ภาษาญี่ปุ่น ( คันจิ : 日本語 ฮิรางานะ : にほんご/にっぽんご [ 1 ] [ 2 ] [ 3 ] โรมาจิ : nihongo, nippongo ทับศัพท์ : นิฮงโงะ, นิปปงโงะ ) เป็น ภาษาราชการ ของ ประเทศญี่ปุ่น โดยพฤตินัย [ 4 ] [ หมายเหตุ 2 ] ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็น ภาษาแม่ ทั่วโลกประมาณ 126.3 ล้านคน เป็นอาศัยอยู่ใน ประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 125 ล้านคน และมีผู้ใช้เป็น ภาษาที่สอง ประมาณ 120,000 คน [ 4 ] นอกจากนี้ รัฐอาเงาร์ สาธารณรัฐปาเลา ยังได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาราชการร่วมกับ ภาษาปาเลา และ ภาษาอังกฤษ [ 5 ] [ หมายเหตุ 3 ] ภาษาญี่ปุ่นเป็น ภาษารูปคำติดต่อ ที่มีลักษณะทาง วากยสัมพันธ์ หรือการเรียงลำดับคำในประโยคแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ( subject-object-verb : SOV ) แม้ว่าที่จริงแล้วลำดับคำจะมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่งก็ตาม [ 7 ] มีโครงสร้าง พยางค์ ที่ไม่ซับซ้อนและส่วนใหญ่เป็นพยางค์เปิด ( open syllable ) [ 8 ] คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นมีทั้งคำญี่ปุ่นดั้งเดิม เรียกว่า “ วาโงะ ” ( ญี่ปุ่น : 和語 โรมาจิ : wago ) คำที่มาจากภาษาจีน เรียกว่า “ คังโงะ ” ( ญี่ปุ่น : 漢語 โรมาจิ : kango ) คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เรียกว่า “ ไกไรโงะ ” ( ญี่ปุ่น : 外来語 โรมาจิ : gairaigo ) และคำที่ประกอบด้วยคำจากสองประเภทขึ้นไป เรียกว่า “ คนชูโงะ ” ( ญี่ปุ่น : 混種語 โรมาจิ : konshugo ) [ 9 ] [ หมายเหตุ 4 ] ภาษาญี่ปุ่นมีระบบการเขียนที่ใช้อักษรหลายประเภทร่วมกัน ได้แก่ อักษรฮิรางานะ และ อักษรคาตากานะ ( พัฒนามาจาก อักษรมันโยงานะ ) เป็น ตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง ( record player ) ระดับพยางค์ และ อักษรคันจิ ซึ่งเป็น ตัวอักษรแสดงหน่วยคำ ( logogram ) [ 11 ] ส่วนอักษรโรมันหรือ โรมาจิ นั้นปัจจุบันมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ [ 12 ]
สระหน้า
(front)

สระกลาง
(central)

สระหลัง
(back)

สระปิด
(close)

i

u

สระระดับกลาง
(mid)

e

o

สระเปิด
(open)

a

เสียงพยัญชนะควบกล้ำ ( consonant cluster ) ในภาษาญี่ปุ่นปรากฏเฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ /Cy/ กับ /Cw/
เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร N ใหญ่ ( /N/ ) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่ง ท้ายพยางค์ และมีการ กลมกลืนเสียง ( assimilation ) กับเสียงที่อยู่รอบข้าง [ 21 ] ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「ん」/「ン」 เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกแบ่งเป็นหน่วยเสียงย่อยได้ดังนี้ [ 13 ] [ 16 ]

Reading:

เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร Q ใหญ่ ( /Q/ ) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่ง ท้ายพยางค์ และออกเสียงโดยซ้ำเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปตามกระบวนการทาง สัทวิทยา ที่เรียกว่า การซ้ำเสียง ( gemination ) [ 22 ] ทำให้เสียงพยัญชนะเหล่านี้กลายเป็นเสียงพยัญชนะยาว ( long consonant ) [ 13 ] [ 15 ] ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「つ」/「ツ」 ขนาดเล็ก : 「っ」/「ッ」
โดยปกติแล้ว เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับเสียงพยัญชนะไม่ก้องเท่านั้น ยกเว้นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำที่อาจจะพบการซ้ำเสียงพยัญชนะก้อง อีกทั้งยังพบการซ้ำเสียงพยัญชนะเสียดแทรก [ ɸ, ç, planck’s constant ] ( เสียงพยัญชนะของอักษรวรรค は ) ในคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำด้วย
อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงโดยเปลี่ยนจากเสียงก้องเป็นเสียงไม่ก้องอยู่หลายคำ เช่น [ be o ] → [ be o ], [ barium ɯ ] → [ barium ɯ ] บ่อยครั้งที่ป้ายหรือโฆษณาสะกดคำโดยใช้อักษรเสียงไม่ก้องแทน เช่น 「バッ 」 เป็น 「バッ 」 [ 13 ] [ 23 ]

-a

-i

-u

-e

-o

-ya

-yu

-yo


a [ a ]


iodine [ iodine ]


uracil [ ɯ ]


east [ e ]


o [ o ]


ka [ ka ]


ki [ kʲi ]


ku [ kɯ ]


ke [ ke ]


knockout [ knockout ]

きゃ
kya [ kja ]

きゅ
kyu [ kjɯ ]

きょ
kyo [ kjo ]


sa [ sa ]


silicon [ ɕi ]


su [ sɯ ]


selenium [ selenium ]


so [ so ]

しゃ
sya [ ɕa ]

しゅ
syu [ ɕɯ ]

しょ
syo [ ɕo ]


tantalum [ tantalum ]


titanium [ t͡ɕi ]


tu [ t͡sɯ ]


tellurium [ tellurium ]


to [ to ]

ちゃ
tya [ t͡ɕa ]

ちゅ
tyu [ t͡ɕɯ ]

ちょ
tyo [ t͡ɕo ]


na [ na ]


nickel [ ɲi ]


nu [ nɯ ]


neon [ neon ]


no [ no ]

にゃ
nya [ ɲa ]

にゅ
nyu [ ɲɯ ]

にょ
nyo [ ɲo ]


hour angle [ hour angle ]


hello [ çi ]


hu [ ɸɯ ]


he [ he ]


holmium [ holmium ]

ひゃ
hya [ ça ]

ひゅ
hyu [ çɯ ]

ひょ
hyo [ ço ]


ma [ master of arts ]


secret intelligence service [ mʲi ]


mu [ mɯ ]


me [ me ]


molybdenum [ molybdenum ]

みゃ
mya [ mja ]

みゅ
myu [ mjɯ ]

みょ
myo [ mjo ]


ya [ ja ]


yu [ jɯ ]


yo [ jo ]


ra [ ɾa ]


rhode island [ ɾʲi ]


ruthenium [ ɾɯ ]


ra [ ɾe ]


ro [ ɾo ]

りゃ
rya [ ɾja ]

りゅ
ryu [ ɾjɯ ]

りょ
ryo [ ɾjo ]


washington [ ɰa ]

(を)
(o) ([o])


tabun [ ga/ŋa ]


gilbert [ gʲi/ŋʲi ]


guam [ gɯ/ŋɯ ]


germanium [ ge/ŋe ]


go [ go/ŋo ]

ぎゃ
gya [ gja/ŋja ]

ぎゅ
gyu [ gjɯ/ŋjɯ ]

ぎょ
gyo [ gjo/ŋjo ]


za [ d͡za/za ]


zi [ d͡ʑi/ʑi ]


zu [ d͡zɯ/zɯ ]


ze [ d͡ze/ze ]


zo [ d͡zo/zo ]

じゃ
zya [ d͡ʑa/ʑa ]

じゅ
zyu [ d͡ʑɯ/ʑɯ ]

じょ
zyo [ d͡ʑo/ʑo ]


district attorney [ district attorney ]

(ぢ)
(zi) ([d͡ʑi/ʑi])

(づ)
(zu) ([d͡zɯ/zɯ])


de [ de ]


do [ do ]

(ぢゃ)
(zya) ([d͡ʑa/ʑa])

(ぢゅ)
(zyu) ([d͡ʑɯ/ʑɯ])

(ぢょ)
(zyo) ([d͡ʑo/ʑo])


barium [ bachelor of arts ]


bismuth [ bʲi ]


bu [ bɯ ]


be [ be ]


bo [ bo ]

びゃ
bya [ bureau of justice assistance ]

Read more: Wikipedia

びゅ
byu [ bjɯ ]

びょ
byo [ bjo ]


pennsylvania [ pascal ]


pi [ pʲi ]


plutonium [ pɯ ]


pe [ pe ]


po [ united states post office ]

ぴゃ
pya [ pja ]

ぴゅ
pyu [ pjɯ ]

ぴょ
pyo [ pjo ]
หน่วยเสียงอื่น ๆ

หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/

หน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/

การลดความก้องของเสียงสระ ( ญี่ปุ่น : 母音無声化 โรมาจิ : boin-museika อังกฤษ : vowel devoicing ) พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึง ภาษากลาง ( ภาษาโตเกียว ) มักจะเกิดขึ้นเมื่อ เสียงสระปิด ( /i/ หรือ /u/ ) อยู่ระหว่างเสียงพยัญชนะไม่ก้องกับเสียงพยัญชนะไม่ก้อง [ 26 ] เช่น (อักษรสีแดง คือ เสียงสระที่ลดความก้อง)

ตัวอย่างคำ

ระดับหน่วยเสียง

เสียงโดยละเอียด

ความหมาย

ตำแหน่งที่ลดความก้อง

近(ちか)い

/tikai/

[t͡ɕ i̥kai̯]

ใกล้

「ち」:[t͡ɕi] → [t͡ɕi̥]

起(お)きた

/oki-ta/

[okʲ i̥ta]

ตื่นแล้ว

「き」:[kʲi] → [kʲi̥]

失敗(しっぱい)

/siQpai/

[ɕ i̥pːai̯]

ผิดพลาด

「し」:[ɕi] → [ɕi̥]

学生(がくせい)

/gakuseː/

[gak ɯ̥seː]

นักเรียน, นิสิต-นักศึกษา

「く」:[kɯ] → [kɯ̥]

息子(むすこ)

/musuko/

[mɯs ɯ̥ko]

ลูกชาย

「す」:[sɯ] → [sɯ̥]

机(つくえ)

/tukue/

[t͡s ɯ̥kɯe]

โต๊ะ

「つ」:[t͡sɯ] → [t͡sɯ̥]

นอกจากนี้ การลดความก้องของเสียงสระมักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิดตามหลังเสียงพยัญชนะไม่ก้องและเป็นจังหวะที่ผู้พูดพูดจบหรือเว้นวรรค [ 13 ] เช่น

ตัวอย่างคำ

ระดับหน่วยเสียง

เสียงโดยละเอียด

ความหมาย

ตำแหน่งที่ลดความก้อง

秋(あき)

/aki/

[akʲ i̥]

ฤดูใบไม้ร่วง

「き」:[kʲi] → [kʲi̥]

お菓子(かし)

/okasi/

[okaɕ i̥]

ขนม

「し」:[ɕi] → [ɕi̥]

です

/desu/

[des ɯ̥]

(คำกริยานุเคราะห์)

「す」:[sɯ] → [sɯ̥]

ます

/masu/

[mas ɯ̥]

(คำกริยานุเคราะห์)

「す」:[sɯ] → [sɯ̥]

โดยทั่วไป เจ้าของภาษามักจะเลี่ยงการลดความก้องแบบต่อเนื่องกัน ส่งผลให้มีเสียงสระปิดบางตำแหน่งไม่ลดความก้องแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมตามเงื่อนไข [ 13 ] แต่ก็เป็นไปได้ที่จะออกเสียงโดยลดความก้องเสียงสระปิดแบบต่อเนื่องกัน [ 15 ]

ตัวอย่างคำ

ระดับหน่วยเสียง

เสียงโดยละเอียด

ความหมาย

ตำแหน่งที่ลดความก้อง

復習(ふくしゅう)

/hukusyuu/

[ɸ ɯ̥kɯɕɯː] ~ [ɸ ɯ̥k ɯ̥ɕɯː]

ทบทวน

「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥]
(「く」: [ kɯ ] → [ kɯ̥ ] )

知識(ちしき)

/tisiki/

[t͡ɕiɕ i̥kʲi] ~ [t͡ɕ i̥ɕ i̥kʲi]

ความรู้

「し」:[ɕi → ɕi̥]
(「ち」: [ t͡ɕi ] → [ t͡ɕi̥ ] )

寄付金(きふきん)

/kihukiN/

[kʲiɸ ɯ̥kʲiŋ] ~ [kʲ i̥ɸ ɯ̥kʲiŋ]

เงินบริจาค

「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥]
(「き」: [ kʲi ] → [ kʲi̥ ] )
อย่างไรก็ตาม การลดความก้องของเสียงสระอาจจะพบในเสียงสระที่ไม่ใช่สระปิดได้เช่นกัน [ 13 ] [ 15 ]

ตัวอย่างคำ

ระดับหน่วยเสียง

เสียงโดยละเอียด

ความหมาย

ตำแหน่งที่ลดความก้อง

ほこり

/hokori/

[h o̥koɾʲi]

ฝุ่น

「ほ」:[ho[ → [ho̥]

かかる

/kakaru/

[k ḁkaɾɯ]

ใช้ (เวลา, เงิน)

「か」:[ka] → [kḁ]

心(こころ)

/kokoro/

[k o̥koɾo]

หัวใจ

「こ」:[ko] → [ko̥]

การลดความก้องของเสียงสระของคำศัพท์แต่ละคำสามารถตรวจสอบได้จากพจนานุกรมการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น เช่น 『新明解(しんめいかい)日本語(にほんご)アクセント辞典(じてん)』 หรือ 『NHK日本語発音(にほんごはつおん)アクセント新辞典(しんじてん)』 ทั้งนี้ ปรากฏการณ์นี้พบได้น้อยในภาษาญี่ปุ่นตะวันตก ( western Japanese ) [ หมายเหตุ 14 ]
พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งตามน้ำหนักของพยางค์ ( syllable weight ) ได้ดังนี้ [ 15 ]

1.

พยางค์เบา (light syllable)

พยางค์เบาในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระสั้น จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้

ตัวอย่าง: /i/ (กระเพาะ), /su/ น้ำส้มสายชู, /tya/ ชา

2.

พยางค์หนัก (heavy syllable)

พยางค์หนักในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระยาวหรือเสียงสระสั้นที่มีเสียงพยัญชนะท้าย จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้

ตัวอย่าง: /oː/ (พระราชา), /zyuN/ (เกณฑ์)

3.

พยางค์หนักมาก (superheavy syllable)

เป็นพยางค์ที่จำนวนหน่วยแยกส่วน (segment) มากกว่าจำนวนของหน่วยแยกส่วนในพยางค์เบาและพยางค์หนัก พยางค์ชนิดนี้มีเฉพาะในบางภาษาและองค์ประกอบของหน่วยส่วนแยกไม่ชัดเจนเพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของพยางค์เบาและพยางค์หนักในภาษานั้น ๆ[27]

ตัวอย่าง: /aːN/ (เสียงร้องไห้ของเด็กทารก), /roːN/ (เงินกู้)

ชนิดพยางค์

องค์ประกอบของพยางค์

ตัวอย่างคำ

ระดับ
หน่วยเสียง

ความหมาย

พยางค์เบา
(light syllable)

สระสั้น (V)

胃(い)

/ one/

กระเพาะ

尾(お)

/ o/

หาง

พยัญชนะต้น+สระสั้น (CV)

酢(す)

/ su/

น้ำส้มสายชู

湯(ゆ)

/ yu/

น้ำร้อน

พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระสั้น (CyV)[หมายเหตุ 15]

茶(ちゃ)

/ tya/

ชา

種(しゅ)

/ syu/

ชนิด, ประเภท

พยางค์หนัก
(heavy syllables)

สระยาว (Vː )

映画(えいが)

/.ga/

ภาพยนตร์

王(おう)

//

พระราชา

พยัญชนะต้น+สระยาว (CVː)

お父(とう)さん

/o. toː.saN/

คุณพ่อ

お兄(にい)さん

/o. niː.saN/

พี่ชาย

พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระยาว (CyVː)

十(じゅう)

/ dyuː/

สิบ

表(ひょう)

/ hyoː/

ตาราง

สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (VN)

案(あん)

/ associate in nursing/

ร่าง (เอกสาร)

運(うん)

/ united nations/

โชค

พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVN)

万(まん)

/ man/

หมื่น

金(きん)

/ kin/

ทอง

พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVN)

準(じゅん)

/ zyuN/

เกณฑ์

赤(あか)ちゃん

/a.ka. tyaN/

ทารก

สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (VQ)

悪化(あっか)

/ aQ.ka/

เลวร้ายลง

夫(おっと)

/ oQ.to/

สามี

พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CVQ)

作家(さっか)

/ saQ.ka/

นักเขียน

切手(きって)

/ kiQ.te/

ไปรษณียากร

พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CyVQ)

若干(じゃっかん)

/ zyaQ.kaN/

เพียงเล็กน้อย

却下(却下)

/ kyaQ.ka/

ยกฟ้อง

พยางค์หนักมาก
(superheavy syllable)

สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (VːN)

ああん

/ aːN/

เสียงร้องไห้ของเด็กทารก

พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVːN)

ローン

/ roːN/

เงินกู้

พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVːN)

コミューン

/ko. myuːN/

พูดคุยกันอย่างสนิทสนม

สระยาว+พยัญชนะซ้อน (VːQ)

いいって

/ iːt.te/

“ไม่เป็นไรหรอก”

พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CVːQ)

凍(こお)った

/ koːQ.ta/

(น้ำ) แข็งตัว

พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CyVːQ)

ひゅうっと

/ hyuːt.to/

(เสียงลมพัด)

C หมายถึง เสียงพยัญชนะ (consonant)

V หมายถึง เสียงสระ (vowel)

y หมายถึง เสียงเลื่อน /y/

N หมายถึง เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/

Q หมายถึง เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/

เครื่องหมาย ː ใช้แสดงเสียงยาว (long)

เครื่องหมาย. ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์ (syllable boundary)

มอรา ( ญี่ปุ่น : 拍 โรมาจิ : haku ) เป็นหน่วยการนับในระดับที่เล็กกว่าระดับคำตามทฤษฎี สัทวิทยาเน้นจังหวะ ( measured phonology ) [ 30 ] เป็นการนับช่วงความยาวของเสียงที่เท่า ๆ กัน และเป็นหน่วยพื้นฐานกำหนด จังหวะ ( rhythm ) ของคำและประโยคภาษาญี่ปุ่น [ 31 ] จำนวนมอราของคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นอาจจะเท่ากับจำนวน พยางค์ หรือมากกว่าจำนวนพยางค์ โดยพยางค์เบา 1 พยางค์นับเป็น 1 มอรา พยางค์หนัก 1 พยางค์นับแยกเป็น 2 มอรา และพยางค์หนักมาก 1 พยางค์นับเป็น 3 มอรา [ 15 ] เช่น คำว่า 「おばあさん」 ( ย่า, ยาย ) หากนับจำนวนพยางค์จะได้ 3 พยางค์ แต่หากนับจำนวนมอราจะได้ 5 มอรา

นับตามจำนวนพยางค์

おばあさん

/o.baː.saN/

(o|baː|saN)

นับตามจำนวนมอรา

おばあさん

/o.ba.a.sa.N/

(o|ba|a|sa|N)

(เครื่องหมาย “.” ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์หรือมอรา)
แม้ว่าเมื่อวัดค่าตามจริงแล้วมอราแต่ละมอราอาจจะไม่ได้เท่ากันในทาง กายภาพ แต่เจ้าของภาษา ( ในที่นี้คือผู้พูดภาษาญี่ปุ่น ) ทั้งผู้พูดและผู้ฟังจะรับรู้ช่วงความยาวของของแต่ละมอราว่ายาวเท่า ๆ กัน ( ความยาวทาง จิตวิทยา ) [ 13 ] ความแตกต่างระหว่างการนับจำนวน พยางค์ กับจำนวน มอรา ของคำในภาษาญี่ปุ่นสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้ 1. เสียงสระสั้นทุกเสียง หรือเสียงพยัญชนะตามด้วยเสียงสระสั้น นับเป็น 1 พยางค์ และนับเป็น 1 มอราเท่ากัน

ตัวอย่างคำ

นับตามพยางค์

นับตามมอรา

ความหมาย

จำนวนพยางค์ต่อมอรา

駅(えき)

/e.ki/

/e.ki/

สถานีรถไฟ

2:2

さくら

/sa.ku.ra/

/sa.ku.ra/

ดอกซากุระ

3:3

地下鉄(ちかてつ)

/ti.ka.te.tu/

/ti.ka.te.tu/

รถไฟใต้ดิน

4:4

2. เสียงสระตามด้วยเสียงนาสิกท้ายพยางค์ ( /N/ ) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก ( /N/ ) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ N

ตัวอย่างคำ

นับตามพยางค์

นับตามมอรา

ความหมาย

จำนวนพยางค์ต่อมอรา

本(ほん)

/hoN/

/ho.N/

หนังสือ

1:2

演技(えんぎ)

/eN.gi/

/e.N.gi/

การแสดง

2:3

オランダ

/o.raN.da/

/o.ra.N.da

ประเทศเนเธอร์แลนด์

3:4

3. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ ( /Q/ ) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ ( /Q/ ) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ Q

ตัวอย่างคำ

นับตามพยางค์

นับตามมอรา

ความหมาย

จำนวนพยางค์ต่อมอรา

切符(きっぷ)

/kiQ.pu/

/ki.Q.pu/

ตั๋ว

2:3

びっくり

/biQ.ku.ri/

/bi.Q.ku.ri/

ตกใจ

3:4

まっすぐ

/maQ.su.gu/

/ma.Q.su.gu/

ตรงไป

3:4

4. เสียงสระยาว หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระยาว นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา

ตัวอย่างคำ

นับตามพยางค์

นับตามมอรา

ความหมาย

จำนวนพยางค์ต่อมอรา

時計(とけい)

/to.keː /

/to.ke.e/

นาฬิกา

2:3

お母(かあ)さん

/o.kaː.saN/

/o.ka.a.sa.N/

คุณแม่

3:5

お父(とう)さん

/o.toː.saN/

/o.to.o.sa.N/

คุณพ่อ

3:5

5. เสียงสระประสมสองส่วน ( diphthong ) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา

ตัวอย่างคำ

นับตามพยางค์

นับตามมอรา

ความหมาย

จำนวนพยางค์ต่อมอรา

再会(さいかい)

/sai.kai/

/sa.i.ka.i/

การพบกันใหม่

2:4

社会(しゃかい)

/sya.kai/

/sya.ka.i/

สังคม

2:3

オイル

/oi.ru/

/o.i.ru/

น้ำมัน

2:3

ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ ( ญี่ปุ่น : 高低アクセント โรมาจิ : kōtei-akusento อังกฤษ : sales talk dialect ) เป็นหนึ่งใน สัทลักษณะ ( sound quality ) ที่พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึง ภาษากลาง ( ภาษาโตเกียว ) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ การลงน้ำหนัก ( accent ) คำหรือพยางค์ในถ้อยความให้มีความเด่นชัดขึ้น [ 32 ] แตกต่างจาก เสียงวรรณยุกต์ ( tone ) ตรงที่เสียงวรรณยุกต์เป็นระดับเสียงภายในพยางค์ ( ต่ำ กลาง สูง ขึ้น ตก ฯลฯ ภายในพยางค์ ) ในขณะที่ระดับเสียงสูงต่ำในภาษาญี่ปุ่นเป็นระดับเสียงระหว่าง มอรา ( ต้องฟังเปรียบเทียบระหว่างมอราจึงจะทราบว่ามอราใดสูง มอราใดต่ำ ) [ 13 ]
คำในภาษากลาง ( ภาษาโตเกียว ) สามารถแบ่งประเภทตาม ตำแหน่งเสียงตก ( ตำแหน่งที่เสียงเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「下(さ)がり目(め)」 ) ได้ดังนี้ [ 3 ] (เครื่องหมาย 「 」 ใช้เพื่อแสดงตำแหน่งเสียงตก ส่วนเครื่องหมาย 「 」 ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือหน่วยคำนั้นไม่มีตำแหน่งเสียงตก อักษรไม่เข้มใช้เพื่อแสดงว่ามอราดังกล่าวลดความก้องของเสียงสระ)

  1. คำที่มีตำแหน่งเสียงตกต้นคำ (ญี่ปุ่น: 頭高型(あたまだかがた) โรมาจิ: atama-daka-gata) มอราแรกเสียงจะสูง ถัดจากนั้นจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น
    •   木: [キ \]      เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「キ」
    •   猫: [ネ \コ]     เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ネ」
    •   命: [イ \ノチ]    เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「イ」
    •  埼玉: [サ \イタマ]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「サ」
  2. คำที่มีตำแหน่งเสียงตกกลางคำ (ญี่ปุ่น: 中高型(なかだかがた) โรมาจิ: naka-daka-gata) เสียงจะสูงไปจนถึงตำแหน่งเสียงตก จากนั้นเสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น
    • あなた: [アナ \タ]    เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ナ」
    • 味噌汁: [ミソシ \ル]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「シ」
    • 飛行機: [ヒコ \ーキ]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「コ」
    • 美術館: [ビジュ \カン] หรือビジュ \カン]  เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ツ」 หรือ 「ジュ」
  3. คำที่มีตำแหน่งเสียงตกท้ายคำ (ญี่ปุ่น: 尾高型(おだかがた) โรมาจิ: o-daka-gata) เสียงจะสูงไปจนถึงท้ายคำ หากมีหน่วยคำ เช่น คำช่วย มาต่อท้าย เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลงตั้งแต่คำช่วยตัวดังกล่าว เช่น
    •   山: [ヤマ \]     เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [ヤマ \カ゚
    •   男: [オトコ \]    เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [オトコ \カ゚
    •   妹: [イモート \]   เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [イモート \カ゚
  4. คำที่ไม่มีตำแหน่งเสียงตก (แบบราบ) (ญี่ปุ่น: 平板型(へいばんがた) โรมาจิ: heiban-gata)
    •   魚: [サカナ  ̄]    เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [サカナカ゚  ̄
    •   竹: [タケ  ̄]     เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [タケカ゚  ̄
    •  休日: [キュージツ  ̄]  เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [キュージツカ゚  ̄

ใน อักขรวิธี ของภาษาญี่ปุ่นไม่มีสัญลักษณ์ในการแสดงระดับเสียงแบบภาษาไทย ( เครื่องหมายวรรณยุกต์ ) ดังนั้นในการแสดงตำแหน่งเสียงตกจึงจำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษบางอย่างซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหนังสือหรือพจนานุกรมเล่มนั้น เช่น

สัญลักษณ์

ความหมาย

ตัวอย่าง

หนังสือหรือพจนานุกรมที่ใช้

],

ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก
] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก
ミソシ \ル
サカナ ̄

『NHK日本語発音(にほんごはつおん)アクセント新辞典(しんじてん)』

[↓],
[○]

[↓] ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก
[○] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก
みそし↓る
さかな○

『小学館(しょうがくかん) デジタル大辞泉(だいじせん) 物書堂版(ものかきどうばん)』

[┓] หรือ 「❜」

[┓] หรือ 「❜」 ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก
ไม่มีเครื่องหมายเมื่อไม่มีตำแหน่งเสียงตก
みそし┓る
みそし❜るさかな

“การออกเสียงภาษาญี่ปุ่น จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ” (ยุพกา, 2018)
『日本語音声学入門(にほんごおんせいがくにゅうもん)』 ( Saitō, 2015 )
นอกจากการใช้สัญลักษณ์ เช่น [ ] หรือ [ ┓ ] ในการแสดงตำแหน่งเสียงตก (下(さ)がり目(め)) ของคำศัพท์แล้ว ยังมีการใช้ตัวเลขในการแสดง แกนเสียงสูง-ต่ำ ( มอราตัวสุดท้ายก่อนที่เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า アクセント核(かく) ) เช่น ในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น 『大辞林(だいじりん)』 หรือ 『新明解国語辞典(しんめいかいこくごじてん)』 (สีน้ำเงินใช้แสดงตำแหน่งแกนเสียงสูง-ต่ำ)

  • き(1)【木】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「き」:[ キ \
  • いのち(1)【命】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「い」:[ イ \ノチ
  • みそしる(3)【味噌汁】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 3 นั่นคือ 「し」:[ミソ シ \ル
  • ひこうき(2)【飛行機】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 2 นั่นคือ 「こ」:[ヒ コ \ーキ
  • いもうと(4)【妹】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 4 นั่นคือ 「と」:[イモー ト \
  • さかな(0)【魚】 หมายถึง ไม่มีแกนเสียงสูง-ต่ำ:[サカナ  ̄

ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นใช้ระบบการเขียนแบบผสมผสาน โดยใช้ อักษรฮิรางานะ และ อักษรคาตากานะ ซึ่งเป็น ตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง ( record player ) ระดับพยางค์ และ อักษรคันจิ ซึ่งเป็น ตัวอักษรแสดงหน่วยคำ ( logogram ) [ 11 ] ประโยคหนึ่งประโยคอาจมีอักษรทั้ง 3 ประเภทปะปนกัน

ประโยคตัวอย่าง 「朝食にハムエッグを食べました」 (“กินแฮมกับไข่เป็นอาหารเช้า”)

ภาษาญี่ปุ่น

朝食

ハムエッグ

食 べ
まし

โรมาจิ

chōshoku

ni

hamueggu

o

tabe

mashi

ta

ความหมาย

อาหารเช้า

(คำช่วย)

แฮมกับไข่

(คำช่วย)

กิน

(แสดงความสุภาพ)

(อดีตกาลหรือการณ์ลักษณะสมบูรณ์)

ประโยคข้างต้นประกอบด้วยตัวอักษรทั้ง 3 ประเภท สีเขียวคืออักษรฮิรางานะ สีน้ำเงินคืออักษรคาตากานะ และสีแดงคืออักษรคันจิ
ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และ กริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆ ในประโยคจะมี “ คำช่วย ” กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยหัวเรื่องและส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira wa Tanaka-san desu ( こちらは田中さんです ) kochira แปลว่า “ นี้ ” เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นกริยาของประโยคที่แปลได้ว่า “ เป็น ” ประโยคนี้แปลคร่าวๆ ได้ว่า “ สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ ” ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆ ภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō wa hana-ga nagai desu ( 象は鼻が長いです ) แปลตามตัวได้ว่า “ สำหรับช้าง จมูก ( ของพวกมัน ) ยาว ” หัวเรื่องของประโยคคือ ( ช้าง ) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana ( จมูก ) ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วย คำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า “ จมูก [ ของช้าง ] ยาว ” โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า “ [ ฉัน ] ทำ [ มันสำเร็จแล้ว ] ” คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า “ [ ฉันรู้สึก ] อิจฉา [ มัน ] ” แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับ ภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น “ ล่าง ” เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า “ บน ” เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อนอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า “ [ เขา/พวกเขา ] อธิบายให้ [ ฉัน/พวกเรา ] ” ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า “ [ ฉัน/พวกเรา ] อธิบายให้ [ เขา/พวกเขา ] ” การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น

The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน)

ประโยคข้างบนนี้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น

驚いた彼は道を走っていた。 Odoroita kare wa michi o hashitte itta.

สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า “ คุณ ” แต่เดิมแปลว่า “ เจ้านาย ” และ boku ที่แปลว่า “ ผม ” แต่เดิมแปลว่า “ ข้ารับใช้ ” ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่านั้น คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้ ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei ( 先生, อาจารย์ ) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น “ สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันหวังว่าสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ … ”
คำนาม 1 + は + คำนาม 2 + です。
มีความหมายว่า “ คำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2 ” ตัวอย่างเช่น

私はソムチャイです。
Watashi wa Somuchai desu
ฉันชื่อสมชาย

私はタイ人です。
Watashi wa Taijin desu
ฉันเป็นคนไทย

ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ は ( อ่านว่า วะ ไม่ใช่ ฮะ ) เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ “ ฉัน ” ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม か ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น

あなたは日本人ですか?
Anata wa Nihonjin desu ka?
คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่

いいえ、中国人です。
Iie, Chūgokujin desu
ไม่ใช่, เป็นคนจีน

คำศัพท์


watashi
ฉัน

あなた
anata
คุณ

タイ人
taijin
คนไทย

日本人
Nihonjin
คนญี่ปุ่น

中国人
Chūgokujin
คนจีน

はい
hai
ใช่

いいえ
iie
ไม่ใช่

ประธาน + は + กรรม + を+ กริยา
มีความหมายว่า “ ประธานกระทำกริยากับกรรม ” ตัวอย่างเช่น

私はご飯を食べる。
Watashi wa gohan o taberu
ฉันกินข้าว

彼は本を読みます。
Kare wa hon o yomimasu
เขาอ่านหนังสือ

ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย を ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค คำศัพท์

ご飯
gohan
ข้าว


hon
หนังสือ

食べる
taberu
กิน

読みます
yomimasu
อ่าน


kare
เขา (ผู้ชาย)

ภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปของกริยา เป็นไปตามกาล ( Tense ) เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า “ ไม่ ” อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้
รูปปัจจุบัน บอกเล่า
รูปอดีต บอกเล่า
รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ
รูปอดีต ปฏิเสธ

~ます
~ました
~ません
~ませんでした

食べます
tabemasu
食べました
tabemashita
食べません
tabemasen
食べませんでした
tabemasendeshita

飲みます
nomimasu
飲みました
nomimashita
飲みません
nomimasen
飲みませんでした
nomimasendeshita

見ます
mimasu
見ました
mimashita
見ません
mimasen
見ませんでした
mimasendeshita

今日テレビを見ます。
Kyō terebi o mimasu
วันนี้จะดูโทรทัศน์

昨日テレビを見ました。
Kinō terebi o mimashita
เมื่อวานดูโทรทัศน์

今日テレビを見ません。
Kyō terebi o mimasen
วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์

昨日テレビを見ませんでした。
Kinō terebi o mimasendeshita
เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์

คำศัพท์

見ます
mimasu
ดู

テレビ
terebi
โทรทัศน์

今日
kyō
วันนี้

昨日
kinō
เมื่อวาน

คำสรรพนามที่ใช้กันทั่วไป

บุคคลที่
รูปทั่วไป
รูปสุภาพ
รูปยกย่อง

หนึ่ง

僕 (boku, ผู้ชาย)
あたし (atashi, ผู้หญิง)
俺(ore,ผู้ชาย)

私 (watashi)

私 (watakushi)

สอง

君 (kimi)
お前 (omae)

あなた (anata)
そちら (sochira)

あなた様 (anata-sama)

สาม

彼 (kare, ผู้ชาย)
彼女 (kanojo, ผู้หญิง)

แม้ว่าตำราไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นหลายเล่มจะกล่าวถึง คำสรรพนาม ( 代名詞 ไดเมชิ ) แต่นั่นก็ไม่ใช่คำสรรพนามที่แท้จริง เพราะคำสรรพนามที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่มีคำมาขยาย แต่ไดเมชิในภาษาญี่ปุ่นมีคำขยายได้ เช่น 背の高い彼女 ( se no takai kanojo หมายถึง “ เธอ ” ที่มีคำว่า ” สูง ” มาขยาย ) ปัจจุบันมีไดเมชิใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ไดเมชิเก่าๆก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว มีไดเมชิจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าใกล้เคียงกับคำสรรพนาม เช่น 彼 ( kare, เขา ) 彼女 ( kanojo, เธอ ) ; 私 ( watashi, ฉัน ) ขณะที่ไดเมชิบางคำถือว่าเป็น ” คำนามส่วนตัว ” ไม่ใช่สรรพนาม เช่น 己 ( onore, ฉัน ( ให้ความหมายในทางอ่อนน้อมเป็นอย่างมาก ) ) หรือ 僕 ( boku, ฉัน ( เด็กผู้ชาย ) ) คำเหล่านี้เปรียบเสมือนชื่อตัวเอง นั่นคือคนอื่นอาจเรียกเราด้วยไดเมชิเดียวกับที่เราเรียกตัวเองก็ได้ ผู้อื่นอาจใช้ おのれ ( onore ) ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงหยาบคาย หรืออาจใช้ boku ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงเห็นผู้ฟังเป็นเด็ก นอกจากนี้ ยังมีไดเมชิบางคำที่มีหลายความหมาย เช่น kare และ kanojo สามารถแปลได้ว่า แฟน ( ที่เป็นผู้ชาย ) และ แฟน ( ที่เป็นผู้หญิง ) ตามลำดับ คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยใช้ไดเมชิเรียกตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องระบุประธานทุกครั้งในกรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว และโดยปกติ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกชื่อหรือใช้คำนามเฉพาะเจาะจงแทนการใช้สรรพนาม เช่น

「木下さんは、背が高いですね。」
Kinoshita-san wa, se ga takai desu ne.
(กำลังพูดกับคุณคิโนะชิตะ) “คุณคิโนะชิตะสูงจังเลยนะครับ”

「専務、明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか?」
Semmu, asu Fukuoka-shi Nishi-ku no Yamamoto-shōji no shachō ni atte itadakemasuka?
(กำลังพูดกับผู้จัดการ) “ท่านผู้จัดการจะสามารถไปพบท่านประธานบริษัทยามะโมโตะพรุ่งนี้ได้ไหมคะ?”

คำบ่งชี้

ko-
so-
a-
do-
kore
อันนี้

sore
อันนั้น

are
อันโน้น

dore
อันไหน?

kono
นี้

sono
นั้น

ano
โน้น

dono
ไหน?

konna
เหมือนอย่างนี้

sonna
เหมือนอย่างนั้น

anna
เหมือนอย่างโน้น

donna
อย่างไร? เหมือนอย่างไหน

koko
ที่นี่

soko
ที่นั่น

asoko *
ที่โน่น

doko
ที่ไหน?

kochira
ทางนี้

sochira
ทางนั้น

achira
ทางโน้น

dochira
ทางไหน?


แบบนี้


แบบนั้น

ā *
แบบโน้น


แบบไหน?

* รูปพิเศษ

คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko, so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น

「こちらは林さんです。」
Kochira wa Hayashi-san desu.
“นี่คือคุณฮะยะชิ”

คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 ( kono hon ) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 ( sono hon ) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น

A:先日、札幌に行って来ました。
A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita.
A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา

B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。
B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne.
B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ

หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น

佐藤:田中という人が昨日死んだって…
Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte…
ซะโต: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้…

森:えっ、本当?
Mori: E’, hontō?
โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ?

佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ?
Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta ‘kke?
ซะโต: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ?

สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซะโตะไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว
ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ไวยากรณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความสุภาพและความเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากภาษาตะวันตก สังคมญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหลายระดับ กล่าวคือ คนหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่มากำหนด อาทิ หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ และสถานะทางจิตใจ ( ผู้คนจะเรียกร้องให้สุภาพต่อกัน ) ผู้ที่มีวุฒิน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่สุภาพ ขณะที่ผู้ที่มีวุฒิอาจใช้ภาษาที่เรียบง่าย ผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อนจะใช้ภาษาสุภาพต่อกัน เด็กเล็กมักไม่ใช้ภาษาสุภาพจนกว่าจะเป็นวัยรุ่น เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะพูดภาษาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เทเนโงะ ( 丁寧語 ) ( ภาษาสุภาพ ) มักจะเป็นการผันคำเป็นส่วนใหญ่ ส่วน ซงเคโงะ ( 尊敬語 ) ( ภาษายกย่อง ) และ เค็นโจโงะ ( 謙譲語 ) ( ภาษาถ่อมตัว ) จะใช้รูปคำกริยาพิเศษที่แสดงถึงการยกย่องและการถ่อมตัว เช่น อิคุ ที่แปลว่า “ ไป ” จะเปลี่ยนเป็น อิคิมะซุ เมื่ออยู่ในรูปสุภาพ เปลี่ยนเป็น อิรัสชะรุ เมื่ออยู่ในรูปยกย่อง และเปลี่ยนเป็น มะอิรุ เมื่ออยู่ในรูปถ่อมตัว ภาษาถ่อมตัวจะใช้ในการพูดเกี่ยวกับตัวเอง หรือกลุ่มของตัวเอง ( บริษัท, ครอบครัว ) ขณะที่ภาษายกย่องจะใช้เมื่อกล่าวถึงผู้สนทนาหรือกลุ่มอื่น เช่น คำว่า -ซัง ที่ใช้ต่อท้ายชื่อ ( แปลว่า คุณ- ) ถือเป็นภาษายกย่องอย่างหนึ่ง จะไม่ใช้เรียกตนเองหรือเรียกคนที่อยู่ในกลุ่มของตนให้ผู้อื่นฟังเพราะบริษัทถือเป็นกลุ่มของผู้พูด เมื่อพูดกับผู้ที่อยู่สูงกว่าในบริษัทของตน หรือพูดกับพนักงานในบริษัทของตนเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงกว่า ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษายกย่องผู้ที่อยู่สูงกว่าในกลุ่มของตน แต่เมื่อพูดกับพนักงานบริษัทอื่น ( คนที่อยู่นอกกลุ่ม ) ชาวญี่ปุ่นจะใช้รูปแบบถ่อมตนเมื่ออ้างถึงคนที่สูงกว่าในบริษัทของตน คำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ภาษาและการกระทำซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ( ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม ) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีการกำหนดคำยกย่องทางสังคมที่เรียกว่า ” การยกย่องแบบสัมพัทธ์ ” ซึ่งแตกต่างจากระบบของเกาหลีซึ่งเป็น ” การยกย่องแบบสัมบูรณ์ ” กล่าวคือ ภาษาเกาหลีจะกำหนดคำที่ใช้คุยกับแต่ละคนๆไป ( เช่น พ่อของตน, แม่ของตน, หัวหน้าของตน ) โดยไม่ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้น ภาษาสุภาพของเกาหลีจึงฟังดูบุ่มบ่ามเมื่อแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตามตัวอักษร เช่นในภาษาเกาหลี เราพูดว่า “ ท่าน ประธานบริษัทของพวกเรา … “ กับคนที่อยู่นอกกลุ่มได้ตามปกติ แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการพูดเช่นนี้ไม่สุภาพ คำนามหลายคำในภาษาญี่ปุ่นอาจทำให้อยู่ในรูปสุภาพได้ ด้วยการเติม คำอุปสรรค โอะ- หรือ โกะ- นำหน้า คำว่า โอะ- มักใช้กับคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ขณะที่คำว่า โกะ- ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาจีน บางครั้ง คำที่เติมนำหน้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนั้นอย่างถาวร และกลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในรูปปกติ เช่นคำว่า โกะฮัง ที่แปลว่าอาหาร การใช้คำเหล่านี้แสดงถึงความเคารพต่อเจ้าของสิ่งของและเคารพต่อสิ่งของ เช่น คำว่า โทะโมะดะชิ ที่แปลว่าเพื่อน จะกลายเป็นคำว่า โอะ-โทะโมะดะชิ เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของบุคคลที่สถานะสูงกว่า ( แม้แต่แม่ก็มักจะใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของลูก ) ผู้พูดอาจใช้คำว่า โอะ-มิซุ ที่แปลว่าน้ำ แทนคำว่า มิซุ เพื่อแสดงความสุภาพก็ได้ ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน นั่นคือ พวกเขาจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ แต่หลังจากสนิทสนมกันมากขึ้นแล้ว พวกเขาจะไม่ใช้ภาษาสุภาพอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับอายุ สถานะทางสังคม หรือเพศ
วิวัฒนาการของภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ดังนี้ [ 11 ]
ภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งเป็น ภาษาย่อย ได้ดังต่อไปนี้ [ 33 ]

ภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่น

ภาษา

ภาษาย่อย

พื้นที่

ภาษาญี่ปุ่น (日本語(にほんご))

ญี่ปุ่นตะวันออก (東日本(ひがしにほん))

ฮอกไกโด (北海道(ほっかいどう))

โทโฮกุ (東北(とうほく))

คันโต (関東(かんとう))

โทไก-โทซัง (東海東山(とうかいとうさん))

ฮาจิโจจิมะ (八丈島(はちじょうじま))

ญี่ปุ่นตะวันตก (西日本(にしにほん))

โฮกูริกุ (北陸(ほくりく))

คิงกิ (近畿(きんき))

ชูโงกุ (中国(ちゅうごく))

ชิโกกุ (四国(しこく))

คีวชู (九州(きゅうしゅう))

รีวกีว (琉球(りゅうきゅう))

อามามิ (奄美(あまみ))

โอกินาวะ (沖縄(おきなわ))

ซากิชิมะ (先島(さきしま))

อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางคนไม่จัดให้ภาษาที่พูดใน หมู่เกาะรีวกีว เป็นภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่นตามตารางข้างต้น แต่จัดให้ภาษาดังกล่าวเป็นภาษาพี่น้องร่วมตระกูลกับภาษาญี่ปุ่น [ 34 ]

มหาวิทยาลัยจำนวนมากทั่วโลกมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมบางแห่งที่สอนภาษาญี่ปุ่นด้วย ภาษาญี่ปุ่นได้รับความสนใจตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 และเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูในทศวรรษ 1980 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ของญี่ปุ่น ( เช่น อนิเมะ และ วิดีโอเกม ) กำลังแพร่หลายไปทั่วโลกตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ใน ค.ศ. 2003 มีผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ทั้งหมด 2.3 ล้านคนทั่วโลก แบ่งเป็น ชาวเกาหลีใต้ 900,000 คน ชาวจีน 389,000 ชาวออสเตรเลีย 381,000 คน และ ชาวอเมริกัน 140,000 คน ในญี่ปุ่นมีชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นทั้งที่มหาวิทยาลัยและที่โรงเรียนสอนภาษาอยู่ทั้งหมด 90,000 คน แบ่งเป็นชาวจีน 77,000 คน และชาวเกาหลีใต้ 15,000 นอกจากนี้ รัฐท้องถิ่นและกลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไรยังสนับสนุนให้มีการเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ รวมถึงชาวบราซิล-ญี่ปุ่น และชาวต่างชาติที่โอนสัญชาติเป็นญี่ปุ่นด้วย รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการสอบวัดระดับทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติ การทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ( JLPT ) และการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ ( JETRO ) ที่จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น

  • Rudolf Lange (1907). Christopher Noss (บ.ก.). A text-book of colloquial Japanese (REVISED ENGLISH EDITION ed.). TOKYO: Methodist publishing house. p. 588. (ALL RIGHTS RESERVED COPYRIGHT 1903 BY CHRISTOPHER NOSS REPRINTED APRIL 1907 BY THE METHODIST PUBLISHING HOUSE TOKYO, JAPAN)(Original from the New York Public Library)(Digitized Apr 2, 2008)
  • Rudolf Lange (1907). Christopher Noss (บ.ก.). A text-book of colloquial Japanese (REVISED ENGLISH EDITION ed.). TOKYO: Methodist publishing house. p. 588. (ALL RIGHTS RESERVED COPYRIGHT 1903 BY CHRISTOPHER NOSS REPRINTED APRIL 1907 BY THE METHODIST PUBLISHING HOUSE TOKYO, JAPAN)}(Original from Harvard University)(Digitized Oct 10, 2008)
  • A Text-book of Colloquial Japanese (ENGLISH EDITION ed.). THE KANEKO PRESS NORTH JAPAN COLLEGE SENDAI: Methodist Publishing House. 1903. p. 573.

    Read more: Willem Dafoe

    (TOKYO METHODIST PUBLISHING HOUSE 1903)

  • Rudolf Lange (1903). Christopher Noss (บ.ก.). A text-book of colloquial Japanese: based on the Lehrbuch der japanischen umgangssprache by Dr. Rudolf Lange (REVISED ENGLISH EDITION ed.). TOKYO: Methodist publishing house. p. 588. (ALL RIGHTS RESERVED COPYRIGHT 1903 BY CHRISTOPHER NOSS REPRINTED APRIL 1907 BY THE METHODIST PUBLISHING HOUSE TOKYO, JAPAN)(Original from the University of California)(Digitized Oct 10, 2007)
  • ภาษาญี่ปุ่น จาก Omniglot