เอเคบีโฟร์ตีเอต ( อังกฤษ : AKB48 ) เป็น กลุ่มไอดอล ของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยสมาชิกกว่า 100 คนที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 12 ถึง 30 ปี ก่อตั้งโดย ยาซูชิ อากิโมโตะ เมื่อปี 2005 โดยตั้งชื่อตามย่าน อากิฮาบาระ ในกรุง โตเกียว ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงละครประจำวง มีแนวคิดหลักคือ “ ไอดอลที่คุณสามารถพบได้ ” ( idols you can meet ) ซึ่งหมายความว่าวงมีโรงละครเป็นของตัวเองที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถผลัดกันขึ้นแสดงได้ทุกวัน ต่างจากเกิร์ลกรุ๊ปทั่วไปที่ปกติจะพบเห็นได้ตามคอนเสิร์ตหรือโทรทัศน์เท่านั้น รวมไปถึงการจัดตั้ง “ งานจับมือ ” ที่แฟนคลับสามารถไปให้กำลังใจสมาชิกที่ตนเองชื่นชอบได้ และด้วยสมาชิกที่มีจำนวนมาก ทำให้มีการแบ่งสมาชิกออกเป็นหลายทีมเพื่อผลัดกันขึ้นแสดงในโรงละคร นอกจากนี้อากิโมโตะยังได้ขยายแนวคิดนี้โดยการสร้าง “ วงน้องสาว “ ทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นและในต่างประเทศ อาทิเช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เป็นต้น และบางประเทศนั้นมีมากกว่าหนึ่งวง อาทิเช่น ไทย เป็นต้น ทำให้กลายเป็นกลุ่มไอดอลที่มีขนาดใหญ่และจำนวนสมาชิกรวมกันมากที่สุดใน เอเชีย เอเคบีโฟร์ตีเอตเป็นหนึ่งในวงที่มีรายได้สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2012 วงทำรายได้ไปมากกว่า 7,000 ล้านบาท และได้รับการขนานนามว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม นับตั้งแต่วันเปิดตัวจนถึงเดือนมิถุนายน 2017 วงทำยอดขายแผ่นซิงเกิลไปแล้วกว่า 50 ล้านชุด และยอดขายอัลบั้มกว่า 6 ล้านชุด ทำให้เป็นวงที่มียอดขายแผ่นซิงเกิลมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้วงยังทำยอดขายของแต่ละซิงเกิลได้เกิน 1 ล้านชุด ซึ่งซิงเกิลเหล่านี้ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ต ออริคอน เป็นจำนวน 35 ซิงเกิลติดต่อกัน ซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดคือ “ สึบาซะวะอิราไน “ ( Tsubasa wa Iranai ) ซึ่งทำยอดขายไปกว่า 2.5 ล้านชุดในปี 2016 นอกจากนี้ “ บีกินเนอร์ “ ( Beginner ) และ “ เฮฟวีโรเทชัน “ ( Heavy Rotation ) ยังได้รับอันดับ 1 และ 2 ในการจัดอันดับซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดประจำปี 2010 เช่นกัน และตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ซิงเกิลของวงทุกชุดก็สลับขึ้นหมุนเวียนอยู่ในอันดับที่ 1 ถึง 5 บนชาร์ตซิงเกิลออริคอนประจำปี
เอเคบีโฟร์ตีเอตได้ก่อตั้งขึ้นมาด้วยแนวคิด “ ไอดอลที่คุณสามารถพบได้ ” [ 3 ] โดย ยะซุชิ อะกิโมะโตะ โปรดิวเซอร์ของวง เขากล่าวว่าปณิธานหลักคือการสร้าง กลุ่มไอดอล ที่สามารถพบเห็นได้ทุกวันในโรงละคร [ 3 ] [ 4 ] [ โน้ต 1 ] ซึ่งต่างจากเกิร์ลกรุ๊ปวงอื่นที่จะพบเห็นได้เฉพาะตามงานคอนเสิร์ตหรือในรายการโทรทัศน์เท่านั้น โรงละครของวงตั้งอยู่ที่ร้านดอนกิโฮเต ( Don Quijote ) ในย่าน อากิฮาบาระ กรุงโตเกียว [ 5 ] [ 6 ] ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวงเช่นกัน [ 7 ] ด้วยจำนวนสมาชิกที่มาก วงจึงแบ่งสมาชิกออกเป็นหลายทีมด้วยกันเพื่อลดจำนวนงานของสมาชิกแต่ละคนและเพื่อแบ่งทีมแต่ละทีมให้ไปผลัดแสดงในโรงละครได้ ( เนื่องจากการแสดงในโรงละครนั้นจะแสดงโดยเพียง 1 ทีมต่อ 1 วันเท่านั้น ) [ 5 ] และสามารถให้วงสามารถออกงานกิจกรรมหลาย ๆ ที่ในเวลาเดียวกันได้ [ 8 ] นอกจากนี้ มิซากิ อิวาซะ อดีตสมาชิกวง กล่าวว่าแต่ละทีมมีภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ทีมเอ ( A ) เป็นตัวแทนของความเป็นอิสรภาพ ทีมบี ( B ) เป็นตัวแทนของความน่ารักและความเป็นไอดอล และทีมเค ( K ) เป็นตัวแทนของพลังและความแข็งแกร่ง [ 9 ] โดยเดิมทีแล้วทางวงตั้งใจว่าจะให้มีสมาชิกแค่เพียง 16 คนในแต่ละทีมเท่านั้นเพื่อที่จะให้มีสมาชิกรวมกันเป็น 48 คน [ 3 ] [ 10 ] [ 11 ] [ 12 ] แต่ปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกของวงก็เพิ่มมากขึ้นจนเกิน 120 คนในปัจจุบัน [ 13 ] [ 7 ] สมาชิกที่เข้ามาใหม่จะเรียกว่า “ เค็งคิวเซย์ ” ( ญี่ปุ่น : 研究生 ; โรมาจิ : kenkyuusei ) หรือ “ เด็กฝึกหัด ” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสำรองให้กับสมาชิกทีมหลัก [ 14 ] และจะขึ้นแสดงเป็นครั้งคราวในโรงละครพร้อมกับสมาชิกคนอื่น นอกจากการแสดงในโรงละครแล้ว สมาชิกของวงยังได้รับการประชาสัมพันธ์จากสื่อญี่ปุ่นเช่นกัน [ 5 ] และยังได้จัดงานกิจกรรมหลายประเภทเพื่อส่งเสริมแนวคิดหลักที่สามารถให้แฟนคลับสามารถเข้าถึงสมาชิกในวงได้ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปคู่หรือการจับมือกับสมาชิกวง [ 5 ]

Reading:

สมาชิกวงนั้นมีอายุตั้งแต่ช่วงเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงวัยนักศึกษา [ 15 ] [ 16 ] ที่ผ่านการคัดเลือกจากการออดิชัน [ 5 ] [ 13 ] สมาชิกจะไม่สามารถมีแฟนได้ และจะต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี [ 17 ] การฝ่าฝืนข้อบังคับเหล่านี้ส่งผลให้ความนิยมของสมาชิกตกต่ำลงและจะถูกกดดันจากสังคมและฝ่ายบริหารให้ออกจากวง [ 18 ] [ 19 ] วงมีระบบที่เรียกว่า “ การจบการศึกษา ” ซึ่งหมายความว่าสมาชิกในทีมที่เติบโตและมีอายุมากขึ้นสามารถออกจากวงได้เพื่อทำตามปณิธานของตนเองต่อไป และสมาชิกเค็งคิวเซย์จะได้รับการเลื่อนขั้นให้มาอยู่ในตำแหน่งของสมาชิกที่ออกจากวง โมนิกา เฮสเซ นักข่าวจาก เดอะวอชิงตันโพสต์ ได้เปรียบเทียบการคัดเลือกของสมาชิกในวงว่าเหมือนกับ อเมริกันไอดอล [ 13 ]
จากแนวคิด “ ไอดอลที่คุณสามารถพบได้ ” ทำให้เกิดกลุ่มไอดอลวงใหม่เป็นจำนวน 12 วง โดยเป็นวงในประเทศญี่ปุ่น 5 วง และวงนอกประเทศญี่ปุ่น 7 วง ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “ วงน้องสาว ” หรือ “ 48 กรุ๊ป ” วงน้องสาวทั้งหมดจะมีซิงเกิลและโรงละครประจำวงเป็นของตัวเอง แต่วงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นจะมีซิงเกิลที่เป็นการแปลจากเพลงของเครือ 48 กรุ๊ป ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น วงน้องสาวในญี่ปุ่นยังนิยมแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับวงเอเคบีโฟร์ตีเอต [ 20 ] [ 21 ] และสมาชิกบางคนสามารถย้ายไปวงน้องสาววงอื่น หรือแม้กระทั่งควบวง ( เป็นสมาชิกร่วมมากกว่า 1 วง ) ได้ อาทิเช่น จูรินะ มัตสึอิ และ มิยูกิ วาตานาเบะ [ 22 ] เอสเคอีโฟร์ตีเอต ( SKE48 ) เป็นวงน้องสาววงแรกของเอเคบีโฟร์ตีเอต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 และมีโรงละครประจำวงที่ นาโงยะ [ 23 ] [ 24 ] ส่วน เอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต ( SDN48 ), เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต ( NMB48 ) ที่ นัมบะ, [ 25 ] และ เอชเคทีโฟร์ตีเอต ( HKT48 ) ที่ ฮากาตะ [ 26 ] ได้ก่อตั้งขึ้นภายในเวลาต่อมา หลังจากนั้น เอ็นจีทีโฟร์ตีเอต ( NGT48 ) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นเช่นกันในปี 2015 ที่ นีงาตะ [ 27 ] ส่วน เอสทียูโฟร์ตีเอต ( STU48 ) วงน้องสาวล่าสุด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2016 ใน งานแข่งขันจังเก็น ( เป่ายิงฉุบ ) ประจำปี ซึ่งวงนี้มีสถานที่ตั้งโรงละครไม่เหมือนกับวงอื่น โดยจะตั้งอยู่บนเรือแทนที่จะอยู่ในเมือง [ 28 ] นอกจากนี้เอเคบีโฟร์ตีเอตยังได้สร้าง “ วงคู่แข่งอย่างเป็นทางการ ” ในชื่อ โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ ( Nogizaka46 ) [ 29 ] และวงน้องสาวของวงดังกล่าวในชื่อ เคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์ ( Keyakizaka46 ) เช่นกัน [ 30 ] ในปี 2011 เอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ก่อตั้งวงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นวงแรกในชื่อ เจเคทีโฟร์ตีเอต ( JKT48 ) ซึ่งประจำอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย [ 31 ] ตามด้วยวงน้องสาวที่ ประเทศจีน เอสเอ็นเอชโฟร์ตีเอต ( SNH48 ) ประจำเมือง เซี่ยงไฮ้ [ 32 ] แต่ภายหลังเอเคบีได้ยกเลิกสัญญาไม่ให้เป็นวงน้องสาวอีกต่อไปตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2016 [ 33 ] ซึ่งเอสเอ็นเอชก็ได้ประกาศเช่นกันว่าตนเองไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเอเคบีมาตั้งแต่แรกและไม่เคยทำสัญญาใด ๆ กับทางวงมาก่อน [ 34 ] นอกจากนี้ วงยังได้ประกาศจัดตั้งวงน้องสาววงใหม่อีก 3 วงด้วยกันในเดือนมีนาคม 2016 ได้แก่ บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ( BNK48 ) ประจำ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต ( MNL48 ) ประจำ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์, และ ทีพีอีโฟร์ตีเอต ( TPE48 ) ประจำ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน [ 35 ] เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2017 ยุย โยโกยามะ หัวหน้าวงเอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ประกาศผ่านทางแอปพลิเคชันโชว์รูม ( Showroom ) ถึงการก่อตั้งวง เอ็มยูเอ็มโฟร์ตีเอต ( MUM48 ) ประจำเมือง มุมไบ ประเทศอินเดีย ที่จะก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2018 [ 36 ] นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับ โปรดิวซ์วันโอวัน ( Produce 101 ) ในการจัดตั้งรายการ โปรดิวซ์โฟร์ตีเอต ( Produce 48 ) ที่จะออกอากาศในเกาหลีใต้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2018 [ 37 ]
SKE48, NMB48 HKT48, JKT48, NGT48, BNK48, STU48, MNL48, AKB48 Team SH, SGO48, AKB48 Team TP, CGM48, MUB48, DEL48 รวมทั้งหมดมีจำนวน 14 วงไม่นับ AKB48 ดูเพิ่ม : เอเคบีโฟร์ตีเอตกรุ๊ป ( AKB48 Group )

Overhead photo of group of girls onstage สมาชิกวง AKB48 ในงานเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2006 ในเดือนกรกฎาคม 2005 ยะซุชิ อะกิโมะโตะ ได้จัดการคัดเลือกสมาชิกขึ้นเป็นครั้งแรก [ 38 ] จากผู้เข้าสมัครจำนวน 7,924 คน มี 24 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรุ่นที่ 1 ของวง [ 38 ] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มีสมาชิก 20 คนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกทีมเอ ( A ) เพื่อขึ้นแสดงในโรงละคร [ 39 ] ซึ่งการแสดงในโรงละครครั้งแรกของวงนั้นมีชื่อว่า ปาร์ตีกะฮาจิมารุโยะ ( Party georgia Hajimaru yo ) [ 40 ] มีผู้เข้าชมทั้งหมด 7 คน แต่หลังจากนั้นจำนวนผู้เข้าชมก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง [ 41 ] [ 42 ] ต่อมาในเดือนมกราคม 2006 มาริโกะ ชิโนดะ พนักงานเสิร์ฟในร้านกาแฟของวง เข้าร่วมวงด้วยในฐานะสมาชิก “ รุ่น 1.5 ” เนื่องจากเธอได้รับความนิยมมากจากลูกค้าในร้าน ทำให้อะกิโมะโตะมีความสนใจและจัดการคัดเลือกแบบพิเศษให้กับเธอ [ 43 ] [ 44 ] การคัดเลือกสมาชิกรุ่นที่ 2 นั้นจัดขึ้นร่วมกับบริษัทโทรคมนาคม เอ็นทีที โดโคโม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 โดยผู้สมัครจะต้องส่งวีดีโอแนะนำตนเองผ่านทางโทรศัพท์มือถือ [ 45 ] [ 46 ] และจากผู้เข้าสมัครทั้ง 11,892 คน มี 19 คนที่ได้รับเลือก และ 18 คนที่ได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสมาชิกทีมเค ( K ) ในเดือนเมษายน [ 47 ] โดยมี ปาร์ตีกะฮาจิมารุโยะ เป็นการแสดงประจำทีมในโรงละครแทนทีม A เนื่องจากทีมนี้มีการแสดงใหม่ในชื่อ ไอตะกัตตะ ( Aitakatta ) [ 48 ] ในเวลาเดียวกัน ทางวงก็ได้ปล่อยซิงเกิลอินดีชุดแรกออกมาในชื่อ “ ซากูระโนะฮานาบิราตาจิ “ ( Sakura no Hanabiratachi ) ซึ่งได้ขึ้นตำแหน่งบนชาร์ตซิงเกิล 10 อันดับรายอาทิตย์ของ ออริคอน และมียอดขายอาทิตย์แรกจำนวน 22,011 ชุด [ 49 ] ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม ยูกิ อูซามิ ได้จบการศึกษา ทำให้เธอเป็นสมาชิกคนแรกที่ออกจากวง [ 50 ] จากนั้นในวันที่ 7 มิถุนายน ทางวงได้เปิดตัวซิงเกิลอินดีลำดับที่ 2 ในชื่อ “ สเกิตฮิราริ “ ( Skirt Hirari ) [ 51 ] ที่ขายได้ 13,349 ชุดภายในวันแรก [ 52 ] วงยังได้ปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในสองวันถัดมา [ 38 ] และได้เซ็นสัญญากับ เดฟสตาร์เร็กคอร์ดส์ ( Defstar Records ; บริษัทย่อยของ โซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ) ในเดือนสิงหาคม [ 53 ]
ในเดือนตุลาคม 2006 เอเคบีโฟร์ตีเอตได้จัดตั้งการคัดเลือกสมาชิกสำหรับทีมบี ( B ) [ 54 ] และได้สมาชิก 13 คนจากทั้งหมด 12,828 คนในเดือนธันวาคม [ 55 ] ซิงเกิลแรกร่วมกับค่ายเพลงเดฟสตาร์ “ ไอตากัตตะ “ ( Aitakatta ) ที่แสดงโดยสมาชิก 20 คนจากทีมเอและทีมเค ได้ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม [ 56 ] ซึ่งติดอันดับ 12 บนชาร์ตออริคอนเป็นเวลา 65 อาทิตย์ [ 57 ] และมียอดขาย 25,544 แผ่นใน 6 อาทิตย์แรก [ 58 ] ในวันที่ 3 และ 4 พฤศจิกายน วงได้จัดคอนเสิร์ตแรกในชื่อ “ AKB48 First Concert : Aitakatta ~Hashira wa Nai ze ! ~ ” ที่ นิปปงเซเน็นคัง ใน ชินจุกุ [ 59 ] และได้แสดงเพลง “ ไอตากัตตะ ” ในรายการโทรทัศน์ เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็น ( NHK Kohaku Uta Gassen ) ครั้งที่ 58 [ 60 ] [ 61 ] นอกจากนี้ยังทำสถิติเป็นวงที่มีสมาชิกขึ้นแสดงพร้อมกันบนเวทีมากที่สุดในรายการเพลง โดยมีจำนวน 43 คน [ 62 ] และวงยังได้ทำการสับเปลี่ยนทีมเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมโดยการย้าย คาซูมิ อูราโนะ, ชิโฮะ วาตานาเบะ, และ นัตสึมิ ฮิราจิมะ จากทีมเอไปยังทีมบีในฐานะตัวสำรอง [ 63 ] ซิงเกิลลำดับที่ 2 ของวง “ เซฟูกุกะจามะโอะซูรุ “ ( Seifuku ga Jama o Suru ) วางขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2007 [ 64 ] และติดอันดับ 7 บทชาร์ตออริคอน [ 65 ] เนื้อเพลงกล่าวถึงการขายบริการของเด็กผู้หญิง ทำให้เพลงนี้ถูกวิจารณ์ในแง่ลบและทำให้เกิดข้อถกเถียงตามมา [ 66 ] ในวันที่ 18 มีนาคม วงได้วางขายซิงเกิล “ เคเบ็ตสึชิเตตะไอโจ “ ( Keibetsu Shiteita Aijo ) ซึ่งติดอันดับ 8 บทชาร์ตออริคอน แต่ร่วงลงมาที่อันดับ 98 ในอาทิตย์ถัดมา [ 67 ] คอนเสิร์ตครั้งที่สองของวง “ เอเคบีโฟร์ตีเอต ฮารุจตโตะดาเกะเซ็งโกกุทัวร์ มาดามาดะดาเซะเอเคบีโฟร์ตีเอต ” ( AKB48 Haru no Chotto dake Zenkoku Tour ~Madamada daze AKB48 ! ~ ) ที่แสดงขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม [ 68 ] มียอดขายค่อนข้างน้อย [ 69 ] ในเดือนเมษายน 2007 วงได้โพสสมาชิกทีมบี ( B ) ผ่านทางเว็บไซต์ โดยมีจำนวน 5 คนที่น้อยกว่าตอนที่เคยได้ประกาศเอาไว้ [ 70 ] และเป็นครั้งแรกที่รวบรวมสมาชิกได้ครบ 48 คน ซิงเกิลลำดับที่ 4 ของวง “ บิงโก ! “ ( Bingo ! ) วางแผงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม [ 71 ] ตามด้วย “ โบกุโนะไทโย “ ( Boku no Taiyo ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม [ 72 ] และ “ ยูฮิโฮะมิเตรุกะ ? “ ( Yuhi o Miteiru ka ? ) ในวันฮาโลวีน ซิงเกิลนี้ทำยอดขายได้ 18,429 แผ่น [ 73 ] ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดของวง [ 74 ]
เอเคบีโฟร์ตีเอตในงานเจแปนเอ็กซ์โป 2009 ที่ปารีส ในวันปีใหม่ 2008 วงได้วางขายอัลบั้มแรกชื่อ เซ็ตลิสต์: เกรตเทสต์ซองส์ 2006–2007 ( Setlist : Greatest Songs 2006–2007 ) ประกอบด้วยเพลงจากซิงเกิลรวมถึงบันทึกการแสดงสด ส่วนซิงเกิลต่อมา “ โรมานซ์อิราเนะ “ ( Romance, Irane ) ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม [ 75 ] และติดอันดับ 6 บนชาร์ตออริคอนในอาทิตย์แรก [ 76 ] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ วงได้จำหน่ายซิงเกิลลำดับที่ 8 คือ “ ซากูระโนะฮานาบิราตาจิ 2008 “ ( Sakura no Hanabiratachi 2008 ) ซึ่งเป็นการทำฉบับใหม่จากซิงเกิลแรก ประกอบด้วยสมาชิกทีมเอ 10 คน ทีมเค 6 คน และทีมบี 5 คน [ 77 ] ในแต่ละชุดยังประกอบด้วยโปสเตอร์ 1 แบบ บุคคลใดที่สามารถสะสมรูปโปสเตอร์ได้ครบทั้ง 44 แบบจะได้รับการเชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ แต่กิจกรรมนี้ก็ถูกยกเลิกไปเนื่องจากมีการพบว่าเป็นการละเมิด กฎหมายต่อต้านการผูกขาด [ 78 ] ในเดือนมิถุนายน 2008 มีการประกาศก่อตั้งวงน้องสาววงแรกในชื่อ เอสเคอีโฟร์ตีเอต ( SKE48 ) ที่ นาโงยะ [ 79 ] ต่อมาในเดือนสิงหาคม วงได้ยกเลิกสัญญากับค่ายเพลงเดฟสตาร์เรกคอร์ดส์ ( DefStar Records ) และต่อสัญญาใหม่กับคิงเรกคอร์ดส์ ( King Records ) แทน [ ต้องการอ้างอิง ] หลังจากนั้นไม่นาน สมาชิกวงชื่อ อายากะ คิกูจิ ถูกไล่ออกเนื่องจากมีภาพที่เธอถ่ายคู่กับแฟนหนุ่มหลุดออกมา ซึ่งวงได้ให้เหตุผลว่าพฤติกรรมนี้ไม่เหมาะสมกับวัย [ 80 ] [ 81 ] อย่างไรก็ตาม เธอได้กลับเข้าวงอีกครั้งหลังจากที่เธอผ่านออดิชันในปี 2010 [ 82 ] เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ซิงเกิล “ โอโกเอะไดมอนด์ “ ( Oogoe Diamond ) ได้ออกจำหน่ายจากค่ายคิงเรกคอร์ดส์ [ 83 ] เซ็นเตอร์ของเพลงนี้คือ จูรินะ มัตสึอิ ซึ่งเป็นสมาชิกของ เอสเคอีโฟร์ตีเอต ขณะที่ยังอายุ 11 ปี และเป็นสมาชิกคนแรกของวงน้องสาวที่ปรากฏในซิงเกิลวงหลัก [ 84 ] ซิงเกิลนี้ติดอับดับ 3 บนชาร์ตออริคอนรายอาทิตย์ [ 85 ] ซิงเกิลต่อมา “ 10เน็นซากูระ “ ( 10nen Sakura ) วางแผงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2009 และได้รับอันดับ 3 ในอาทิตย์แรกเช่นกัน และเป็นซิงเกิลแรกที่ทำยอดจำหน่ายได้กว่า 1 แสนชุด [ 86 ] ถัดมา “ นามิดะเซอร์ไพรส์ “ ( Namida Surprise ! ) ซิงเกิลลำดับที่ 12 ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ประกอบด้วยบัตรจับมือและ บัตรเลือกตั้ง สมาชิกสำหรับซิงเกิลต่อไป [ 87 ] มียอดขาย 104,180 แผ่นในอาทิตย์แรกบนชาร์ตออริคอน [ 88 ] ซิงเกิลที่ 13 “ อีวาเกะเมย์บี “ ( Iiwake Maybe ) ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม [ 89 ] ทำยอดขายชนะวง สแมป และขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตซิงเกิลรายวัน [ 90 ] และอันดับ 2 บนชาร์ตรายอาทิตย์ [ 91 ] ja ทีมเอยังได้ขึ้นแสดงในงาน “ เจแปนเอ็กซ์โปอินปารีส ” ตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 5 กรกฎาคม 2009 โดยแสดงเพลง “ โอโกเอะไดมอนด์ ” ในฉบับภาษาอังกฤษ [ 92 ] วงเปิดตัวที่สหรัฐครั้งแรกที่เว็บสเตอร์ฮอลล์ กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 27 กันยายน [ 93 ] ในเดือนตุลาคม ซิงเกิลของวงทั้ง 3 ซิงเกิล ( “ 10เน็นซากูระ ” “ นามิดะเซอร์ไพรส์ ” และ “ อีวาเกะเมย์บี ” ได้รับการรับรองระดับทองจาก อาร์ไอเอเจ ( RIAJ ) [ 94 ] ซิงเกิล “ ริเวอร์ “ ( River ) ซึ่งเป็นลำดับที่ 14 ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม [ 95 ] เป็นซิงเกิลแรกที่ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอน [ 96 ] วงได้จำหน่ายซิงเกิลถัดไป “ ซากูระโนะชิโอริ “ ( Sakura no Shiori ) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010 ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอน และมียอดขายกว่า 3 แสนแผ่น ทำให้เป็นกลุ่มศิลปินหญิงญี่ปุ่นที่ทำยอดขายได้มากที่สุดในรอบ 7 ปี [ 97 ] และเป็นซิงเกิลสุดท้ายที่จะได้บรรจุในอัลบั้ม คามิเกียวกูตาจิ ( Kamikyokutachi ) ที่ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตอัลบั้มของออริคอน [ 98 ] [ 99 ] และได้รับการรับรองระดับแพลตตินัมสองชั้นจากอาร์ไอเอเจเมื่อมียอดขายครบ 5 แสนชุด [ 100 ]
Smiling girls gesturing onstage เอเคบีโฟร์ตีเอตขณะแสดงในงานอนิเมะเฟสติวัลเอเชีย เดือนพฤศจิกายน 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์

ซิงเกิลลำดับที่ 16 “ โพนีเทลโทะชูชู “ ( Ponytail to Chouchou ) วางขายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2010 ขายได้มากกว่า 4 แสนแผ่นในวันแรก และมากกว่า 513,000 แผ่นในสัปดาห์แรก [ 101 ] เมื่อวันที่ 27 เมษายน ในงานอนิเมะเอ็กซ์โป งานมหกรรมอนิเมะที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ มีการประกาศว่าเอเคบีโฟร์ตีเอตจะมาเป็นแขกรับเชิญ และจะขึ้นแสดงในวันที่ 1 กรกฎาคมที่แอลเอไลฟ์ ( L.A. Live ) [ 102 ] เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม วงได้ออกจำหน่ายซิงเกิล “ เฮฟวีโรเทชัน “ ( Heavy Rotation ) มียอดจำหน่าย 880,760 แผ่น [ 103 ] ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม วงเข้าร่วมงานเอเชียซองเฟสติวัล จัดขึ้นโดยมูลนิธิแลกเปลี่ยนกิจกรรมระหว่างประเทศ ที่ สนามกีฬาโอลิมปิกแจมซิล ประเทศเกาหลีใต้ [ 104 ] 4 วันถัดมาหลังจากนั้น วงได้ออกวางขายซิงเกิลที่ 18 “ บีกินเนอร์ “ ( Beginner ) ด้วยยอดขาย 826,989 แผ่นในอาทิตย์แรก และได้รับตำแหน่งกลุ่มไอดอลหญิงที่มียอดขายอาทิตย์แรกสูงที่สุด [ 105 ] ต่อมา สมาชิกวง มายุ วาตานาเบะ ปรากฏตัวในปกนิตยสารไอดอล อัพทูบอย ฉบับเดือนธันวาคม คู่กับ ไอริ ซูซูกิ สมาชิกวง คิวต์ ถือเป็นการร่วมงานครั้งแรกระหว่างเอเคบีโฟร์ตีเอตกับ เฮลโล ! พรอเจกต์ [ 106 ] ในเดือนพฤศจิกายน 2010 วงได้เข้าร่วมงานกิจกรรมหลายอย่างนอกประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น งานเจแปนนีสป็อปคัลเจอร์เฟสติวัลที่ กรุงมอสโก [ 107 ] งานอนิเมะเฟสติวัลเอเชีย ครั้งที่ 10 และงานสิงคโปร์ทอยเกมส์แอนด์คอมิกส์คอนเวนชัน ที่ประเทศ สิงคโปร์ [ 108 ] [ 109 ] สมาชิกที่จบการศึกษาในปี 2010 ประกอบด้วย เอเรนะ โอโนะ ที่ลาวงไปเมื่อวันที่ 27 กันยายนเนื่องจากความต้องการในการทำงานด้านการแสดงที่ต่างประเทศ [ 110 ] [ 111 ] ซิงเกิลแรกในปี 2011 คือ “ ซากูระโนะคินินาโร “ วางขายเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ มียอดขายวันแรกจำนวน 655,000 แผ่น ซึ่งมากกว่าของ บีกินเนอร์ ที่ขายได้ 568,000 แผ่น [ 112 ] และมียอดขายทั้งหมดจำนวน 942,479 แผ่นในอาทิตย์แรก เป็นซิงเกิลที่มียอดขายเติบโตเร็วมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2000 [ 113 ] เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีการประกาศอัลบั้มที่ 3 โคโคนิอิตะโคโตะ ( Koko nickel Ita Koto ) ซึ่งประกอบด้วยเพลงใหม่ 11 รายการ [ 114 ] ต่อมาวงได้หยุดการแสดงในโรงละครทั้งหมดและงานกิจกรรมบางประเภทเนื่องจากเกิดเหตุ แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ทำให้เอเคบีโฟร์ตีเอตเริ่มโครงการ “ ดาเรกะโนะทาเมะนิ ” ( Dareka no Tame nickel ) ซึ่งเป็นการระดมทุนบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านี้ วงยังได้จัดกิจกรรมการกุศลที่โยโกยามะอารีน่า และในงานเทศการภาพยนตร์โอกินาวะ ตั้งแต่วันที่ 26 ถึง 27 มีนาคม ต่อมาวันที่ 15 มีนาคม มีการประกาศว่าวงเอเคบีโฟร์ตีเอตและวงน้องสาวอีก 3 วง ได้แก่ เอสเคอีโฟร์ตีเอต เอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต และ เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต จะบริจาคเงินเป็นจำนวน 500 ล้านเยนในฐานะต้นสังกัด เอเคเอส [ 115 ] เดิมทีอัลบั้ม โคโคนิอิตะโคโตะ มีกำหนดการวางขายไว้วันที่ 6 เมษายน [ 114 ] แต่ด้วยเหตุการดังกล่าวจึงทำให้ถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 8 มิถุนายนแทน นอกจากนี้รายได้จากยอดขายบางส่วนของอัลบั้มนี้จะถูกสมทบรวมกับยอดบริจาคทั้งหมดด้วย [ 116 ] เมื่อวันที่ 1 เมษายน วงได้ปล่อยซิงเกิลพิเศษ “ ดาเระกะโนะทาเมนิ-ว็อตแคนไอดูฟอร์ซัมวัน ? – “ ( Dareka no Tame ni -What can I do for person ? – ) โดยเปิดให้ดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาเหตุการณ์ภัยพิบัติเช่นกัน [ 117 ]
จำนวนสมาชิกของวงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากการออดิชัน การจบการศึกษา การย้ายทีม และการย้ายวงระหว่างวงในเครือ 48 กรุ๊ป เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2017 วงมีสมาชิกทั้งหมด 136 คน แบ่งออกเป็นทีมเอ ( Team A ) 16 คน, ทีมเค ( Team K ) 17 คน, ทีมบี ( Team B ) 15 คน, ทีมโฟร์ ( Team 4 ) 19 คน, และทีมเอต ( Team 8 ) 47 คน โดยในทีม 8 นั้นมีสมาชิก 3 คนที่กำลังควบวงน้องสาววงอื่นอยู่ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 25 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 6 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 19 คน [ 118 ] มี มิอง มูกาอิจิ เป็นสมาชิก หัวหน้าวง และผู้จัดการวงในเครือ 48 กรุ๊ป
ทางวงมีการเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ ในหนึ่งซิงเกิลหรืออัลบั้มนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายฉบับที่มีรูปปกหรือเพลงรองที่แตกต่างกัน ซึ่งนอกจากเพลงแล้ว ยังมีรูปสมาชิก ดีวีดีสำหรับมิวสิกวีดีโอ บัตรเข้างานกิจกรรม และรหัสที่ใช้กรอกในงานเลือกตั้ง ประกอบอยู่ในซิงเกิลอีกด้วย [ 119 ] อลัน สวาตซ์ จากเอ็มทีวีเจแปน กล่าวไว้ว่าการแยกซิงเกิลใด ๆ ออกเป็นหลายฉบับ ส่งผลให้ผู้ซื้อรู้สึกอยากเก็บสะสมทุกฉบับ จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดขายของวงพุ่งสูงขึ้นมาก และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีของประเทศญี่ปุ่นมีความครึกครึ้นมากขึ้น [ 120 ]
ทางวงได้จัดงานกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะประชาสัมพันธ์ซิงเกิล หรือเพื่อที่จะคัดเลือกสมาชิกที่จะได้มีส่วนร่วมในซิงเกิลนั้น ๆ [ 121 ] ในปี 2009 แนวคิดของ “ โซเซ็งเกียว ” ( ญี่ปุ่น : 総選挙 ; โรมาจิ : sousenkyo ; แปลว่า “ งานเลือกตั้ง ” ) ได้นำมาใช้เพื่อให้แฟนคลับสามารถโหวตสมาชิกที่ตนชื่นชอบให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็น “ เซ็มบัตสึ ” ( ญี่ปุ่น : 選抜 ; โรมาจิ : senbatsu ; หรือ “ สมาชิกที่ได้รับเลือก ” ) เพื่อปรากฏอยู่ในซิงเกิลประจำปีได้ [ 122 ] โดยวิธีในการโหวตนั้นจะมาจากบัตรลงคะแนนที่พบได้ในแผ่นของ “ ซิงเกิลเลือกตั้ง ” [ 123 ] หรือด้วยวิธีการลงคะแนนผ่านทางแอปพลิเคชันของวง [ 124 ] [ 125 ] สมาชิกที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด ( ส่วนใหญ่แล้วคือ 16 อันดับแรก ) จะได้รับการประชาสัมพันธ์เยอะกว่าสมาชิกคนอื่นหลายเท่า [ 126 ] และสมาชิกที่ได้อันดับ 1 จะได้รับตำแหน่ง “ เซ็นเตอร์ ” ที่อยู่ตรงกลางของวงในการแสดงสด หรือมีบทบาทในมิวสิกวีดีโอมากที่สุด ทำให้คนทั่วไปสามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด [ 127 ] [ 128 ] จำนวนโหวตทั้งหมดสำหรับงานเลือกตั้งแต่ละปีนั้นมีจำนวนไม่ต่ำกว่าปีละ 3 ล้านโหวตนับตั้งแต่ปี 2012 [ 129 ] ซึ่งแฟน ๆ แต่ละคนส่วนใหญ่แล้วจะซื้อซิงเกิลเลือกตั้งเป็นจำนวนร้อย ๆ ซิงเกิลเพื่อที่จะนำคะแนนไปโหวตให้กับสมาชิกที่พวกเขาชื่นชอบ [ 130 ] [ 131 ] [ 132 ] [ 133 ] [ 134 ] [ 135 ] [ 136 ] ในซิงเกิลลำดับที่ 19 ของวง “ แชนซ์โนะจุมบัง “ ( Chance no Junban ) มีการใช้วิธีการคัดเลือกสมาชิกเซ็มบัตสึอีกหนึ่งวิธีคือ งานแข่งขันเป่ายิงฉุบ หรือ “ จังเก็น ” ( ญี่ปุ่น : じゃん拳 ; โรมาจิ : Janken ) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี [ 137 ] โดยสมาชิกในวง ( รวมถึงวงน้องสาวเช่นกัน ) จะเข้ามา แข่งขันกันแบบแพ้คัดออก โดยการเป่ายิงฉุบ สมาชิกที่ชนะจนได้อยู่ใน 16 อันดับแรกจะได้เป็นเซ็มบัตสึสำหรับซิงเกิลต่อไป [ 138 ] ซึ่งสมาชิกที่เข้าแข่งขันจะแต่งตัวกันอย่างหลากหลาย [ 139 ] เหตุผลในการจัดกิจกรรมนี้คือ เพื่อให้ให้โอกาสสมาชิกที่ไม่เคยได้เป็นเซ็มบัตสึ ได้มีโอกาสรับตำแหน่งนี้ดูสักครั้งเนื่องจากโอกาสในการชนะของสมาชิกทุกคนนั้นเท่ากัน [ ต้องการอ้างอิง ] ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นไป ทางวงได้เปลี่ยนแปลงกิจกรรมนี้ใหม่โดยจะหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น สมาชิกที่ชนะจะได้เปิดตัวเป็นศิลปินเดี่ยว หรือถ้าหากผู้นั้นเป็นศิลปินเดี่ยวมาก่อนอยู่แล้ว เธอจะได้เปิดคอนเสิร์ตเป็นของตัวเอง [ 140 ]
ตั้งแต่ปี 2011 ทางวงได้ปล่อยสารคดีของวงออกมาในโรงละครเป็นจำนวน 4 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นแรก Documentary of AKB48 – To Be Continued ปล่อยออกมาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2011 [ 141 ] และในฉบับดีวีดีที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมในปีเดียวกัน [ 142 ] ชิ้นที่ 2 Documentary of AKB48: Show Must Go On Shoujotachi wa Kizutsuki Nagara, Yume wo Miru ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2012 [ 143 ] และทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิศญี่ปุ่นเป็นจำนวนกว่า 120 ล้านบาท [ 144 ] ชิ้นที่ 3 Documentary of AKB48: No Flower Without Rain: Shōjo Tachi wa Namida no Ato ni Nani o Miru? ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2013 [ 145 ] และทำรายได้ไปกว่า 70 ล้านบาท [ 146 ] ชิ้นที่ 4 Documentary of AKB48 The Time has come Shōjo-tachi wa, Ima, Sono Senaka ni Nani wo Omou? ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2014 [ 147 ] และทำรายได้ไปประมาณ 30 ล้านบาท [ 148 ] ในสารคดีแต่ละชิ้นจะเล่าเรื่องเหตุการณ์และปัญหาที่ทางวงได้พบเจอในปีที่ผ่านมา [ 149 ]
มังงะชื่อ AKB49: Ren’ai Kinshi Jourei เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวง AKB48 และมีสมาชิกในวงเล่นเป็นบทบาทตัวละครเสริมในเรื่อง [ 150 ] ในปี 2012 ทางวงได้ปล่อยอนิเมะออกมาในชื่อ AKB0048 ซีรีส์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่อิงจากชีวิตของสมาชิกวง กำกับและดูแลโดย ยะซุชิ อะกิโมะโตะ [ 151 ] ตัวละครหลักทั้ง 9 คนในเรื่องนี้ได้รับการพากย์เสียงโดยสมาชิกของ AKB48 และสมาชิกในวงน้องสาวบางคนเช่นกัน [ 152 ] ออกอากาศในญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี 2012 [ 153 ] ฤดูกาลที่ 2 ของเรื่องนี้ออกอากาศในปี 2013 [ 154 ]
ทางวงมีเกม วิชวลโนเวล แนวจีบสาวเป็นของตัวเอง เกมแรกของวง AKB1/48: Idol to Koishitara… วางขายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2010 เป็นเกมที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถสร้างความสัมพันธ์กับหนึ่งในสมาชิกวงได้ เกมที่สอง AKB1/48: Idol to Guam de Koishitara… วางขายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2011 มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับเกมภาคแรก เป็นแรื่องราวที่เกิดขึ้นใน กวม เกมที่สาม AKB1/149 Ren’ai Sōsenkyo วางขายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2012 มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกวง AKB48 และวงน้องสาว อาทิเช่น SKE48, NMB48 และ HKT48 ทั้งสามเกมได้ลงบนคอนโซล เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล โดยภาคล่าสุดนั้นลงบน เพลย์สเตชันวิต้า และ [ [ เพลย์สเตชัน 3|เพลย์สเตชัน 3 [ ต้องการอ้างอิง ] ] ] ในปีเดียวกัน มีการวางขายเกม AKB48+Me ลงบน นินเท็นโด 3DS ที่ให้ผู้เล่นสามารถพยายามที่จะเป็นไอดอลเหมือนสมาชิกวงได้ [ 155 ] ในปี 2014 บันไดนัมโค ( Bandai Namco ) พัฒนาเกม Sailor Zombie: AKB48 Arcade Edition ซึ่งต่อยอดมาจากโทรทัศน์ซีรีส์ในชื่อเดียวกัน เป็นเกมที่ให้ผู้เล่นใช้ปืนยิงกระสุนวัคซีนใส่สมาชิกวงที่เป็นซอมบี้ ในเกมยังมีโหมดพิเศษคือ โหมดริทึ่ม ที่ให้สมาชิกที่เป็นซอมบี้เต้นไปมา [ 156 ] ในเดือนเมษายน 2014 เกมแนวริทึ่ม AKB48 Group tsuini koushiki-on gee demashita ปล่อยออกมาบน แอนดรอยด์ และ ไอโอเอส ที่ให้ผู้เล่นสามารถเลือกสมาชิกวงคนโปรดไปเต้นแข่งขันกันกับผู้เล่นอื่น [ 157 ]
ผู้บริหารของวงได้ก่อตั้งรายการโทรทัศน์มาเป็นจำนวนหลายรายการด้วยกันเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ให้กับวง AKBingo!, AKB48 Show!, AKB to XX, และ Nemōsu TV เป็นรายการวาไรตีหลักของวง Majisuka Gakuen [ 158 ] และ Sakura Karano Tegami เป็นรายการซีรีส์ที่นำเสนอเรื่องดรามา นอกจากนี้สมาชิกวง AKB48 ยังไปเป็นตัวละครหลักของรายการ Mecha-Mecha Iketeru!, Waratte Iitomo! และ SMAPxSMAP[ต้องการอ้างอิง]
อิกุโอะ มิเนะวะกิ ประธานเจ้าหน้าที่ของทาวเวอร์เร็กคอร์ดส์เจแปน ( Tower Records Japan ) อธิบายว่าเอเคบีโฟร์ตีเอตเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยม [ 159 ] และถือเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในญี่ปุ่น [ 160 ] ในปี 2012 ทางวงมียอดขายในญี่ปุ่นรวมกันกว่า 7,000 ล้านบาท [ 161 ] [ 13 ], มากกว่า 4,000 ล้านบาทในปี 2013, และมากกว่า 3,000 ล้านบาทในปี 2015 [ 162 ] [ 163 ] ซึ่งหากนับตั้งแต่วันเปิดตัวจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2012 ทางวงได้ขายซิงเกิลไปแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 11,787,000 ชุด ทำให้เป็น “ กลุ่มดนตรีหญิงที่มียอดขายซิงเกิลสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ” [ 164 ] จากนั้นยอดขายซิงเกิลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมากกว่า 36 ล้านชุด [ 165 ] ทำให้ทางวงเป็น “ กลุ่มดนตรีที่ทำยอดขายซิงเกิลสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ” [ 165 ] ปัจจบันวงมียอดขายซิงเกิลรวมกันกว่า 50 ล้านชุด [ 166 ] และยอดขายอัลบั้มกว่า 6 ล้านชุด [ 167 ] นอกจากนี้ หากนับตั้งแต่ซิงเกิลลำดับที่ 14 เป็นต้นไป ซิงเกิลทุกชุดหลังจากนั้นก็ได้รับอันดับ 1 มาโดยตลอดบนชาร์ต ออริคอน รายอาทิตย์ ในปี 2010 “ บีกินเนอร์ “ ( Beginner ) และ “ เฮฟวีโรเทชัน “ ( Heavy Rotation ) ได้รับอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับบนชาร์ตซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดประจำปี [ 168 ] จากนั้น ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2016 ซิงเกิลของวงได้อยู่ในอันดับ 1 ถึง 5 มาโดยตลอดบนชาร์ตออริคอนรายปี [ 169 ] [ 170 ] [ 171 ] [ 172 ] [ 173 ] [ 174 ] ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 ทางวงได้ขายซิงเกิลไปแล้วกว่า 40 ล้านชุด [ 165 ] [ 167 ] นับตั้งแต่ซิงเกิลลำดับที่ 21 “ เอฟวรีเดย์คะชูชะ “ ( Everyday, Katyusha ) ในปี 2011 ซิงเกิลทุกชุดหลังจากนั้นก็ขายได้เกิน 1 ล้านชุดมาโดยตลอดภายในอาทิตย์แรก แต่ว่าซิงเกิลลำดับที่ 42 ของวง “ คุจิบิรุนิบีมายเบบี้ “ ( Kuchibiru nickel Be My Baby ) ไม่สามารถขายได้มากกว่า 1 ล้านชุดภายในอาทิตย์แรกได้ ทำให้ซิงเกิลที่มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดของวงภายในอาทิตย์แรกติดต่อกันอยู่ที่ 21 ซิงเกิล [ 175 ] ซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดคือ “ สึบาซะวะอิราไน “ ( Tsubasa wa Iranai ) ซึ่งทำยอดขายไปกว่า 2.5 ล้านชุดในปี 2016 [ 176 ] นอกจากนี้ทางวงยังได้รับการ บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ( Guinness World Record ) หลายรางวัลด้วยกัน อาทิเช่น “ กลุ่มดนตรีป็อปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ” ในวันที่ 1 ธันวาคม 2010 เมื่อมีสมาชิกทั้งหมด 48 คน [ 10 ] [ 177 ] นอกจากนี้ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2012 ทางวงได้รับการขนานนามว่า “ มีผลงานโฆษณาโทรทัศน์มากที่สุดในเวลา 24 ชั่วโมง ” หลังจากที่สมาชิก 90 คนปรากฏตัวในโฆษณา 90 ชิ้นที่ออกอากาศในภูมิภาค คันโต, คันไซ, และ โทะไก ในประเทศญี่ปุ่น [ 178 ] สถานทูตญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา อิจิโร ฟุจิซะกิ กล่าวในระหว่างที่พบกับวงในวอชิงตันดี.ซี. ว่า “ AKB ” หมายถึง “ adorable, Kind, Beauty ” ( ความน่ารัก, ความอ่อนโยน, และความงดงาม ) [ 13 ] เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2012 เจแปนโพสต์ได้ออกสแตมป์ที่เป็นอนุสรณ์ให้กับวง [ 179 ]
แนวเพลงของวงได้รับการเปรียบเปรยว่าเหมือน “ บับเบิลกัมป็อป ” ทำให้เป็นที่ชื่นชอบสำหรับเด็กหญิงในช่วงวัยรุ่นและชายวัยกลางคนที่มีทรัพย์ซื้อสินค้าของวง [ 180 ] มะริ ยะมะกุจิ จากแอสโซซิเอเทตเพรส ( Associated Press ) กล่าวว่า “ เมื่อสมาชิกกำลังร้องและเต้น แฟน ๆ ก็มักที่จะร้องและส่งเสียงเชียร์ไปกับพวกเธอกันอย่างมีจังหวะ ” เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของแฟน ๆ กับผู้ชมของการแสดง คะบุกิ [ 181 ] นอกจากนี้ โมนิกา เฮสเซ จาก เดอะวอชิงตันโพสต์ ( The Washington Post ) ได้อธิบายแนวเพลงของวงว่า “ เหมือนกับถ้านำ ไมลีย์ ไซรัส, เทย์เลอร์ สวิฟต์, และนักแสดงทุกคนจากเรื่อง ทไวไลต์ มาผสมรวมกันในกระทะและเคี่ยวจนไม่มีอะไรหลงเหลือนอกจากความหวานที่เหนียวหนึบ ” [ 13 ] แอนดรูว์ จอยซ์ และ เคนเนธ แม็กซ์เวล จาก เดอะวอลล์สตรีตเจอร์นอล ( The Wall Street Journal ) ได้อธิบายเช่นกันว่าเป็น “ แนวเพลงป็อปที่เคลือบด้วยน้ำตาลที่มีข้อคิดในเนื้อเพลงเป็นครั้งคราว ” และได้พูดอีกว่า “ สมาชิกแสดงบทประพันธ์ที่เรียบง่ายซ้ำไปซ้ำมาต่อหน้าผู้ชมที่ 95 % เป็นผู้ชาย โดยแนวเพลงนั้นก็เหมือนพลงป็อปญี่ปุ่นที่มีจังหวะเร็ว เสียงสูง และท่อนฮุกที่ร้องตามได้ ” [ 182 ]
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2011 ทางวงได้ปล่อยซิงเกิลการกุศลออกมาในชื่อ “ ดะเระกะโนะทะเมะนิ-ว็อตแคนไอดูฟอร์ซัมวัน ? – “ ( Dareka no Tameni -What Can I Do for Someone ? – ) เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ [ 183 ] และซิงเกิลลำดับที่ 23 ของวง “ คะเซะวะฟุอิเตรุ “ ( Kaze wa Fuiteiru ) แต่งขึ้นเพื่ออุทิศแด่ผู้ประสบภัยและมีเนื้อเพลงไปในทางปลอบประโลม [ 184 ] [ 185 ] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ทางวงบริจาคเงินจำนวน 150 ล้านบาทให้กับสภากาชาดญี่ปุ่น ซึ่งเงินบริจาคทั้งหมดสำหรับผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนะมิจากวงนั้นมีจำนวนรวมกันมากกว่า 350 ล้านบาท [ 186 ] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2013 ทางวงได้ปล่อยเพลงใหม่ออกมา “ เทะโนะฮิระกะคะตะรุโคะโตะ ” ( Tenohira ga Kataru Koto ) เพลงอีกเพลงที่อุทิศให้กับผุ้ประสบภัยในเดือนมีนาคม 2011 และสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียเงินผ่านทางเว็บไซต์. [ 187 ] หลังจากนั้น เมื่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวผ่านไปครบสองปี ทางวงและวงน้องสาวในประเทศญี่ปุ่นได้เยี่ยมเยือนเขตประสบภัย แสดงในโรงเรียนและที่โรงละครของ AKB48, SKE48, NMB48, และ HKT48 โดยนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป [ 188 ]
เพลง “ เซฟุกุกะจะมะโอะซุรุ “ ( Seifuku ga Jama o Suru ) ของวงถูกวิจารณ์ว่ามีเนื้อเพลงที่ส่อไปทางเพศ และถูกมองโดยนักข่าวฝั่งตะวันตกว่าไม่เหมาะสมสำหรับสมาชิกของวงบางคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อ แอนนา โคเรน นักข่าวจาก ซีเอ็นเอ็น ถาม ยะซุชิ อะกิโมะโตะ ( ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงของวง ) เกี่ยวกับประเด็นนี้ อะกิโมะโตะตอบว่าเนื้อเพลงของเขา “ แสดงถึงความเป็นจริง ” และเป็นตัวกระตุ้นให้คนสนใจถึงปัญหาที่มีอยู่ในโลกนี้ [ 189 ] [ 190 ] หนึ่งในมิวสิกวีดีโอของวง “ เฮฟวีโรเทชัน “ ( Heavy Rotation ) ก็ตกเป็นประเด็นของสังคมเช่นกัน นักข่าวฝั่งตะวันตกวิจารณ์ว่ามิวสิกวีดีโอของเพลงนี้มีแต่การแสดงชุดชั้นในของสมาชิก การสวมกอด [ 180 ] การจูบ และการร่วมอาบน้ำในอ่างเดียวกัน ซึ่งผู้กำกับของเพลงนี้ มิกะ นินะงะวะ กล่าวว่าเหตุผลที่การถ่ายทำเป็นแบบนี้เนื่องจากเธออยากจะแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์และความสนุกสนานของเพลง และเธอต้องการที่จะให้เป็นที่ชื่นชอบของทั้งผู้ชายและผู้หญิง เนื่องจากความนิยมของวงได้เพิ่มมากขึ้น [ 191 ] แต่ในบทสัมภาษณ์ เธอกลับยอมรับผิดถึงปัญหานี้โดยบอกว่า “ คุณอะกิโมะโตะทิ้งทุกอย่างไว้ให้ฉัน แต่เขาไม่ได้ให้เงินเพิ่มเลยด้วยซ้ำ … ฉันพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า AKB48 เป็นอย่างไรในโลกความเป็นจริง เพราะในห้องแต่งตัวของเธอ ฉันก็เห็นว่าพวกเธอก็ดูสนิทสนมกันดี ฉันจึงคิดไอเดียนี้มาได้ ” [ 192 ] ในโฆษณาโทรทัศน์สำหรับลูกอมพุชโชที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2012 มีการปรากฏตัวของสมาชิกวงในชุดนักเรียนที่ส่งลูกอมให้กันแบบปากต่อปาก โดยพวกเธอใช้ฟันกัดลูกอมเอาไว้ก่อนที่จะส่งให้คนอื่น ผู้ชมบางคนมองว่าเป็นการ “ สนับสนุนพฤติกรรมทางเพศ ” “ ไม่ถูกสุขลักษณะ ” และ “ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเด็ก ๆ ” [ 180 ] [ 193 ] [ 194 ] [ 195 ] ในเดือนมกราคม 2013 ทางวงถูกวิจารณ์อีกครั้งเมื่อรูปของ โทะโมะมิ คะไซ ในนิตยสาร ชุกังยังแม็กกาซีน ปรากฏตัวในสาธารณะ คะไซในรูปนั้นไม่สวมเสื้อบน และมีเด็กคนหนึ่งใช้มือปิดหน้าอกของเธอ ซึ่งรูปดังกล่าวจะนำมาใส่เป็นหน้าปกของหนังสือรวมภาพของคะไซเอง แต่ทางบริษัทก็ได้เลื่อนการปล่อยนิตยสารนี้จากวันที่ 12 เป็นวันที่ 23 มกราคม [ 196 ] [ 197 ] [ 198 ] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 สมาชิกวง มินะมิ มิเนะงิชิ ได้โกนหัวตัวเองโดยปรากฏตัวผ่านทางวีดีโอเพื่อที่จะขอโทษกับสังคมหลังจากที่มีข่าวว่าเธอแอบไปค้างคืนกับผู้ชาย และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เธอถูกลดขั้นไปเป็นเค็งคิวเซย์ ถึงแม้ว่าการโกนหัวของเธอนั้นจะทำด้วยความตั้งใจของเธอเองที่อยากให้แฟน ๆ รับรู้ว่าเธอรู้สึกผิดจริง แต่เหตุการณ์นี้ก็ชักจูงให้นักวิจารณ์หลาย ๆ คนออกมาประณามการกระทำนี้และการแก้ไขปัญหาของวง [ 199 ] สารคดีจาก เอ็นเอชเค ในปี 2016 กล่าวว่าความนิยมของงานจับมือได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้หนุ่มสาวญี่ปุ่นและ “ ชายฉกรรจ์ ” ละทิ้งการหาคู่ในชีวิตจริง เป็นเหตุให้มีข้อโต้เถียงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแฟน ๆ ต้องการที่จะจับมือกับไอดอลที่พวกเขาโปรดปรานมากกว่าการหาคู่รัก [ 200 ] ใน งานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ ​ ปี 2017 เอเคบีโฟร์ตีเอตมีผู้ติดอันดับ16คนแรกเพียง 4 คนตั้งแต่มีงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึซึ่งนับว่าน้อยที่สุดโดย12คนที่เหลือมาจากวงน้องสาว
ผลงานของ AKB48 ประกอบด้วยสตูดิโออัลบั้ม 8 ชุด คอนเสิร์ตอัลบั้ม 32 ชุด มิวสิกวีดีโอ 109 เพลง ซิงเกิล 57 ชุด และเพลงประกอบภาพยนตร์ 1 เพลง

Read more: David Prowse

  1. ถึงแม้ว่าโรงละครของวงจะมีการแสดงทุกวัน แต่ก็จะมีการสุ่มตั๋วเข้าชมเนื่องจากมีความต้องการสูง ( ในโรงละครมี 145 ที่นั่ง และ 105 ที่ยืน )