เบอร์ลินตั้งอยู่บน แม่น้ำชเปร และ ฮาเฟิล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี ห้อมล้อมด้วยรัฐ บรันเดินบวร์ค มีพื้นที่ 891.75 ตารางกิโลเมตร ในสมัยก่อน เบอร์ลินเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรันเดินบวร์คก่อนจะแยกการปกครองออกเป็น นครรัฐ ต่างหากรัฐหนึ่ง ชื่อ Berlin ซึ่งออกเสียงใน ภาษาอังกฤษ ว่า เบอร์ลิน และใน ภาษาเยอรมัน ว่า แบร์ลีน นั้นไม่ทราบแหล่งที่มา แต่อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยคำ ภาษาโปลาเบียน เก่า berl- / birl- ซึ่งหมายถึง “ หนองน้ำ ” [ 19 ] เบอร์ลินได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ครั้งแรกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยได้เป็นเมืองหลวงของ ราชอาณาจักรปรัสเซีย ( ตั้งแต่ ค.ศ. 1701 ), จักรวรรดิเยอรมัน ( ค.ศ. 1871-1918 ), สาธารณรัฐไวมาร์ ( ค.ศ. 1919-1932 ) และ ไรช์ที่สาม ( ค.ศ. 1933-1945 )
คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 19 [แก้ ]
สงครามสามสิบปี ระหว่าง ค.ศ. 1618 และ 1648 ทำให้เบอร์ลินได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง บ้านเรือนหนึ่งในสามเสียหาย และประชากรลดเหลือครึ่งเดียว [ 20 ] ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม “ เจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่ ” ซึ่งสืบอำนาจเป็นผู้ปกครองต่อจาก เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม แห่งบรันเดินบวร์ค ผู้บิดาในค.ศ. 1640 ได้ริเริ่มนโยบายส่งเสริม การอพยพย้ายถิ่น และ เสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้วย กฤษฎีกาแห่งพ็อทซ์ดัม ( Edikt von Potsdam ) ในค.ศ. 1685 ฟรีดริชได้เสนอที่ลี้ภัยให้กับพวก อูว์เกอโน ซึ่งเป็นพวกโปรเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส อูว์เกอโนกว่า 20,000 คนได้มายัง บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย ในจำนวนนั้น 6,000 คนตั้งถิ่นฐานในเบอร์ลิน ในค.ศ. 1700 ประมาณร้อยละยี่สิบของผู้อยู่อาศัยในเบอร์ลินเป็นชาวฝรั่งเศส และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพวกเขาแก่เมืองนั้นมีมหาศาล ผู้อพยพอื่น ๆ จำนวนมากมาจาก โบฮีเมีย โปแลนด์ และซาลซ์บูร์ก
หลังจาก สงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเบอร์ลินถูกแยกเป็นสองส่วน ระหว่างปีค.ศ. 1949-1990 คือ เบอร์ลินตะวันออก และ เบอร์ลินตะวันตก ฝั่งตะวันออกปกครองโดย สหภาพโซเวียต ส่วนฝั่งตะวันตกปกครองโดย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ ฝรั่งเศส โดยในช่วงแรก การแบ่งเขตเป็นไปอย่างไม่เคร่งเครียดนัก ประชาชนของทั้งสองฝั่งสามารถไปมาหาสู่กันได้ จนกระทั่ง สงครามเย็น ถึงจุดตึงเครียด รัฐบาลเบอร์ลินตะวันออกได้สร้าง กำแพงเบอร์ลิน ขึ้นเมื่อ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1961 [ 21 ] ล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก ตัดขาดสองฝั่งของเมืองออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ช่วงที่เยอรมนียังถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ ประเทศเยอรมนีตะวันออก ถือเอาเบอร์ลินตะวันออกเป็นเมืองหลวงของตน ( แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาติพันธมิตรตะวันตก ) ส่วนเมืองหลวงของ ประเทศเยอรมนีตะวันตก คือ บอนน์ ( และโดยฐานะอย่างเป็นทางการแล้ว เบอร์ลินตะวันตกก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันตก ) หลังจากการรวมประเทศเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 1990 เบอร์ลินก็กลับมาเป็นเมืองหลวงของประเทศเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง
เบอร์ลินตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของเยอรมนี ประมาณ 70 กม. ( 44 ไมล์ ) ทางตะวันตกของพรมแดน โปแลนด์ ภูมิประเทศของเบอร์ลินนั้นถูกกัดเซาะให้เป็นอย่างปัจจุบันโดย ธารน้ำแข็ง ระหว่าง ยุคน้ำแข็ง ครั้งล่าสุด ใจกลางเมืองทอดตัวตามแนว แม่น้ำชเปร ในหุบเขาธารน้ำแข็งโบราณเบอร์ลิน-วอร์ซอ ( Berlin-Warsaw Urstromtal ) ซึ่งก่อตัวโดยน้ำที่ไหลละลายจากธารน้ำแข็งในตอนสิ้นสุดยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด หุบเขาธารน้ำแข็งโบราณดังกล่าวทอดตัวระหว่างที่ราบสูงบาร์นิมตอนล่าง ( moo Barnim ) ไปทางเหนือ และที่ราบสูงเทลโทว์ ( Teltow ) ไปทางใต้ แม่น้ำชเปรบรรจบกับ แม่น้ำฮาเฟิล ที่เขต สปันเดา ทางตะวันตกสุดของเบอร์ลิน โดยไหลจากทางตอนเหนือไปทางตอนใต้ผ่านเบอร์ลินตะวันตก เส้นทางของแม่น้ำฮาเฟิลนั้นเหมือนกับทะเลสาบที่เชื่อมกัน โดยแห่งที่ใหญ่ที่สุดคือ ทะเลสาบเทเกเลอร์เซ ( Tegeler See ) และ โกรซเซอร์วานเซ ( Großer Wannsee ) มีชุดทะเลสาบจำนวนหนึ่งไหลสู่แม่น้ำชเปรตอนบนเช่นกัน โดยไหลผ่านทะเลสาบโกรซเซอร์มึงเกิลเซ ( Großer Müggelsee ) ในเบอร์ลินตะวันออก [ 22 ]
หน้าตาของนครเบอร์ลินในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากบทบาทนำของมันในประวัติศาสตร์เยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐบาลแห่งชาติแต่ละชุดล้วนตั้งอยู่ในเมืองแห่งนี้ — จักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1871, สาธารณรัฐไวมาร์, นาซีเยอรมนี, เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนี ในปัจจุบันที่รวมกันเป็นหนึ่งอีกครั้ง — ได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างอันทะเยอทะยานมากมาย แต่ละโครงการล้วนมีคุณลักษณะโดดเด่นในตัวเอง เบอร์ลินถูกทำลายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดหลายครั้งระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สอง อาคารเก่าหลายหลังที่รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ทั้งในฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก การรื้อถอนดังกล่าวจำนวนมากริเริ่มโดยโครงการสถาปัตยกรรมระดับเทศบาล เพื่อสร้างย่านที่พักอาศัยหรือย่านธุรกิจและถนนสายหลัก ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครเหมือนของเบอร์ลินได้ก่อร่างสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์อันน่าตื่นตาของเมืองแห่งนี้ ในฝั่งตะวันออก เราจะพบอาคาร “ พลาทเทนเบา ” ( Plattenbau เป็นอาคารที่ส่วนต่าง ๆ ถูกสร้างสำเร็จจากที่อื่นและถูกขนมาประกอบ ณ ที่ก่อสร้าง ) จำนวนมาก ซึ่งหวนให้นึกถึงความทะเยอทะยานของ โลกตะวันออก ( Eastern Bloc ) ที่จะสร้างบริเวณที่พักอาศัยอันสมบูรณ์แบบ ด้วยสัดส่วนคงที่ของร้านค้า สถานเลี้ยงเด็ก และโรงเรียน ความต่างเล็กน้อยระหว่างฝั่งตะวันออกเดิมและฝั่งตะวันตกเดิมอีกอย่างก็คือการออกแบบตัวคนสีเขียวสีแดงในไฟจราจรที่ทางข้ามถนน ( อัมเพิลแมนเชน Ampelmännchen ในภาษาเยอรมัน ) ; แบบของฝั่งตะวันออกนั้นถูกคงเอาไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ในระหว่างการเปลี่ยนสัญญาณจราจรทั่วเยอรมนีให้เป็นแบบเดียวกันหมดภายหลังการรวมประเทศ อัมเพิลแมนเชนแบบตะวันออกนั้นในปัจจุบันถูกใช้ในฝั่งตะวันตกของเมืองเช่นกัน
เขตนอกตัวเมืองของเบอร์ลินนั้นปกคลุมไปด้วยป่าไม้และทะเลสาบ ( แม่น้ำฮาเฟิล ) จำนวนมาก กรุงเบอร์ลินมี ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของเบอร์ลินอยู่ที่ 9.4 °C และมีระดับน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีที่ 578 มม. เดือนที่อุ่นที่สุดคือมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม โดยมีอุณหภูมิระหว่าง 16.7 ถึง 17.9 °C และหนาวที่สุดในเดือนธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ ระหว่าง −0.4 ถึง 1.2 °C [ 23 ] พื้นที่สิ่งปลูกสร้างของเบอร์ลินนั้นสร้างสภาพอากาศประจำถิ่น ( ไมโครไคลเมต ) ความร้อนจะถูกกักเก็บไว้ในอาคารต่าง ๆ อุณหภูมิในเมืองอาจสูงกว่าบริเวณรอบ ๆ อยู่ 4 °C
หอกระจายภาพเบอร์ลิน ( Fernsehturm ) ที่ อเล็คซันเดอร์พลัทซ์ ในเขตมิทเทอ สูง 368 เมตร เป็นอาคารที่สูงเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป สร้างในปีค.ศ. 1969 เราสามารถมองเห็นหอนี้ได้จากเกือบทุกเขตศูนย์กลางของเมือง ในหอที่ระดับความสูง 204 เมตร มีชั้นสังเกตการณ์มุมสูงซึ่งเราสามารถชมทิวทัศน์ของเมืองได้ จากตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของถนน คาร์ล มาร์กซ์ อัลลี ( Karl-Marx-Allee ) ซึ่งทอดตัวไปทางทิศตะวันออก ตามแนวถนนนี้เป็นอาคารที่อยู่อาศัยที่เตือนให้ระลึกอดีต อาคารเหล่านี้ออกแบบในแนวคลาสสิกสังคมนิยม ( socialistic Classicism Style ) ของยุค สตาลิน ติดกับพื้นที่หอกระจายภาพนั้นคืออาคารที่ว่าการเมือง มีชื่อว่า Rotes Rathaus ( ที่ว่าการเมืองสีแดง ) ซึ่งโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมอิฐแดงของมัน ด้านหน้าของที่ว่าการเมืองมีน้ำพุเนปจูน Neptunbrunnen ซึ่งเป็นน้ำพุที่ประดับด้วยฉากจากตำนาน เทพปกรณัม อีสท์ไซด์แกลลอรี ( East Side Gallery ) เป็นนิทรรศการกลางแจ้งของงานศิลปะที่วาดลงไปโดยตรงบนส่วนสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ของ กำแพงเบอร์ลิน มันเป็นหลักฐานของการแบ่งแยกเมืองในสมัยก่อนที่ยังหลงเหลืออยู่ชิ้นใหญ่ที่สุด มันเพิ่งจะบูรณะเสร็จเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ยูเนสโกได้ประกาศให้โครงการที่พักอาศัยแนว สมัยใหม่นิยม ในเบอร์ลินหกแห่งเป็น มรดกโลก [ 26 ] กลุ่มอาคารที่พักอาศัยดังกล่าวสร้างขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ช่วงปีค.ศ. 1913 – 1934 ในสมัย สาธารณรัฐไวมาร์ กลุ่มอาคารซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกอาวองการ์ด บรูโน เทาต์ มาร์ทิน วากเนอร์ วอลเตอร์ โกรเปียส และ ฮันส์ ชาเราน์ เหล่านี้ ได้กลายเป็นตัวแบบของที่พักเพื่อสังคม ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยชนชั้นกรรมาชีพที่มีรายได้น้อย และปฏิรูปความคิดด้านการออกแบบ สถาปัตยกรรม และการผังเมือง อาคารเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอพาร์ตเมนต์สมัยใหม่รุ่นแรกของโลก ที่มีครัว ห้องน้ำ ระเบียง และหน้าต่างที่ใหญ่เพียงพอ จากมรดกโลกจำนวนทั้งหมด 850 แห่ง อาคารเหล่านี้เป็นหนึ่งในเพียง 21 แห่งจากยุคสมัยใหม่ [ 27 ]
เบอร์ลินเป็นเมืองหลวงของ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเป็นที่อยู่ของ ประธานาธิบดีแห่งเยอรมนี ซึ่งมีที่อาศัยอย่างเป็นทางการที่วัง Schloss Bellevue [ 28 ] ตั้งแต่ การรวมประเทศเยอรมนี เมื่อ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 เบอร์ลินก็กลายเป็นหนึ่งในสาม นครรัฐ เคียงคู่กับ ฮัมบวร์ค และ เบรเมิน, ในทั้งหมด 16 รัฐของเยอรมนี คณะมนตรีสหพันธ์ ( Bundesrat ) เป็นตัวแทนของรัฐสหพันธ์ ( Bundesländer ) ทั้งหลายของเยอรมนี และมีที่ตั้งที่อยู่ที่ทำเนียบแฮร์เริน ( Herrenhaus ) ซึ่งเคยเป็นสภาขุนนาง ปรัสเซีย ในอดีต แม้กระทรวงส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเบอร์ลิน แต่บางส่วน รวมถึงกรมเล็ก ๆ ก็ตั้งอยู่ที่ บอนน์ เมืองหลวงเก่าของเยอรมนีตะวันตก สหภาพยุโรป ลงทุนในหลายโครงการภายในเมืองเบอร์ลิน โดยส่วนใหญ่แล้วแผนงานด้านสาธารณูปโภค การศึกษา และสังคม จะได้ทุนสนับสนุนร่วมจากงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเชื่อมแน่นของอียู ( EU Cohesion Fund ) [ 29 ] งบประมาณรัฐประจำปีของเบอร์ลินในค.ศ. 2006 นั้นเกิน 20.5 พันล้านยูโร โดยมีงบขาดดุล 1.8 พันล้านยูโร [ 30 ] สาเหตุใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรวมเมือง เบอร์ลินในฐานะรัฐเยอรมันมีหนี้สะสมมากกว่าเมืองใด ๆ ในเยอรมนี โดยมียอดประมาณการปัจจุบันอยู่ที่ 63 พันล้านยูโร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 [ 31 ]
ก่อนหน้าที่จะมีการปฏิรูปการปกครองของเบอร์ลินในค.ศ. 2001 เบอร์ลินเคยมี 23 เขต ( Bezirke ) แต่ปัจจุบันควบรวมเหลือ 12 เขต แต่ละเขตแบ่งเป็นแขวง ( Ortsteil ) ต่างๆตามย่านท้องถิ่นดั้งเดิม ในปัจจุบันเบอร์ลินมีแขวงทั้งหมด 95 แห่ง แต่ละแขวงประกอบด้วย “ ชุมชน ” ( Kiez ) จำนวนหนึ่งซึ่งเป็นย่านอยู่อาศัยเล็ก ๆ แต่ละเขตจะดูแลโดยสภาเขต ( Bezirksamt ) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาเขต ( Bezirksstadträte ) จำนวนห้าคน และผู้อำนวยการเขต ( Bezirksbürgermeister ) หนึ่งคน สมาชิกสภาเขตได้รับแต่งตั้งโดยสมัชชาเขต ( Bezirksverordnetenversammlung )
เขตที่
ชื่อเขต
ประชากร
สิ้นปี 2020
พื้นที่
(ตร.กม.)
หนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
แผนที่
01
มิทเทอ
383,360
39.47
9.733
02
ฟรีดริชส์ไฮน์-คร็อยทซ์แบร์ค
289,787
20.34
14,246
03
พังโค
410,716
103.07
3,956
04
ชาร์ล็อทเทินบวร์ค-วิลเมิร์สดอร์ฟ
341,392
64.72
5,289
05
ชปันเดา
245,527
91.87
2,656
06
ชเตคลิทซ์-เซเลินดอร์ฟ
308,840
102.56
3,010
07
เท็มเพิลโฮฟ-เชอเนอแบร์ค
349,539
53.10
6,622
08
น็อยเคิลน์
327,945
44.93
7,338
09
เทรพโท-เคอเพอนิค
276,165
168.42
1,610
10
มาร์ทซาน-เฮ็ลเลิร์สดอร์ฟ
273,731
61.78
4,347
11
ลิชเทินแบร์ค
296,837
52,12
5,592
12
ไรนิคเคินดอร์ฟ
266,123
89.31
2,970
กรุงเบอร์ลิน
3,664,088
891.68
4,088
เบอร์ลินรักษาความเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับ 17 นคร [ 32 ] การจับคู่เป็นเมืองแฝดกับเมืองอื่น ๆ นั้นเริ่มกับ ลอสแอนเจลิส ในค.ศ. 1967พันธมิตรของเบอร์ลินตะวันออกนั้นถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งรวมประเทศเยอรมนี และได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นบางส่วนในภายหลัง ส่วนพันธมิตรของเบอร์ลินตะวันตกนั้นตั้งแด่เดิมถูกจำกัดให้อยู่ในระดับเทศบาล [ 33 ] ระหว่างยุค สงครามเย็น พันธมิตรดังกล่าวได้สะท้อนถึงกลุ่มขั้วอำนาจ โดยเบอร์ลินตะวันตกจับมือกับเมืองหลวงในประเทศตะวันตก และเกือบจะทั้งหมดของเมืองเบอร์ลินตะวันออกจับคู่ด้วยจะเป็นเมืองจากกลุ่ม สนธิสัญญาวอร์ซอ และพันธมิตร เบอร์ลินมีแผนงานร่วมร่วมกับนครต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น โคเปนเฮเกน เฮลซิงกิ โยฮันเนสเบิร์ก เซี่ยงไฮ้ โซล โซเฟีย ซิดนีย์ และ เวียนนา เบอร์ลินเข้าร่วมในสมาคมนครนานาชาติต่าง ๆ เช่น สหพันธ์เมืองหลวงของสหภาพยุโรป ( Union of the Capitals of the European Union ) ยูโรซิตีส์ ( Eurocities ) เครือข่ายนครวัฒนธรรมยุโรป ( Network of european Cities of Culture ) เมโทรโพลิส ( Metropolis ), Summit Conference of the World ‘s major Cities, Conference of the World ‘s capital Cities .
ณ กันยายน ค.ศ. 2006 เบอร์ลินมีผู้อยู่อาศัยที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 3,402,312 คน [ 34 ] ในพื้นที่ 891.82 ตร.กม. เขตพื้นที่มหานครเบอร์ลิน-บรันเดินบวร์คมีประชากรประมาณ 4.3 ล้านคน ในพื้นที่ 5,370 ตร.กม. จากจำนวนผู้อยู่อาศัย 3.4 ล้านคน มี 463,723 คน ( 13.9 % ) ที่เป็นชาวต่างชาติ จาก 183 ประเทศ [ 35 ] โดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดมาจาก ประเทศตุรกี ( 116,665 ), โปแลนด์ ( 42,889 ), เซอร์เบียและมอนเตเนโกร ( 24,337 ), รัสเซีย ( 14,065 ), อิตาลี ( 14,026 ), สหรัฐอเมริกา ( 12,735 ), ฝรั่งเศส ( 11,776 ), โครเอเชีย ( 11,378 ), เวียดนาม ( 11,513 ), บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ( 10,463 ), กรีซ ( 10,102 ), สหราชอาณาจักร ( 9,396 ), ยูเครน ( 8,667 ), ออสเตรีย ( 8,409 ), สเปน ( 5,962 ), ไทย ( 5,876 ), จีน ( 5,620 ) กลุ่มศาสนาที่ใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มที่ไม่นับถือศาสนา 60 %, โปรเตสแตนต์ ( ส่วนใหญ่เป็น เยอรมันอีแวนเจลิก ) 23 % ( 757,000 ), โรมันคาทอลิก 9 % ( 312,000 ), อิสลาม 6 % ( 213,000 ), ยิว 0.4 % ( 12,000 ) [ 36 ]
ใน พ.ศ. 2550, จีดีพี ในรูปตัวเงินของนครรัฐเบอร์ลินมีอัตราเติบโต 1.8 % ( ขณะที่ทั้งประเทศเติบโต 2.5 % ) และมีมูลค่าทั้งหมด 81.7 ( $ 114 ) พันล้านยูโร [ 37 ] ระหว่างทศวรรษหลังสุดนี้เบอร์ลินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญไปสู่เศรษฐกิจการบรีการ ก่อนการรวมเยอรมนีและเบอร์ลินในค.ศ. 1990 นั้น เบอร์ลินตะวันตกได้รับเงินอุดหนุนก้อนใหญ่จากทางการเยอรมนีตะวันตก เพื่อชดเชยการที่ถูกตัดขาดทางภูมิศาสตร์ออกจากเยอรมนีตะวันตก เงินอุดหนุนเหล่านั้นจำนวนมากได้ถูกยกเลิกไปหลังค.ศ. 1990 ฐานอุตสาหกรรมของอดีตเบอร์ลินตะวันออกได้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงทศวรรษเดียว ทำให้นำไปสู่การเติบโตของจีดีพีที่หยุดนิ่ง และอัตราการว่างงานที่สูงจนกระทั่ง ค.ศ. 2005 หลังจากนั้นอัตราการว่างงานได้ค่อย ๆ ลดลงอย่างมั่นคง และถึงจุดที่ต่ำที่สุดในรอบ 13 ปี ที่ 13.6 % ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 แต่ก็ยังคงสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศเยอรมนีอยู่ ( 7.5 % มิ.ย. 2551 ) [ 38 ] [ 39 ] ในบรรดาบริษัทในรายการ Forbes Global 2000 และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ DAX ของเยอรมนีนั้น, มีเพียง ซีเมนส์ ( Siemens AG ) และ ดอยท์เชอบาห์น ( Deutsche Bahn ) เท่านั้นที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเบอร์ลิน อย่างไรก็ตามบริษัทเยอรมันและนานาชาติจำนวนมากได้ตั้งแผนกหรือสำนักงานบรีการระดับรองลงมาในเมืองดังกล่าว ในบรรดานายจ้าง 20 รายใหญ่สุด มีบริษัทรถไฟดอยท์เชอบาห์น ( Deutsche Bahn AG ), โรงพยาบาล ชาริเต้ ( Charité ), ซีเมนส์, บริษัทขนส่งมวลชนท้องถิ่น เบเฟาเก ( BVG ), บริษัทผู้ให้บรีการ Dussmann และกลุ่ม Piepenbrock Group. เดมเลอร์ ( เจ้าของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ) ผลิตรถยนต์ และ บีเอ็มดับเบิลยู ผลิต รถจักรยานยนต์ ในเบอร์ลิน ไบเออร์เชริ่ง ฟาร์มา และ Berlin Chemie เป็นบริษัทเภสัชกรรมสำคัญที่มีสำนักงานใหญ่ในเบอร์ลิน อุทยานวิทยาศาสตร์และธุรกิจใน Berlin-Adlershof เป็นหนึ่งใน 15 อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก การวิจัยและพัฒนาได้นัยยะสำคัญทางเศรษฐกิจ และเบอร์ลินติดอันดับหนึ่งในสามเขตนวัตกรรมที่ก้าวหน้าที่สุดในสหภาพยุโรป [ 36 ] [ 40 ] [ 41 ] ภาคที่โตอย่างรวดเร็วคือ คมนาคม, วิทยาศาสตร์สุขภาพ, การเคลื่อนย้ายและบรีการที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สื่อและดนตรี, โฆษณาและออกแบบ, บรีการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีชีวภาพ, การขนส่ง, และวิศวกรรมการแพทย์ [ 42 ] เบอร์ลินเป็นหนึ่งในนครการประชุมและแสดงสินค้าของโลก และเป็นบ้านของศูนย์ประชุมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป นั่นคือ Internationales Congress Centrum ( ICC ). [ 8 ] นี่ช่วยเสริมภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีโรงแรม 592 แห่ง 90,700 เตียง จำนวนเข้าพัก 17.3 ล้านคืน และแขกโรงแรม 7.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2550 เบอร์ลินได้สถาปนาตัวเองกลายเป็นเมืองที่มีผู้ไปท่องเที่ยวมากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป. [ 43 ] [ 44 ]
2005 EUROSTAT[45]
พื้นที่
ประชากร
จีดีพี/ในรูปตัวเงิน พันล้าน
จีดีพี/ในรูปตัวเงิน ต่อหัว
เบอร์ลิน
892 km2
344 sq mi
3,400,000
€ 79 / ~$111
€ 23,292 / ~$32,609
บรันเดินบวร์ค
29,478 km2
11,382 sq mi
2,550,000
€ 48 / ~$67
€ 18,781 / ~$26,294
เยอรมนี
357,050 km2
137,858 sq mi
82,000,000
€ 2,245 / ~$3,143
€ 27,219 / ~$38,107
EU27
4,325,675 km2
1,670,152 sq mi
494,000,000
€ 11,019 / ~$15,426
€ 22,400 / ~$31,360
เบอร์ลินเป็นบ้านของสถานีวิทยุโทรทัศน์จำนวนมาก ทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น [ 46 ] สำนักงานใหญ่ขององค์กรกระจายเสียงสาธารณะ RBB ( Rundfunk Berlin-Brandenburg ) ตั้งอยู่ที่นี่ เช่นเดียวกับสำนักงานใหญ่ของบริษัทกระจายเสียงเชิงพาณิชย์ เอ็มทีวียุโรป, VIVA, TVB, FAB, N24 และ Sat.1. องค์กรกระจายเสียงสาธารณะนานาชาติของเยอรมนี Deutsche Welle มีหน่วยผลิตรายการโทรทัศน์ในเบอร์ลิน นอกจากนี้ผู้กระจายเสียงระดับชาติเกือบทั้งหมดก็มีสตูดิโออยู่ในเมืองนี้ เบอร์ลินมีจำนวนหนังสือพิมพ์รายวันมากที่สุดในเยอรมนี โดยมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นขนาด บรอดชีต ที่มียอดขายจำนวนมาก ( Berliner Zeitung, Der Tagesspiegel ), และ แท็บลอยด์ รายใหญ่สามหัว รวมถึงหนังสือพิมพ์รายวันระดับชาติในขนาดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละหัวก็มีความสัมพันธ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน เช่น Die Welt, Junge Welt, Neues Deutschland และ Die Tageszeitung นอกจากนั้น หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์จำนวนหนึ่งก็ตีพิมพ์ที่นี่ ( Junge Freiheit ) และเบอร์ลินยังมีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ทางเลือกอีกสามหัวที่เน้นเรื่องวัฒนธรรมและการบันเทิง นิตยสารรายเดือน Exberliner เป็นวารสารภาษาอังกฤษฉบับเดียวของเบอร์ลิน เบอร์ลินยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสำนักพิมพ์ภาษาเยอรมันรายใหญ่สองราย : Walter de Gruyter และ Springer ซึ่งแต่ละรายนั้นตีพิมพ์หนังสือ วารสาร และผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย เบอร์ลินเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เยอรมันและยุโรป มันเป็นบ้านของบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์มากกว่าหนึ่งพันบริษัท, โรงภาพยนตร์ 270 โรง, และมีภาพยนตร์ที่ผลิตระดับชาติและร่วมผลิตระดับนานาชาติ 300 เรื่องถ่ายทำในบริเวณเบอร์ลินทุกปี [ 36 ] กลุ่มสตูดิโอบาเบลสแบร์คและบริษัทสร้างภาพยนตร์ Universum Film AG นั้นตั้งอยู่ในเมือง พ็อทซ์ดัม ติดกับเบอร์ลิน เบอร์ลินยังเป็นที่ตั้งของ ยูโรเปียนฟิล์มอะคาเดมี และเยอรมันฟิล์มอะคาเดมี และเป็นเจ้าภาพงาน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ประจำปี [ 47 ] [ 48 ]
เขตเมืองหลวงเบอร์ลิน-บรันเดินบวร์คเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุดมศึกษาและการวิจัยที่โดดเด่นที่สุดของสหภาพยุโรป เบอร์ลินมีมหาวิทยาลัยสี่แห่ง และวิทยาลัยเอกชน วิทยาลัยอาชีพ และวิทยาลัยเทคนิค ( Fachhochschule ) อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเสนอสาขาวิชาที่หลากหลายให้กับนักศึกษา [ 49 ] นักศึกษาประมาณ 130,000 คนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยอาชีพหรือวิทยาลัยเทคนิค [ 34 ] มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดสามแห่ง มีจำนวนนักศึกษารวมประมาณ 100,000 คน มหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน ( Freie Universität Berlin ) ( 35,000 คน ) มหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ทแห่งเบอร์ลิน ( 35,000 ) และ มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน ( 30,000 ) ส่วน มหาวิทยาลัยศิลปะเบอร์ลิน มีนักศึกษาราว 4,300 คน เบอร์ลินมีจำนวนสถาบันวิจัยหนาแน่น เช่นสถาบันวิจัยในเครือ สมาคมฟรอนโฮเฟอร์ และ สมาคมมักซ์ พลังค์ ซึ่งเป็นอิสระจากมหาวิทยาลัยที่สังกัด หรือเพียงเชื่อมกันอย่างหลวม ๆ เท่านั้น ในเมืองมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนทั้งหมด 62,000 คน ทำงานในด้านวิจัยและพัฒนา [ 36 ] นอกจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แล้ว เบอร์ลินยังมีหอสมุดรัฐ ชตัตบิบลิโอเทค ซู แบร์ลิน ( Staatsbibliothek zu Berlin ) ซึ่งเป็นห้องสมุดวิจัยที่สำคัญ หอสมุดนี้มีที่ตั้งหลักสองแห่ง : หนึ่งแห่งใกล้กับ พ็อทซ์ดาเมอร์พลัทซ์ บนถนนพ็อทซ์ดาเมอร์ชตรัสเซอร์ และอีกแห่งบนถนน อุนเทอร์ เดน ลินเดน ในเมืองมีห้องสมุดสาธารณะทั้งหมด 108 แห่ง [ 36 ] เบอร์ลินมีโรงเรียน 878 แห่ง สอนนักเรียน 340,658 คน ใน 13,727 ชั้นเรียน และมี 56,787 ผู้รับการฝึกงานในภาคธุรกิจและภาคอื่น ๆ [ 36 ] เมืองมีแผนการศึกษาขั้นพื้นฐานหกปี หลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว นักเรียนจะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมหนึ่งในสี่ประเภทต่ออีกหกปี ประเภทของโรงเรียนเหล่านี้ได้แก่ ฮัปชูเลอ ( Hauptschule ), เรอาลชูเลอ ( Realschule ), กึมนาซิอุม ( Gymnasium ), หรือ เกซามชูเลอ ( Gesamtschule ) เบอร์ลินมีแผนการศึกษาสองภาษาที่ไม่เหมือนใครบรรจุอยู่ในโรงเรียน “ ออยโรปาชูเลอ ” ( Europaschule ) ในโรงเรียนเหล่านี้นักเรียนจะเรียนในหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาเยอรมันและภาษาต่างชาติ ซึ่งสามารถเลือกได้จาก 9 ภาษาหลักของยุโรป ในโรงเรียน 29 แห่งซึ่งกระจายอยู่ในเกือบทุกเขตเทศบาล [ 50 ]
เบอร์ลินมีชื่อเสียงเรื่องสถาบันด้านวัฒนธรรมที่มีเป็นจำนวนมากมาย ซึ่งหลายแห่งมีชื่อเสียงระดับนานาชาติ [ 11 ] [ 51 ] เบอร์ลินมีสภาพแวดล้อมศิลปะที่หลากหลายมาก มีหอศิลป์หลายร้อยแห่ง ทุกปีจะมีการจัดงาน Art Forum งานแสดงศิลปะนานาชาติ ซึ่งเน้นที่ศิลปะร่วมสมัย ศิลปินเยอรมันและนานาชาติรุ่นใหม่ยังคงย้ายเข้ามาอาศัยในเมืองนี้ [ 52 ] และเบอร์ลินก็ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางของ วัฒนธรรมป๊อป และ youth cutlure ของยุโรป [ 53 ] [ 54 ] สัญญาณหลายอย่างของการขยายตัวนี้มาจากการประกาศใน พ.ศ. 2546 ว่างาน Popkomm งานชุมนุม อุตสาหกรรมดนตรี ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปจะย้ายไปจัดที่เบอร์ลิน, หลังจากจัดที่ โคโลญ มาเป็นเวลา 15 ปี [ 55 ] หลังจากนั้นไม่นาน ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุ๊ป และ MTV ก็ตัดสินใจย้ายสำนักงานใหญ่ประจำยุโรปและสตูดิโอหลักของตนมายังริมฝั่ง แม่น้ำชเปร ในย่านฟรีดริชชายน์. [ 56 ] ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เบอร์ลินได้ขึ้นบัญชีเมืองแห่งการออกแบบ ( City of Design ) ของ ยูเนสโก. [ 9 ]
เบอร์ลินมีชีวิตกลางคืนที่หลากหลายและมีสีสันมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป [ 57 ] หลังจากกำแพงเบอร์ลินล่มสลายลงในค.ศ. 1989 อาคารจำนวนมากในเขตมิทเทอ ( Mitte ) อดีตใจกลางเมืองของเบอร์ลินตะวันออก ได้ถูกซ่อมแซมใหม่ อาคารจำนวนมากไม่เคยถูกรื้อสร้างใหม่เลยนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง อาคารเหล่านี้ถูกจับจองอย่างผิดกฎหมายโดยกลุ่มคนหนุ่มสาว และกลายเป็นแหล่งชุมนุมบ่มเพาะ วัฒนธรรมใต้ดิน และ วัฒนธรรมต่อต้าน ( counter-culture ) สารพัดรูปแบบ ย่านมิทเท่อเป็นที่ตั้งของไนท์คลับจำนวนมาก รวมถึงคุนสท์เฮาส์ทาเชเลส ( Kunst Haus Tacheles ), คลับ เทคโน อย่าง Tresor, WMF, Ufo, E-Werk, และที่มีชื่อเสียงในทางไม่ดีนักคือ Kitkatclub กับ Berghain คลับ Linientreu ใกล้กับโบสถ์ไกเซอร์-วิลเฮล์ม ( Kaiser-Wilhelm-Gedächtniskirche หรือที่ชาวไทยในเบอร์ลินนิยมเรียกว่า “ โบสถ์หัก ” ) นั้นโด่งดังในเรื่องดนตรีเทคโนมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ดิสโกเธค LaBelle ในฟริเดเนา ( Friedenau ) ที่ครั้งหนึ่งเป็นที่ ๆ ทหารอเมริกันชอบไปเที่ยว มีชื่อเสียงโด่งดังจากเหตุการณ์วางระเบิดก่อการร้ายในค.ศ. 1986 [ 58 ]
งานเฉลิมฉลองประจำปี “ Karneval five hundred Kulturen ” ( คาร์นิวาลแดร์คูลทัวเรน ) ร้าน SO36 ในครอยซ์แบร์ค ( Kreuzberg ) ที่เดิมเน้น ดนตรีพังก์ เป็นส่วนใหญ่ ก็ได้กลายมาเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับการเต้นรำและสังสรรค์ทุกรูปแบบ ร้าน SOUND ที่เคยตั้งอยู่ที่เทียร์การ์เทนช่วง ค.ศ. 1971 – 1988 และปัจจุบันอยู่ที่ ชาร์ล็อทเทินบวร์ค ( Charlottenburg ) ได้รับชื่อเสียงในทางไม่ดีในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ด้วยมันเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้เฮโรอีนและ ยาเสพติด ชนิดอื่น ๆ ดังที่พรรณนาไว้ในหนังสือ Wir Kinder vom Bahnhof Zoo ของ Christiane F. [ 59 ] งานเฉลิมฉลอง คาร์นิวาลแดร์คูลทัวเรน ( Karneval five hundred Kulturen – งานเฉลิมฉลองวัฒนธรรม ) – ขบวนแห่บนถนนของนานาชาติพันธุ์ จัดขึ้นทุกปี ในช่วงสุดสัปดาห์เทศกาล สมโภชพระจิตเจ้า ( 50 วันหลังวันอาทิตย์ อีสเตอร์ ) และ คริสโตเฟอร์สตรีทเดย์ – ไพรด์พาเรด ของเกย์-เลสเบี้ยนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตอนกลาง ได้รับการสนับสนุนอย่างเปิดเผยจากรัฐบาลเมือง [ 60 ] เบอร์ลินยังเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับงานเฉลิมฉลองดนตรีเทคโน เลิฟพาเหรด ( Love Parade ) และเทศกาลทางวัฒนธรรม แบร์ลีเนอร์เฟสสปีล ( Berliner Festspiele ) ซึ่งมีเทศกาลแจ๊ส แจ๊สเฟส แบร์ลีน ( JazzFest Berlin ) เป็นส่วนหนึ่ง
- Staatsoper
- Deutsches Theater
- Admiralspalast
- Berliner Ensemble
- Friedrichstadt-Palast
- Maxim-Gorki-Theater
- Theater des Westens
- Theater und Komödie am Kurfürstendamm
- Deutsche Oper
- Komische Oper
- Renaissance Theater
เบอร์ลินเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ 153 แห่ง [ 36 ] กลุ่มพิพิธภัณฑ์บน เกาะพิพิธภัณฑ์ นั้น เป็น มรดกโลก ของยูเนสโก ตั้งอยู่ทางส่วนเหนือของเกาะชเปร ระหว่างแม่น้ำชเปรและ Kupfergraben [ 11 ] ตั้งแต่ ค.ศ. 1841 อย่างเร็วที่สุด มันถูกกำหนดให้เป็น “ เขตที่อุทิศให้กับศิลปะและวัตถุโบราณ ” โดยพระราชกฤษฎีกา ในเขต ดาห์เลม มีพิพิธภัณฑ์อยู่จำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะอินเดีย, พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชียตะวันออก, พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา, พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมยุโรป, รวมถึง พิพิธภัณฑ์ฝ่ายพันธมิตร ( พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับ สงครามเย็น ) และ พิพิธภัณฑ์บรึคเคอ ( Brücke Museum ) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ใน ลิชเทินแบร์ค ซึ่งเป็นที่มั่นของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของอดีตเยอรมนีตะวันออก หรือ สตาซี่ ( Stasi ) นั้น ก็มีพิพิธภัณฑ์สตาซี่ จุดตรวจ เช็คพอยท์ชาร์ลี ยังคงตั้งอยู่ที่เดิม และมีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับหนึ่งในจุดข้ามแดนหลายแห่งในกำแพงเบอร์ลิน โดยพิพิธภัณฑ์นี้ดำเนินงานโดยเอกชน แสดงวัตถุที่เกี่ยวกับผู้คนที่พยายามวางแผนต่าง ๆ เพื่อหลบหนีออกจากฝั่งตะวันออก ส่วน Beate Uhse Erotic Museum อยู่ใกล้สถานีรถไฟสวนสัตว์เบอร์ลิน ซึ่งอ้างว่าเป็นพิพิธภัณฑ์อีโรติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เบอร์ลินเป็นเจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 [ 61 ] และเป็นเมืองเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2006 นัดชิงชนะเลิศ โดยแข่งที่สนาม โอลึมพีอาชตาดีอ็อน ( เบอร์ลิน ) [ 62 ] เมืองมีสโมสรฟุตบอลหลายสโมสร สโมสรที่ใหญ่ที่สุดคือ แฮร์ธา เบอร์ลิน ซึ่งปัจจุบัน ( ฤดูกาล 2006-7 ) เล่นใน ลีกบุนเดิสลีกา
เบอร์ลินได้พัฒนาระบบคมนาคมและระบบจ่ายพลังงานที่ซับซ้อนตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากสงคราม เบอร์ลินตะวันตกถูกตัดขาดออกจากดินแดนโดยรอบ และจำเป็นต้องพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของตนเอง ในระหว่างนั้นเอง รัฐบาลของเยอรมนีตะวันออกก็ได้ก่อสร้างทางรถไฟและทางหลวงเพื่อให้การจราจรอ้อมเบอร์ลินตะวันตกไปได้ การกลับมารวมกันของเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก ได้นำไปสู่การรวมกันของระบบคมนาคมและระบบจ่ายพลังงานของเบอร์ลินเข้ากับระบบของเขตรอบ ๆ อีกครั้ง เบอร์ลินมีสะพาน 979 แห่ง มีถนนยาวรวมกันทั้งหมด 5,334 กม. ในจำนวนนี้เป็นทางหลวง 66 กม. ในค.ศ. 2004 มียานพาหนะจดทะเบียนในเมืองจำนวน 1.428 ล้านคัน ซึ่งรวมถึงแท็กซี่ 6,800 คน [ 36 ] สายรถไฟระยะไกลเชื่อมเบอร์ลินกับเมืองใหญ่ทุกเมืองในเยอรมนีและกับหลายเมืองในประเทศเพื่อนบ้าน สายรถไฟท้องถิ่นเชื่อมเมืองกับบริเวณบรันเดินบวร์คและเยอรมนีตะวันออก
ระบบขนส่งมวลชนภายในเบอร์ลิน ประกอบด้วย เอส-บาห์น ( S-Bahn รถไฟเขตเมือง ) ซึ่งดำเนินการโดย บริษัทเอส-บาห์น เบอร์ลิน ( S-Bahn Berlin GmbH ) และ รถไฟใต้ดิน ( U-Bahn ), รถราง ( Straßenbahn ), รถเมล์, และ เรือข้ามฟาก ซึ่งดำเนินการโดย บริษัทระบบขนส่งเบอร์ลิน หรือ เบเฟาเก ( Berliner Verkehrsbetriebe – BVG ) [ 34 ] เอส-บาห์นนั้นโดยส่วนใหญ่วิ่งอยู่เหนือดิน ส่วนอู-บาห์นส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ดิน สตาสเซ่นบาห์น หรือ รถราง นั้นเกือบทั้งหมดจะวิ่งอยู่ในเขตตะวันออกของเมือง รถเมล์ให้บรีการเชื่อมเขตรอบนอกเข้ากับใจกลางเมือง และเชื่อมกับเอส-บาห์นและอู-บาห์น ขนส่งมวลชนแทบทุกชนิด ยกเว้นเรือข้ามฟากบางสาย ใช้ตั๋วโดยสารร่วมกันได้ โดยปกติแล้วผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องแสดงหรือตอกตั๋ว ยกเว้นบนรถเมล์ – อย่างไรก็ตาม จะมีพนักงานนอกเครื่องแบบคอยสุ่มตรวจเป็นประจำ โดยจะขึ้นมาในห้องโดยสารแล้วเรียกขอดูตั๋วจากผู้โดยสารทุกคน ใครก็ตามที่ไม่มีตั๋วที่ถูกต้อง จะถูกปรับเป็นเงิน 40 ยูโร [ 63 ]
แต่เดิม เบอร์ลินมีท่าอากาศยานที่รองรับการสัญจรทางอากาศทั้งสิ้นสามแห่ง ได้แก่ : ท่าอากาศยานเบอร์ลินเท็มเพิลโฮฟ ( Tempelhof ) – ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองทางใต้, ท่าอากาศยานเบอร์ลินเทเกิล ( Tegel ) – ตั้งอยู่ชานเมืองทางตะวันตกเฉียง และ ท่าอากาศยานเบอร์ลินเชอเนอเฟ็ลท์ ( Schönefeld ) – ตั้งอยู่นอกเมืองทางใต้ อย่างไรก็ตามหลังการเปิดบริการของ ท่าอากาศยานเบอร์ลินบรันเดินบวร์ค ท่าอากาศยานทั้งสามแห่งได้เลิกให้บริการเชิงพาณิชย์แล้วในปัจจุบัน
พิกัดภูมิศาสตร์ :