พิกัดภูมิศาสตร์ :
เวเนซุเอลา ( สเปน : Venezuela, เบ-เน-ซเว-ลา ) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา ( อังกฤษ : Bolivarian Republic of Venezuela, สเปน : República Bolivariana de Venezuela ) เป็นประเทศบนชายฝั่งทางเหนือของ ทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรด ประเทศโคลอมเบีย ทางทิศตะวันตก จรด บราซิล ทางทิศใต้ และจรด กายอานา ทางทิศตะวันออก เวเนซุเอลามีดินแดนราว 916,445 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรโดยประมาณ 29,105,632 คน เวเนซุเอลาถูกพิจารณาว่าเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอย่างยิ่ง โดยถิ่นที่อยู่มีตั้งแต่เทือกเขาแอนดีสทางตะวันตกไปถึงป่าฝนแอ่งแอมะซอนทางใต้ ผ่านที่ราบยาโนสอันกว้างใหญ่และชายฝั่ง แคริบเบียน ในตอนกลางและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอรีโนโกทางตะวันออก
Reading: ประเทศเวเนซุเอลา – วิกิพีเดีย
เวเนซุเอลาเป็น สหพันธรัฐ ที่มี ประธานาธิบดีเป็นประมุข ประกอบด้วย 23 รัฐ, แคพิทัลดิสตริกต์ ( Capital District ) ซึ่งมีกรุง การากัส และเฟเดอรัลดีเพนเดนซีส์ ( Federal Dependency ) ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะนอกชายฝั่งเวเนซุเอลา เวเนซุเอลาอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งหมดของ กายอานา ที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเอสเซกวีโบ ซึ่งผืนดิน 159,500 ตารางกิโลเมตรนี้ถูกตั้งฉายาว่า “ กัวยานาเอเซกิบา ” หรือ “ เขตที่ถูกเรียกร้องคืน ” เวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในประเทศที่กลายเป็นเมืองที่สุดในลาตินอเมริกา ชาวเวเนซุเอลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครทางเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงการากัส เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งเป็นนครใหญ่สุดเช่นกัน นับแต่การค้นพบน้ำมันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เวเนซุเอลากลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก และมีน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุด จากเดิมที่เวเนซุเอลาเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งออกโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กาแฟและโกโก้ แต่น้ำมันขึ้นมาครองการส่งออกและรายได้ภาครัฐอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำมันที่มากเกินความต้องการในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่วิกฤตหนี้สินภายนอกและวิกฤตเศรษฐกิจอันยาวนาน ซึ่งเงินเฟ้อแตะ 100 % ในปี 2539 และอัตราความยากจนพุ่งแตะ 66 % ในปี 2538 โดยที่ในปี 2541 จีดีพีต่อหัวร่วงลงอยู่ระดับเดียวกับปี 2506 หรือลดลงหนึ่งในสามจากจุดสูงสุดในปี 2521 การฟื้นตัวของราคาน้ำมันหลังปี 2544 กระตุ้นเศรษฐกิจเวเนซุเอลาและอำนวยการบริโภคทางสังคม แม้ผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกปี 2551 จะทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2553 เศรษฐกิจเวเนซุเอลากลับมาเติบโตอีกครั้ง เวเนซุเอลายังได้อ้างว่าตนตั้งอยู่ในตะวันออกกลางและ สันนิบาตอาหรับ
ตามสภาพภูมิศาสตร์นั้น เวเนซุเอลาแบ่งออกได้เป็น 4 ตอน กล่าวคือ ตอนที่เป็นที่ราบต่ำรอบทะเลสาบมาราไกโบ ( Maracaibo ) ตอนที่ราบสูงทางเหนือ ตอนที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโก ( Orinoco ) และที่ราบสูงเดียนา ( Diana )
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้เดินทางมาถึงเวเนซุเอลาเมื่อปี ค.ศ. 1498 พื้นที่ตรงนี้มีคนพื้นเมือง หลายเผ่า อาศัยอยู่ เช่นเผ่า อาราวัก คาริบ และชิบชา โคลัมบัสได้ยึดดินแดนแห่งนี้เป็นเมืองขึ้นของสเปนและตั้ง ชื่อดินแดน ที่เดินทาง มาถึงนี้ว่า เวเนซุเอลา ซึ่งแปลว่า เวนิสน้อยเพราะมีภูมิประเทศคล้ายกับเมืองเวนิส เมืองหลวง การากัส ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1567 ซิมอน โบลิวาร์เกิดในเมืองหลวงนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1783 และเขาเป็นบุคคลแรกในทวีปอเมริกาใต้ที่จับอาวุธลุกขึ้นสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวลาตินอเมริกาจากแอกของนักล่าอาณานิคมชาวสเปนในปี ค.ศ. 1818 และได้รับเอกราชในปี 1821 โดยใช้เวลาเพียง 11 ปีเท่านั้น
เมื่อได้รับเอกราชเขาได้ประกาศเป็น สหภาพมหาโคลอมเบีย โดยรวมประเทศเข้ากับประเทศโคลอมเบีย และ เอกวาดอร์ แต่ต่อมาในปี 1830 ก็แยกประเทศออกมาเป็นประเทศสาธารณรัฐต่างหากมาจนถึงทุกวันนี้
รูปแบบการปกครอง สหพันธ์สาธารณรัฐ ( Federal Republic ) ประกอบด้วย 1 เขตนครหลวง ( federal district ) 2 federal territories และ 72 union dependencies
ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล รวมถึงเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ( ไม่กำหนดวาระ สามารถดำรงตำแหน่งได้หากได้รับการเลือกตั้งต่อไป ) ที่ทำการประธานาธิบดี : ทำเนียบประธานาธิบดีมิราโฟลเรส ( Miraflores Palace )
ระบบสภาเดียว ( unicameral National Assembly หริอ Asamblea Nacional ) จำนวน 165 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งระบบคะแนนนิยม วาระ 5 ปี อีก 3 ที่นั่งสำหรับชนพื้นเมืองของประเทศ )
ศาลสูงสุดเรียกว่า Supreme Tribunal of Justice หรือ Tribunal Supremo de Justicia มีผู้พิพากษา 32 คน มาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา ( National Assembly ) วาระการดำรงตำแหน่ง 12 ปี
Read more: Clint Barton (Marvel Cinematic Universe)
ระบบกฎหมาย : ระบบประมวลกฎหมาย ที่มีรากฐานมาจากระบบกฎหมายของสเปน
เวเนซุเอลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
- 23 รัฐ (estado)
- ดิสตริโตกาปิตัล (Distrito Capital) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงการากัส และ
- เดเปนเดนเซียสเฟเดราเลส (Dependencias Federales) แผนที่เขตการปกครองของเวเนซุเอลา
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 402.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- GDP รายบุคคล : 13,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- อัตราการเจริญเติบโต GDP : 5.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- GDP แยกตามภาคการผลิต : ภาคการเกษตร 3.7%, ภาคอุตสาหกรรม 35.3%, ภาคการบริการ 61.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- อัตราการว่างงาน : 8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices) : 20.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- ผลผลิตทางการเกษตร : ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ข้าว กล้วย ผัก กาแฟ เนื้อวัว เนื้อหมู นม ไข่ ปลา
- อุตสาหกรรม : ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง อาหาร สิ่งทอ เหมืองแร่เหล็ก เหล็ก อะลูมิเนียม ชิ้นส่วนมอเตอร์ยานพาหนะ
- อัตราการเติบโตภาคอุตสาหกรรม : 3.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
- หนี้สาธารณะ : 49% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- ดุลบัญชีเดินสะพัด : 20.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- มูลค่าการส่งออก : 96.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- สินค้าส่งออก : ปิโตรเลียม บอคไซต์แลtอะลูมิเนียม เหล็ก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เกษตร สิ่งประดิษฐ์ง่าย ๆ
- ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา 40.2% จีน 10.5% อินเดีย 5.5% คิวบา 4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
- มูลค่าการนำเข้า : 56.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- สินค้านำเข้า : วัสดุที่ยังไม่ได้แปรรูป เครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์การขนส่ง วัสดุก่อสร้าง
- ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา 28.6% บราซิล 10.6% จีน 15.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
- สกุลเงิน : โบลีวาร์ (bolivars), สัญลักษณ์เงิน : VEB
สำหรับภาค อุตสาหกรรมการผลิต ( manufacturing ) ( คิดเป็นร้อยละ 17 ของ GDP ของเวเนซุเอลา ) ยังไม่อยู่ในสภาพแข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเพื่อการส่งออก ยกเว้นอุตสาหกรรมการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินทุนสูง แม้ว่าในปี ค.ศ. 2005 มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 9 แต่ยังคงขาดแคลนการลงทุนจากภาคเอกชน ทั้งนี้ ผลิตผลที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กกล้า อลูมินั่ม สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องดื่ม และอาหาร สำหรับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP และร้อยละ 10 ของการจ้างงาน โดยผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ข้าว ยาสูบ ปลา ผลไม้เมืองร้อน ( tropical fruits ) กาแฟ โกโก้ ( ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 เวเนซุเอลาเคยเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟ และโกโก้รายใหญ่ของโลก แต่ในปัจจุบันเวเนซุเอลาผลิตกาแฟเพียงประมาณร้อยละ 1 ของปริมาณกาแฟโลก และส่วนมากเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ) ทั้งนี้ เนื่องจากการหันเหความสนใจมายังอุตสาหกรรมน้ำมันที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศ อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูการปลูกและผลิตโกโก้ในเวเนซุเอลา ( โกโก้ของเวเนซุเอลาบางชนิดได้ชื่อว่าเป็นโกโก้ที่ดีและมีกลิ่นหอมที่สุดในโลก และใช้สำหรับการผลิตช็อคโกแลตแท้ชั้นดีเท่านั้น ) เวเนซุเอลายังไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้พอเพียงกับความต้องการภายในประเทศ ยังคงต้องนำเข้าสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ฝ้าย ไขมันจากสัตว์ น้ำมันพืช ส่วนใหญ่นำเข้าจาก สหรัฐ ฯ และ โคลอมเบีย นอกจากนั้น การพึ่งพาการส่งออกน้ำมันทำให้เวเนซุเอลาได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก หากราคาน้ำมันสูง นโยบายการใช้จ่ายงบประมาณจะมากขึ้นด้วย รัฐบาลเวเนซุเอลามีนโยบายไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ free Trade Area of the Americas ( FTAA ) แต่มีนโยบายส่งเสริมบูรณาการภายในภูมิภาคอเมริกาใต้ ทั้งนี้ เวเนซุเอลาได้ลงนามในความตกลง Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of Our America and the Peoples ’ Trade Agreements ( ALBA ) กับคิวบาและโบลิเวียเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 และเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2006 ตามลำดับ โดยหวังว่า ความตกลง ALBA จะเป็นแนวทางการรวมตัวทางเศรษฐกิจและความร่วมมือในภูมิภาคตามแนวความคิดแบบสังคมนิยมและจะเป็นทางเลือกแทนการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของภูมิภาคอเมริกาใต้ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญ
การคมนาคม และ โทรคมนาคม [แก้ ]
- เส้นทางรถไฟ : ระยะทางรวม 682 กิโลเมตร
- ระยะทางเส้นทางรถไฟความกว้างมาตรฐาน (Standard Gauge) : ความกว้าง 1.435 เมตร : 682 กิโลเมตร
- เส้นทางรถยนต์ : รวม 96,155 กิโลเมตร
- เส้นทางปรับพื้นผิวถนนแล้ว : 32,308 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ไม่ได้ปรับพื้นผิวถนน : 63,847 กิโลเมตร
- เส้นทางน้ำ : 7,100 กิโลเมตร
หมายเหตุ : แม่น้ำโอริโนโค ( Rio Orinoco ) และทะเลสาบ เลค เด มาราไคโบ ( Lake de Maracaibo ) สามารถใช้เป็นเส้นทางลำเลียงทางน้ำไปสู่มหาสมุทรได้ แม่น้ำโอริโนโคยาว 400 กิโลเมตร
- การค้าทางทะเล : เรือสินค้า 59 ลำ, เรือต่างชาติ 12 ลำ, เรือจดทะเบียนในต่างประเทศ 12ลำ
- ท่าอากาศยาน 375 แห่ง
ก่อนยุคชาเวซจะขึ้นสู่อำนาจ การศึกษาในประเทศเวเนซุเอลานั้นด้อยมาตรฐาน ประชากรส่วนใหญ่แทบอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เพราะรัฐบาลในขณะนั้นมีการทุจริตคอรัปชั่นสูงมาก หลัง ฮูโก ชาเวซ ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้ทุ่มงบนโยบายการศึกษาด้วยงบจากการขายนํ้ามันมาพัฒนาการศึกษาในประเทศ ทำให้ชาวเวเนซุเอลาสามารถอ่านออกเขียนออกได้และรู้หนังสือมากขึ้น
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1950 | 5,094,000 | — |
1960 | 7,562,000 | +48.4% |
1970 | 10,681,000 | +41.2% |
1980 | 15,036,000 | +40.8% |
1990 | 19,685,000 | +30.9% |
2000 | 24,348,000 | +23.7% |
2011 | 28,400,000 | +16.6% |
[10][11] ที่มา: United Nations |
ภาษาที่ใช้คือภาษาสเปน
Read more: Willem Dafoe