แดนซ์แดนซ์เรโวลูชัน ( ญี่ปุ่น : ダンスダンスレボリューション ; โรมาจิ : Dansu Dansu Reboryūshon ) ; อังกฤษ : dancing Dance Revolution ) เป็นเกมที่ได้รับความนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2546 เป็นเกมประเภท ดนตรี ลักษณะโดยทั่วไปภายในเกมจะมี ลูกศร ซ้าย ลง ขึ้น ขวา ขึ้นมาตามจังหวะของเพลงที่กำลังบรรเลง โดยให้ผู้เล่นใช้เท้าเหยียบตามจังหวะให้ตรง ซึ่งเกมนี้ มีจุดเด่นตรงที่ใช้เท้าควบคุมเกม โดยมีแผงควบคุมให้เท้าเหยียบตามลูกศร ซ้าย ลง ขึ้น ขวา แดนซ์แดนซ์เรโวลูชั่น ปรากฏเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2541 โดย โคนามิ และเกมนี้ ได้มีการสร้างภาคต่อไปเรื่อย ๆ และได้มีการเล่นเกมชนิตนี้ในแถบ อเมริกา เหนือและแถบ ยุโรป โดยที่แถบยุโรปได้เรียกชื่อเกมนี้ว่า แดนซิ่งสเตจ มหาวิทยาลัยบางส่วนในสหรัฐอเมริกาได้มีการเสริมการเล่นเกมนี้เข้าเป็นกิจกรรมชมรม [ 1 ] หรือแม้แต่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร [ 2 ] เกมนี้ใช้เท้าควบคุมการเล่น โดยการเหยียบลูกศร ขึ้น ลง ซ้าย ขวา บนแป้นเหยียบ ( dance pad ) ตามจังหวะของเพลงที่ได้ยิน โดยในจอภาพของเกมจะมีลูกศรต่าง ๆ เหมือนกับบนแป้นเหยียบเลื่อนขึ้นมา เมื่อลูกศรต่าง ๆ เลื่อนมาถึงตรงจุดที่กำหนดในจอ ก็ให้เหยียบแป้นเหยียบให้ตรงกับลูกศรที่ขึ้นมาให้ตรงจังหวะ ซึ่งลูกศรที่ขึ้นมาในแต่ละตัวนั้น ตรงตามจังหวะของเพลงที่บรรเลงอยู่ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เกมเต้นได้รับความนิยมจากผู้เล่น ลักษณะการเหยียบลูกศรเกมเต้นในระดับพื้นฐาน จะเป็นดังนี้ การเหยียบลูกศรในแต่ละครั้ง จะมีเสียงคำพูดบอกจากเกม เพื่อบอกว่าผู้เล่นเหยียบได้ตรงจังหวะเพียงใด
Reading: แดนซ์แดนซ์เรโวลูชัน – วิกิพีเดีย
Reading: แดนซ์แดนซ์เรโวลูชัน – วิกิพีเดีย
เมื่อเหยียบได้ Marvelous, Perfect, Great อย่างต่อเนื่อง เกมจะนับ คอบโบ (Combo) ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพลาด ( เหยียบได้ Good, Boo, Miss ) ถ้าเหยียบลูกศรตั้งแต่ต้นจนจบเพลงแล้วไม่พลาดเลย จะเรียกว่า คอมโบเต็ม (Full Combo) หน้าจอขณะเล่นจะมีแถบด้านบนอยู่ เรียกว่า แถบเต้น ( dance gauge หรือ life bar ) ถ้าผู้เล่นเหยียบได้ improbable, Perfect, Great แถบจะขึ้นมาเรื่อย ๆ ถ้าเหยียบพลาดเป็น Boo, Miss หรือเหยียบลูกศรค้างไม่สุด ( NG ) แถบก็จะลดอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เล่นเกมอยู่ ผู้เล่นจะต้องรักษาพลังในแถบเต้นให้มีอยู่จนกระทั่งจบเพลง หากแถบลดจนหมด จะทำให้เกมจบทันที ถ้ารักษาแถบพลังไว้ได้จนจบเพลง หน้าจอจะแสดงคำว่า CLEARED แสดงถึงการผ่านเพลงที่เลือกไว้ได้ เมื่อเล่นจบหนึ่งเพลง หน้าจอจะแสดงสถิติการเล่นดังนี้ หลังจากหน้าจอนี้ เกมจะให้ผู้เล่นเลือกเพลงต่อไปที่จะเล่น เมื่อเล่นจนถึงด่านสุดท้ายแล้ว จะแสดงสถิติรวมทั้งหมด โดยจะเกรดจะถูกเฉลี่ยจากทุกด่าน ส่วนจำนวนคอมโบสูงสุดจะนับจากด่านที่ได้มากที่สุดเพียงด่านเดียว ( ในเกมเต้นบางภาคอาจรวมคอมโบสูงสุดทั้งหมด ) ระบบต่าง ๆ ในเกมเต้นแต่ละภาคโดยรวมมีดังนี้ รูปแบบการเล่นมีดังต่อไปนี้ ระดับความยากในเกมมีหน่วยนับเป็น “ เท้า ” ตั้งแต่ 1 ถึง 10 เท้าและแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ส่วนนี้เป็นที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเกม ถ้าไม่มีส่วนนี้จะเป็นเกมเต้นไม่ได้ เพลงเกมเต้นในแต่ละภาคจะมีเพลงให้เล่นอยู่หลายเพลง มีระดับความยาก 3 – 5 ระดับ โดยทุกเพลงจะต้องมีระดับ ผู้เริ่มต้นถึงยาก แต่บางเพลงอาจมีถึงระดับเชี่ยวชาญ ในเพลงแต่ละเพลงนั้นจะเป็นแบบสั้น ความยาว ในการเล่น อยู่ประมาณ 1 นาทีครึ่งถึง 2 นาที ข้อมูลเพลงที่เกมจะแสดงมี ชื่อเพลง ชื่อผู้แต่ง, นักร้อง, หรือ ศิลปิน, ความเร็วของจังหวะ ( นับจังหวะเป็นจำนวนครั้งต่อนาที ), และระดับความยากกับหน่วยเท้า ในเพลงเกมเต้นแต่ละเพลงจะมีแหล่งที่มาอยู่ 3 แหล่งใหญ่ ๆ ได้แก่ เพลงเกมเต้นในแต่ละภาคนั้นจะมีการบรรจุเพลงใหม่ ๆ ในทุก ๆ ภาค และอาจมีเพลงเก่าเสริมเข้ามา ในเกมเต้นประเภทตู้มีเพลงบรรจุทั้งเก่าและใหม่รวม 100 – 1,000 เพลง ในขณะที่เกมเต้นประเภทเล่นตามบ้านจะมีจำนวนเพลงประมาณ 30 – 80 เพลง ตัวละคร เต้น เป็นลูกเล่นอย่างหนึ่งของเกมเต้น ขณะที่เล่นเกมเต้นอยู่นั้น จะมีตัวละครเต้นปรากฏตัวออกมาให้เห็น ตัวละครเต้นในแต่ละคนนั้น ทุกคนจะมีคู่เป็นของตัวเอง เป็นลูกเล่นเสริมในการปรับรูปแบบของลูกศรภายในเกมเต้นได้ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินต่อผู้เล่นได้ส่วนหนึ่ง ลูกเล่นเสริมในเกมเต้นมี 2 ประเภทคือ เป็นลูกเล่นเสริมที่ผู้เล่นสามารถปรับแต่งได้ในหมวดเกมทั่วไป ซึ่งลูกเล่นเสริมประเภทปกติมีดังนี้ เป็นลูกเล่นเสริมที่ทำให้ผู้เล่นเกิดความสับสน และไม่มีให้ปรับแต่ง ลูกเล่นเสริมเหล่านี้พบได้ในเกมเต้นภาคใหม่ ๆ ของ เพลย์สเตชัน 2 ซึ่งอยู่ในหมวดภารกิจ ลูกเล่นเสริมพิเศษถือว่า เป็นการเพิ่มความยากในการมองลูกศร ซึ่งลูกเล่นเสริมประเภทพิเศษมีดังนี้ ในเกมเต้นแต่ละภาค จะมีหมวดเกมหลาย ๆ หมวด แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ เป็นประเภท ตู้เกม ซึ่งผู้เล่นจะต้องหยอดเหรียญ 1 หน่วยเครดิตเมื่อเล่น ลักษณะตู้จะมีลักษณะใหญ่กว่าตู้เกมทั่วไป เพราะตู้เกมเต้นจะมีแป้นลูกศรสำหรับเหยียบ และเล่นได้สองคน หมวดเกมประเภทตู้เกมมีดังนี้ ก่อนที่จะทำความรู้จักกับหมวดเกมในแต่ละหมวด ต้องรู้จักหมวดการเล่นปกติก่อน หมวดเกมปกติ เป็นหมวดเกมหลักของเกมเต้น ซึ่งจะได้เล่นตามตู้เกมเต้นทั่วไป ลักษณะของหมวดเกมปกติจะมีขั้นตอนดังนี้ เป็นหมวดเกมสำหรับเล่นเป็นชุดอย่างต่อเนื่อง เมื่อเล่นผ่าน 1 เพลงแล้วไปเล่นเพลงถัดไปทันทีโดยไม่ต้องกลับเข้าไปเลือกเพลงอีก หมวดนี้ สามรถเล่นเพลงต่อเนื่องได้ 3 ถึง 4 เพลงขึ้นไป ลักษณะคล้ายหมวดเล่นเป็นชุดเพลงต่อเนื่อง แต่จะเปลี่ยนจากแถบเต้น เป็นแถบ แบตเตอรี่ ในขณะที่เล่นนั้น ผู้เล่นจะพลาดได้ไม่เกิน 4 ครั้ง ถ้าพลาดเกินกว่านั้นจะทำให้จบเกม ซึงหมวดนี้อาจจะ ไม่เหมาะ สำหรับผู้เริ่มต้น เป็นหมวดเกมที่พบในเกมเต้นประเภทเล่นตาม บ้าน โดยใช้เครื่องเกมต่าง ๆ ในแต่ละรุ่น และมี อุปกรณ์ สำคัญคือ แผ่นเต้น (Dance Pad) ที่จะต้องเสียบเข้าเครื่องเกม เพื่อให้เล่นเกมเต้นได้อย่างถูกหลักการ หมวดเกมที่จัดอยู่ในประเภทเล่นตามบ้านมีดังนี้ เป็นหมวดที่เล่นเพลงเกมเต้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุด จนกว่าจะแพ้เกม ซึ่งเพลงที่เล่นออกมาเป็นแบบสุ่ม และสามารถพักการเล่น ( Break Stage ) ได้เมื่อเล่นครบ 5 ถึง 10 เพลงในแต่ละครั้ง ( จำนวนเพลงเป็นค่าไม่แน่นอน แล้วการกำหนดค่าของผู้เล่น ) เป็นหมวดเล่นเพลงอย่างไม่จำกัดแล้วแต่ความพอใจของผู้เล่น เมื่อแพ้เกมก็จะกลับไปที่หน้าจอเลือกเพลง เป็นหมวดที่ต้องเล่นสองคน ถ้าเล่นคนเดียวจะมีระบบ คอมพิวเตอร์ มาเล่นให้ หมวดนี้ เป็นหมวดเล่น 2 คนแบบการแข่งขันกันว่าใครเต้นได้เก่งกว่ากัน โดยใช้ลูกเล่นเสริมมาโจมตีฝ่ายตรงข้าม เมื่อจบเพลง ใครมีคะแนนมากกว่า ฝ่านนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ
Read more: David Prowse
เป็นการเล่นแบบทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ถ้าทำสำเร็จจึงจะผ่านด่านได้ ลักษณะของหมวดนี้ จะมีเพลงให้เล่นท่อนส่วนหนึ่ง แล้วบอกแค่ให้ทำอะไรโดยที่จะกำหนดลูกเล่นเสริมทั้ง 2 แบบโดยผู้เล่นไม่รู้ และจะมาทราบทีหลังเมื่อเล่นไปแล้ว ตัวอย่างเช่น การให้กระทำในหมวดภารกิจนั้น แค่ให้ผู้เล่นทำ แต่ผู้เล่นจะไม่ทราบว่าจะใช้ลูกเล่นเสริมอะไร ดังนั้นการใช้สายตาก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในหมวดนี้ หมวดฝึกเล่น เป็นหมวดสำหรับผู้เริ่มต้น ผู้เริ่มเล่นใหม่ควรเข้าเล่นหมวดนี้ ลักษณะลูกศรสำหรับหมวดฝึกเล่น เป็นลูกศรง่าย ๆ และเทคนิคเบื้องต้น สำหรับหมวดฝึกเล่นมีอยู่ 2 แบบคือ เป็นหมวดแบบฝึกหัดที่เล่นทีละด่าน มี 3 ระดับ ระดับละ 8 ด่าน การเล่นหมวดฝึกเล่นแบบเก่าเป็นดังนี้ เกมเต้นสมัยใหม่ได้ทำการปรับเปลี่ยนหมวดฝึกเล่นให้ผู้เริ่มต้นเข้าใจในการเล่นยิ่งขึ้น เมื่อเข้าสู่หมวดนี้จะมี เสียงพากษ์ อธิบายการเล่น ถ้าผ่านก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป ขั้นตอนการเล่นในหมวดฝึกเล่นสมัยใหม่เป็นดังนี้ เป็นหมวดที่มีในเกมเต้นประเภทเล่นตามบ้านทุกภาค ลักษณะของหมวดคือ เลือกเพลงมา 1 เพลง แล้วปรับตัวเลือกต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ขั้นตอนการใช้หมวดฝึกซ้อมมีดังนี้ ลักษณะการปรับแต่งตัวเลือกสำหรับหมวดฝึกซ้อมมีดังนี้ การแสดงผลหลังการเล่นในหมวดฝึกซ้อมนั้น จะแสดงเหมือนเล่นปกติ ถ้ากดปุ่มยืนยัน จะมีตัวเลือกออกมา 3 อย่างคือ เล่นอีกครั้ง (Again) , ตรวจสอบ (Check) , และ กลับสู่เมนู (Menu) ลักษณะการใช้มีดังนี้ เป็นหมวดที่ช่วยในการออกกำลังกาย ลักษณะจะคล้ายหมวดเล่นไม่จำกัด ( Event Mode ) แต่จะมีที่วัดการเผาผลาญของ แคลอรี่ ของผู้เล่น รวมไปถึงการเปรียบเทียบค่ากับการ ออกกำลังกาย 3 อย่างคือ กระโดดเชือก วิ่ง และ ว่ายน้ำ ขั้นตอนการใช้หมวดออกกำลังกายมีดังนี้ การตั้งค่าสำหรับหมวดออกกำลังกายเบื้องต้นมีดังนี้ เมื่อเสร็จจากการปรับค่าแล้วให้เลือก OK แล้วเล่นได้ ( ไม่มีการแพ้เกม ) หลังจากเล่นไปแล้วเกมจะแสดงผลดังนี้ หลังจากการแสดงผลแล้ว ผู้เล่นสามารถเล่นต่อ หรือออกจากหมวดนี่ได้ เป็นหมวดมินิเกมเล็ก ๆ เพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้เล่นหลาย ๆ คนที่กำลังมี งานเลี้ยง ( ปาร์ตี้ ) ในหมวดนี้ สามารถเล่นกับอุปกรณ์เสริม กล้องอายทอยส์ (EyeToys) ได้ หมวดนี้จึงมีขึ้นในเกมเต้นของเพลย์สเตชัน 2 เป็นบางรุ่นเท่านั้น เมื่อเข้าสู่หมวดนี้จะแบ่งเป็น 2 หมวดย่อยดังนี้ เป็นหมวดมินิเกมที่ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม แต่จะเล่นกับแผ่นเต้น มินิเกมที่มีในหมวดย่อยมีดังนี้ เป็นหมวดมินิเกมที่ จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์เสริมกล้อง EyeToys เมื่อติดตั้งแล้ว ผู้เล่นสามารถกระทำสื่งต่าง ๆ ในหน้าจอให้เกิดผลลัทธ์ได้ และสามารถถ่ายภาพผู้เล่นเข้าไปอยู่ในจอได้ สำหรับมินิเกมที่มีในหมวดย่อยมีดังนี้ หมวดเกมประเภทนี้จัดอยู่ในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้เล่นเป็นหลัก และเป็นหมวดที่ใช้ในการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของเกมเต้นแบบเล่นตามบ้าน ( Home Version ) หมวดเกมประเภทปรับแต่งจะมีดังนี้ เป็นหมวดที่ผู้เล่นสามารถกำหนดแผงลูกศรเองได้ เมื่อกำหนดเสร็จแล้ว สามารถนำไปใช้ในหมวดเกมอื่น ๆ ได้ แต่จะต้องมีแผ่นบันทึกข้อมูล ( Memory Card ) สำหรับเรื่องเพลย์สเตชัน ( 1 หรือ 2 ) ก่อน จึงจะสามารถบันทึกได้ สำหรับการใช้หมวดสร้างแผงลูกศรเกมเต้น ( ในเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ) มีเมนูคำสั่งต่อไปนี้ หมวดนี้เป็นการแสดงสถิติการเล่นเกมเต้นในแต่ละครั้งของผู้เล่น ซึ่งจะมีการแสดงสถิติของเพลง ชุดเพลงต่อเนื่อง และอื่น ๆ เป็นหมวดสำหรับการปรับแต่งค่าต่าง ๆ สำหรับเกมเต้นประเภทเล่นตามบ้านได้ตามต้องการของผู้เล่น ซึ่งจะมีเมนูการปรับคำสั่งดังต่อไปนี้ เป็นหมวดที่ให้การช่วยเหลือสำหรับผู้เล่น ในเกมเต้นในแต่ละภาคจะมีข้อมูลเพลงที่ปลดล็อกได้ ข้อมูลตัวละคร ข้อมูลการเล่นต่าง ๆ ในเกมเต้นประเภทเล่นตามบ้าน เมื่อผู้เล่นซื้อมาครั้งแรก จะแสดง ข้อความ ขอบคุณที่ผู้เล่นซื้อ สินค้า ในหมวดนี้เมื่อเปิดเกม เมื่อเข้าหมวดนี้จะแสดงรายชื่อผู้จัดทำเกมเต้นภาคที่ผู้เล่นใช้เล่นอยู่ รายชื่อของเพลงเกมเต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ เกมที่เล่นตาม ตู้เกม และเกมที่เล่นตามบ้านในเครื่องเล่น เพลย์สเตชัน เพลย์สเตชัน2 คอมพิวเตอร์ ในระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ เอกซ์บอกซ์ และ เกมคิวบ์
Read more: Wikipedia
รายชื่อเกมเต้นประเภทเล่นตามบ้านนั้น เป็นการนำเอาเครื่องเกมมาเล่นคู่กับแผ่นควบคุมพิเศษเสียบเข้าแทนที่จอยสติก ซึ่งจะแบ่งเป็นประเภทย่อยอีกดังนี้ วินโดวส์