ชัยปุระ ( ฮินดี : जयपुर, อักษรโรมัน : Jaipur ) เป็นเมืองหลักของ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย ( 3.1 ล้านคน ) ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1727 โดย มหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 “ เจ้าครองนครอาเมร์ ( Amer ) ในปัจจุบันชัยปุระยังเป็นที่รู้จักกันดีในอินเดียว่า “นครสีชมพู” เมืองแห่งนี้ขึ้นชื่อในด้านการเป็นเมืองอินเดียในยุคก่อนสมัยใหม่ ซึ่งมีขนาดความถนนค่อนข้างกว้างและผังเมืองอันเป็นระเบียบเรียบร้อยแบ่งเป็นช่องตารางจำนวน 6 เขต ซึ่งกั้นโดยถนนที่มีความกว้างกว่า 34 เมตร บริเวณใจกลางเมืองแบ่งผังเมืองเป็นตารางพร้อมถนนล้อมรอบสี่ด้าน โดยแบ่งเป็นห้าเขตล้อมทางด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก ( เขตพระราชวัง ) และเขตที่หกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณเขตพระราชวังประกอบด้วย หมู่พระราชมณเทียร ฮาวามาฮาล ( Hawa Mahal ) สวนสาธารณะ และทะเลสาบขนาดเล็ก ยังมีป้อมนาฮาการ์ ( Nahargarh Fort ) ซึ่งเป็นที่พระราชวังที่ประทับของมหาราชาสวาอี ( ชัยสิงห์ที่ 2 ) ตั้งอยู่บนเชิงเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตเมืองเก่า และยังมี หอดูดาว จันตาร์ มันตาร์ ( Jantar Mantar ) ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็น มรดกโลก โดยองค์การ ยูเนสโก [ 2 ] ชัยปุระตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมทองคำของการท่องเที่ยวของอินเดียร่วมกับ เดลี และ อัครา ชัยปุระเป็นเมืองที่มีการท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของ รัฐราชสถาน ในปัจจุบัน
ชัยปุระยุคใหม่นั้นก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1727 โดยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ มหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 แห่งอาเมร์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชปุตราชวงศ์กาญจวาหา ( Kachchwaha ) ซึ่งปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1699 – ค.ศ. 1744 ซึ่งปกครองที่เมืองหลวงชื่อว่า “ อาเมร์ ” ( Amber ) ตั้งอยู่ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร โดยเหตุผลในการย้ายเมืองหลวงนั้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามมาด้วยการขาดแคลนแหล่งน้ำที่รุนแรงมากขึ้น พระองค์ได้ทรงศึกษาตำราสถาปัตยกรรมมากมาย พร้อมทั้งที่ปรึกษาต่างๆก่อนจะทำผังเมืองของชัยปุระ ในที่สุด ด้วยความช่วยเหลือของสถาปนิกคนสำคัญคือ “ วิทยาธร ภัตตาจารย์ ” ( Vidyadhar Bhattacharya ) ปราชญ์ วรรณะ พราหมณ์ จาก เบงกอล ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าสถาปนิกของมหาราชา ซึ่งช่วยวางแผนและออกแบบอาคารต่างๆ รวมถึงพระราชวังหลวงใจกลางเมือง พร้อมทั้งกำแพงเมืองอย่างหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามกับ จักรวรรดิมราฐา นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ที่รักทางด้าน ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ทำให้ชัยปุระนั้นเกิดขึ้นได้อย่างสำเร็จด้วยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตามหลักของ วัสดุศาสตร์ ( Vastu Shastra ) และหลักจากตำราอื่นๆ

Reading:

การสร้างเมืองเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1727 ใช้เวลาการสร้างกว่า 4 ปีในการสร้างพระราชวัง ถนน และจัตุรัสต่างๆ โดยการสร้างเมืองนี้นั้นอิงจากหลักในตำราศิลปศาสตร์ ( Shilpa Shastra ) ซึ่งเป็นศาตร์แห่งสถาปัตยกรรมของอินเดีย โดยแบ่งผังเมืองออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆกันอย่างตารางหมากรุก โดยสองส่วนเป็นที่ตั้งของพระราชวังต่างๆ และสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนที่เหลืออีก 7 ส่วนนั้นสำหรับประชาชนทั่วไป รอบเมืองถูกล้อมด้วยปราการอย่างแน่นหนาโดยเข้าออกผ่านทางประตูเมืองทั้ง 7 แห่งโดยรอบ ในปี ค.ศ. 1876 ในรัชสมัยของมหาราชาสวาอี ราม สิงห์ ( Sawai Ram Singh ) ได้มีพระบัญชาให้ทาสีอาคารบ้านเรือนต่างๆในเมืองเป็นสีชมพูเพื่อเป็นการต้อนรับ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ ในคราที่เสด็จเยือนชัยปุระอย่างเป็นทางการ ซึ่งสีชมพูนั้นก็ยังคงไว้จนถึงปัจจุบันและได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของชัยปุระจนทุกวันนี้ [ 3 ] ต่อมาในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 19 ชัยปุระได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในปี ค.ศ. 1900 ประชากรทั้งหมดมีประมาณ 160,000,000,000 คน ได้มีการปูพื้นถนนด้วยปูน และยังมีโรงพยาบาลหลายแห่ง อุตสาหกรรม หลักได้แก่ โลหะ และ หินอ่อน

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
ชัยปุระ (จัยปูร์)
(วิธีอ่าน)

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

8

23
8

12

26
11

6

32
16

4

37
21

16

40
25

66

40
27

216

34
26

231

32
24

80

33
23

23

33
19

3

29
13

3

24
9

อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตรที่มา: India Weather On Web

แสดงข้อมูลเป็นมาตราอังกฤษ
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

0.3

73
46

0.5

79
52

0.2

Read more: Sevilla FC

90
61

0.2

99
70

0.6

104
77

2.6

104
81

8.5

93
79

9.1

90
75

3.1

91
73

0.9

91
66

0.1

84
55

0.1

75
48

อุณหภูมิ วัดเป็นองศาฟาเรนไฮต์
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นนิ้ว

ชัยปุระ ตั้งอยู่ในเขต ภูมิอากาศร้อนกึ่งแห้งแล้ง ( Hot semi-arid climate ) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 650 มิลลิเมตร ( 26 นิ้ว ) ต่อปี โดยส่วนใหญ่ฝนตกในฤดูมรสุมในระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง กันยายน อุณหภูมิ เฉลี่ยนั้นค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนเมษายนจนถึงต้นเดือนกรกฎาคมซึ่งมักจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส ( 86 องศาฟาเรนไฮต์ ) ในฤดูมรสุม มักจะมีผนตกหนักและฟ้าคะนองกระจาย แต่มักจะไม่พบ อุทกภัย เกิดขึ้น ใน ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ นั้นมีอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 15 องศาเซลเซียส ( 59 องศาฟาเรนไฮต์ ) -18 องศาเซลเซียส ( 64 องศาฟาเรนไฮต์ ) และมีอัตราความชื้นต่ำหรือแทบไม่มีเลย อย่างไรก็ตามยังพบคลื่นความเย็นเป็นครั้งคราวที่อาจลดอุณหภูมิลงเกือบถึงศูนย์องศาได้ [ 4 ]

ข้อมูลภูมิอากาศของชัยปุระ (จัยปูร์)

เดือน

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ทั้งปี

อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)

30
(86)

32
(90)

40
(104)

43
(109)

45
(113)

43
(109)

46
(115)

39
(102)

39
(102)

38
(100)

37
(99)

32
(90)

46
(115)

อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)

23
(73)

26
(79)

32
(90)

37
(99)

40
(104)

40
(104)

34
(93)

32
(90)

33
(91)

33
(91)

29
(84)

24
(75)

31.9
(89.5)

อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)

8
(46)

11
(52)

16
(61)

21
(70)

25
(77)

27
(81)

26
(79)

24
(75)

23
(73)

19
(66)

13
(55)

9
(48)

18.5
(65.3)

อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)

1
(34)

0
(32)

5
(41)

12
(54)

17
(63)

21
(70)

16
(61)

20
(68)

19
(66)

10
(50)

6
(43)

3
(37)

0
(32)

หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)

8
(0.31)

12
(0.47)

6
(0.24)

4
(0.16)

16
(0.63)

66
(2.6)

216
(8.5)

231
(9.09)

80
(3.15)

23
(0.91)

3
(0.12)

3
(0.12)

668
(26.3)

แหล่งที่มา: BBC Weather
จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2011 ชัยปุระมีประชากรทั้งหมดรวม 3,073,350 คน [ 1 ] อาศัยในเขตเมือง 3,646,590 คน ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 10 ของ ประเทศอินเดีย ประชากรนับถือ ศาสนาฮินดู ร้อยละ 77, มุสลิม ร้อยละ 17, เชน ร้อยละ 4, คริสต์ ร้อยละ 0.5, และ ซิกข์ ร้อยละ 0.5 ประชากรร้อยละ 47.49 อาศัยในบริเวณนอกเมือง และร้อยละ 52.51 อยู่ในเขตเมือง อัตราการรู้หนังสือเฉลี่ยของอำเภอชัยปุระคือร้อยละ 76.44 แบ่งเป็นชายร้อยละ 87.27 และหญิงร้อยละ 64.63 ส่วนการแบ่งตามเพศนั้นชัยปุระมีจำนวนประชากรเพศหญิง 898 คน ต่อประชากรชาย 1,000 คน [ 1 ] ภาษาหลักที่ใช้สื่อสารในชัยปุระได้แก่ ภาษาฮินดีและภาษาราชสถาน นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาปัญจาบอีกด้วย และจากรายงานในปี ค.ศ. 2009 สำนักงานอาชญากรรมแห่งชาติ ( NCRB-National crime Records Bureau ) ระบุว่า ชัยปุระเป็นเมืองที่อัตราการเกิดอาชญากรรมมากเป็นอันดับที่ 3 ของเมืองในประเทศอินเดียที่มีขนาดประชากรเกินกว่า 1 ล้านคน [ 5 ]

ประตูทางเข้าเมือง ทางด่วนสาย Jaipur Kishangarh Jaipur BRTS สนามบินนานาชาติชัยปุระ
ทางหลวงหมายเลข 8 เชื่อมระหว่าง เดลี กับ มุมไบ, ทางหลวงหมายเลข 12 เชื่อมระหว่างเมืองโกตา อำเภอบาราน และทางหลวงหมายเลข 11 ซึ่งเชื่อมระหว่าง บิคาแนร์ กับ อัครา โดยผ่านที่ชัยปุระ โดยมีความยาวรวมทั้งสิ้น 366 กิโลเมตร บริษัท Rajasthan State Road Transport Corporation ( RSRTC ) เป็นผู้ดูแลการเดินรถประจำทางระหว่างเมืองระหว่าง รัฐราชสถาน กับ นิวเดลี, รัฐอุตตรประเทศ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐหรยาณา และ รัฐคุชราต
รถประจำทางภายในเมือง ( City bus ) นั้นให้บริการโดย Jaipur City Transport Services Limited ( JCTSL ) [ 6 ] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rajasthan State Road Transport Corporation ( RSRTC ) ซึ่งเป็นหนึ่งของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในกรอบความร่วมมือ “ Jawaharlal Nehru National Urban Renewal Mission ” หรือ ( JnNURM ) โดยให้บริการรถประจำทางมากกว่า 300 คัน โดยมีสถานีหลักจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สถานี Vaishali Nagar, สถานี Vidyadhar Nagar และสถานี Sanganer
โครงการ BRTS หรือ Bus Rapid Transit Service ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 [ 7 ] โดยให้ Jaipur City Transport Services Limited ( JCTSL ) เป็นผู้รับสัมปทานการบริหารการเดินรถ [ 7 ]
สนามบินนานาชาติชัยปุระ ( Jaipur International Airport ) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งให้บริการทั้งสายการบินภายในประเทศ และนานาชาติ โดยแบ่งเป็นเทอร์มินัล 1 ใช้สำหรับสายการบินระหว่างประเทศ และในประเทศ ในขณะที่เทอร์มินัล 2 นั้นใช้สำหรับสายการบินภายในประเทศเท่านั้น ในปัจจุบันอาคารเทอร์มินัล 1 นั้นปิดให้บริการเนื่องจากอยู่ในระหว่างโครงการปรับปรุง โดยใช้เทอร์มินัล 2 แทนอย่างเต็มรูปแบบ ในปี ค.ศ. 2009 – 2010 สนามบินนานาชาติชัยปุระต้อนรับ นักท่องเที่ยว แบ่งเป็นต่างประเทศจำนวน 255,704 คน และทั้งหมด 1,267,876 คน [ 8 ] ใน ฤดูหนาว สนามบินแห่งนี้มักเป็นสนามบินสำรองที่ใช้รับเครื่องบินจาก สนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี เนื่องจากมักจะมีหมอกลงค่อนข้างหนาเป็นประจำใน เดลี [ 9 ]
ชัยปุระนั้นสามารถเดินทางได้โดยมี รถไฟ หลายสายที่เชื่อมต่อกับกรุง เดลี และอีกหลายๆเมืองใน รัฐราชสถาน
โครงข่ายรถไฟใต้ดินของชัยปุระนั้นในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยมีแผนจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 โดยมีชื่อเรียกว่า “ ชัยปุระ เมโทร ” ( Jaipur Metro ) โดยระบบรถไฟใต้ดินของชัยปุระนี้ถือเป็นแห่งที่ 4 ของประเทศอินเดีย ภายหลัง โกลกาตา เดลี และ บังกาลอร์ ประกอบด้วยทางรถไฟใต้ดินทั้งหมด 2 สาย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 32.5 กิโลเมตร จำนวน 29 สถานี

ชัยปุระเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งใน ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ. 2008 ได้มีการสำรวจโดย Conde Nast Traveller ซึ่งชัยปุระได้ติดอันดับที่เจ็ดของเมืองที่น่าท่องเที่ยวที่สุดใน เอเชีย [ 10 ] นอกจากนี้ ชัยปุระ ยังเป็นที่ตั้งของห้องสูทอันหรูหราในโรงแรมที่แพงติดอันดับที่ 2 จากทั้งหมด 15 อันดับของโลก ( World’s 15 most expensive hotel suites ) ซึ่งเป็นห้อง Presidential Suite ของโรงแรมรัช พาเลซ ( Raj Palace Hotel ) ด้วยราคากว่า US $ 45,000 ต่อคืน [ 11 ] ซึ่งจัดอันดับโดย CNN Go ในปี ค.ศ. 2012
จันทรา มาฮาล ในพระราชวังซิตี้พาเลส พระราชวังซิตี้พาเลส เป็นพระราชวังอันเป็นที่ประทับของ มหาราชา แห่งชัยปุระ เป็นที่ตั้งของหมู่พระที่นั่งสำคัญๆ ได้แก่ “ พระที่นั่งจันทรา มาฮาล ” และ ” พระที่นั่งมูบารัก มาฮาล ” สร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1729 – ค.ศ. 1732 ในรัชสมัยของมหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 จากนั้นต่อมาก็ได้รับการดูแลต่อเติมโดยมหาราชาของชัยปุระในรัชการต่อๆมา ที่สำคัญตอนเริ่มก่อสร้างพระราชวัง ยังอยู่ในช่วงที่ราชวงศ์โมกุลเข้ามามีอิทธิพลต่อรัฐราชสถานแล้ว สถาปัตยกรรมจึงมีการออกแบบอย่างผสมผสานระหว่างแบบราชปุตกับโมกุล นอกจากนี้การออกแบบพื้นที่ใช้สอยอาคารอย่างลงตัว ไม่แน่นทึบ และมีทางเดินกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นความน่าสนใจแห่งหนึ่งจากพระราชวังแห่งนี้ โดยปัจจุบันพระราชวังซิตี้พาเลสได้เปิดให้เข้าชมเป็น พิพิธภัณฑ์สะหวายมาน สิงห์ ( Sawai Man Singh Museum )
ป้อมนหาร์ครรห์ ( อังกฤษ : Nahargarh Fort ) หรือรู้จักกันดีในชื่อว่า “ ป้อมเสือ ” ( Tiger Fort ) เป็น ป้อมปราการ ที่สามารถมองเห็นได้จากใจกลางเมืองชัยปุระ สร้างในปี ค.ศ. 1734 ในรัชสมัยของ มหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 เพื่อช่วยคุ้มครองป้องกันพระนครจากการรุกรานของข้าศึก ในปัจจุบันด้านบนยังหลงเหลือตำหนักเก่าให้ชมอยู่บ้าง
ฮาวา มาฮาล ( ฮินดี : हवा महल, อังกฤษ : Hawa Mahal, แปลว่า : “ พระราชวังแห่งสายลม ” ) เป็นหนึ่งในตำหนักสำคัญของซิตี้พาเลส สร้างในปี ค.ศ. 1799 โดยมหาราชาสะหวาย ประธาป สิงห์ ( Maharaja Sawai Pratap Singh ) ออกแบบโดยลาล ชันด์ อุสถัด ( Lal Chand Ustad ) โดยถอดแบบมาจากรูปทรงของ มงกุฏ ของ พระนารายณ์ โดยมีความโดดเด่นที่บริเวณด้านหน้าบันทาสีชมพูสวยงามมีความสูงห้าชั้นและมีลักษณะซ้อนกันคล้ายรังผึ้งประกอบไปด้วยหน้าต่างขนาดเล็กตกแต่งด้วยลวดลายฉลุเป็นช่องลมจำนวน 953 บาน [ 12 ] จนเป็นที่มาของชื่อว่า “ พระราชวังแห่งสายลม ” โดยลายฉลุนั้นมีไว้เพื่อนางในวังสามารถมองทะลุออกมาเห็นชีวิตภายนอกบนท้องถนนได้โดยไม่มีใครสังเกตเห็นจากด้านนอกนั่นเอง
จาล มาฮาล ( ฮินดี : जल महल, อังกฤษ : Jal Mahal ) พระราชวัง กลางน้ำซึ่งตั้งเด่นสง่าอยู่กลาง ทะเลสาบ มันสกา ( Man Sagar ) ใกล้กับชัยปุระ โดยพระราชวังแห่งนี้และทิวทัศน์ของทะเลสาบโดยรอบถูกต่อเติมและปรับปรุงโดย มหาราชา สะหวาย จัย สิงห์ที่ 2 ตัวพระราชวังนั้นสร้างได้อย่างสวยงามตามสถาปัตยกรรมราชปุตและโมกุล ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งก่อสร้างในรัฐราชสถาน โดยพระราชวังนี้นั้นมีความสวยงามเนื่องจากสถานที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบและโดยมีเทือกเขานหาร์การห์ตั้งอยู่เบื้องหลัง ตัวอาคารสร้างโดยใช้หินทรายสีแดง ประกอบด้วยทั้งหมด 5 ชั้นซึ่ง 4 ชั้นล่างจะถูกน้ำท่วมเมื่อทะเลสาบมีระดับน้ำสูงสุด โดยเหลือเพียงชั้นบนสุดซึ่งจะเผยขึ้นมาเหนือน้ำ [ 13 ] ฉัตรีซึ่งเป็นยอดหลังคาทรงสี่เหลี่ยมนั้นสร้างในแบบสถาปัตยกรรมเบงกอล ส่วนฉัตรีบริเวณสี่มุมของอาคารนั้นเป็นทรงแปดเหลี่ยม เนื่องจากตั้งอยู่ในน้ำเป็นเวลาอันยาวนานทำให้ฐานของพระราชวังนั้นเริ่มทรุดโทรมลงเนื่องจากกระแสน้ำและน้ำท่วม โดยล่าสุดได้มีโครงการบูรณะครั้งใหญ่ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการโดยรัฐบาลรัฐราชสถาน [ 14 ]
ชันตรมันตร์ ( อังกฤษ : Jantar Mantar ) เป็น หอดูดาว ที่รวบรวมเครื่องมือทาง ดาราศาสตร์ ชิ้นสำคัญและทันสมัยที่สุดในยุคนั้น สร้างโดยมหาราชาสะหวาย จัย สิงห์ ซึ่งเป็นทั้งกษัตริย์แห่งแอมแมร์และชัยปุระ และยังเป็นแม่ทัพใหญ่ของ จักรวรรดิโมกุล โดยสถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก โดย องค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ. 2010 [ 15 ]
ป้อมชัยคฤห์ ( ราชสถาน / ฮินดี : जयगढ़ क़िला, อังกฤษ : Jaigarh Fort ) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ” ชีลกาทีลา ” ใกล้กับป้อมแอมแมร์ โดยตั้งอยู่บนยอดที่สูงกว่า ป้อมแอมแมร์ ชานเมือง ชัยปุระ ใน รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย [ 16 ] [ 17 ] สร้างโดย มหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1726 เพื่อใช้อารักขา ป้อมแอมแมร์ และพระราชวังแอมแมร์ซึ่งตั้งอยู่เบื้องล่างซึ่งภายเป็นพระราชฐานของมหาราชา [ 16 ] [ 17 ] [ 18 ] ป้อมปราการแห่งนี้สร้างในแบบสถาปัตยกรรมเดียวกับป้อมแอมแมร์ โดยใช้หินทรายสีแดงเป็นวัตถุดิบหลักในการก่อสร้าง ภายในกำแพงเมืองมีพระตำหนักที่ประทับ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งบ่อเก็บน้ำอีกด้วย
ป้อมแอมแมร์ ( ฮินดี : आमेर क़िला, อังกฤษ : Amer Fort ) หรือ ป้อมแอมเบอร์ ( Amber Fort ) ตั้งอยู่ที่เมืองแอมแมร์ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ( เป็นเมืองเล็กๆที่มีขนาดเพียง 4 ตารางกิโลเมตร ( 1.5 ตารางไมล์ ) [ 19 ] ) ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทาง 11 กิโลเมตร ( 6.8 ไมล์ ) ป้อมแอมแมร์นั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชัยปุระ โดยที่ตั้งนั้นโดดเด่นอยู่บนผาหิน [ 20 ] [ 21 ] สร้างโดยมหาราชามาน สิงห์ที่ 1 ป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ซึ่งผสมผสานกันระหว่าง ศิลปะฮินดู และ ศิลปะราชปุต สามารถมองเห็นได้จากระยะทางไกลเนื่องจากมีขนาดกำแพงปราการที่ใหญ่และแน่นหนา พร้อมประตูทางเข้าหลายแห่ง ถนนที่ปูด้วยหินหลายสาย ซึ่งเมื่ออยู่บนป้อมแล้วสามารถมองเห็นทะเลสาบเมาตาได้อย่างชัดเจนบริเวณด้านหน้า [ 21 ] [ 16 ] [ 22 ] [ 23 ] [ 24 ]

เมืองที่เป็น เมืองพี่น้อง ( Sister cities ) ของชัยปุระ ได้แก่ :