KEY POINTS:
- Ibuprofen เป็นยาแก้ปวดชนิดหนึ่งที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในรูปแบบ “ยาเม็ดสีชมพู” มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแรงกว่ายาพาราเซตามอล และสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนแทนพอนสแตนได้
- Ibuprofen เป็นยาที่กัดกระเพาะอาหารจนเป็นแผล จึงต้องรับประทานยาทันทีหลังมื้ออาหาร แล้วดื่มน้ำหรือนมตามมากๆ เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- Ibuprofen เป็นยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเกินขนาด การใช้ยาที่มีฤทธิ์ด่างจะสามารถช่วยลดการดูดซึม Ibuprofen เข้าสู่กระแสเลือดได้
Table of Contents
Ibuprofen คือยาอะไร ?
ชื่อทางการค้าของ Ibuprofen
การออกฤทธิ์ของยา Ibuprofen
รูปแบบของยา Ibuprofen
ยา Ibuprofen ราคาเท่าไหร่ ?
วิธีใช้ยา Ibuprofen และปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้ยา Ibuprofen
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Ibuprofen
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับ Ibuprofen
ใช้ยา Ibuprofen เกินขนาดควรทำอย่างไร ?
ลืมกินยา Ibuprofen ควรทำอย่างไร ?
การเก็บรักษายา Ibuprofen
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Ibuprofen
Ibuprofen คือยาอะไร ?
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) จัดอยู่ในกลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( Nonsteroidal anti-inflammatory drug : nonsteroidal anti-inflammatory ) คนทั่วไปนิยมเรียกยาตัวนี้ว่า “ ยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวด ” เพราะ Ibuprofen มีสรรพคุณช่วยระงับอาการปวด ลดอาการอักเสบและลดไข้ เช่น ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ข้ออักเสบ ปวดฟัน และอาการบาดเจ็บเล็กน้อยถึงปานกลางอื่นๆ
ชื่อทางการค้าของ Ibuprofen
Ibuprofen เป็นยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาโดยองค์การอาหารและยาแล้ว ทำให้ Ibuprofen มีชื่อทางการค้าที่หลากหลาย มีทั้งผลิตจากไทยและนำเข้าจากต่างประเทศ ยกตัวอย่างชื่อทางการค้าของ Ibuprofen ที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ได้แก่ Duran®, Gofen®, Probufen®, ADAVIL®, Ibrofen®, CEFEN®, IBUSTAR FORTE®, IBUMAN®,
S-PRO®, GREATOFEN®, Rabufen® และชื่อทางการอื่นๆ
การออกฤทธิ์ของยา Ibuprofen
การอักเสบเกิดจากกลไกการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxygenase ( COX ) ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด โดยเอนไซม์ตัวนี้จะเข้าไปเปลี่ยน Arachidonic Acid ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ให้กลายเป็นสาร Prostaglandins ตัวการที่เข้าไปกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกเจ็บปวดให้ไวต่อการกระตุ้น เป็นที่มาของอาการปวดและอักเสบ
Ibuprofen ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxygenase ทั้งชนิด COX-I และ COX-II และยังช่วยลดการสังเคราะห์ Prostaglandins ในร่างกายให้ลดน้อยลง ทำให้ร่างกายได้รับการบรรเทาอาการปวดและอักเสบจนกลับสู่ภาวะปกติได้
รูปแบบของยา Ibuprofen
Ibuprofen ได้ถูกผลิตออกมาแตกต่างกันทั้งปริมาณยาและรูปแบบของยา เพื่อให้การออกฤทธิ์เหมาะสมกับอายุผู้ใช้และความสะดวกในการใช้งาน ปัจจุบัน Ibuprofen มีทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่
- ยาในรูปแบบเม็ดและแคปซูล: มีทั้งแบบเม็ดและยาบรรจุในแคปซูล สำหรับยาแบบเม็ด จะมีลักษณะเป็นเม็ดรีหรือเม็ดกลมและมีสีของยาที่พบเห็นได้บ่อย เช่น สีชมพู สีม่วง สีเทา สีน้ำตาล ส่วนยาแคปซูลจะบรรจุด้วยยาผงไอบูโพรเฟนไว้ข้างในและมีลักษณะเม็ดทึบหรือใส ขนาดยา 200 มก. 400 มก. 600 มก. และ 800 มก.
- ยาในรูปแบบน้ำ: พบยา Ibuprofen แบบน้ำได้บ่อยในลักษณะของยาน้ำแขวนตะกอนและยาน้ำเชื่อม ส่วนใหญ่จะเป็นตัวยาสำคัญที่เป็นส่วนประกอบหลักของ
ยาแก้ไอ
ยาแก้อักเสบ ยาลดไข้ และยาแก้เจ็บคอ มีปริมาณไอบูโพรเฟนน้อยกว่ายาเม็ด จึงเป็นยาที่เหมาะสำหรับการรักษาเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป
ยา Ibuprofen ราคาเท่าไหร่ ?
ราคากลางของ Ibuprofen ตามที่องค์การอาหารและยากำหนด คือ 0.6 บาท/1 เม็ดสำหรับยาเม็ด ราคา 0.8 บาท/1 เม็ด ฃสำหรับยาแคปซูล และราคา 15 บาท/1 มล. สำหรับยาน้ำ
ฉะนั้นแล้ว Ibuprofen ที่วางจำหน่ายตามร้านขายยา หรือร้านเวชภัณฑ์ทั่วไป จะมีราคามาตรฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่เกิน 100 บาทต่อ 1 แผง โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ยาเม็ดที่ไม่ใช่แคปซูล 400 มก. ราคาอยู่ที่ 25 – 35 บาท จำนวน 10 เม็ด/1 แผง
- ยาเม็ดที่ไม่ใช่แคปซูล 600 มก. ราคาอยู่ที่ 40 – 50 บาท จำนวน 10 เม็ด/1 แผง
- ยาเม็ดแคปซูล 400 มก. ราคาอยู่ที่ 80 – 100 บาท จำนวน 10 เม็ด/1 แผง
- ยาไอบูโพรเฟนชนิดน้ำ ราคาอยู่ที่ 40 – 60 บาท ปริมาณ 5 มล./1 ขวด
วิธีใช้ยา Ibuprofen และปริมาณที่เหมาะสม
การใช้ยา Ibuprofen ที่เหมาะสมนั้น จะต้องไม่เกิน 800 – 3,200 มก. ต่อวัน และควรใช้ในปริมาณที่ต่ำที่สุดที่สามารถรักษาอาการได้ ดังนั้นผู้ใช้ยาจึงไม่ควรรับประทานไอบูโพรเฟนเอง ควรสอบถามกับเภสัชกรหรืออ่านฉลากยาก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียง โดยรายละเอียดการใช้ Ibuprofen จำแนกออกเป็นลักษณะอาการได้ดังนี้
ปริมาณยาสำหรับผู้ใหญ่
- การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์: รับประทานในปริมาณ 400-800 มก. ต่อวัน วันละ 3-4 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 3,200 มก. ต่อวัน หรือตามที่แพทย์สั่ง
- การรักษากลุ่มโรคไขข้อกระดูกเสื่อม: รับประทานในปริมาณ 400-800 มก. ต่อวัน วันละ 3-4 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 3,200 มก. ต่อวัน หรือตามที่แพทย์สั่ง
- การรักษาอาการปวดประจำเดือน: เริ่มต้นรับประทานที่ปริมาณ 200 มก. ก่อน ถ้าอาการปวดยังไม่ดีขึ้นให้เพิ่มปริมาณเป็น 400 มก. สูงสุดไม่เกิน 1,200 มก. รับประทานทุกๆ 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการปวด
- การรักษาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง: ในที่นี้หมายถึง อาการปวดฟัน ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
เจ็บคอ
ฯลฯ เริ่มต้นรับประทานที่ปริมาณ 200 มก. ก่อน ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นอีก ให้เพิ่มขนาดเป็น 400 มก. เพิ่มขนาดได้สูงสุด 1,200 มก. รับประทานทุกๆ 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการปวด
- การรักษาอาการไข้: รับประทานครั้งละ 200-400 มก. ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง สูงสุดไม่เกิน 1,200 มก. ต่อวัน
- การรักษาอาการปวดศีรษะ: รับประทานครั้งละ 200-400 มก. ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง สูงสุดไม่เกิน 1,200 มก. ต่อวัน
- การรักษาอาการไมเกรนเฉียบพลัน: รับประทาน 200-400 มก. เมื่อมีอาการ
ไมเกรน
ขนาดยาสูงสุดไม่ควรเกิน 400 มก. ต่อวัน
** การใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวด ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 10 วัน อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
ปริมาณยาสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน – 12 ปี
สำหรับปริมาณยา Ibuprofen ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก จะต้องดูตามนำหนักตัวของเด็ก โดยยาน้ำที่มีความแรงของ Ibupreofen 100 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำ 5 มิลลิลิตร ปริมาณที่เหมาะสม คือ
- 5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./ครั้ง รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง
การรับประทานยา Ibuprofen ควรทานพร้อมกับอาหารและดื่มนมหรือดื่มน้ำตามมากๆ ไม่ควรรับประทานตอนท้องว่าง เพราะอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
ข้อควรระวังในการใช้ยา Ibuprofen
สิ่งที่ต้องใส่ใจเมื่อใช้ Ibuprofen ก็คือ ข้อควรระวังในการใช้ยา เนื่องจากการใช้ Ibuprofen เป็นเวลาติดต่อกันอาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนเลือด อาการแพ้ และการทำงานของไตผิดปกติได้
ฉะนั้นแล้วผู้ใช้ยา Ibuprofen ต้องสังเกตตัวเองก่อนใช้ยาว่าระบบร่างกายมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับระบบต่างๆ ที่กล่าวมาหรือไม่ ซึ่งสามารถจำแนกผู้ที่ควรใช้และไม่ควรใช้ Ibuprofen ได้ดังนี้
- ผู้ที่สามารถใช้ยา Ibuprofen ได้
- ผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 12 ปี ที่มีอาการปวดหรืออักเสบ ซึ่งมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีประวัติแพ้ยาไอบูโพรเฟนหรือยาตัวอื่นในกลุ่ม NSIADs
- ผู้ที่ไม่ควรใช้ยา Ibuprofen
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาไอบูโพรเฟน
แอสไพริน
และยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) รวมถึงมีอาการแพ้หรือ
ภูมิแพ้
อื่นๆ เนื่องจากส่วนผสมของยาอาจมีสิ่งที่ทำให้อาการแพ้กำเริบได้
- ผู้ที่เป็น
โรคหอบหืด
ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเลือดทั้ง
ภาวะโลหิตจาง
เส้นเลือดขอด
เลือดออก นอกจากนี้ยังมีโรคริดสีดวงจมูก
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพราะตัวยาจะส่งผลข้างเคียงต่อเด็ก
- ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว และสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง อาจเสี่ยงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ไตทำงานผิดปกติ
Read more: Willem Dafoe
เส้นเลือดสมองอุดตัน และหัวใจล้มเหลวได้มากขึ้น
- ผู้ที่กำลังเป็นหรือมีประวัติเป็นโรค
แผลในกระเพาะอาหาร
และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
- ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือมีประวัติภาวะหัวใจวาย และเป็น
โรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไตรุนแรง
- ผู้ที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
รวมถึง
โรคไข้เลือดออก
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาไอบูโพรเฟน
- ข้อควรระวังอื่นๆ
- เนื่องจากยาในกลุ่ม
NSAIDs
รวมถึงยาไอบูโพรเฟนเอง มีผลข้างเคียงต่อไตและสามารถเพิ่มความรุนแรงของผลข้างเคียงให้มากขึ้นอีก หากระหว่างรับประทานยาแล้วร่างกายขาดน้ำ รวมถึงเป็นผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลว ไตทำงานผิดปกติ เป็นผู้สูงอายุ และทานยาอยู่มากกว่า 1 ชนิด ดังนั้นจึงจำเป็นที่ในระหว่างนี้จะต้องดื่มน้ำในปริมาณมาก เพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง
- ยา Ibuprofen มีผลข้างเคียงทำให้วิงเวียนศีรษะ ดังนั้นไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยาเพราะจะทำให้อาการข้างเคียงรุนแรง รวมถึงงดการใช้เครื่องจักรหรือขับขี่ยานพาหนะ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
- ยา Ibuprofen อาจทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นจึงควรงดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เพราะจะเพิ่มโอกาสให้เกิดเลือดออก
- ยา Ibuprofen อาจทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น ควรงดออกแดดหรือทาครีมกันแดดและใส่เสื้อผ้ามิดชิด ในระหว่างการรับประทานยา
- หากต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรแจ้งแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดก่อนล่วงหน้า เกี่ยวกับตัวยาที่กำลังรับประทาน
- เนื่องจากยาในกลุ่ม
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Ibuprofen
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจาก Ibuprofen มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยกับอาการที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทส่วนกลาง ลักษณะอาการข้างเคียงหลังรับประทาน Ibuprofen มีรายละเอียดดังนี้
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้บ่อย
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้น้อย
ลักษณะอาการข้างเคียงจะมีความรุนแรงกว่า ส่งผลต่อประสาทการรับรู้ เลือด ไต ผิวหนัง และอื่นๆ เช่น โลหิตจาง ไตวาย ตับอักเสบ สายตาพร่ามัว และได้ยินเสียงน้อยลง
อาการแพ้ Ibuprofen
มีผลต่อระบบหายใจ เช่น หอบรุนแรง หายใจลำบาก เกิด ลมพิษ รวมถึงเกิดภาวะการบวมของเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง ( Angioneurotic edema ) และยังส่งผลต่อระบบผิวหนังอีกด้วย เช่น เกิดอาการคัน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตุ่มคัน จ้ำเขียว รวมทั้งอาการอื่นๆ อย่าง ได้ยินเสียงในหู อารมณ์แปรปรวน ให้หยุดยาทันทีและไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับ Ibuprofen
Ibuprofen จัดเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ COX ซึ่งผลิต Prostaglandin ให้เกิดการอักเสบขึ้นมา ปฏิกิริยาต่อต้าน Prostaglandin ของ Ibuprofen อาจขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาตัวอื่นที่ใช้ร่วมกัน ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงต่อร่างกายได้ ยาต่อไปนี้เป็นยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับ Ibuprofen ได้แก่
- Aspirin: เนื่องจากยาทั้งสองตัวเป็นยาในกลุ่ม NSAIDs เหมือนกัน หากรับประทานพร้อมกัน อาจทำให้เพิ่มโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
- Lithium: ยาลิเทียมที่มีคุณสมบัติลดระดับลิเทียม ในขณะที่ไอบูโพรเฟนทำให้ระดับลิเทียมในเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย
- Cyclosporin: เมื่อใช้ยาร่วมกับยาไอบูโพรเฟน อาจทำให้เกิดพิษทางไตได้
- Methotrexate: การออกฤทธิ์อาจยับยั้งการขับไอบูโพรเฟนทางไต อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
และยาชนิดอื่นๆ ที่ต้องหลีกเลี่ยง เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยาต้านละลายเกล็ดเลือด ยาทำแท้ง รวมถึงยา NSAIDs ตัวอื่น นอกจากนี้ยา Ibuprofen ยังเป็นส่วนผสมในตัวยาอื่นๆ อีก บางครั้งเราอาจรับประทานร่วมกับยาที่ส่งผลซึ่งกันและกันโดยไม่รู้ตัว ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรหากต้องใช้ยาร่วมกัน
ใช้ยา Ibuprofen เกินขนาดควรทำอย่างไร ?
เมื่อใช้ยา Ibuprofen เกินขนาดที่ร่างกายควรได้รับ อาจทำให้เกิดพิษเฉียบพลันได้ ซึ่งจะส่งผลต่อตับที่ทำหน้าที่สันดาปยา ส่งผลต่อไตที่ทำหน้าที่กำจัดยาออกจากร่างกาย และเกิดอาการที่ผิดปกติของร่างกายขึ้น เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหะต่ำ ซึมเศร้า หูอื้อ ภาวะเลือดเป็นกรด และหัวใจเต้นผิดปกติได้
ดังนั้นเมื่อเกิดอาการขึ้น ต้องรีบพาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อทำให้ขนาดยาในร่างกายน้อยลง แพทย์อาจจะใช้การล้างท้อง หรือให้อาเจียนออกมาด้วย Ipecac syrup หรือทำให้ปัสสาวะออกมาเพื่อขับยาไอบูโพรเฟนออกด้วยสารด่าง อย่างไรก็ตามต้องสังเกตอาการว่าจะมีอาการชักหรือไม่ ถ้ามีการชักแพทย์อาจใช้ยา Diazepam ทางหลอดเลือดดำเพื่อขับยาออก
ลืมกินยา Ibuprofen ควรทำอย่างไร ?
เมื่อรู้ตัวว่าลืมรับประทาน Ibuprofen ครั้งล่าสุด ให้รับประทานยาทันที่ที่นึกออก แต่ถ้าหากว่ารอบที่ลืมรับประทานยาครั้งล่าสุดกระชั้นชิดกับครั้งต่อไป ให้ข้ามครั้งที่ลืมและรับประทานไอบูโพรเฟนครั้งต่อไปเลย ห้ามรับประทานยาซ้ำ 2 เท่าเด็ดขาด
การเก็บรักษายา Ibuprofen
การเก็บรักษายา Ibuprofen ให้คงคุณภาพที่สุดจะต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงไม่ให้ยาโดนแสงและความชื้น และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงในบ้าน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Ibuprofen
1. ไอบูโพรเฟนแก้ปวดไมเกรนได้ไหม ?
ไอบูโพรเฟนช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ โดยรับประทานยา 200 – 400 มก. เมื่อมีอาการปวด โดยเริ่มต้นจากขนาดยาที่ต่ำที่สุดก่อน ถ้าไม่ดีขึ้นก็ให้เพิ่มขนาดเป็น 400 มก. และห้ามทานเกินวันละ 1,200 มก .
2. ไอบูโพรเฟนใช้แก้ปวดประจำเดือนได้ไหม ?
สรรพคุณยาของไอบูโพรเฟนออกฤทธิ์เหมือนกับพอนสแตน นั่นคือมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสร้างสาร Prostaglandins สามารถช่วยลดอาการปวดประจำเดือนให้ทุเลาได้
3. ไอบูโพรเฟนอันตรายหรือไม่ ?
หากรับประทานไอบูโพรเฟนในปริมาณยาที่เหมาะสม นั่นคือไม่เกิน 800 – 3,200 มก. ต่อวัน ก็จะไม่ทำอันตรายให้กับระบบต่างๆ ในร่างกาย แต่ถ้าหากรับประทานยาเกินขนาด อาจมีผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัง เลือดและหัวใจ รวมถึงประสาทสัมผัสของร่างกายด้วย
4. ไอบูโพรเฟนกับพาราเซตามอลต่างกันอย่างไร ?
ไอบูโพรเฟนและพาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดและบรรเทาการอักเสบระดับเล็กน้อยถึงปานกลางทั้งคู่ แต่ก็มีความแตกต่างตรงที่ยาไอบูโพรเฟนอยู่ในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) ซึ่งไม่สามารถรับประทานตอนท้องว่างได้ ในขณะที่ พาราเซตามอล อยู่ในกลุ่มยาบรรเทาปวด ( Analgesics ) สามารถรับประทานตอนท้องว่างได้
5. ไอบูโพรเฟนมีขายในร้านสะดวกซื้อหรือไม่ ?
มี โดยยาไอบูโพรเฟนเป็นยาแก้ปวดที่มีราคาถูกและเข้าถึงง่าย สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อทั่วไป
Read more: David Prowse
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
ทีมเภสัชกรของ Raksa
ปรึกษาเภสัชกรผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล