สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ( อังกฤษ : Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 — 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 ) เป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่ง ไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่ง อารากอน คาสตีล และ เนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่ง เนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ใน ราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นผู้ซึ่งฟื้นฟู ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ในอังกฤษ พระนางได้ดำเนินการเผาเหล่าบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกายกว่า 300 คนทั้งเป็น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า แมรีบ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด ( Bloody Mary )
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีทรงเป็นธิดาของ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับ พระมเหสีองค์แรกคือ สมเด็จพระราชินีกาตาลินาแห่งอังกฤษ พระองค์มีพระกนิษฐาที่สิ้นพระชนม์แต่แรกเกิดและพระเชษฐา 3 พระองค์ที่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่อายุยังน้อย รวมทั้ง ดยุกเฮนรีแห่งคอร์นวอร์ ทางพระมารดาของพระองค์ พระองค์เป็นพระนัดดาใน พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน กับ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล พระนางประสูติที่ พระราชวังพลาเซนเทีย ใน กรีนิช กรุง ลอนดอน เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 และรับ ศีลล้างบาป ในวันพฤหัสบดีกับ พระคาร์ดินัล ทอมัส โวลซีย์ เจ้าหญิงแมรีประชวรอยู่เสมอ ความสามารถในการมองเห็นไม่ค่อยดี เป็นไซนัสอักเสบ และมักจะปวดพระเศียรอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม แมรีเป็นเด็กที่มีความสามารถมากกว่าเด็กวัยเดียวกัน การศึกษาความสามารถต่าง ๆ พระองค์ทรงได้มาจากพระมารดาของพระองค์ แมรีได้ทรงศึกษาภาษากรีก วิทยาศาสตร์และดนตรีด้วย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2064 มีพระชนมายุ 5 พรรษา พระองค์ได้ต้อนรับแขกต่างเมืองด้วยการแสดงเล่นเวอร์จินนอล พระเจ้าเฮนรีได้โอ้อวดในแขกผู้มาเยี่ยมว่า “ เด็กหญิงผู้ไม่เคยร้องไห้ ”

โดยตลอดในวัยเด็กพระเจ้าเฮนรีมักจะหาคู่สมรสให้โดยตลอด เมื่อพระนางมีพระชนมายุ 2 ชันษา พระนางต้องสัญญาว่าจะอภิเสกสมรสกับ เจ้าชายดูรฟิน ฟรานซิส ซึ่งเป็นโอรสของ พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แต่ 3 ปีผ่านไปข้อตกลงต้องเป็นอันยกเลิก
เจ้าหญิงแมรี่ในค.ศ. 1544 ขณะที่การครองคู่ของพระบิดาและพระมารดาเริ่มไม่ค่อยดี เพราะสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีนมิได้ทรงประสูติพระโอรสตามที่พระเจ้าเฮนรี่ทรงปรารถนา พระเจ้าเฮนรี่พยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนเป็นอันโมฆะ แต่ต้องผิดหวังเพราะ สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 ไม่ยินยอม การตัดสินใจของสันตะปาปาถูกบีบบังคับด้วยอำนาจของจักรพรรดิชารล์ที่ 5 แมรีนั้นแต่เดิมนั้นได้หมั้นกับหลานของพระมารดาของพระนาง พระเจ้าเฮนรีได้เรียกร้องว่า การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะพระนางเคยอภิเษกสมรสมาก่อนแล้ว แม้ว่าทั้งคู่ทรงอภิเษกสมรสกันอย่างสมบูรณ์ ใน พ.ศ. 2076 พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงอภิเษกสมรสอย่างลับ ๆ กับ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน หลังจากนั้นไม่นาน ทอมัส แครนเมอร์ อาร์ชบิชอปแห่งเคนเทอร์เบอร์รี ได้ประกาศว่าการอภิเษกกับสมเด็จพระราชินีแคเธอรินแห่งอารากอนถือเป็นอันโมฆะ และการอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถือเป็นอันถูกต้อง พระเจ้าเฮนรีประกาศไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาแห่งโรมันคาทอลิก และประกาศตนเป็นหัวหน้าแห่งโบสถ์แห่งอังกฤษ ทำให้พระนางแคทเธอรีนต้องถูกถอดยศจากสมเด็จพระราชินีและลดชั้นกลายเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ที่เป็นหม้าย เจ้าหญิงแมรี่ได้กลายเป็นบุตรนอกสมรส ตำแหน่งของพระนางต้องถูกรับช่วงต่อโดย เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ และเป็นธิดาในสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน เจ้าหญิงแมรี่จึงกลายเป็น เลดี้ แมรี่ เลดี้ แมรี่ถูกขับไล่ออกจากราชวงศ์ ทำให้เธอต้องมาคอยรับใช้เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระนางไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบพระมารดาอีกและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมพิธีฝังศพพระมารดาใน พ.ศ. 2079 พระนางแอนน์ โบลีนพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้พระเจ้าเฮนรียอมรับให้ผู้ทรงปัญญามีอำนาจในการปกครองโบสถ์แห่งอังกฤษ โดยปฏิเสธคนจากสันตะปาปาและยอมรับว่าการสมรสของบิดา มารดาของพระนางเป็นอันผิดกฎหมาย เลดี้ แมรี่คาดว่าปัญหาทุกอย่างจะจบลงเมื่อสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถูกถอนยศและถูกประหารชีวิตใน พ.ศ. 2079 และเจ้าหญิงเอลิซาเบธถูกลดชั้นมาเป็น เลดี้ เอลิซาเบธ เช่นเดียวกับพระนางและถูกตัดออกจากการสืบสันติวงศ์ หลังจากพระนางแอนน์ โบลีนถูกประหารไปเพียง 2 สัปดาห์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ได้อภิเษกสมรสใหม่กับ สมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ ผู้ซึ่งสิ้นพระชนม์หลังจากให้กำเนิดโอรส ผู้ซึ่งต่อมาคือซึ่งก็คือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ เลดี้ แมรี่ต้องกลายเป็นแม่อุปถัมภ์ให้แก่พระอนุชา และเป็นผู้ที่โศกเศร้ามากที่สุดในวันฝังพระศพสมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ ต่อมาพระเจ้าเฮนรียินยอมให้พระนางเข้ามาอาศัยในพระราชวังหลวงได้ ในปี พ.ศ. 2086 พระเจ้าเฮนรีได้อภิเษกสมรสกับพระมเหสีองค์ที่ 6 และเป็นองค์สุดท้าย คือ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน พารร์ ปีต่อมา พระเจ้าเฮนรีได้ให้เลดี้ แมรี่ และ เลดี้ เอลิซาเบธกลับคืนสู่ราชวงศ์ อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็ยังเป็นลูกนอกสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2090 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคต เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบิดา
เมื่อ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ เสด็จสวรรคตด้วย วัณโรค ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 สิริพระชนมพรรษาได้ 15 พรรษา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไม่ต้องการให้เจ้าหญิงแมรีครองราชสมบัติ เพราะเกรงว่าพระนางจะฟื้นฟูโรมันคาทอลิกและอาจล้มล้างการปฏิรูปศาสนาของพระองค์ เพราะเหตุผลนี้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงวางแผนที่จะตัดพระนางออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาของพระองค์ไม่แนะนำให้ตัดสิทธิของเจ้าหญิงแมรี่ แต่พระองค์ก็ตั้งใจให้สิทธิในการครองราชย์แก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ตัดสิทธิในการครองราชย์ทั้งสองคน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้ให้สิทธิในการครองราชย์แก่ เลดี้เจน เกรย์ ลูกสะใภ้ของ จอห์น คัดเลย์เอิร์ล แห่ง วอร์วิก ต่อมากฎหมายใน พ.ศ. 2087 ได้ให้เจ้าหญิงทั้งสองกลับมาสู่สิทธิในการสืบราชสมบัติอีกครั้ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงแมรี่ได้ถูกเรียกตัวกลับมา ลอนดอน อย่างไรก็ตาม ในตอนแรกพระนางสงสัยว่าการเรียกตัวครั้งนี้อาจเป็นข้ออ้างในการจับกุมพระนาง ในการกระทำครั้งนี้เป็นการทำให้ เลดี้เจน เกรย์รับสิทธิในการครองราชย์สะดวกขึ้น ในวันที่ 10 กรกฎาคม เลดี้เจน เกรย์ยอมรับในการขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ การครองราชย์ของเจน เกรย์มีผู้สนับสนุนน้อย หลังจากนั้น 9 วันพระนางได้ถูกเชิญลงจากตำแหน่ง เจ้าหญิงแมรี่ได้เดินทางมาลอนดอนท่ามกลางผู้สนับสนุนมากมาย ท้ายที่สุด เลดี้เจน เกรย์ และ จอห์น ดัดเลย์ ถูกส่งไปจำคุกและคอยการประหารที่หอคอยลอนดอน พระราชกรณียกิจแรกของสมเด็จพระราชินีแมรีคือ สั่งให้ปลดปล่อยโรมันคาทอลิก และสั่งจำคุก โธมัส ฮอเวิร์ด และ สตีเฟน การ์ดิเนอร์ ที่หอคอยลอนดอน สมเด็จพระราชินีแมรี่ได้เข้าพิธีสวมมงกุฏในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2096
พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน เมิ่อสมเด็จพระราชินีนาถแมรีมีพระชนมพรรษาได้ 37 พรรษา พระนางเริ่มเอาใจใส่ในการหาคู่และสร้างทายาท เพื่อขัดขวางไม่ให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งเป็นโปรแตสแตนต์เป็นทายาทสืบบัลลังก์ต่อจากพระนาง พระนางได้ปฏิเสธ เอ็ดเวิร์ด เคาน์เทอนี เอิรล์แห่งเดวอน เมื่อพระนางคาดการณ์ไว้ว่า พระญาติของพระนางคือ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้แนะนำให้พระองค์สมรสกับบุตรของเขา ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่ง สเปน คือ ฟิลิป ซึ่งต่อมาคือ พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน เมื่อพระนางทอดพระเนตรรูปของเจ้าชายฟิลิป พระนางก็ตกหลุมรักและยืนยันจะอภิเษกสมรสกับเขา ทั้งคู่อภิเษกสมรสกันวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 ทั้งที่พระเจ้าฟิลิปไม่เคยรักพระนางเลยแต่พระองค์สมรสเพื่อต้องการครอบครองราชอาณาจักรอังกฤษเพื่อผนวกอังกฤษเข้ากับสเปน
การจลาจลเริ่มเกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระราชินีแมรี่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน คยุคแห่งซัฟฟอล์กได้ประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าบุตรสาวของเขา เลดี้เจน เกรย์ เป็นราชินี ในการสนับสนุน พระนางเอลิซาเบธ โธมัส วาท ได้นำกำลังทหารจาก เคนท์ มาที่ ลอนดอน แต่ได้ถูกปราบ หลังจากการกบฏถูกปราบลงแล้ว คยุคแห่งซัฟฟอล์ก, เลดี้เจน เกรย์และพระสวามีถูกตัดสินประหารชีวิต ถึงแม้ว่าเอลิซาเบธจะปฏิเสธในการสมรู้ร่วมคิดในแผนการของโธมัส วาทแต่ก็ทำให้พระนางถูกจองจำอยู่ในหอคอยลอนดอนเป็นเวลา 2 เดือนจากนั้นได้ถูกส่งไปจองจำที่พระราชวังวู้ดสต็อก พระราชินีแมรี่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 ภายใต้สนธิสัญญา พระเจ้าฟิลิปเปจึงมีพระยศเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ มีเหรียญตรารูปพระเศียรของทั้งสองพระองค์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้อังกฤษต้องถูกบังคับให้สนับสนุนด้านการทหารของพระบิดาของพระเจ้าเฟลิเปคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิสิทธิ์ในทุกสมรภูมิ อย่างไรก็ตามพระนางแมรี่และพระเจ้าเฟลิเปก็มิใช่ผู้ปกครองร่วมกันเหมือน สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ และ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ

Read more: Wikipedia

พระราชินีแมรี่ได้ปรองดองกับทาง โรม และฟื้นฟูนิกาย โรมันคาทอลิก พระคาร์ดินัล เรจินาลด์ โพล บุตรชายของเคานท์เตสแห่งซาลิสเบอรี่ได้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งเคนเทอร์เบอร์รี และพระนางได้สั่งประหาร ทอมัส แครนเมอร์ ผู้ซึ่งเห็นชอบกับการหย่าของพระบิดาและพระมารดาของพระนาง พระนางทรงไว้ใจเรจินาด โพลเป็นอย่างมาก กฎหมายของพระเจ้าเอ็ดเวิรด์เกี่ยวกับการศาสนาได้ถูกเลิกล้มโดยกฎหมายแรกของรัฐสภาซึ่งพระนางแมรี่เห็นชอบด้วย ( พ.ศ. 2096 ) และโบสถ์ได้ฟื้นฟูอีกครั้ง พระนางได้ชักชวนให้สภายกเลิกกฎหมายว่าด้วยนิกาย โปรเตสแตนต์ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย พระเจ้าเฮนรีที่ 8 และได้มีการเห็นพ้องกันมากหลาย
ผู้นำนิกายโปรเตสแตนต์ถูกประหารไปมากมายใน การลงโทษมาเรียน ชาวโปรเตสแตนต์ที่ร่ำรวยได้ตัดสินใจออกนอกประเทศ ประมาณ 800 คนที่หนีออกจากประเทศ ผู้ที่ถูกฆ่าด้วยเรื่องของศาสนาที่สำคัญได้แก่ จอห์น โรเจอร์ ( 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098 ), ลอเรนซ์ ซอนเดอร์ ( 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098 ), โรว์แลนด์ เทย์เลอร์ ( 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098 ) และ จอห์น โฮเปอร์ บิชอปแห่งโกลเชสเตอร์ ( 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098 ) โดยรวมมีชาวโปรเตสแตนต์ถูกฆ่าถึง 284 คน
นโยบายของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ต่อราชอาณาจักรไอร์แลนด์ใน พ.ศ. 2085 มิได้เห็นคุณค่าของนิกายโรมันคาทอลิกเลย ใน พ.ศ. 2098 พระราชินีแมรีได้รับสิ่งล้ำค่าจากพระสันตะปาปาทำให้ได้รับการยืนยันว่า พระนางและพระเจ้าเฟลิเปเป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ ด้วยเหตุนั้นโบสถ์คาทอลิกจึงตกลงที่จะเชื่อมต่อระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ในรัชสมัยของพระองค์อังกฤษต้องเข้าร่วมในการทำสงครามต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อผลประโยชน์ของสเปนใน อิตาลี การค้ากับต่างประเทศของอังกฤษก็ต้องถูกระงับไปหากไปขัดกับนโยบายของสเปน แม้กระทั่งการแสวงหาอาณานิคมหรือการสร้างอำนาจทางกองทัพเรือก็ต้องแล้วแต่ความเห็นชอบของพระราชาสเปน เสมือนว่าอังกฤษได้กลายเป็นเมืองขึ้นสเปน
ความตกต่ำของการค้าขายเสื้อผ้าเป็นปัญหาที่เด่นชัดในสมัยของพระองค์ ถึงแม้ว่าพระนางแมรี่ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเป อังกฤษจะไม่ได้ผลประโยชน์ในการติดต่อค้าขายกับโลกใหม่ สเปนได้ป้องกันผลประโยชน์ของตัวเอง พระนางแมรี่ไม่ให้อภัยกับการค้าที่ผิดกฎหมายเพราะพระนางได้เป็นมเหสีของชาวสเปน ในความจริงพระนางได้พยายามช่วยเหลือเศรษฐกิจอังกฤษ พระนางได้ดำเนินนโยบายนอร์ธัมเบอร์แลนด์อันเป็นนโยบายเกี่ยวกับการค้นหาเมืองท่าใหม่นอกยุโรปต่อ ด้านการเงินพระนางได้ยอมรับความคิดใหม่ ๆ จากรัฐบาล และได้แต่งตั้ง วิลเลียม พอเล็ท มาควิสแห่งวินเชสเตอร์เป็นผู้ตรวจรายได้
สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ วาดโดย ฮันส์ เอวอร์ท สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 เสด็จสวรรคตในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 สิริพระชนมพรรษาได้ 42 พรรษา ที่ พระราชวังเซนต์เจมส์ การสวรรคตของพระนางถูกพิจารณาว่าสาเหตุเนื่องมาจากการพยายามมีทายาทของพระนาง ทั้งที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์แต่พระนางคิดว่าตัวพระนางเองมีบุตรจึงเกิดภาวะครรภ์เทียมทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ จนสวรรคตแต่การสวรรคตของพระองค์ยังสรุปไม่ได้ว่าสวรรคตด้วยภาวะครรภ์เทียมหรือทรงเป็นเนื้องอกในมดลูก ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระนางคือพระขนิษฐาต่างมารดา เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาเป็น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชสมบัติสมบัติที่ตกทอดมาแต่สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 ที่ได้รับการกล่าวขานคือ ไข่มุก La Peregrina อันโด่งดัง ไข่มุก รูปทรงหยดน้ำสีขาวอมชมพู ขนาด 50 กะรัตนี้ ( 1 กะรัตหนัก 0.2 กรัม ) ถูกพบที่ เกาะไข่มุก อ่าวปานามา ปี ค.ศ. 1513 โดยทาสชาวแอฟริกา น้ำหนักแรกพบคือ 223.8 เกรน ( 55.95 กะรัต ) เมื่อล้างทำความสะอาดเหลือน้ำหนัก 203.84 เกรน ( 50 กะรัต ) La Peregrina ในภาษาสเปนหมายถึง “ ผู้พเนจร ” ซึ่งขณะที่พบนั้นนับเป็นไข่มุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันกลายเป็นไข่มุกที่มีรูปทรงลูกแพร์ที่ใหญ่ที่สุดเม็ดหนึ่งของโลก พระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 5 แห่งสเปน ( ค.ศ. 1479-1516 ) นำมุกนี้ไปประดับมงกุฏและตกทอดถึงพระเจ้าชาร์ลที่ 5 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ( ค.ศ. 1516-1556 ) พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน พระโอรสของชาร์ลที่ 5 ( ค.ศ. 1556-1598 ) แล้วไข่มุกนี้ถูกนำไปมอบแก่สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 โดยทรงนำมาทำเข็มกลัดพระดับพระอุระ โดยใช้ทรงในวันอภิเษกสมรสกับพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนในปี ค.ศ. 1554 ด้วย แม้เวลาทรงงานก็ทรงเสมอ ๆ หลังจากที่พระนางแมรี่ที่ 1 สวรรคตในปี ค.ศ. 1558 ไข่มุกถูกนำกลับสเปนนานถึง 250 ปี พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปนทรงนำไปประดับบนหมวกทรงของพระองค์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปนหลายพระองค์ถัดมาทรงโปรดปรานยิ่งนัก บ้างก็ทรงนำไปประดับเข็มกลัด จี้พระศอ จนเมื่อ สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ยกสเปนให้ โจเซฟ โบนาปาร์ต พี่ชาย โจเซฟมาถึงมาดริดได้ครองสเปนใน ค.ศ. 1808 ภายหลังได้นำไข่มุกกลับฝรั่งเศสและมอบไข่มุกต่อให้หลานของเขา ชาร์ล หลุยส์ นโปเลียน ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 หลังจากนั้นไข่มุกก็ถูกขายไปอยู่ในมือครอบครัว ดยุกแห่งอเบอร์คอน ( The Dukes of Abercorn ) ปี ค.ศ. 1848 ในลอนดอน โดยมีมาร์ควิสที่ 2 แห่งอเบอร์คอน ลอร์ดเจมส์ เฮอร์มิตัน ( 2nd Marques of Abercorn ) เป็นเจ้าของ เขาได้มอบไข่มุกนี้พร้อมชุดเครื่องประดับไข่มุกแก่ภรรยา Lady Louisa Jane Russel ซึ่งเธอได้ทำหายไปในงานเลี้ยงอาหารคำที่ปราสาทวินเซอร์ เธอสั่งหยุดรถไฟแล้วกลับไปหาก็พบอยู่บนโซฟา ในที่สุดเธอก็มอบไข่มุกเม็ดงามแก่บุตรชาย 2nd Duke of Abercorn เป็นคนต่อมาก่อนตกสู่มือของผู้ครอบครองคนปัจจุบันคือ ดาราฮอลลีวูดที่โด่งดังพอ ๆ กับไข่มุก อลิซาเบธ เทย์เลอร์ โดยเธอได้รับเป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ในปี ค.ศ. 1969 จาก ริชาร์ด เบอร์ตัน ( คนเดียวกับที่มอบเพชร เทย์เลอร์-เบอร์ตัน สีขาว ขนาด 68 กะรัตให้เธอ ) ในการประมูลที่อังกฤษ the House of Sotheby กรุงลอนดอน ในราคา 37,000 เหรียญ และริชาร์ดได้ค้นพบว่า สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงไข่มุกเม็ดนี้ด้วยจากภาพวาดพระนางใน british National Portrait Gallary ( ภาพบนสุดจะเห็นได้ว่าพระนางแมรี่ทรงไข่มุกไว้ที่พระอุระ ) อลิซาเบธได้ปรับปรุงจากเข็มกลัดเดิมไปเป็นจี้ไข่มุกเดี่ยวตรงกลางจี้ประดับทับทิมและเพชรซึ่งไข่มุกจะห้อยอยู่ด้านล่างสุดใส่ร่วมชุดกับสร้อยไข่มุกนำงามสายคู่ ผลงานการออกแบบนี้เป็นของคาร์เทียร์ โดยรวมแล้วว่ากันว่าเครื่องประดับที่เธอเป็นเจ้าของทั้งหมดมีมูลค่ารวมแล้วถึง 200 ล้านเหรียญซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นของกำนัลจากสามีหลาย ๆ คนของเธอเองมอบให้

  1. Her stepbrother died on 6 July ; she was proclaimed his successor in London on 19 July ; her regnal years were dated from 24 July ( Weir, p. 160 ).