางจิต นอกจากจะก่อให้เกิดความทุกข์ต่อคนไข้ หรือเป็นการทำร้ายผู้อื่น [ 2 ]
ส่วนคู่มือ DSM-5 แยกแยะระหว่าง “ กามวิปริต ” ( paraphilia ) และ “ ความผิดปกติแบบกามวิปริต ” ( paraphilic disorder ) โดยกล่าวว่า กามวิปริตเพียงเท่านั้น ยังไม่จำเป็นที่จะบำบัดรักษาทางจิตเวช และนิยาม “ ความผิดปกติแบบกามวิปริต ” ว่า “ กามวิปริตที่กำลังสร้างความทุกข์หรือก่อความบกพร่องให้กับบุคคลนั้น หรือกามวิปริตที่การสนองมีผลเสียหายต่อผู้อื่น หรือว่าเสี่ยงที่จะให้ผู้อื่นเสียหาย ” [ 6 ] คือคณะทำงานของ DSM-5 กลุ่มย่อยเรื่องกามวิปริตได้ถึง “ มติส่วนใหญ่ว่า กามวิปริตไม่จำเป็นที่จะเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างแน่นอน ” และเสนอ “ ให้ DSM-V แยกแยะระหว่าง paraphilia ( กามวิปริต ) และ paraphilic disorders ( ความผิดปกติแบบกามวิปริต ) ” คือแพทย์สามารถ “ ถึงความมั่นใจ ” ( determine ) ว่าผู้ป่วยมีกามวิปริต ( ตามลักษณะของความอยาก จินตนาการ หรือพฤติกรรม ) แต่จะ “ วินิจฉัย ” ความผิดปกติแบบกามวิปริต ( ต่อเมื่อมีมูลเกี่ยวกับความทุกข์ ความบกพร่อง หรือการกระทำสนองที่เสียหาย ) โดยแนวคิดเช่นนี้ การมีกามวิปริตจะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นแต่ยังไม่พอในการจัดว่ามีความผิดปกติแบบกามวิปริต หัวข้อ “ เหตุผล ” ( Rationale ) ของกามวิปริตทุกอย่างใน DSM-5 ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ร่าง กล่าวต่อไปว่า
วิธีการนี้ยังคงยืนความแตกต่างกันระหว่างพฤติกรรมทางเพศที่ปกติและไม่ปกติ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักวิจัย แต่จะไม่ขึ้นป้ายพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปกติโดยอัตโนมัติว่าเป็นโรคจิต และก็จะกำจัดความเหลวไหลทางตรรกะบางอย่างที่มีใน DSM-IV-TR ยกตัวอย่างเช่น ในฉบับนั้น ชายจะไม่จัดว่าเป็นโรคชอบแต่งกายลักเพศ ไม่ว่าเขาจะชอบแต่งกายลักเพศและเกิดการเร้าอารมณ์เพศแค่ไหน ยกเว้นถ้าเขาไม่มีความสุขในการกระทำเยี่ยงนี้ หรือเกิดความบกพร่องเพราะมัน การเปลี่ยนมุมมองเช่นนี้ จะสะท้อนให้เห็นในเกณฑ์วินิจฉัยต่าง ๆ โดยการเพิ่มคำว่า “ ความผิดปกติ ” ( disorderliness ) ต่อกามวิปริตทุกประเภท ดังนั้น sexual Sadism ( ความ ซาดิสม์ ทางเพศ ) ก็จะกลายเป็น intimate sadism disorderliness ( ความผิดปกติแบบซาดิสม์ทางเพศ ) Sexual Masochism ก็จะกลายเป็น Sexual masochism perturb เป็นต้น [ 44 ]
ศาสตราจารย์ทางชีวจริยธรรมผู้หนึ่งตีความการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ว่า “ เป็นวิธีแยบยลที่จะกล่าวว่า ความสนใจแปลก ๆ ทางเพศไม่มีปัญหาโดยพื้นฐาน ไม่มีปัญหาจนกระทั่งว่า คณะทำงานย่อยไม่ได้พยายามที่จะนิยามกามวิปริต แต่ได้นิยามความผิดปกติแบบกามวิปริต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไปก่อให้เกิดทุกข์หรือความบกพร่องต่อบุคคลนั้น หรือมีผลเสียหายต่อผู้อื่น ” เมื่อศาสตราจารย์ผู้นี้สัมภาษณ์ ดร.เรย์ แบล็งเชิร์ด ผู้เป็นประธานกลุ่มทำงานย่อยเรื่องกามวิปริต ดร.แบล็งเชิร์ดได้อธิบายว่า “ เราได้พยายามสุดความสามารถเพื่อจะจัดกามวิปริตอ่อน ๆ และไม่มีผลเสียหายให้ไม่เป็นโรค โดยทำอย่างเข้าใจว่า กามวิปริตรุนแรงที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือความบกพร่องต่อบุคคล หรือเป็นเหตุทำร้ายผู้อื่น ได้รับพิจารณาอย่างสมเหตุผลว่า เป็นความผิดปกติ ” [ 45 ] แต่ก็มีนักวิชาการท่านอื่นที่ชี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญอะไร เนื่องจากว่า DSM-IV ก็ยอมรับอยู่แล้วว่า โรคกามวิปริตแตกต่างจากความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไปแต่ไม่เป็นโรค ซึ่งเหมือนกับข้อเสนอสำหรับ DSM-5 แต่เป็นความแตกต่างที่มักจะมองข้ามไปในการปฏิบัติ [ 46 ] ส่วนนัก ภาษาศาสตร์ ผู้หนึ่งอ้างว่า “ การรวมความสนใจทางเพศบางอย่างเข้าใน DSM แต่ไม่รวมอย่างอื่น ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันขั้นพื้นฐาน และสื่อความรู้สึกเชิงลบต่อความสนใจทางเพศที่รวมอยู่ ” แล้วจัดกามวิปริตไว้ในสถานการณ์คล้ายกับความ รักร่วมเพศ ที่ผู้มีรู้สึกเป็นทุกข์ ( ego-dystonic homosexuality ) ที่ DSM ได้เอาออกจากคู่มือแล้วเพราะว่าไม่ใช่ความผิดปกติ [ 47 ] แม้ว่า DSM-5 จะยอมรับว่า มีความผิดปกติแบบกามวิปริตเป็นโหล ๆ แต่ว่าก็ให้รายชื่อโดยเฉพาะเพียงแค่ 8 อย่างที่สามัญและสำคัญในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งความผิดปกติถ้ำมอง ความผิดปกติแสดงอนาจาร ความผิดปกติถูอวัยวะอนาจาร ความผิดปกติมาโซคิสม์ ความผิดปกติซาดิสม์ทางเพศ ความผิดปกติใคร่เด็ก ความผิดปกติเกิดอารมณ์จากสิ่งเฉพาะ ความผิดปกติชอบแต่งกายลักเพศ [ 6 ] ส่วนกามวิปริตอื่น ๆ จะวินิจฉัยภายใต้หมวด other Specified Paraphilic Disorder ( ความผิดปกติแบบกามวิปริตที่กำหนดอื่น ) หรือ Unspecified Paraphilic Disorder ( ความผิดปกติแบบกามวิปริตที่ไม่กำหนดอื่น ) [ 48 ]
นัก จิตวิทยา โดยมากเชื่อว่า ความสนใจทางเพศแบบกามวิปริตไม่สามารถเปลี่ยนได้ [ 49 ] ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการบำบัดโดยปกติก็เพื่อลดความอึดอัดของบุคคลเกี่ยวกับกามวิปริตของตน และจำกัดไม่ให้มีพฤติกรรมผิดกฎหมาย [ 49 ] โดยมีทั้งวิธีบำบัดทางจิต ( psychotherapy ) และวิธีใช้ยา [ 49 ] การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน ( cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT ) สามารถช่วยคนกามวิปริตให้พัฒนากลยุทธ์เพื่อหยุดตัวเองไม่ให้ทำการตอบสนองความสนใจทางเพศของตน [ 49 ] ซึ่งสอนคนไข้ให้รู้จักและจัดการองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะทำให้มีโอกาสสูงขึ้นในการมีพฤติกรรมกามวิปริต เช่นความเครียด [ 49 ] นี่เป็นวิธีบำบัดทางจิตอย่างเดียวของกามวิปริตที่มีหลักฐานแสดงว่าได้ผล [ 50 ] :646 การบำบัดด้วยยาสามารถช่วยให้คนไข้สามารถควบคุมพฤติกรรมทางเพศของตนได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนกามวิปริตได้ [ 50 ] การบำบัดนี้มักจะใช้กับ CBT เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด [ 51 ] ยา selective serotonin reuptake inhibitor ( SSRI ) มักจะใช้กับคนแสดงอนาจาร คนใคร่เด็ก ที่ไม่ทำผิด และคนที่ สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง อย่างหมกมุ่น [ 51 ] และเป็นยาที่เสนอว่าทำงานโดยลดความตื่นตัวทางเพศ ความหมกมุ่น และอาการเศร้าซึมต่าง ๆ [ 51 ] แต่ว่า หลักฐานของ SSRI ค่อนข้างจำกัด [ 51 ] ยาต้าน ฮอร์โมนเพศชาย ( antiandrogens ) ใช้ในกรณีที่อาการหนัก [ 51 ] คล้ายกับการถูกตอน ยานี้ทำงานโดยลดฮอร์โมนเพศชาย และดังนั้น ชาวตะวันตกบางครั้งจึงเรียกว่า การตอนทางเคมี ( chemical castration ) [ 51 ] ยาต้านฮอร์โมน cyproterone acetate rayon พบว่าช่วยลด จินตนาการ ทางเพศและพฤติกรรมเป้าหมายอย่างสำคัญ [ 51 ] ส่วนยา medroxyprogesterone acetate และ gonadotropin-releasing hormone agonist ( เช่น leuprolide acetate rayon ) พบว่าสามารถช่วยลดความต้องการทางเพศ [ 51 ] เนื่องจากมีผลข้างเคียง สหพันธ์สมาคมชีวจิตเวชศาสตร์ ( World Federation of Societies of Biological Psychiatry ) จึงแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนเมื่อมีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมความรุนแรงทางเพศ หรือว่าเมื่อวิธีอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล [ 50 ] :647 ส่วนการตอนด้วยการผ่าตัดไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน เนื่องจากทางเลือกโดยใช้ยาเหล่านี้ได้ผลคล้ายกันและไม่มีผลเสียอย่างอื่น [ 52 ]
งานวิจัย พบว่า กามวิปริตมักไม่เกิดในหญิง [ 53 ] [ 54 ] แต่ก็ยังมีงานศึกษาเกี่ยวกับหญิงที่มีกามวิปริต [ 55 ] ซึ่งพบว่าโรค มาโซคิสม์ ทางเพศ เป็นกามวิปริตที่สามัญที่สุดในหญิง โดยมีอัตรา 1 ต่อ 20 ของหญิงต่อชาย [ 35 ] [ 54 ] แต่นักวิชาการก็ยอมรับว่า มีงานวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับกามวิปริตในหญิง [ 56 ] และงานศึกษาโดยมากก็ทำในผู้ถูกศาลตัดสินว่าทำผิดทางเพศ [ 57 ] และเพราะว่า จำนวนนักโทษชายมีจำนวนมากกว่านักโทษหญิงอย่างมาก งานวิจัยในหญิงจึงมีน้อยมาก [ 57 ] และก็มีนักวิชาการที่อ้างว่า หญิงใคร่เด็ก ปรากฏน้อยกว่าความเป็นจริง [ 58 ] และเพราะมีหญิงจำนวนน้อยมากในงานศึกษาเกี่ยวกับคนใคร่เด็ก งานโดยจึงมาจากตัวอย่างชายล้วน ๆ [ 58 ] แต่การปรากฏน้อยกว่าความเป็นจริงอาจจะเกิดจาก “ ความโน้มเอียงของสังคมที่จะไม่สนใจผลเชิงลบของความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างเด็กชายกับหญิงผู้ใหญ่ ” [ 58 ] มีนัก จิตวิทยา ที่ได้ทำงานวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การทารุณเด็กทางเพศ ที่ทำโดยหญิง แล้วพิมพ์หนังสือเพื่อแก้ ความเอนเอียง ของข้อมูลเพราะเหตุแห่งเพศในเรื่องอาชญากรรมทางเพศ [ 59 ] นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าวว่า ข้อจำกัดทางกายในงานศึกษาเกี่ยวกับ เพศสภาพ ของหญิงและกามวิปริต ก็เป็นประเด็นอย่างหนึ่ง คือ การตื่นตัวทางเพศของชายสามารถวัดได้โดย การแข็งตัวขององคชาต แต่การตื่นตัวทางเพศของหญิงไม่สามารถวัดได้ชัดเจนเท่า และดังนั้น งานวิจัยเกี่ยวกับเพศสภาพของหญิงสรุปได้ไม่ชัดเจนเท่ากับงานวิจัยในชาย [ 56 ]
ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากคดีสำคัญต่าง ๆ ในศาลสูงสุดโดยเฉพาะที่ตัดสินในปี 1997 ( Kansas v. Hendricks ) และ 2002 ( Kansas v. Crane ) บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีกามวิปริตโดยเฉพาะ โรคใคร่เด็ก หรือโรคแสดงอนาจาร ( exhibitionism ) ที่มีประวัติพฤติกรรมต่อต้านสังคมและประวัติอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกัน สามารถถูกจำขังได้อย่างไม่มีกำหนดโดยกฎหมายของ รัฐ ต่าง ๆ [ 60 ] [ 61 ] และของ รัฐบาลกลาง [ 62 ] [ 63 ]
- Laws, D. Richard; O’Donohue, William T, บ.ก. (2008). Sexual Deviance: Theory, Assessment, and Treatment (2nd ed.). Guilford Press. ISBN 978-1-59385-605-2.
- American Psychiatric Association (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders-IV (4th Text Revision ed.). Arlington, VA, USA: American Psychiatric Publishing, Inc. doi:10.1176/appi.books.9780890423349. ISBN 978-0-89042-024-9.
- American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). American Psychiatric Publishing.